Part1 แอร์ฉะนักบินใน cockpit “มันแรงเกินไปนะ"
“Happy 283, runway wet, wind 010 15knot gusting 30knot, runway 09 clear to land” เสียง ATC ดังขึ้นภายในห้อง cockpit บ่งบอกว่าสามารถนำเครื่องลงจอดได้ ณ สนามบินภูเก็ต แม้จะมีฝนตกและลมแรง
“Resume checklist” แบงค์เอ่ยขึ้น ขณะที่มือขวาจับจอยสติ้ก มือซ้ายจับ throttle
‘Landing Clearance” กัปตันจอนห์น ซึ่งเป็น PIC(Pilot in Command) แต่ไฟล์นี้ทำหน้าที่เป็น PNF(Pilot non fly) พูดต่อ
“Received”
“Landing checklist complete”
“ไหวมั้ย? ถ้าไม่ไหวบอกนะ” กัปตันจอห์น ประเมินสถานการณ์เนื่องจากทางหอบังคับการบินได้บอกว่า ที่สนามบินมีลมแรงในทิศทางเกือบตั้งฉากกับสนามบินเป็นความเร็วถึง 15 นอต และอาจมีลมกรรโชกถึง 30 นอตและมีฝนตกทำให้ runwayเปียก ซึ่งนั้นก็เพียงพอที่จะทำให้นกยักษ์น้ำหนัก60 กว่าตันปลิวหรือไถล ลงไปกินหญ้าข้างทาง
“ไหวครับ แต่กัปตันช่วย monitor แล้วกันนะครับ” แบงค์พูดรับคำ แม้ยังไม่มั่นใจนัก “ผมปลด auto pilot ที่ minimum เลยนะครับ”
“ok”
“One-hundred above” เสียง auto-callout ดังขึ้นโดยอัตโนมัติ
“One-thousand “ ขณะนั้นเครื่องอยู่สูงจากพื้นดิน 1000 ฟุตหรือ ประมาณ 300เมตร
“Stabilized” กัปตันจอนห์นพูดบ่งบอกว่าสามารถนำเครื่อง approachเพื่อที่จะ landingได้
“Continued”แบงค์ตอบกลับ ให้สัญญาณว่า PFจะนำเครื่องลง
“Minimum” เครื่องบินอยู่ที่ความสูงที่ตัดสินใจว่าจะนำเครื่องลงจอดหรือไม่
“Continued” แบงค์ยืนยันว่าจะนำเครื่องลง พร้อมกับกล่าวว่า
“AP off”
“ลืมอะไรหรือเปล่า” กัปตันเตือน
“เปล่าครับ” แบงค์กำลังมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการบังคับเครื่องบินจนลืมบางสิ่งบางอย่างให้
“เดี๋ยวพี่ FD off, Bird on, set runway track ให้นะ” กัปตันไม่อยากเสียเวลาต่อไป จึงทำขั้นตอนการบินให้เลย พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบงค์ตลอดเวลา
“อย่าให้หลุด centerline นะ”
“ดู ปาปี้ เอาไว้”
“ตกขวาแล้ว แก้เร็ว”
“เยอะเกินมาซ้ายและ”
“3 ขาวแล้ว กดหัวลงหน่อย”
“โหย sink rate เกินพันแล้ว”
“เละ”
ในช่วงเวลาไม่ถึง 30 วินาที เครื่องบินเสียความสูงไปเกือบ 500 ฟุต และเครื่องยังโคลงเคลง ไม่อยู่ในสภาพนิ่ง กัปตันจอห์นประเมินว่าแบงค์ยังไม่สามารถเอาเครื่องอยู่ในสภาพลมแรงเช่นนี้ จึงทำหน้าที่ควบคุมเครื่องเอง
“I have control”
“You have control”
“ลมแ-่งแรงจิง เดี๋ยวพี่ลง Firm หน่อยนะ” ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน กัปตันตัดสินใจลงกระแทกเพื่อให้เครื่องเกาะ runway ลดความเสี่ยงที่จะลื่นไถลตก ขอบทาง ในสภาพอากาศเช่นนี้
“ครับ”
“Fifty” Auto-call out ดังขึ้นอีกครั้ง บ่งบอกระยะความสูงในหน่วยฟุตจากพื้นดิน
ทันใดนั้นเองได้มีลมลูกใหม่พัดเข้าทำให้เครื่องลอยขึ้นไปด้านขวาอย่างรวดเร็ว กัปตันจับความรู้สึกและภาพที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมเอียงปีกมาซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เครื่องกลับมาที่ center line พร้อมตรึงเท้าที่ rudder
“Forty”
“Thirty”
“Retard retard retard” กัปตันดึง throttle ลงมาจนถึงตำแหน่ง idle reverse พร้อมเหยียบเท้าขวาให้หัวตรงขนานกลาง runway
“ตึง!” เสียงล้อกระทบพื้น ได้ยินสนั่นไปทั้งลำ
“Spoiler, reverse green, decel” แบงค์ขานลักษณะของเครื่อง ตาม standard after landing
“70 knot”
“ฟู่” แบงค์เป่าปากเพื่อความโล่งใจ แล้วกัปตันก็ taxi ต่อเพื่อจะนำเครื่องเข้าสู่ bay
หลังจาก disembark ผู้โดยสารลงจากเครื่องเรียบร้อยแล้ว แก้ว แอร์โฮสเตสสาว นัยน์ตาคมหน้าตาดูเป็นคนดุ วิ่งมาจากแกลลี่ข้างหลัง มายัง cockpit
“พี่นักบิน วันนี้ลงแรงไปนะ หนูไส้ไหลแล้วเนี่ย” น้องแก้วเหวี่ยงแบงค์ซึ่งเธอได้รู้ตอนเริ่มไฟล์ทว่าแบงค์เป็นคนบิน
“เอ่อ... ขอโทษครับ” แบงค์อ้ำอึ้งแต่จำใจขอโทษไป
“ไม่ต้องคิดมากนะพี่ แค่วันนี้ผู้โดยเค้าเยอะ ตอนลงก็ยังมาบ่นหนูอีก หนูก็มาบ่นพี่ต่อ แต่วันหลังไม่เอาแล้วนะ”
แก้วพูดเชิงปลอบพร้อมเหน็บไปในตัว
“ตอนลงพี่เป็นคนลงเอง” กัปตันจอห์นเอ่ยขึ้น
“อ้าว... ก็ว่าอยู่ อากาศไม่ค่อยดี ลงอย่างนี้เค้าว่ากันว่าปลอดภัย” แล้วน้องแก้วก็รีบกลับไปประจำที่ของตัวเอง ทำตัวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
Nice to know : ก่อนทำการบิน กัปตันและ co-pilot จะแบ่งหน้าที่ในแต่ละไฟล์ทเสมอว่าใครจะเป็น PNF (Pilot non Fly) หรือ PF(Pilot Fly) โดยหน้าที่ของ PNF จะทำการติดต่อวิทยุ และรับคำสั่งจาก PF เพื่อปฏิบัติการบิน รวมทั้งช่วยสอดส่องสถานการณ์ในการบิน ส่วน PF จะทำการบังคับเครื่องบินและmonitor การบินตลอดเส้นทาง ถ้า co-pilot เป็น PF ไฟล์ทนั้น กัปตันก็จะให้ co-pilot บินแต่หน้าที่การตัดสินใจในการบินโดยรวมเนื่องจากประสบการณ์ที่มีมามากกว่าและได้รับการcertified จากกรมการบินพลเรือนเรียบร้อยแล้ว กัปตันจึงมีอีกหัวโขนนึงว่า PIC(Pilot in Command) นั่นเอง ดังนั้นตามที่ผมเคยได้ถูกถามอยู่หลายครั้งว่า
“Co-pilot แค่ช่วยกดปุ่มให้กัปตันอย่างเดียวใช่มั้ย?”
คำตอบก็คือไม่ใช่นะครับ ตามคำอธิบายข้างบน ขอเสริมเพิ่มอีกว่า ก่อนจะ release ให้ co-pilot ทำการบิน เราได้ผ่านการเทรนนิ่งอย่างหนักหน่วง ทั้งการเรียนขับเครื่องบินเล็กทั้ง 1และ2 เครื่องยนต์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ และผ่านการทดสอบจากกรมการบินพลเรือนจนได้ CPL( Commercial Pilot License) และยังต้องมาเรียนเพื่อที่จะได้ type rating ของเครื่องบินแต่ละรุ่น ทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติและการทดสอบเช่นเดียวกัน ร่วมๆกันประมาณ 2ปี นี่ยังไม่รวมกับระยะเวลาเตรียมตัวเพื่อเตรียมสอบเข้าโรงเรียนการบิน หรือการสอบเป็น student pilot ของแต่ละสายการบินอีก เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่า co-pilot น้องใหม่ ก็ไม่ใช่ไก่กานะคร้าบ อีกอย่างทุกเที่ยวบินกัปตันที่เป็น PIC ก็จะรับหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทั้งไฟล์ท รวมทั้งแนะนำ และเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ co-pilot เพื่อที่จะเป็นกัปตันที่ดีในอนาคต เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ ไม่ว่าใครบินเราก็จะพาผู้โดยสารไปส่งถึงที่หมายอย่างปลอดภัยแน่นอนและอีกอย่างที่มักจะโดนถามบ่อยๆ ถ้าวันไหนแลนด์ไม่ smooth หรือไม่นิ่มก็จะโดนแอร์เม้าส์ทั้งในและนอกใจว่า
"ไฟล์ทนี้ พี่ (co-pilot) บินแน่ๆเลย”
ส่วนหนึ่งก็อาจจะใช่ เนื่องจากพวกเราประสบการณ์น้อย ไม่เหมือนกัปตันที่ผ่านการแลนดิ้งมาเป็นอย่างน้อยๆก็ ครึ่งหมื่น แต่บางส่วนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ถ้ามีปัยจัยเรื่องลมแรงมากๆ runwayลื่นหรือเปียก หรือ runway สั้น นักบินก็อาจตัดสินใจลงกระแทกเพื่อให้ล้อเกาะกับพื้น runway ไม่ให้ลื่นไถลและหยุดได้เร็วที่สุดนั้นเอง
ในเนื้อเรื่องข้างต้นกล่าวถึงการ landing ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมตามจาก Link ข้างล่างครับ
สามารถติดตามตอนต่างๆตามลิงค์ครับ->
http://pantip.com/profile/2560955
และฝากติดตาม Facebook fanpage ->
https://www.facebook.com/pages/Safe-Flight-Always/689493954515912
จากใจนักเขียน
สวัสดีครับท่านผู้โดยสารทุกท่าน เอ้ย! ผู้อ่านทุกท่าน ขอบคุณนะครับสำหรับการติดตาม เนื่องจากผู้เขียนมีความรู้ทางด้านการบินอยู่ประมาณหนึ่ง เลยอยากจะนำเสนอในภาษาที่เข้าใจง่ายผ่านตัวละครเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงการบินมากขึ้นและมีความรู้ทางด้านการบินเพิ่มขึ้น รวมทั้งรับรู้ว่าทุกคนในสายอาชีพการบินเราทำงานอย่างตั้งใจ เป็นมืออาชีพ เพื่อเหตุผลทางด้านความปลอดภัยในการส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายปลายทาง อีกทั้งยังอยากเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนที่อยากเข้ามาในเส้นทางการบิน
ทั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญในด้านการเขียนหรือรอบรู้ทางด้านการบินไปซะทั้งหมด มีการนำบทความหรือรูปภาพจากหลายๆแหล่งมาเพื่อใช้ประกอบ หากมีการผิดลิขสิทธิ์ประการใด โปรดแนะนำเพื่อจะนำไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ในส่วนอื่นๆอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็จะพยายามทำให้อย่างเต็มที่ ขอกำลังใจให้ผู้เขียนโดยการติดตาม เสนอแนะ commentหรือโหวตได้นะครับ รวมถึงถ้าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับการบินก็แนะนำกันได้ ผู้เขียนจะพยายามสอดแทรกลงไปในเนื้อเรื่องให้นะครับ
[Safe Flight Always: EP2 prepare for landing] แอร์ฉะนักบินใน cockpit “มันแรงเกินไปนะ”
Credit: http://cdn-www.airliners.net/aviation-photos/photos/4/0/1/1170104.jpg
“Happy 283, runway wet, wind 010 15knot gusting 30knot, runway 09 clear to land” เสียง ATC ดังขึ้นภายในห้อง cockpit บ่งบอกว่าสามารถนำเครื่องลงจอดได้ ณ สนามบินภูเก็ต แม้จะมีฝนตกและลมแรง
“Resume checklist” แบงค์เอ่ยขึ้น ขณะที่มือขวาจับจอยสติ้ก มือซ้ายจับ throttle
‘Landing Clearance” กัปตันจอนห์น ซึ่งเป็น PIC(Pilot in Command) แต่ไฟล์นี้ทำหน้าที่เป็น PNF(Pilot non fly) พูดต่อ
“Received”
“Landing checklist complete”
“ไหวมั้ย? ถ้าไม่ไหวบอกนะ” กัปตันจอห์น ประเมินสถานการณ์เนื่องจากทางหอบังคับการบินได้บอกว่า ที่สนามบินมีลมแรงในทิศทางเกือบตั้งฉากกับสนามบินเป็นความเร็วถึง 15 นอต และอาจมีลมกรรโชกถึง 30 นอตและมีฝนตกทำให้ runwayเปียก ซึ่งนั้นก็เพียงพอที่จะทำให้นกยักษ์น้ำหนัก60 กว่าตันปลิวหรือไถล ลงไปกินหญ้าข้างทาง
“ไหวครับ แต่กัปตันช่วย monitor แล้วกันนะครับ” แบงค์พูดรับคำ แม้ยังไม่มั่นใจนัก “ผมปลด auto pilot ที่ minimum เลยนะครับ”
“ok”
“One-hundred above” เสียง auto-callout ดังขึ้นโดยอัตโนมัติ
“One-thousand “ ขณะนั้นเครื่องอยู่สูงจากพื้นดิน 1000 ฟุตหรือ ประมาณ 300เมตร
“Stabilized” กัปตันจอนห์นพูดบ่งบอกว่าสามารถนำเครื่อง approachเพื่อที่จะ landingได้
“Continued”แบงค์ตอบกลับ ให้สัญญาณว่า PFจะนำเครื่องลง
“Minimum” เครื่องบินอยู่ที่ความสูงที่ตัดสินใจว่าจะนำเครื่องลงจอดหรือไม่
“Continued” แบงค์ยืนยันว่าจะนำเครื่องลง พร้อมกับกล่าวว่า
“AP off”
“ลืมอะไรหรือเปล่า” กัปตันเตือน
“เปล่าครับ” แบงค์กำลังมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการบังคับเครื่องบินจนลืมบางสิ่งบางอย่างให้
“เดี๋ยวพี่ FD off, Bird on, set runway track ให้นะ” กัปตันไม่อยากเสียเวลาต่อไป จึงทำขั้นตอนการบินให้เลย พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบงค์ตลอดเวลา
“อย่าให้หลุด centerline นะ”
“ดู ปาปี้ เอาไว้”
“ตกขวาแล้ว แก้เร็ว”
“เยอะเกินมาซ้ายและ”
“3 ขาวแล้ว กดหัวลงหน่อย”
“โหย sink rate เกินพันแล้ว”
“เละ”
ในช่วงเวลาไม่ถึง 30 วินาที เครื่องบินเสียความสูงไปเกือบ 500 ฟุต และเครื่องยังโคลงเคลง ไม่อยู่ในสภาพนิ่ง กัปตันจอห์นประเมินว่าแบงค์ยังไม่สามารถเอาเครื่องอยู่ในสภาพลมแรงเช่นนี้ จึงทำหน้าที่ควบคุมเครื่องเอง
“I have control”
“You have control”
“ลมแ-่งแรงจิง เดี๋ยวพี่ลง Firm หน่อยนะ” ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน กัปตันตัดสินใจลงกระแทกเพื่อให้เครื่องเกาะ runway ลดความเสี่ยงที่จะลื่นไถลตก ขอบทาง ในสภาพอากาศเช่นนี้
“ครับ”
“Fifty” Auto-call out ดังขึ้นอีกครั้ง บ่งบอกระยะความสูงในหน่วยฟุตจากพื้นดิน
ทันใดนั้นเองได้มีลมลูกใหม่พัดเข้าทำให้เครื่องลอยขึ้นไปด้านขวาอย่างรวดเร็ว กัปตันจับความรู้สึกและภาพที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมเอียงปีกมาซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เครื่องกลับมาที่ center line พร้อมตรึงเท้าที่ rudder
“Forty”
“Thirty”
“Retard retard retard” กัปตันดึง throttle ลงมาจนถึงตำแหน่ง idle reverse พร้อมเหยียบเท้าขวาให้หัวตรงขนานกลาง runway
“ตึง!” เสียงล้อกระทบพื้น ได้ยินสนั่นไปทั้งลำ
“Spoiler, reverse green, decel” แบงค์ขานลักษณะของเครื่อง ตาม standard after landing
“70 knot”
“ฟู่” แบงค์เป่าปากเพื่อความโล่งใจ แล้วกัปตันก็ taxi ต่อเพื่อจะนำเครื่องเข้าสู่ bay
หลังจาก disembark ผู้โดยสารลงจากเครื่องเรียบร้อยแล้ว แก้ว แอร์โฮสเตสสาว นัยน์ตาคมหน้าตาดูเป็นคนดุ วิ่งมาจากแกลลี่ข้างหลัง มายัง cockpit
“พี่นักบิน วันนี้ลงแรงไปนะ หนูไส้ไหลแล้วเนี่ย” น้องแก้วเหวี่ยงแบงค์ซึ่งเธอได้รู้ตอนเริ่มไฟล์ทว่าแบงค์เป็นคนบิน
“เอ่อ... ขอโทษครับ” แบงค์อ้ำอึ้งแต่จำใจขอโทษไป
“ไม่ต้องคิดมากนะพี่ แค่วันนี้ผู้โดยเค้าเยอะ ตอนลงก็ยังมาบ่นหนูอีก หนูก็มาบ่นพี่ต่อ แต่วันหลังไม่เอาแล้วนะ”
แก้วพูดเชิงปลอบพร้อมเหน็บไปในตัว
“ตอนลงพี่เป็นคนลงเอง” กัปตันจอห์นเอ่ยขึ้น
“อ้าว... ก็ว่าอยู่ อากาศไม่ค่อยดี ลงอย่างนี้เค้าว่ากันว่าปลอดภัย” แล้วน้องแก้วก็รีบกลับไปประจำที่ของตัวเอง ทำตัวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
Nice to know : ก่อนทำการบิน กัปตันและ co-pilot จะแบ่งหน้าที่ในแต่ละไฟล์ทเสมอว่าใครจะเป็น PNF (Pilot non Fly) หรือ PF(Pilot Fly) โดยหน้าที่ของ PNF จะทำการติดต่อวิทยุ และรับคำสั่งจาก PF เพื่อปฏิบัติการบิน รวมทั้งช่วยสอดส่องสถานการณ์ในการบิน ส่วน PF จะทำการบังคับเครื่องบินและmonitor การบินตลอดเส้นทาง ถ้า co-pilot เป็น PF ไฟล์ทนั้น กัปตันก็จะให้ co-pilot บินแต่หน้าที่การตัดสินใจในการบินโดยรวมเนื่องจากประสบการณ์ที่มีมามากกว่าและได้รับการcertified จากกรมการบินพลเรือนเรียบร้อยแล้ว กัปตันจึงมีอีกหัวโขนนึงว่า PIC(Pilot in Command) นั่นเอง ดังนั้นตามที่ผมเคยได้ถูกถามอยู่หลายครั้งว่า
“Co-pilot แค่ช่วยกดปุ่มให้กัปตันอย่างเดียวใช่มั้ย?”
คำตอบก็คือไม่ใช่นะครับ ตามคำอธิบายข้างบน ขอเสริมเพิ่มอีกว่า ก่อนจะ release ให้ co-pilot ทำการบิน เราได้ผ่านการเทรนนิ่งอย่างหนักหน่วง ทั้งการเรียนขับเครื่องบินเล็กทั้ง 1และ2 เครื่องยนต์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ และผ่านการทดสอบจากกรมการบินพลเรือนจนได้ CPL( Commercial Pilot License) และยังต้องมาเรียนเพื่อที่จะได้ type rating ของเครื่องบินแต่ละรุ่น ทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติและการทดสอบเช่นเดียวกัน ร่วมๆกันประมาณ 2ปี นี่ยังไม่รวมกับระยะเวลาเตรียมตัวเพื่อเตรียมสอบเข้าโรงเรียนการบิน หรือการสอบเป็น student pilot ของแต่ละสายการบินอีก เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่า co-pilot น้องใหม่ ก็ไม่ใช่ไก่กานะคร้าบ อีกอย่างทุกเที่ยวบินกัปตันที่เป็น PIC ก็จะรับหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทั้งไฟล์ท รวมทั้งแนะนำ และเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ co-pilot เพื่อที่จะเป็นกัปตันที่ดีในอนาคต เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ ไม่ว่าใครบินเราก็จะพาผู้โดยสารไปส่งถึงที่หมายอย่างปลอดภัยแน่นอนและอีกอย่างที่มักจะโดนถามบ่อยๆ ถ้าวันไหนแลนด์ไม่ smooth หรือไม่นิ่มก็จะโดนแอร์เม้าส์ทั้งในและนอกใจว่า
"ไฟล์ทนี้ พี่ (co-pilot) บินแน่ๆเลย”
ส่วนหนึ่งก็อาจจะใช่ เนื่องจากพวกเราประสบการณ์น้อย ไม่เหมือนกัปตันที่ผ่านการแลนดิ้งมาเป็นอย่างน้อยๆก็ ครึ่งหมื่น แต่บางส่วนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ถ้ามีปัยจัยเรื่องลมแรงมากๆ runwayลื่นหรือเปียก หรือ runway สั้น นักบินก็อาจตัดสินใจลงกระแทกเพื่อให้ล้อเกาะกับพื้น runway ไม่ให้ลื่นไถลและหยุดได้เร็วที่สุดนั้นเอง
ในเนื้อเรื่องข้างต้นกล่าวถึงการ landing ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมตามจาก Link ข้างล่างครับ
สามารถติดตามตอนต่างๆตามลิงค์ครับ-> http://pantip.com/profile/2560955
และฝากติดตาม Facebook fanpage -> https://www.facebook.com/pages/Safe-Flight-Always/689493954515912
จากใจนักเขียน
สวัสดีครับท่านผู้โดยสารทุกท่าน เอ้ย! ผู้อ่านทุกท่าน ขอบคุณนะครับสำหรับการติดตาม เนื่องจากผู้เขียนมีความรู้ทางด้านการบินอยู่ประมาณหนึ่ง เลยอยากจะนำเสนอในภาษาที่เข้าใจง่ายผ่านตัวละครเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงการบินมากขึ้นและมีความรู้ทางด้านการบินเพิ่มขึ้น รวมทั้งรับรู้ว่าทุกคนในสายอาชีพการบินเราทำงานอย่างตั้งใจ เป็นมืออาชีพ เพื่อเหตุผลทางด้านความปลอดภัยในการส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายปลายทาง อีกทั้งยังอยากเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนที่อยากเข้ามาในเส้นทางการบิน
ทั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญในด้านการเขียนหรือรอบรู้ทางด้านการบินไปซะทั้งหมด มีการนำบทความหรือรูปภาพจากหลายๆแหล่งมาเพื่อใช้ประกอบ หากมีการผิดลิขสิทธิ์ประการใด โปรดแนะนำเพื่อจะนำไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ในส่วนอื่นๆอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็จะพยายามทำให้อย่างเต็มที่ ขอกำลังใจให้ผู้เขียนโดยการติดตาม เสนอแนะ commentหรือโหวตได้นะครับ รวมถึงถ้าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับการบินก็แนะนำกันได้ ผู้เขียนจะพยายามสอดแทรกลงไปในเนื้อเรื่องให้นะครับ