จากกระทู้ก่อนเรื่องของวิธีการหาอาชีพที่ใช่หรือสไตล์ที่เป็นตัวเอง ได้มีเพื่อนและมีผู้ถามถึงวิธีการทำ Mind Map วันนี้เลยขออนุญาตเอาวิธีทำ Mind Map เพื่อตอบคำถามที่ค้างคาใจ หรือการหาวิธีการแก้ปัญหามาฝากนะคะ
กระทู้ก่อน วิธีตามหางานที่ใช่หรือสไตล์ที่แท้จริงของตัวเอง อ่านได้ที่นี่ค่ะ
http://pantip.com/topic/34089591
ก่อนอื่นเราว่าคงมีผู้รู้หลายๆคนที่เก่งเรื่อง Mind Map มากๆ มากกว่าเราอีกค่ะ และอยู่ใน Pantip นี้ด้วย
อยากจะขออนุญาตผู้เชี่ยวชาญช่วยเสริมหรือแนะนำวิธีการทำ Mind Map ให้ชัดเจนเพิ่มเติมด้วยนะคะ
ถ้าเราอธิบายตกหล่นไปจุดไหน ยังไงค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
ทีนี้ก็ มาเริ่มกันเลยค่ะ
อาจจะมีหลายครั้งหลายคราวที่เราเกิดการลังเล เกิดปัญหาความไม่แน่ใจ หรือหาทางแก้ไขไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะจัดการกับเรื่องพวกนี้ยังไง Mind Map น่าจะช่วยคุณได้อีกทางหนึ่งนะคะ และวันนี้ เราจะมาคุยเรื่องของการทำ Mind Map กัน
วิธีการทำ Mind Map เราขอแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้นะคะ
1.Main Topic
อันนี้Main topic ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะคะ ขึ้นอยู่กับว่าเราสงสัยเรื่องไหน
อยากได้คำตอบเรื่องไหน ซึ่งแต่ละคนต่างอยู่ในสถานการณ์เจอเผชิญสิ่งต่างๆมาต่างกัน
เราขอยกเป็น Topic เกี่ยวกับออกแบบมาเป็น case study ละกันนะคะ
สมมติว่าปัญหาของเราคือ “จะทำงานออกแบบที่เป็นfreelanceหรือทำงานประจำดีล่ะ?”
อันดับแรกให้เขียน Topic หลักค่ะ
2.Topic รอง
เมื่อได้ Main topic แล้วลำดับต่อไปให้ดึงเรื่องที่เกี่ยวข้องออกมา หัวข้อที่เราคิดได้ลำดับที่ 2 ค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 นี้ให้เขียนทุกอย่างที่คุณนึกขึ้นได้เพื่อเตรียมกระจายออก เรานึกถึงอะไรบ้างกับหัวข้อหลักนั้น
ของเราแยกออกมาเป็น 4 ด้านค่ะ คือแยกสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ และข้อพิจารณาระหว่างงานประจำและfreelance
จริงๆแล้วทิศทางการเขียนสามารถเขียนได้หลายแบบค่ะขึ้นอยู่กับหัวข้อนั้นๆว่าเราต้องการเคลียร์ปัญหาเรื่องไหน
ยกตัวอย่างเช่น
– ถ้าเราต้องการหาคำตอบเพื่อโปรเจคเพื่อการตลาด เราอาจแยกในหัวข้อของ 4P = Product,Price,Place,Promotion
– ถ้าเราต้องการหาคำตอบในสิ่งต่างๆที่ไม่แน่ใจ อาจจะใช้ลักษณะของ 5W1H = What,Where,When,Why,Who,How
หรือกรณีที่เราลองทำด้านบนจะเป็นการหาคำตอบให้ตัวเองลักษณะคล้ายแผนภูมิก้างปลาค่ะ เจาะลึกข้อมูล กระจายข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เห็นภาพได้มากขึ้น และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
จากนั้นก็ไปต่อในขั้นตอนที่ 3
3.ทำการแยกข้อมูลเชิง Details
ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่แตกกระจายความคิดที่มีอยู่ในออกมาให้หมด กระจายออกมาให้ได้เยอะที่สุด นึกอะไรได้ที่เดี่ยวข้องพยายามแตกออกมาค่ะ เขียนไปทุกอย่างที่นึกได้เพราะยิ่งเรากระจายออกมาได้เยอะมากเท่าไหร่ เรายิ่งเห็นภาพและตอบคำถามได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
อันนี้ที่เราทำออกมาอาจจะลายตาหน่อยนะคะ แต่พยายามจะแยกออกมาให้เยอะ กระจายย่อยและพยายามจะให้เห็นภาพออกมามากที่สุด เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจระหว่าง 2 ทางเลือกที่ยกตัวอย่างมาคือการตัดสินใจระหว่าง freelance และ งานประจำในสายงานออกแบบ ว่าจะเลือกอะไรดี
**หมายเหตุ : การแตกข้อมูลดีเทลนี้เป็นเพียงทัศนคติส่วนหนึ่งของเราที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่างานไหนแย่นะคะ ทุกงานมีข้อดี ข้อด้อย การเลือกการตัดสินใจหลายๆอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนบุคคลของแต่ละคนค่ะว่าต้องการไปในทิศทางไหน และมีความสนใจทางด้านไหน หากผิดพลาดจุดไหน ต้องขออภัยด้วยนะคะ
มาต่อขั้นตอนที่ 4 ค่ะ
4.Keywords
อันนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่คุณได้ทำการกระจายข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ คือ กระจายข้อมูลเชิงย่อยให้เห็นภาพชัดเจน และเมื่อได้กระจายข้อมูลออกมาทั้งหมดแล้วก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องตามหาคำตอบที่ตรงกับความต้องการของคุณแล้วละค่ะ ว่าตรงไหนเลือก ตรงไหนปล่อย
ในการเลือก Keywords ข้อมูลนี้เราทำเป็นสีเหลืองไว้นะคะ เพื่อจะได้เห็นได้ชัดเจนขึ้น
เทคนิคในการเลือกข้อมูล
ให้ทำการเลือกข้อมูลที่เป็นเชิงบวกนะคะ เวลากระจายข้อมูลเช่นกัน พยายามให้เป็นเชิงบวกไว้ เพราะชีวิตที่ดีมักจะมาจากทัศนคติที่ดีที่เป็น positive นอกจากข้อมูลที่กระจายออกมาในส่วนที่เราไม่สัดทันหรือไม่ชอบ กระจายออกมาเพื่อให้เห็นข้อมูลชัดเจนมากขึ้น
อันนี้อาจจะมี negative บ้าง แต่ในการเลือกนี้เราจะทำการ “โกยทิ้ง”
หมายความว่าข้อมูลที่ไม่ดี มันเป็นลบหรือข้อมูลที่ไม่ได้เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ เป็นข้อมูลที่เราเตรียม shift + delete ไปได้เลย
สรุป
จากการทำ Mind Map ตัดสินใจระหว่างตัวเลือกคือ ทำงานออกแบบที่เป็นงานประจำ หรือทำงานออกแบบที่เป็นงาน Freelance ดี
ข้อสรุปในทัศนคติส่วนเฉพาะที่เราสมมติขึ้นมาคือ
เลือกทำงานสาย Graphic และ Fashion ในลักษณะที่เป็นงานประจำ โปรแกรมที่เลือกใช้หลักๆคือ Photoshop และ illus อาจจะมีโปรแกรมอื่นๆ แล้วแต่กรณีของ Project ไป สาเหตุที่เลือกงานประจำเพราะชอบรู้จักคนใหม่ๆ เราจะมีงานอยู่ตลอดและมีความมั่นคงในเรื่องของรายได้ในแต่ละเดือน ในขณะเดียวกัน ก็เลือกที่จะใช้เวลาที่เหลือในการรับงานที่เป็น Freelance เจาะกลุ่มลูกค่าหรือหาทีมงานที่มีทัศนคติที่ดี ทำงานระบบพี่น้อง เปิดกว้างทางความคิด มีความเป็นผู้ใหญ่และที่สำคัญเป็นคนมีเหตุผลค่ะ
นี่ก็เป็นข้อสรุปของ Mind Map ที่เรายกตัวอย่างขึ้นมา
กรณีดังกล่าวไม่ได้เป็นชีวิตจริงของเรานะคะ เรายกเคสในกรณีที่มีคนๆทำขึ้นมาและมีความต้องการในลักษณะนี้
เพราะว่าเราไม่ได้ทำงานในระบบบริษัทนะคะ นี่เป็นตัวอย่างจ๊ะ
หลังจากอ่านเรื่องนี้แล้วจะเห็นได้ว่า
“ทุกปัญหา ล้วนมีคำตอบ
และคนที่ตอบได้ดีที่สุด ก็คือตัวของคุณเอง”
Why so serious?
วิธีหาคำตอบสิ่งต่างๆที่ซ่อนอยู่ภายในใจ รวมถึงการแก้ปัญหาต่างๆด้วยการทำ Mind Map
กระทู้ก่อน วิธีตามหางานที่ใช่หรือสไตล์ที่แท้จริงของตัวเอง อ่านได้ที่นี่ค่ะ http://pantip.com/topic/34089591
ก่อนอื่นเราว่าคงมีผู้รู้หลายๆคนที่เก่งเรื่อง Mind Map มากๆ มากกว่าเราอีกค่ะ และอยู่ใน Pantip นี้ด้วย
อยากจะขออนุญาตผู้เชี่ยวชาญช่วยเสริมหรือแนะนำวิธีการทำ Mind Map ให้ชัดเจนเพิ่มเติมด้วยนะคะ
ถ้าเราอธิบายตกหล่นไปจุดไหน ยังไงค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
ทีนี้ก็ มาเริ่มกันเลยค่ะ
อาจจะมีหลายครั้งหลายคราวที่เราเกิดการลังเล เกิดปัญหาความไม่แน่ใจ หรือหาทางแก้ไขไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะจัดการกับเรื่องพวกนี้ยังไง Mind Map น่าจะช่วยคุณได้อีกทางหนึ่งนะคะ และวันนี้ เราจะมาคุยเรื่องของการทำ Mind Map กัน
วิธีการทำ Mind Map เราขอแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้นะคะ
1.Main Topic
อันนี้Main topic ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะคะ ขึ้นอยู่กับว่าเราสงสัยเรื่องไหน
อยากได้คำตอบเรื่องไหน ซึ่งแต่ละคนต่างอยู่ในสถานการณ์เจอเผชิญสิ่งต่างๆมาต่างกัน
เราขอยกเป็น Topic เกี่ยวกับออกแบบมาเป็น case study ละกันนะคะ
สมมติว่าปัญหาของเราคือ “จะทำงานออกแบบที่เป็นfreelanceหรือทำงานประจำดีล่ะ?”
อันดับแรกให้เขียน Topic หลักค่ะ
2.Topic รอง
เมื่อได้ Main topic แล้วลำดับต่อไปให้ดึงเรื่องที่เกี่ยวข้องออกมา หัวข้อที่เราคิดได้ลำดับที่ 2 ค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 นี้ให้เขียนทุกอย่างที่คุณนึกขึ้นได้เพื่อเตรียมกระจายออก เรานึกถึงอะไรบ้างกับหัวข้อหลักนั้น
ของเราแยกออกมาเป็น 4 ด้านค่ะ คือแยกสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ และข้อพิจารณาระหว่างงานประจำและfreelance
จริงๆแล้วทิศทางการเขียนสามารถเขียนได้หลายแบบค่ะขึ้นอยู่กับหัวข้อนั้นๆว่าเราต้องการเคลียร์ปัญหาเรื่องไหน
ยกตัวอย่างเช่น
– ถ้าเราต้องการหาคำตอบเพื่อโปรเจคเพื่อการตลาด เราอาจแยกในหัวข้อของ 4P = Product,Price,Place,Promotion
– ถ้าเราต้องการหาคำตอบในสิ่งต่างๆที่ไม่แน่ใจ อาจจะใช้ลักษณะของ 5W1H = What,Where,When,Why,Who,How
หรือกรณีที่เราลองทำด้านบนจะเป็นการหาคำตอบให้ตัวเองลักษณะคล้ายแผนภูมิก้างปลาค่ะ เจาะลึกข้อมูล กระจายข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เห็นภาพได้มากขึ้น และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
จากนั้นก็ไปต่อในขั้นตอนที่ 3
3.ทำการแยกข้อมูลเชิง Details
ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่แตกกระจายความคิดที่มีอยู่ในออกมาให้หมด กระจายออกมาให้ได้เยอะที่สุด นึกอะไรได้ที่เดี่ยวข้องพยายามแตกออกมาค่ะ เขียนไปทุกอย่างที่นึกได้เพราะยิ่งเรากระจายออกมาได้เยอะมากเท่าไหร่ เรายิ่งเห็นภาพและตอบคำถามได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
อันนี้ที่เราทำออกมาอาจจะลายตาหน่อยนะคะ แต่พยายามจะแยกออกมาให้เยอะ กระจายย่อยและพยายามจะให้เห็นภาพออกมามากที่สุด เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจระหว่าง 2 ทางเลือกที่ยกตัวอย่างมาคือการตัดสินใจระหว่าง freelance และ งานประจำในสายงานออกแบบ ว่าจะเลือกอะไรดี
**หมายเหตุ : การแตกข้อมูลดีเทลนี้เป็นเพียงทัศนคติส่วนหนึ่งของเราที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่างานไหนแย่นะคะ ทุกงานมีข้อดี ข้อด้อย การเลือกการตัดสินใจหลายๆอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนบุคคลของแต่ละคนค่ะว่าต้องการไปในทิศทางไหน และมีความสนใจทางด้านไหน หากผิดพลาดจุดไหน ต้องขออภัยด้วยนะคะ
มาต่อขั้นตอนที่ 4 ค่ะ
4.Keywords
อันนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่คุณได้ทำการกระจายข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ คือ กระจายข้อมูลเชิงย่อยให้เห็นภาพชัดเจน และเมื่อได้กระจายข้อมูลออกมาทั้งหมดแล้วก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องตามหาคำตอบที่ตรงกับความต้องการของคุณแล้วละค่ะ ว่าตรงไหนเลือก ตรงไหนปล่อย
ในการเลือก Keywords ข้อมูลนี้เราทำเป็นสีเหลืองไว้นะคะ เพื่อจะได้เห็นได้ชัดเจนขึ้น
เทคนิคในการเลือกข้อมูล
ให้ทำการเลือกข้อมูลที่เป็นเชิงบวกนะคะ เวลากระจายข้อมูลเช่นกัน พยายามให้เป็นเชิงบวกไว้ เพราะชีวิตที่ดีมักจะมาจากทัศนคติที่ดีที่เป็น positive นอกจากข้อมูลที่กระจายออกมาในส่วนที่เราไม่สัดทันหรือไม่ชอบ กระจายออกมาเพื่อให้เห็นข้อมูลชัดเจนมากขึ้น
อันนี้อาจจะมี negative บ้าง แต่ในการเลือกนี้เราจะทำการ “โกยทิ้ง”
หมายความว่าข้อมูลที่ไม่ดี มันเป็นลบหรือข้อมูลที่ไม่ได้เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ เป็นข้อมูลที่เราเตรียม shift + delete ไปได้เลย
สรุป
จากการทำ Mind Map ตัดสินใจระหว่างตัวเลือกคือ ทำงานออกแบบที่เป็นงานประจำ หรือทำงานออกแบบที่เป็นงาน Freelance ดี
ข้อสรุปในทัศนคติส่วนเฉพาะที่เราสมมติขึ้นมาคือ
เลือกทำงานสาย Graphic และ Fashion ในลักษณะที่เป็นงานประจำ โปรแกรมที่เลือกใช้หลักๆคือ Photoshop และ illus อาจจะมีโปรแกรมอื่นๆ แล้วแต่กรณีของ Project ไป สาเหตุที่เลือกงานประจำเพราะชอบรู้จักคนใหม่ๆ เราจะมีงานอยู่ตลอดและมีความมั่นคงในเรื่องของรายได้ในแต่ละเดือน ในขณะเดียวกัน ก็เลือกที่จะใช้เวลาที่เหลือในการรับงานที่เป็น Freelance เจาะกลุ่มลูกค่าหรือหาทีมงานที่มีทัศนคติที่ดี ทำงานระบบพี่น้อง เปิดกว้างทางความคิด มีความเป็นผู้ใหญ่และที่สำคัญเป็นคนมีเหตุผลค่ะ
นี่ก็เป็นข้อสรุปของ Mind Map ที่เรายกตัวอย่างขึ้นมา
กรณีดังกล่าวไม่ได้เป็นชีวิตจริงของเรานะคะ เรายกเคสในกรณีที่มีคนๆทำขึ้นมาและมีความต้องการในลักษณะนี้
เพราะว่าเราไม่ได้ทำงานในระบบบริษัทนะคะ นี่เป็นตัวอย่างจ๊ะ
หลังจากอ่านเรื่องนี้แล้วจะเห็นได้ว่า
“ทุกปัญหา ล้วนมีคำตอบ
และคนที่ตอบได้ดีที่สุด ก็คือตัวของคุณเอง”
Why so serious?