สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 27
การหลงป่ามักเกิดขึ้นในการเข้าไปในเขตป่าลึก แบบที่ไม่เคยมีใครเข้าไปถึง และมักเกิดขึ้นเวลาโพล้เพล้ใกล้ๆค่ำ เสียงสว่างจะน้อยครับ ช่วงเวลานี้เองที่เค้าว่ากันว่าป่าจะเปลี่ยน บวกกับความมืดกับความเงียบสงัดแล้ว ความกลัวก็จะเกิดขึ้น
ผมเคยมีประสบการณ์ตรง ตอนไปช่วยรุ่นพี่ภาควิชาที่มหาวิทยาลัย ไปออกสำรวจพื้นที่ภาคสนาม เพื่อเก็บข้อมูลและตัวอย่างหินมาทำรายงานวิทยานิพนธ์หัวข้อเกี่ยวกับการติดตามสายแร่ทองคำ ที่ป่าทางภาคเหนือ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง บางช่วงของพื้นที่คาบเกี่ยวเข้าไปในเขตป่าลึกก็มี
ปกติการเดินทางสำรวจเราจะเตรียมเวลาเผื่อขากลับออกมาด้วย ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ช่วงบ่ายๆ 4โมงเย็นจะเตรียมหาทางกลับกันแล้ว วันนั้นเราเดินเข้าไปลึกมาก บวกกับต้องเก็บตัวอย่างหลายจุด จนทำให้เลยเวลาปกติไป จนใกล้จะมืดแล้วก็ยังอยู่ในป่า ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่ชินทาง และชาวบ้านปกติก็เข้ามาไม่ลึกขนาดนี้ จนเวลาพลบค่ำ (ปกติเวลาเราสำรวจสายแร่ทองคำเราจะเดินเก็บตัวอย่างตามแม่น้ำ) ท้องฟ้ากำลังมืดบวกกับช่วงนั้นลำน้ำตวัดเป็นแบบเกือกม้า หรือ แบบคดโค้งตวัดไปมา แล้วก็วกกลับมาที่เดิม ไม่ไปไหนเลยวนอยู่แค่แถวนั้น นอกจากสายน้ำเล็กๆแล้วรอบๆข้างก็เป็นป่าทั้งหมดเลย เราไปกัน3คน เราทุกคนรู้ว่าเรากำลังหลงป่าแล้ว ต้องรีบออกจากจุดนี้ให้ได้ก่อนมืดสนิทไม่งั้นหาทางเดินทางออกจากป่าลำบากแน่
เรามีแผนที่กับเข็มทิศแต่เราไม่ได้เดินทางจับจุดกับแผนที่มานานหลายชั่วโมงแล้ว (ความผิดพลาดคือไม่ได้กำหนดจุดตัวเองให้ตรงกับในแผนที่ไว้ตลอดเวลา เวลามาถึงจุดที่อ่านภูมิประเทศไม่ออก เช่นหลงป่า ป่าเหมือนกันหมด หรือภูเขาแต่ละลูกรูปร่างเหมือนๆกัน หรือกรณีที่มองไม่เห็นภูมิประเทศจริงเช่นเวลาค่ำๆแบบนี้ ก็จะไม่สามารถกำหนดจุดตัวเองลงบนแผนที่ได้ หรือแม่น้ำเปลี่ยนสาย คือแผนที่เค้าสำรวจทำกันมาหลายสิบปีแล้ว เวลามาเดินสำรวจจริงๆพบว่าไม่เหมือนในแผนที่ เช่นแม่น้ำตวัดไปทางอื่นแล้วเป็นต้น )
(ปกติการเดินทางสำรวจในป่าลึกเราจะต้องจับจุดตัวเองให้ตรงกับแผนที่ไว้ตลอดเวลา เช่นจากgps หรือจะจากการอ่านภูมิประเทศ หรือการประมาณระยะทางก้าวเดินก็แล้วแต่ ก็ควรทำ ไม่งั้นหลงแน่ แต่วันนั้นเราไม่ได้ทำ พับแผนที่เก็บแล้วเดินตามลำน้ำอย่างเดียว พอถึงจุดน่าเก็บตัวอย่างค่อยเปิดgps แล้วมาร์กลงบนแผนที่ วิธีลัดเอาเลยสะดวกดี)
เราก็พยายามหาทางจับจุดออกจากตรงนั้นให้ได้ก่อน โชคดีเหลือเกินเราเดินๆไปสังเกตเห็น "ทางควายเดิน" ครับ คือควายที่ชาวบ้านเค้าเลี้ยงแบบปล่อยๆเข้าไปในป่า แล้วพอค่ำมันจะเดินกลับหมู่บ้านเองหรือค่อยมาไล่กลับ จนทางเดินของมันโล่งเตียนและมีรอยเท้าจนสังเกตได้ มีควายแถวนี้ต้องมีหมู่บ้านคน แล้วเราก็เดินตามทางควายออกมาเรื่อยๆ จนป่าเริ่มโล่งพร้อมๆกับความมืดปกคลุมด้วย จนมาเจอแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งเราจำได้ และเจอทุ่งนาในที่สุดเดินไปอีกหน่อยก็ถึงหมู่บ้าน รู้สึกโล่งมากๆเลยครับตอนนั้น ต้องขอบคุณทางควายเดินจริงๆ เพราะเราไปสำรวจป่าแถบนั้นช่วงเดินพฤษภาคม ช่วงหน้าฝน ทากดูดเลือดเยอะมากๆครับ เราเดินๆไปพื้นดินสะเทือนมันจะกระดื๊บๆเข้ามาหากันเป็นแถวเลย ผมโดนไม่เยอะเท่าไหร่ รุ่นพี่ก็ไม่โดน มันมาดูดผมผมเอากรดหยดใส่มันก็หลุด(กรดเจือจางเอาไว้สำหรับทดสอบคุฯสมบัติหินปูน) เพื่อนผมนี่สิตอนเดินไม่รู้สึกอะไรเลย พอมาถึงที่พักถอดถุงเท้าออกเท่านั้นแหละ ตัวเป้งๆทั้งนั้นเลยครับ มันดูดเลือดจนอิ่ม เห็นแล้วสยองมากๆ
พอปีต่อมารุ่นผมได้ไปสำรวจพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย พื้นที่ผมป่าไม่ทึบมากเลยไม่ค่อยหลง แต่เพื่อนผมบางกลุ่มที่ป่าทึบหลงทางครับ คือเดินจนมืดนั่นแหละ แล้วเผื่อเวลากลับไม่ทัน ปกติเดินField ภาคสนามทางธรณีวิทยาเรามักจะเดินตามแม่น้ำกับเดินตัดสันเขา คือเดินบนยอดสันเขา เพราะ2ที่นี้มีโอกาสเจอหินโผล่เยอะที่สุด ผมถามเพื่อนว่าทำยังไงออกมาได้ เค้าบอกยังมีไฟฉายอยู่(ซึ่งพวกเราต้องมีทุกกลุ่มเวลาออกฟิวทุกครั้ง) เปิดแผนที่พยายามอ่านแผนที่ในความมืดด้วยไฟฉาย แล้วเปลี่ยนจากเดินตัดสันเขา ค่อยๆลดระดับลงมาเรื่อยๆ จนหาทางออกได้ (เพราะถ้ายังขืนเดินบนสันเขาอยู่ เดี๋ยวอาจตกเหวได้นะครับ) ........... สรุปอยู่ในป่าลึกอย่าอยู่จนมืดครับ มืดแล้วจะหลงอันนี้แน่นอน ...ประสบการณ์ตรงจากอดีตนักศึกษาธรณีครับ
......... ส่วนเรื่องหลงป่าแล้วเดินตรงๆตลอด คงทำไม่ได้ครับ ในพื้นที่จริง เพราะเวลาเราหลงป่าเราไม่ได้หลงทิศนะครับ แต่เราหลงที่ คือไม่รู้จักสถานที่นั้นมาก่อน และไม่รู้ว่าจะไปทางไหน เช่นเวลาอยู่ในป่าลึกๆแต่ยังพอมีแสงดวงอาทิตย์ เราไม่ได้หลงทิศ เราอ่านทิศได้ แต่ถ้าเราไม่รู้จุดที่ตัวเองอยู่ในขณะนั้น เราเดินตามทิศนั้นไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่าหลงทางอยู่ดีครับ เพราะไม่รู้เลยว่าทิศที่เราเดินตามไปเรื่อยๆนั้นจะพาเราไปไหน หรือถึงจุดไหน ก็หลงอยู่ดีครับ จะหายหลงก็ต่อเมื่อทราบว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหน และข้างเราที่จะเดินต่อไปจะเป็นอะไร คือรู้ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมทั้งหมดคร่าวๆนั่นเอง ส่วนการเดินตามทิศจะรู้แค่ทิศ คือไม่หลงทิศ แต่ไม่รู้ภูมิประเทศก็ทำให้สับสนได้ เพราะลักษณะภูมิประเทศจริงไม่ได้แบนราบเรียบเหมือนในแผนที่ แต่จะมีอะไรเยอะแยะ พื้นที่จริงมันเป็นสามมิติ ส่วนใหญ่ที่ทำให้คนหลงคือ เวลาเราเดินทางในพื้นที่จริง เราเห็นโลกทางภาพตัดขวางนะครับ คือสายตาจะเห็นภาพแบบตั้งมุมมฉากกับผิวโลก แต่สิ่งที่จะทำให้เราไม่หลงคือเราต้องรู้จักภาพรวมของพื้นที่ ซึ่งเป็นภาพที่มองจากข้างบน (ฺBird eyes view) เหมือนนกที่บินบนท้องฟ้า สายตามองค่ำลงมา มองเห็นเป็นTop view สรุปก็คือต้องมีรูป Top view ของพื้นที่นั้นในหัวเราก่อนครับ ถึงจะไม่หลงทาง เพื่อนผมบางคนแม้มีแผนที่ในมือให้เดินนำทางก็ยังพาหลงได้ครับ เพราะอาจจะอ่านแผนที่ไม่คล่อง ที่อ่านไม่คล่องเพราะในหัวไม่มีภาพรวมของพื้นที่ หรือมองภูมิเทศจริงเทียบกับแผนที่ไม่ออก จริงๆไม่ใช่อ่านลัญลักษณ์ในแผนที่ไม่คล่องหรอก เพราะเราเรียนมาเหมือนกันหมด รู้เหมือนกันหมด แต่อ่านภูมิประเทศจริงไม่ออกต่างหาก เพราะมันต้องอาศัยจินตนาการด้วย เพราะอย่างที่บอกภาพมันคงละ view กัน
ผมเคยมีประสบการณ์ตรง ตอนไปช่วยรุ่นพี่ภาควิชาที่มหาวิทยาลัย ไปออกสำรวจพื้นที่ภาคสนาม เพื่อเก็บข้อมูลและตัวอย่างหินมาทำรายงานวิทยานิพนธ์หัวข้อเกี่ยวกับการติดตามสายแร่ทองคำ ที่ป่าทางภาคเหนือ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง บางช่วงของพื้นที่คาบเกี่ยวเข้าไปในเขตป่าลึกก็มี
ปกติการเดินทางสำรวจเราจะเตรียมเวลาเผื่อขากลับออกมาด้วย ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ช่วงบ่ายๆ 4โมงเย็นจะเตรียมหาทางกลับกันแล้ว วันนั้นเราเดินเข้าไปลึกมาก บวกกับต้องเก็บตัวอย่างหลายจุด จนทำให้เลยเวลาปกติไป จนใกล้จะมืดแล้วก็ยังอยู่ในป่า ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่ชินทาง และชาวบ้านปกติก็เข้ามาไม่ลึกขนาดนี้ จนเวลาพลบค่ำ (ปกติเวลาเราสำรวจสายแร่ทองคำเราจะเดินเก็บตัวอย่างตามแม่น้ำ) ท้องฟ้ากำลังมืดบวกกับช่วงนั้นลำน้ำตวัดเป็นแบบเกือกม้า หรือ แบบคดโค้งตวัดไปมา แล้วก็วกกลับมาที่เดิม ไม่ไปไหนเลยวนอยู่แค่แถวนั้น นอกจากสายน้ำเล็กๆแล้วรอบๆข้างก็เป็นป่าทั้งหมดเลย เราไปกัน3คน เราทุกคนรู้ว่าเรากำลังหลงป่าแล้ว ต้องรีบออกจากจุดนี้ให้ได้ก่อนมืดสนิทไม่งั้นหาทางเดินทางออกจากป่าลำบากแน่
เรามีแผนที่กับเข็มทิศแต่เราไม่ได้เดินทางจับจุดกับแผนที่มานานหลายชั่วโมงแล้ว (ความผิดพลาดคือไม่ได้กำหนดจุดตัวเองให้ตรงกับในแผนที่ไว้ตลอดเวลา เวลามาถึงจุดที่อ่านภูมิประเทศไม่ออก เช่นหลงป่า ป่าเหมือนกันหมด หรือภูเขาแต่ละลูกรูปร่างเหมือนๆกัน หรือกรณีที่มองไม่เห็นภูมิประเทศจริงเช่นเวลาค่ำๆแบบนี้ ก็จะไม่สามารถกำหนดจุดตัวเองลงบนแผนที่ได้ หรือแม่น้ำเปลี่ยนสาย คือแผนที่เค้าสำรวจทำกันมาหลายสิบปีแล้ว เวลามาเดินสำรวจจริงๆพบว่าไม่เหมือนในแผนที่ เช่นแม่น้ำตวัดไปทางอื่นแล้วเป็นต้น )
(ปกติการเดินทางสำรวจในป่าลึกเราจะต้องจับจุดตัวเองให้ตรงกับแผนที่ไว้ตลอดเวลา เช่นจากgps หรือจะจากการอ่านภูมิประเทศ หรือการประมาณระยะทางก้าวเดินก็แล้วแต่ ก็ควรทำ ไม่งั้นหลงแน่ แต่วันนั้นเราไม่ได้ทำ พับแผนที่เก็บแล้วเดินตามลำน้ำอย่างเดียว พอถึงจุดน่าเก็บตัวอย่างค่อยเปิดgps แล้วมาร์กลงบนแผนที่ วิธีลัดเอาเลยสะดวกดี)
เราก็พยายามหาทางจับจุดออกจากตรงนั้นให้ได้ก่อน โชคดีเหลือเกินเราเดินๆไปสังเกตเห็น "ทางควายเดิน" ครับ คือควายที่ชาวบ้านเค้าเลี้ยงแบบปล่อยๆเข้าไปในป่า แล้วพอค่ำมันจะเดินกลับหมู่บ้านเองหรือค่อยมาไล่กลับ จนทางเดินของมันโล่งเตียนและมีรอยเท้าจนสังเกตได้ มีควายแถวนี้ต้องมีหมู่บ้านคน แล้วเราก็เดินตามทางควายออกมาเรื่อยๆ จนป่าเริ่มโล่งพร้อมๆกับความมืดปกคลุมด้วย จนมาเจอแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งเราจำได้ และเจอทุ่งนาในที่สุดเดินไปอีกหน่อยก็ถึงหมู่บ้าน รู้สึกโล่งมากๆเลยครับตอนนั้น ต้องขอบคุณทางควายเดินจริงๆ เพราะเราไปสำรวจป่าแถบนั้นช่วงเดินพฤษภาคม ช่วงหน้าฝน ทากดูดเลือดเยอะมากๆครับ เราเดินๆไปพื้นดินสะเทือนมันจะกระดื๊บๆเข้ามาหากันเป็นแถวเลย ผมโดนไม่เยอะเท่าไหร่ รุ่นพี่ก็ไม่โดน มันมาดูดผมผมเอากรดหยดใส่มันก็หลุด(กรดเจือจางเอาไว้สำหรับทดสอบคุฯสมบัติหินปูน) เพื่อนผมนี่สิตอนเดินไม่รู้สึกอะไรเลย พอมาถึงที่พักถอดถุงเท้าออกเท่านั้นแหละ ตัวเป้งๆทั้งนั้นเลยครับ มันดูดเลือดจนอิ่ม เห็นแล้วสยองมากๆ
พอปีต่อมารุ่นผมได้ไปสำรวจพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย พื้นที่ผมป่าไม่ทึบมากเลยไม่ค่อยหลง แต่เพื่อนผมบางกลุ่มที่ป่าทึบหลงทางครับ คือเดินจนมืดนั่นแหละ แล้วเผื่อเวลากลับไม่ทัน ปกติเดินField ภาคสนามทางธรณีวิทยาเรามักจะเดินตามแม่น้ำกับเดินตัดสันเขา คือเดินบนยอดสันเขา เพราะ2ที่นี้มีโอกาสเจอหินโผล่เยอะที่สุด ผมถามเพื่อนว่าทำยังไงออกมาได้ เค้าบอกยังมีไฟฉายอยู่(ซึ่งพวกเราต้องมีทุกกลุ่มเวลาออกฟิวทุกครั้ง) เปิดแผนที่พยายามอ่านแผนที่ในความมืดด้วยไฟฉาย แล้วเปลี่ยนจากเดินตัดสันเขา ค่อยๆลดระดับลงมาเรื่อยๆ จนหาทางออกได้ (เพราะถ้ายังขืนเดินบนสันเขาอยู่ เดี๋ยวอาจตกเหวได้นะครับ) ........... สรุปอยู่ในป่าลึกอย่าอยู่จนมืดครับ มืดแล้วจะหลงอันนี้แน่นอน ...ประสบการณ์ตรงจากอดีตนักศึกษาธรณีครับ
......... ส่วนเรื่องหลงป่าแล้วเดินตรงๆตลอด คงทำไม่ได้ครับ ในพื้นที่จริง เพราะเวลาเราหลงป่าเราไม่ได้หลงทิศนะครับ แต่เราหลงที่ คือไม่รู้จักสถานที่นั้นมาก่อน และไม่รู้ว่าจะไปทางไหน เช่นเวลาอยู่ในป่าลึกๆแต่ยังพอมีแสงดวงอาทิตย์ เราไม่ได้หลงทิศ เราอ่านทิศได้ แต่ถ้าเราไม่รู้จุดที่ตัวเองอยู่ในขณะนั้น เราเดินตามทิศนั้นไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่าหลงทางอยู่ดีครับ เพราะไม่รู้เลยว่าทิศที่เราเดินตามไปเรื่อยๆนั้นจะพาเราไปไหน หรือถึงจุดไหน ก็หลงอยู่ดีครับ จะหายหลงก็ต่อเมื่อทราบว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหน และข้างเราที่จะเดินต่อไปจะเป็นอะไร คือรู้ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมทั้งหมดคร่าวๆนั่นเอง ส่วนการเดินตามทิศจะรู้แค่ทิศ คือไม่หลงทิศ แต่ไม่รู้ภูมิประเทศก็ทำให้สับสนได้ เพราะลักษณะภูมิประเทศจริงไม่ได้แบนราบเรียบเหมือนในแผนที่ แต่จะมีอะไรเยอะแยะ พื้นที่จริงมันเป็นสามมิติ ส่วนใหญ่ที่ทำให้คนหลงคือ เวลาเราเดินทางในพื้นที่จริง เราเห็นโลกทางภาพตัดขวางนะครับ คือสายตาจะเห็นภาพแบบตั้งมุมมฉากกับผิวโลก แต่สิ่งที่จะทำให้เราไม่หลงคือเราต้องรู้จักภาพรวมของพื้นที่ ซึ่งเป็นภาพที่มองจากข้างบน (ฺBird eyes view) เหมือนนกที่บินบนท้องฟ้า สายตามองค่ำลงมา มองเห็นเป็นTop view สรุปก็คือต้องมีรูป Top view ของพื้นที่นั้นในหัวเราก่อนครับ ถึงจะไม่หลงทาง เพื่อนผมบางคนแม้มีแผนที่ในมือให้เดินนำทางก็ยังพาหลงได้ครับ เพราะอาจจะอ่านแผนที่ไม่คล่อง ที่อ่านไม่คล่องเพราะในหัวไม่มีภาพรวมของพื้นที่ หรือมองภูมิเทศจริงเทียบกับแผนที่ไม่ออก จริงๆไม่ใช่อ่านลัญลักษณ์ในแผนที่ไม่คล่องหรอก เพราะเราเรียนมาเหมือนกันหมด รู้เหมือนกันหมด แต่อ่านภูมิประเทศจริงไม่ออกต่างหาก เพราะมันต้องอาศัยจินตนาการด้วย เพราะอย่างที่บอกภาพมันคงละ view กัน
แสดงความคิดเห็น
เวลาเราหลงป่า ถ้าเราเดินตรง ๆ ไปทางไหนก็ได้โดยห้ามเอียงแม้แต่เล็กน้อยเราก็จะออกจากป่าได้ใช่หรือเปล่าครับ เดินเป็นเส้นตรง