สวัสดีค่ะ วันนี้เรามีข้อมูลที่อยากจะมาแชร์ค่ะ ตามหัวข้อด้านบนเลย
หรือถ้าอยากให้คนเข้ามาดูเยอะหน่อย ก็อาจจะตั้งว่ากระทู้ 18+ แฟนมีความต้องการสูงมากค่ะ/ไม่ยอมมีอะไรด้วยครับ ทำไงดี? อะไรทำนองนี้ แต่เผอิญเนื้อหามันไม่ค่อยให้อะ 5555 ขอโทษที่ทำให้ผิดหวังนะคะ
สาเหตุที่เราต้องศึกษาด้านนี้อย่างจริงจังเป็นเพราะเราเองกำลังเจอกับปัญหานี้อยู่ คือเรากับแฟนมีความต้องการที่ไม่เท่ากันค่ะ และทุกครั้งที่คุยเรื่องนี้กับแฟนจะต้องจบที่ทะเลาะกันทุกที จนเราท้อมากๆ เลย
แต่เรารักแฟนเรามาก (ไม่มีไรมาก บอกรักผลัวววว อ่ะไม่ช่ายยยย) คือเราไม่คิดจะเลิกหรือไปมีกิ๊กอะไรทั้งนั้น แต่ก็ไม่อยากปล่อยปัญหาไว้คาราคาซังแบบนี้ ดังนั้นเราเลยไปศึกษาเรื่องความไม่ลงตัวในเรื่องเพศสัมพันธ์กับคู่ชีวิต (Mismatch Libido / Sexual Desire Discrepancy) ตามเว็บนักบำบัดต่างๆ ในบ้านเราบ้าง ต่างประเทศบ้าง เอามาเรียบเรียงใหม่และแปลให้แฟนเราอ่าน เพราะถ้าเอามาเป็นอังกิดทั้งดุ้นนางไม่อ่านค่ะ มันไม่ใช่สไตล์ (ที่จริงคือง่อยน่ะเอง 5555)
ไหนๆ เราก็แปล+เรียบเรียงมาแล้ว ก็เลยถือโอกาสเอามาแชร์ที่นี่ด้วยเลยนะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนคนอื่นๆ ที่อาจกำลังเจอปัญหาแบบเดียวกันค่ะ (ใครอ่านแล้วแหม่งๆ กับสรรพนามที่เราใช้เรียกแฟนก็อย่าแปลกใจนะคะ เราเป็นคู่เลสเบี้ยนค่ะ แต่ข้อมูลที่ศึกษามาจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นนักบำบัดด้านคู่สมรสอยู่แล้ว มันจึงปรับใช้ได้กับทุกเพศค่ะ)
อ่านแล้วใครคิดยังไงมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

คุณยังจำกันได้มั้ย...ตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกับแฟนนั้นเป็นอย่างไร?
ความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ ดึงดูดให้คุณอยากคุยกันบ่อยๆ รู้สึกตัวอีกทีใจก็คอยวนเวียนคิดถึงแต่ใครคนนั้น บางครั้งแค่ได้เห็นหน้า หรือเห็นหลังคาบ้านก็มีความสุขแล้ว จนเมื่อคุณได้คบกัน ความรักของพวกคุณบ่มเพาะจนสุกงอม ถึงจุดหนึ่งมันเริ่มพัฒนาไปเป็นความใคร่ คุณเริ่มมือไม้อยู่ไม่สุข อยากกอด อยากหอม อยากมีอะไรด้วย ร่างกายโหยหาสัมผัสของกันและกัน...
กระบวนการสุกงอมนี้ในทางวิชาการเรียกว่า limerence ซึ่งเกิดจากการขับเคลื่อนโดยสารสื่อประสาท phenylethylamine, dopamine, และ norepinephrine ทำให้คู่รักรู้สึกมีความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน
แต่ที่น่าเสียดายคือช่วงเวลาสุกงอมนี้มันมักไม่ได้คงอยู่ตลอดไป
ส่วนใหญ่แล้วมันมักจะเริ่มค่อยๆ ลดลงหลังจากราวๆ 6 เดือนถึง 2-3 ปี จนเมื่ออารมณ์นั้นหมดไปและเราเข้าสู่ช่วงดำเนินชีวิตแบบวันต่อวัน เราจะเริ่มรู้สึกได้ถึงความต้องการทางเพศที่ไม่ลงตัวกัน ซึ่งที่จริงไม่ได้เกิดจากการรักกันน้อยลงแต่อย่างใด ก็แค่ธรรมชาติของร่างกายแต่ละคนแตกต่างกันในเรื่อง libido (ก็แน่ล่ะใครมันจะโชคดีเจอะคนที่เข้ากันได้ทุกอย่าง ทุกคู่ก็ต้องมีเรื่องที่แตกต่างกันบ้างนิดๆ หน่อยๆ ทั้งนั้น) ทำให้คนใดคนหนึ่งจะต้องการบ่อยกว่าอีกคน เช่นคนหนึ่งอยากจะมีสัก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่อีกคนขอแค่อาทิตย์ละครั้ง หรือสองอาทิตย์ครั้งก็โอเคแล้ว หรือบางคนขอแค่เดือนละครั้งพอ แบบนี้เป็นต้น
เมื่อคู่รักเริ่มมีความไม่ลงตัวทางเพศ ผลที่ตามมาคือจะเกิดปรากฏการณ์ “เรียกร้อง-ถอยหนี” กล่าวคือฝ่ายที่ต้องการก็จะเริ่มเรียกร้องมากขึ้น ทำให้อีกฝ่ายที่ไม่ค่อยอยากต้องเริ่มถอยหนีและคอยหลบเลี่ยง และฝ่ายเรียกร้องเมื่อไม่ได้รับความสนใจหรือตอบสนองก็จะงงๆ ไม่เข้าใจว่าทำไมอีกคนเปลี่ยนไป พอหลายๆ ครั้งเข้าก็จะเริ่มหงุดหงิด โกรธ น้อยใจที่ไม่เป็นที่ต้องการ เสียเซลฟ์ เสียศักดิ์ศรี รู้สึกว่าทำไมแฟนเราเห็นแก่ตัวอย่างนี้ สงสัยเค้าคงไม่รักเราแล้ว สงสัยเค้ามีคนอื่น คิดไปต่างๆ นานา ยิ่งนานวันเข้าความรู้สึกนั้นก็ยิ่งทับถมจนกลายเป็นปมให้ต้องทะเลาะกันในที่สุด
ลักษณะที่เห็นได้ชัดว่าความต้องการไม่สมดุลคือ ฝ่ายถอยหนีจะเริ่มแสดงอาการห่างเหินต่อการมีเพศสัมพันธ์ เช่นรีบเข้านอนก่อน (หรือหลัง แบบรอให้เราหลับก่อน) หรือเวลาถูกสะกิดก็จะมีเหตุผลต่างๆ ไม่ว่าจะเหนื่อย ง่วง ปวดหัว และจะไม่ยอมให้ถูกเนื้อต้องตัว (เพราะกลัวว่ามันอาจนำไปสู่เรื่องอย่างว่าได้) หรือไม่อย่างนั้นก็หาเหตุทะเลาะในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้วยังยิ่งทำให้อีกฝ่ายพยายามคุยและเข้าหาหนักขึ้น ทำให้ต้องยิ่งหนีหนักขึ้น เกิดเป็นความไม่เข้าใจและทะเลาะกัน จากที่ห่างเหินแค่เรื่องบนเตียงก็จะลามไปถึงห่างเหินในชีวิตคู่ ต่างฝ่ายเริ่มเข้าหน้ากันไม่ติด จากที่เคยพูดคุยและใช้เวลาด้วยกันก็เริ่มน้อยลง การแสดงออกซึ่งความรักความใกล้ชิดที่เคยมีจะหายไปจนหมด
สิ่งที่นักบำบัดเจอคือหลายๆ คู่มักมองข้ามปัญหาเพราะอาย/ลำบากใจที่จะพูด/คิดว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ ปล่อยให้มันลุกลามทับถมกันยาวนาน จนทุกอย่างมันสายเกินที่จะเยียวยา เพราะต่างฝ่ายก็ต้องเจ็บปวดและผิดหวังซ้ำๆ จนสูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันและกันจนหมดสิ้น (บางส่วนก็เลิก หรือที่อยู่ด้วยกันก็อยู่แบบจำทนไม่มีความสุข) ทางที่ดีที่สุดคือการรับรู้ปัญหานี้ร่วมกันแต่เนิ่นๆ เพื่อซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่เสียหายให้ฟื้นกลับมาดีดังเดิม
วิธีแก้ต้องทำอย่างไร? คำตอบคือคุณทั้งคู่ต้องมีวิธีคิดที่ถูกต้อง ไม่มีใครบอกคุณได้ถึงขนาดที่ว่าคุณต้องทำ-ไม่ทำอะไร เพราะปัญหาแต่ละคู่ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่วิธีคิดที่ถูกต้องจะทำให้คุณทั้งคู่ผ่านเรื่องนี้ไปได้ด้วยกัน
วิธีคิดที่ถูกต้อง = คุณทั้งคู่ต้องรัก ให้เกียรติ คิดหวังดีต่อคนรักอย่างจริงใจ และพิสูจน์ด้วยการกระทำ (ไม่ใช่แค่คำพูด)
ถ้าคิดจะหยุดวงจรอุบาทว์ของการ “เรียกร้อง-ถอยหนี” คุณทั้งคู่ต้องหยุดตำหนิกันและกันเสียที เพราะท่าทีไม่เป็นมิตรนั้นต่างหากที่ทำให้อะไรๆ มันแย่ลง สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือสิ่งนี้ต่างหาก “การทำความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจคนรัก” คุณต้องรู้ว่าความจริงแล้วเธอยังรักคุณ และที่ผ่านมาเธอเองก็สับสนและเจ็บปวดในเรื่องนี้ไม่น้อยไปกว่าคุณเลย ดังนั้นคุณทั้งคู่จะต้องปล่อยผ่านความขัดแย้งในอดีตและหันมาทำให้สถานการณ์มันดีขึ้น
ถ้าคุณเป็นฝ่ายที่เรียกร้อง คุณต้องรู้จักพยายามที่จะยับยั้งชั่งใจ “ยอมถอยห่าง” และลดท่าทีคาดหวังเรียกร้องของคุณ และหันมาพิสูจน์ให้เธอเห็นว่าคุณเองก็ห่วงใยและใส่ใจในความรู้สึกของเธอ มันสำคัญที่คุณต้องให้เธอเป็นฝ่ายเลือกว่าจะไปต่อหรือจะหยุด เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจของเธอนั้นสำคัญที่สุดสำหรับคุณ (อันที่จริงความไว้ใจเป็นปัจจัยหลักของชีวิตคู่เลยล่ะ)
หรือถ้าคุณเป็นฝ่ายถอยหนี คุณต้องรู้จักที่จะแสดงความรักผ่านทาง “กายสัมผัส” ให้มากขึ้น...เริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นการกอด การหอม ฯลฯ
กังวลให้น้อยลงและตั้งใจให้มากขึ้น แสดงให้อีกคนได้รับรู้ว่าเธอยังคงสำคัญสำหรับคุณอยู่นะ และคุณพร้อมจะช่วยให้อะไรๆ มันดีขึ้น... หรือถ้าคุณไม่พร้อมจริงๆ คุณจำเป็นต้องแสดงออกให้เธอคนนั้นรู้ว่าคุณยังคงแคร์เธอ และความสุขของเธอในเรื่องอะไรก็ตาม (แม้แต่เรื่องบนเตียง) ยังคงสำคัญสำหรับคุณเสมอ...ไว้พรุ่งนี้เรามาพยายามกันใหม่นะที่รัก ฯลฯ
เป็นที่ยอมรับในทางสากลว่าความสัมพันธ์แบบคนรักจำเป็นต้องมีการร่วมรักเพื่อสร้างความรู้สึกใกล้ชิดและไว้เนื้อเชื่อใจกัน เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตคู่ดำเนินไปอย่างราบรื่น ดร.เวย์เนอร์ เดวิส เคยแนะนำสาวๆ ว่าเวลาแบบนั้นคุณก็ “ทำไปเถอะ” คิดหาเหตุผลมากไปก็เสื่อมเปล่าๆ ความต้องการเป็นสิ่งที่รอให้พร้อมมันก็ไม่เคยพร้อม มันต้องเริ่มก่อนจึงจะไปถึงจุดนั้นได้ และในท้ายที่สุดแล้วคุณก็น่าจะมีความสุขมากกว่าเดิมด้วย
โปรดอย่าลืมว่าการที่คนสองคนจะมาใช้ชีวิตร่วมกัน คุณรับรู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าทั้งคู่จะต้องช่วยกันทำมาหากิน ไปเที่ยวด้วยกัน ทำอาหาร...กินข้าวด้วยกัน ทำความสะอาดบ้านด้วยกัน เลี้ยงลูกด้วยกัน รวมถึงมีเรื่องบนเตียงด้วยกัน
คุณรู้จักซื้อของกินของใช้เข้าบ้าน ไม่เคยลืมทำความสะอาดบ้าน ดังนั้นเรื่องเพศก็ควรอยู่ในตารางชีวิตคู่ของคุณเช่นเดียวกันนะคะ
Credits: #MattySilver #YvonneFulbright #DrRosieKing #BettinaArndt #MicheleWeinerDavis
ความไม่ลงตัวในเรื่องเพศสัมพันธ์กับคู่ชีวิต
หรือถ้าอยากให้คนเข้ามาดูเยอะหน่อย ก็อาจจะตั้งว่ากระทู้ 18+ แฟนมีความต้องการสูงมากค่ะ/ไม่ยอมมีอะไรด้วยครับ ทำไงดี? อะไรทำนองนี้ แต่เผอิญเนื้อหามันไม่ค่อยให้อะ 5555 ขอโทษที่ทำให้ผิดหวังนะคะ
สาเหตุที่เราต้องศึกษาด้านนี้อย่างจริงจังเป็นเพราะเราเองกำลังเจอกับปัญหานี้อยู่ คือเรากับแฟนมีความต้องการที่ไม่เท่ากันค่ะ และทุกครั้งที่คุยเรื่องนี้กับแฟนจะต้องจบที่ทะเลาะกันทุกที จนเราท้อมากๆ เลย
แต่เรารักแฟนเรามาก (ไม่มีไรมาก บอกรักผลัวววว อ่ะไม่ช่ายยยย) คือเราไม่คิดจะเลิกหรือไปมีกิ๊กอะไรทั้งนั้น แต่ก็ไม่อยากปล่อยปัญหาไว้คาราคาซังแบบนี้ ดังนั้นเราเลยไปศึกษาเรื่องความไม่ลงตัวในเรื่องเพศสัมพันธ์กับคู่ชีวิต (Mismatch Libido / Sexual Desire Discrepancy) ตามเว็บนักบำบัดต่างๆ ในบ้านเราบ้าง ต่างประเทศบ้าง เอามาเรียบเรียงใหม่และแปลให้แฟนเราอ่าน เพราะถ้าเอามาเป็นอังกิดทั้งดุ้นนางไม่อ่านค่ะ มันไม่ใช่สไตล์ (ที่จริงคือง่อยน่ะเอง 5555)
ไหนๆ เราก็แปล+เรียบเรียงมาแล้ว ก็เลยถือโอกาสเอามาแชร์ที่นี่ด้วยเลยนะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนคนอื่นๆ ที่อาจกำลังเจอปัญหาแบบเดียวกันค่ะ (ใครอ่านแล้วแหม่งๆ กับสรรพนามที่เราใช้เรียกแฟนก็อย่าแปลกใจนะคะ เราเป็นคู่เลสเบี้ยนค่ะ แต่ข้อมูลที่ศึกษามาจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นนักบำบัดด้านคู่สมรสอยู่แล้ว มันจึงปรับใช้ได้กับทุกเพศค่ะ)
อ่านแล้วใครคิดยังไงมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
คุณยังจำกันได้มั้ย...ตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกับแฟนนั้นเป็นอย่างไร?
ความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ ดึงดูดให้คุณอยากคุยกันบ่อยๆ รู้สึกตัวอีกทีใจก็คอยวนเวียนคิดถึงแต่ใครคนนั้น บางครั้งแค่ได้เห็นหน้า หรือเห็นหลังคาบ้านก็มีความสุขแล้ว จนเมื่อคุณได้คบกัน ความรักของพวกคุณบ่มเพาะจนสุกงอม ถึงจุดหนึ่งมันเริ่มพัฒนาไปเป็นความใคร่ คุณเริ่มมือไม้อยู่ไม่สุข อยากกอด อยากหอม อยากมีอะไรด้วย ร่างกายโหยหาสัมผัสของกันและกัน...
กระบวนการสุกงอมนี้ในทางวิชาการเรียกว่า limerence ซึ่งเกิดจากการขับเคลื่อนโดยสารสื่อประสาท phenylethylamine, dopamine, และ norepinephrine ทำให้คู่รักรู้สึกมีความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน
แต่ที่น่าเสียดายคือช่วงเวลาสุกงอมนี้มันมักไม่ได้คงอยู่ตลอดไป
ส่วนใหญ่แล้วมันมักจะเริ่มค่อยๆ ลดลงหลังจากราวๆ 6 เดือนถึง 2-3 ปี จนเมื่ออารมณ์นั้นหมดไปและเราเข้าสู่ช่วงดำเนินชีวิตแบบวันต่อวัน เราจะเริ่มรู้สึกได้ถึงความต้องการทางเพศที่ไม่ลงตัวกัน ซึ่งที่จริงไม่ได้เกิดจากการรักกันน้อยลงแต่อย่างใด ก็แค่ธรรมชาติของร่างกายแต่ละคนแตกต่างกันในเรื่อง libido (ก็แน่ล่ะใครมันจะโชคดีเจอะคนที่เข้ากันได้ทุกอย่าง ทุกคู่ก็ต้องมีเรื่องที่แตกต่างกันบ้างนิดๆ หน่อยๆ ทั้งนั้น) ทำให้คนใดคนหนึ่งจะต้องการบ่อยกว่าอีกคน เช่นคนหนึ่งอยากจะมีสัก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่อีกคนขอแค่อาทิตย์ละครั้ง หรือสองอาทิตย์ครั้งก็โอเคแล้ว หรือบางคนขอแค่เดือนละครั้งพอ แบบนี้เป็นต้น
เมื่อคู่รักเริ่มมีความไม่ลงตัวทางเพศ ผลที่ตามมาคือจะเกิดปรากฏการณ์ “เรียกร้อง-ถอยหนี” กล่าวคือฝ่ายที่ต้องการก็จะเริ่มเรียกร้องมากขึ้น ทำให้อีกฝ่ายที่ไม่ค่อยอยากต้องเริ่มถอยหนีและคอยหลบเลี่ยง และฝ่ายเรียกร้องเมื่อไม่ได้รับความสนใจหรือตอบสนองก็จะงงๆ ไม่เข้าใจว่าทำไมอีกคนเปลี่ยนไป พอหลายๆ ครั้งเข้าก็จะเริ่มหงุดหงิด โกรธ น้อยใจที่ไม่เป็นที่ต้องการ เสียเซลฟ์ เสียศักดิ์ศรี รู้สึกว่าทำไมแฟนเราเห็นแก่ตัวอย่างนี้ สงสัยเค้าคงไม่รักเราแล้ว สงสัยเค้ามีคนอื่น คิดไปต่างๆ นานา ยิ่งนานวันเข้าความรู้สึกนั้นก็ยิ่งทับถมจนกลายเป็นปมให้ต้องทะเลาะกันในที่สุด
ลักษณะที่เห็นได้ชัดว่าความต้องการไม่สมดุลคือ ฝ่ายถอยหนีจะเริ่มแสดงอาการห่างเหินต่อการมีเพศสัมพันธ์ เช่นรีบเข้านอนก่อน (หรือหลัง แบบรอให้เราหลับก่อน) หรือเวลาถูกสะกิดก็จะมีเหตุผลต่างๆ ไม่ว่าจะเหนื่อย ง่วง ปวดหัว และจะไม่ยอมให้ถูกเนื้อต้องตัว (เพราะกลัวว่ามันอาจนำไปสู่เรื่องอย่างว่าได้) หรือไม่อย่างนั้นก็หาเหตุทะเลาะในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้วยังยิ่งทำให้อีกฝ่ายพยายามคุยและเข้าหาหนักขึ้น ทำให้ต้องยิ่งหนีหนักขึ้น เกิดเป็นความไม่เข้าใจและทะเลาะกัน จากที่ห่างเหินแค่เรื่องบนเตียงก็จะลามไปถึงห่างเหินในชีวิตคู่ ต่างฝ่ายเริ่มเข้าหน้ากันไม่ติด จากที่เคยพูดคุยและใช้เวลาด้วยกันก็เริ่มน้อยลง การแสดงออกซึ่งความรักความใกล้ชิดที่เคยมีจะหายไปจนหมด
สิ่งที่นักบำบัดเจอคือหลายๆ คู่มักมองข้ามปัญหาเพราะอาย/ลำบากใจที่จะพูด/คิดว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ ปล่อยให้มันลุกลามทับถมกันยาวนาน จนทุกอย่างมันสายเกินที่จะเยียวยา เพราะต่างฝ่ายก็ต้องเจ็บปวดและผิดหวังซ้ำๆ จนสูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันและกันจนหมดสิ้น (บางส่วนก็เลิก หรือที่อยู่ด้วยกันก็อยู่แบบจำทนไม่มีความสุข) ทางที่ดีที่สุดคือการรับรู้ปัญหานี้ร่วมกันแต่เนิ่นๆ เพื่อซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่เสียหายให้ฟื้นกลับมาดีดังเดิม
วิธีแก้ต้องทำอย่างไร? คำตอบคือคุณทั้งคู่ต้องมีวิธีคิดที่ถูกต้อง ไม่มีใครบอกคุณได้ถึงขนาดที่ว่าคุณต้องทำ-ไม่ทำอะไร เพราะปัญหาแต่ละคู่ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่วิธีคิดที่ถูกต้องจะทำให้คุณทั้งคู่ผ่านเรื่องนี้ไปได้ด้วยกัน
วิธีคิดที่ถูกต้อง = คุณทั้งคู่ต้องรัก ให้เกียรติ คิดหวังดีต่อคนรักอย่างจริงใจ และพิสูจน์ด้วยการกระทำ (ไม่ใช่แค่คำพูด)
ถ้าคิดจะหยุดวงจรอุบาทว์ของการ “เรียกร้อง-ถอยหนี” คุณทั้งคู่ต้องหยุดตำหนิกันและกันเสียที เพราะท่าทีไม่เป็นมิตรนั้นต่างหากที่ทำให้อะไรๆ มันแย่ลง สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือสิ่งนี้ต่างหาก “การทำความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจคนรัก” คุณต้องรู้ว่าความจริงแล้วเธอยังรักคุณ และที่ผ่านมาเธอเองก็สับสนและเจ็บปวดในเรื่องนี้ไม่น้อยไปกว่าคุณเลย ดังนั้นคุณทั้งคู่จะต้องปล่อยผ่านความขัดแย้งในอดีตและหันมาทำให้สถานการณ์มันดีขึ้น
ถ้าคุณเป็นฝ่ายที่เรียกร้อง คุณต้องรู้จักพยายามที่จะยับยั้งชั่งใจ “ยอมถอยห่าง” และลดท่าทีคาดหวังเรียกร้องของคุณ และหันมาพิสูจน์ให้เธอเห็นว่าคุณเองก็ห่วงใยและใส่ใจในความรู้สึกของเธอ มันสำคัญที่คุณต้องให้เธอเป็นฝ่ายเลือกว่าจะไปต่อหรือจะหยุด เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจของเธอนั้นสำคัญที่สุดสำหรับคุณ (อันที่จริงความไว้ใจเป็นปัจจัยหลักของชีวิตคู่เลยล่ะ)
หรือถ้าคุณเป็นฝ่ายถอยหนี คุณต้องรู้จักที่จะแสดงความรักผ่านทาง “กายสัมผัส” ให้มากขึ้น...เริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นการกอด การหอม ฯลฯ
กังวลให้น้อยลงและตั้งใจให้มากขึ้น แสดงให้อีกคนได้รับรู้ว่าเธอยังคงสำคัญสำหรับคุณอยู่นะ และคุณพร้อมจะช่วยให้อะไรๆ มันดีขึ้น... หรือถ้าคุณไม่พร้อมจริงๆ คุณจำเป็นต้องแสดงออกให้เธอคนนั้นรู้ว่าคุณยังคงแคร์เธอ และความสุขของเธอในเรื่องอะไรก็ตาม (แม้แต่เรื่องบนเตียง) ยังคงสำคัญสำหรับคุณเสมอ...ไว้พรุ่งนี้เรามาพยายามกันใหม่นะที่รัก ฯลฯ
เป็นที่ยอมรับในทางสากลว่าความสัมพันธ์แบบคนรักจำเป็นต้องมีการร่วมรักเพื่อสร้างความรู้สึกใกล้ชิดและไว้เนื้อเชื่อใจกัน เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตคู่ดำเนินไปอย่างราบรื่น ดร.เวย์เนอร์ เดวิส เคยแนะนำสาวๆ ว่าเวลาแบบนั้นคุณก็ “ทำไปเถอะ” คิดหาเหตุผลมากไปก็เสื่อมเปล่าๆ ความต้องการเป็นสิ่งที่รอให้พร้อมมันก็ไม่เคยพร้อม มันต้องเริ่มก่อนจึงจะไปถึงจุดนั้นได้ และในท้ายที่สุดแล้วคุณก็น่าจะมีความสุขมากกว่าเดิมด้วย
โปรดอย่าลืมว่าการที่คนสองคนจะมาใช้ชีวิตร่วมกัน คุณรับรู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าทั้งคู่จะต้องช่วยกันทำมาหากิน ไปเที่ยวด้วยกัน ทำอาหาร...กินข้าวด้วยกัน ทำความสะอาดบ้านด้วยกัน เลี้ยงลูกด้วยกัน รวมถึงมีเรื่องบนเตียงด้วยกัน
คุณรู้จักซื้อของกินของใช้เข้าบ้าน ไม่เคยลืมทำความสะอาดบ้าน ดังนั้นเรื่องเพศก็ควรอยู่ในตารางชีวิตคู่ของคุณเช่นเดียวกันนะคะ
Credits: #MattySilver #YvonneFulbright #DrRosieKing #BettinaArndt #MicheleWeinerDavis