“ใครหาปลาใส่กระป๋อง?”
แค่เพียงประโยคคำถามนี้ ก็เพียงพอจะผลักให้ผมโจนลงไปร่วมค้นหาคำตอบกับเรืออวนดำเพื่อเผชิญความจริงที่กลางทะเล
การรีวิวครั้งนี้ขออนุญาตพาไปที่ ปากน้ำจังหวัดระยองโดยได้ติดตามและร่วมหัวจมท้ายกับเรือหาปลาในเครือ ส.เจริญนาวา
จริง ๆ แล้วการไปครั้งนี้เริ่มขึ้นและจบลงเมื่อ ช่วงเดือนพฤษภาคมคาบเกี่ยวกับมิถุนายน รวมระยะเวลาได้ 9 วัน 8 คืน
”ออกทะเลก็เหมือนชีวิตตายไปครึ่งหนึ่ง” ไต้ก๋งบอกกับผมก่อนจะก้าวทุลักทุเลขึ้นเรือ
ทุกครั้งก่อนออกเรือลูกเรือจะต้องช่วยกันขนสิ่งจำเป็นลงเรือ สิ่งเเรกคือ “ซั้ง” หรือ เข้าใจง่าย ๆ ว่าใบมะพร้าวมัดรวมกับลำไผ่
ขนาดใหญ่ ซึ่งจะมัดติดกันไว้ราว 3- 5 ต้น สิ่งเหล่านี้นำออกไปพร้อมเรือเพื่อเอาไว้ทิ้งกลางทะเล สำหรับเป็นที่หลบอาศัยแบบ
ลวงหลอกหรือเป็นบ้านพักชั่วคราวให้ปลาได้มาอาศัยกันเป็นกลุ่มก้อนยามค่ำคืน
ปัจจุบัน เรือประมงแทบทุกลำในบ้านเรา แทบไม่มีเหลือแรงงานไทยแล้ว นอกจากไต้ก๋ง เหตุคร่าว ๆ คงต้องย้อนไปหลังเรื่องราว
พายุ 2 ลูกใหญ่ คือพายุเกย์ และ พายุลินดา ที่ถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศไทย นอกจากจะหอบเอาความวอดวายครั้ง
ประวัติการณ์มาเยือนดินแดนด้ามขวานและทั่วทั้งอ่าวไทยตลอดจนอันดามันแล้ว ยังหอบเอาขวัญกำลังใจที่จะลงเรือประมงของ
พี่น้องแรงงานไทยให้เหี้ยนหายไปด้วย
หลังจากเตรียมซั้ง น้ำแข็งป่น เกลือเม็ด และเสบียงอาหารพรั่งพร้อม โดยที่ไม่แยแสคนช้า ไม่รั้งรอลูกเรือผู้มาสายคนใดทั้งนั้น
เสียงหวูด สัญญาณต่ำ ๆ ก็ดังอื้อขึ้นในหู พร้อมกับภาพพรายน้ำแตกฟองสีขาวบริเวณกาบเรือและท้ายเรือ ก่อนที่บ้านเรือน แพปลา
ประภาคาร และผืนดินจะค่อย ๆ ลับตาไป ตลอดเวลา 13 ชั่วโมงจากปากน้ำระยอง เรือมาจอดตอนแดดตรงหัวลอยลำอยู่กลางทะเล
(ทราบภายหลังว่าเป็นน่านน้ำไทยบริเวณจังหวัดตราด)
เชื่อเถอะ...ว่าบางทีการได้เห็นทะเลสีเขียวตัดกับฟ้าสีครามอาจไม่ใช่ความสุขเสมอไป
ในเมื่อทุกขณะที่ทอดสายตาออกไปไม่ว่าจะซ้ายขวาหน้าหลังก็เจอแต่ ทะเลและทะเล
ภารกิจแรกของลูกเรือ คือ นำซั้งใหม่ ๆ สด ๆ ที่เตรียมมาผูกไว้กับลำไผ่และก้อนปูนซึ่งหนักราว 50 กิโลกรัม แล้วช่วยกันถีบลงทะเล
ก้อนแล้วก้อนเล่ามากมายจนลืมนับ ...ภารกิจจบลงแทบจะพร้อมกับเสียงรัวตะหลิวลงบนถังแก๊สถี่ ๆ แล้วแทบทุกคนก็ปรี่เข้าไปในเก๋ง
เพื่อหยิบจานสังกะสีใบเขื่อง
เรื่องตรงหน้าจบลงตอนที่ลูกเรือชาวกัมพูชาที่ทั้งชีวิตไม่เคยเห็นหน้ากัน ส่งสายตาอ่อนน้อมพร้อมผงกหัวให้กับผมสองสามที
...แล้วนี่เป็นบรรยากาศการกินอาหารกลางทะเลในแบบที่ลูกเรือเองยังบอกว่า “รสชาติแย่กว่าเมียที่บ้านอีก”...
คืนแรกของการหาปลาผมวิสาสะขึ้นไปคุยกับ ไต้ก๋ง (ซึ่งขอสงวนนาม) พบว่าการเป็นอยู่ของไต้ก๋งบนเรือทุกลำในทุกเที่ยวนั้น
ช่างเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ในกระโจมซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเรืออันเป็นทั้งที่กิน นอน อาบน้ำ ทำงาน ของไต้ก๋ง
ประกอบไปด้วย เครื่องอำนวยความสะดวกในการจับปลา อาทิ เครื่องรับสัญญาณเดินทางจากดาวเทียว โซนาร์ ซาวเดอร์ เครื่องวัด
-ระดับน้ำ อุปกรณ์สื่อสารจำพวกวอกี้ทอล์กกี้ และโทรศัพท์ดาวเทียม (ด้วยว่าบนเรือไม่มีทั้งสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต)
แล้วไหนจะมีโทรทัศน์ กล่องรับสัญณาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น และอุปกรณ์ป้องกันตัว !
...ที่สำคัญทุกมื้ออาหารของไต้ก๋งพ่อครัวจะต้องเป็นคนหิ้วกับข้าวบรรจุปิ่นโตไปส่งให้ถึงห้อง...
เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดการเดินทางของผม ไม่ได้เห็นไต้ก๋งก้าวออกมาจากห้องแคบ ๆ นั้นเลย การทำงานทุกอย่างหากเกิดปัญหา
จะถูกสั่งการผ่านลำโพงที่ดังกระหึ่มไปทั่วเรือ ...จากการสอบถาม ว่ากันว่าเพียงลงทุนอุปกรณ์ในห้องดังกล่าวนี้ ก็เกินครึ่งของต้นทุน
ทั้งหมดแล้ว
(โลกอาจดำเนินไปถึงยุคที่ไม่มีใครต้องหาปลาด้วยมือเปล่าเข้าซักวัน อนาคตอาจมีการค้นพบเทคโนโลยีที่จะนำปลามาใส่ปากคนได้
โดยไม่ต้องลงแรง แต่ระหว่างนี้ ทุกวินาทีที่อาจมีใครสักคนกำลังคิดค้นอุปกรณ์จับปลาใหม่ ๆ ก็เป็นเวลาเดียวกับที่ใครหลายคนกำลัง
ใช้มือสาวอวนกันอย่างเหน็ดเหนื่อย)
ทุกมื้ออาหารบนเรือประมง ผู้ประกอบการจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายโดยจะเลี้ยงลูกเรือวันละสองมื้อ หากวันไหนหาปลาหมึกได้เยอะ ๆ
ก็จะมีเมนูเด็ดคือหมึกสด(มาก)กับน้ำจิ้มซีฟู้ด และที่เด็ดกว่าเมนูใดคือ พล่าปลา (หาทานกันเอาเองครับอร่อยจริงจังมาก) และหากว่า
มีอาการปวดท้องขึ้นมา (เหมือนผม เพราะทุกครั้งที่กินเสร็จจะปวดอึตุ่ย ๆ --) ก็จะต้องพากันไปต่อคิวเข้าห้องน้ำ ซึ่งเรือทุกลำจะมี
ห้องน้ำสำหรับลูกเรือแค่เพียงห้องเดียว…และนี่คือภาพห้องน้ำที่เป็นธรรมชาติที่สุดตั้งแต่ได้เคยใช้บริการมาทั้งชีวิต
แน่นอนหากวัดกันที่สัดส่วนความต้องการใช้ห้องน้ำ กับปริมาณประชากรย่อมไม่เพียงพอ จึงเกิดภาพเหล่านี้ตามมา
(ปล.บางภาพไม่สามารถนำมาแบ่งปันให้ดูได้เนื่องจากเกรงว่าจะไม่เป็นที่ถูกใจ เช่น ภาพของลูกเรือที่นั่งอี้ข้างเรือพร้อม ๆ กันสามสี่คน)
เรือหาปลาจะถูกแบ่งตามลักษณะสีของเครื่องมือ และวิธีที่แตกต่าง เช่นเรืออวนเขียว เน้นหาปลาเล็กเพื่อเอาไปทำน้ำปลา ซึ่งจะ
ออกทะเลไม่นานนัก หรือเรืออวนดำที่ล่องออกจากฝั่ง ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์เพื่อหาปลาใส่กระป๋อง ยังมีทั้งเรืออวนล้อม อวนลาก แม้กระทั่ง
เรือไดหมึก ทุกลำเรือจะได้สัตว์น้ำตามความห่างถี่ของตาอวน หากว่ากันตามจริงเรือหลายลำในน่านน้ำทั้งอ่าวไทยและอันดามันก็เป็นเรือ
ที่ดัดแปลงโดยไม่ถูกกฎหมายนัก จนเป็นที่มาของปัญหาคาราคาซัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หากสนใจเรื่องปัญหาอาชญาบัตรเรือสำหรับปัจจุบันลองตามไปอ่านอีกบทความของกระผมนะครับ ^^[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.aidsrightsthailand.com/
ภารกิจของคนหาปลาไม่เคยตอกบัตรตรงเวลากันซักคืนเดียว ขึ้นอยู่กับความสว่างของพระจันทร์ กระแสน้ำ และความแม่นยำของเรือปั่น
“ถ้าวันไหนคืนเดือนมืดปลาจะชุม ลูกเรือต้องออกแรงกันหลายรอบ บางคืนก็เริ่มสามทุ่มไปเสร็จเอาเกือบเที่ยง แต่วันไหนเดือนหงาย
คนเรือจะได้เฮเพราะจำเป็นต้องเข้าฝั่งหลบเดือน”
ชิ้ว (เป็นชื่อเรียกตำแหน่งของหัวหน้าคนงาน) ของเรือผู้มีประสบการณ์ใช้ชีวิตบนเรือมาไม่ต่ำว่า 10 ปี เล่าให้ผมฟังแถมโอ่ด้วยว่า “ในโลก
นี้ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติใดให้ผลผลิตได้มากเท่าทะเลอีกแล้ว”
ตำแหน่งชิ้วนั้ถือเป็นตำแหน่งสำคัญ เพราะต้องคอยควบคุมการทำงาน และดูแลการเบิกจ่ายเงินของลูกเรือทุกชีวิต ค่าแรงจะถูกคำนวณ
แบบแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ตามจำนวนปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ รายได้ล้วนมาจากการลงแรง ส่วนแบ่งของพวกเขาไม่เท่ากัน วันเงินเดือนออก
บางครั้งก็ต้องรอถึงปีครึ่ง สองปี หรือ สามปี ถ้าต่ำสุดก็สิบเดือน ไม่มีเดือนชนเดือน
แม้ระยะทางพิสูจน์ม้า แต่กาลเวลาเนิ่นนานอย่างนั้นมันแทบจะพิสูจน์ได้ว่าหัวใจของคนหาปลาเข้มแข็งและมั่นคงเพียงใด มีลูกเรือไม่น้อย
หอบเงินทีละแสนสองแสนกลับบ้านคราวตัดบัญชี สวนทางกับอีกหลายคนที่กลับบ้านพร้อมบาดแผล และรอยแหว่งหวิ่นของแขนขา หรือ
กระทั่งบางคนที่ไม่มีแม้วันได้กลับมาตุภูมิ
เสียงลูกเรือร้องเพลงยาเลเป็นจังหวะ ดังราวกับหีบดนตรีกล่อมท่ามกลางคืนวันอันสุดเหงา เพลงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่สร้างพลังและ
หลอมรวมหัวใจพวกเขาไว้ เมื่ออวนสีดำถูกเครื่องจักรรูดรวบมาข้างเรือจนใกล้พ้นหมดจากน้ำ ชายกล้ามใหญ่เกือบทุกคนจะเข้าแถว
ยืนเรียงเป็นหน้ากระดาน แล้วจับอวนในลักษณะเดียวกัน ทันทีที่ต้นเสียงเห่ร้องเป็นจังหวะเชื่องช้า "โอ้ ...ลา... ลา" พวกเขาจะสาวอวน
เนิบเนือยพร้อมกัน ...ท่วงทำนองของปากกับมือช่างพ้องจองสอดรับกันเป็นจังหวะ จากเนิบช้าชวนให้เคลิบเคลิ้ม จังหวะทำนองของ
คนหาปลาเริ่มเร่งขึ้น เร่งขึ้น เร่งขึ้น จนกลายเป็นเหมือนเพลงมาร์ชชวนฮึกเหิมเพิ่มพลัง...จนชีวิตปลาตัวสุดท้ายที่ถูกอวนล้อมจับศิโรราบ
ลงกับพื้นกระดานเรือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ลองฟังเพลงยาเลสั้น ๆ ไปพร้อมกันนะครับ http://www.4shared.com/mp3/IsHO7NxPba/DSCF4192.html?
การเก็บรักษาสภาพของปลาให้สดใหม่นั้นไม่ต่างกันนักทุกเรือจะใช้เพียงสองวิธี คือ การ"น็อค" ด้วยน้ำเเข็ง" หรือ "ดอง" ด้วยน้ำเกลือ
จากนั้นวงจรชีวิตของคนหาปลาจะเริ่มใหม่จาก
1.เรือปั่นไฟสำรวจซั้ง // หรือเปิดไฟเขียวจอดเเช่เพื่อรอเรือแม่มาล้อมปลา
2.เรือเเม่จะทิ้งอวนรัศมีราว 900 เมตร รอบซั้ง หรือเรือปั่นไฟที่เลือก โดยตีอวนเป็นรูบวงกลม ก่อนจะค่อย ๆ คืบคลานจากจุดเริ่มเป็น
เส้นตรงแปรอวนคล้ายรูปแว่นตา จากนั้นเครื่องจักผสานกับเเรงคนจะค่อย ๆ รวบอวนมาจนสุดตีนจนกว่าอวนจะถูกรวบมากองสองกาบ
3.แรงงานจะค่อย ๆ สาวอวนด้วยมือ แล้วตักปลาขึ้นมาด้วยสวิงใหญ่ จากนั้นก็ลำเลียงลงท้องเรือรักษาสภาพปลาทันที
ปลาส่วนใหญ่ที่จับได้และโรงงานนิยมเอาไปใช้ทำปลากระป๋องมีสามสี่อย่าง แต่ที่นิยมมากสุด คือปลาทูแขกกับปลาสันเขียว
แล้วก็มีจำพวกปลาลังปลาโอ ...ส่วนปลาซาร์ดีนนาน ๆ จะเจอ เพราะในน่านน้ำนี้มีปลาซาร์ดีนน้อยกว่าพวกปลาตระกูลเดียวกัน
อย่างปลาสันเขียวแน่นอน ตอนที่ลองถามหา -ปลาแม็คเคอเรล- ตามระบุบนฉลากข้างปลากระป๋องนั้น ทุกคนหัวเราะเพราะไม่เคย
ได้เห็นหรือได้ยินชื่อมาก่อน จนผมมาทราบจากไต้ก๋งชาวไทยว่า ที่ถูกพิมพ์บนฉลากข้างกระป๋อง คือบรรดาปลาในตระกูลเกล็ด
ละเอียด ซึ่งมีสีเงินมันวาว ตัวมันเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ
หางสองแฉก ซึ่งคนหาปลาเรียกโดยรวมว่า “ปลาไก่ดี” หรือ “ปลารวม” และ เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าปลาแม็คเคอเรลนั้นไม่ใช่ชื่อชนิด
แต่เป็นชื่อกลุ่มสายพันธุ์หนึ่งของปลา โดยปลาเหล่านี้จะถูกแบ่งเกรด เกรดแรกคือ ปลาไก่ดี ที่เข้าพวกกับปลากระป๋องทั้งหลาย
รวมกับปลาท้องแตกบ้าง และเกรดไม่ดีนัก คือเศษปลาหรือปลาไก่ นิยมเอาเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ไปทำอาหารสัตว์
มาถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการกระโดดขึ้นเรือประมงคือ คำที่ว่า "ตลอดรอดฝั่ง" คำนี้ไม่ได้เเข็งทื่อไร้เรื่องราว แต่คราวแรกที่
สายตาผมเห็นผืนเเผ่นดินมันรู้สึกปีติในหัวใจจนบอกไม่ถูก แม้จะอยู่กลางทะเลไม่กี่วันแต่ช่วงเวลาเหล่านั้นมันทำให้รู้ว่า "ทุกความ
เหงาล้วนมีเจ้าของ" เวลาว่างของลูกเรือประมงหลายคนใช้ไปกับการฟังเพลง เปิดโทรศัพท์ดูหนัง นอนกอดตุ๊กตา กระทั่งว่าไต้ก๋ง
เองก็ต้องพยายามเอาชนะความเหงาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกนานา
เนื่องจากว่าง่วงนอนเเล้ว สุดท้ายนี้กระผมขอลาไปด้วยภาพบรรยากาศการใช้ชีวติบนเรือให้ได้ดูกันแบบจุใจ
แล้วครั้งหน้าจะพาไปไหนอีก สัญญาว่าจะไม่ง่วงนอนตอนเขียนรีวิวครับ
^^
[CR] ใครหาปลาใส่กระป๋อง ? …การไปหาคำตอบ ที่ปลายทางคือกลางทะเล
“ใครหาปลาใส่กระป๋อง?”
แค่เพียงประโยคคำถามนี้ ก็เพียงพอจะผลักให้ผมโจนลงไปร่วมค้นหาคำตอบกับเรืออวนดำเพื่อเผชิญความจริงที่กลางทะเล
การรีวิวครั้งนี้ขออนุญาตพาไปที่ ปากน้ำจังหวัดระยองโดยได้ติดตามและร่วมหัวจมท้ายกับเรือหาปลาในเครือ ส.เจริญนาวา
จริง ๆ แล้วการไปครั้งนี้เริ่มขึ้นและจบลงเมื่อ ช่วงเดือนพฤษภาคมคาบเกี่ยวกับมิถุนายน รวมระยะเวลาได้ 9 วัน 8 คืน
”ออกทะเลก็เหมือนชีวิตตายไปครึ่งหนึ่ง” ไต้ก๋งบอกกับผมก่อนจะก้าวทุลักทุเลขึ้นเรือ
ทุกครั้งก่อนออกเรือลูกเรือจะต้องช่วยกันขนสิ่งจำเป็นลงเรือ สิ่งเเรกคือ “ซั้ง” หรือ เข้าใจง่าย ๆ ว่าใบมะพร้าวมัดรวมกับลำไผ่
ขนาดใหญ่ ซึ่งจะมัดติดกันไว้ราว 3- 5 ต้น สิ่งเหล่านี้นำออกไปพร้อมเรือเพื่อเอาไว้ทิ้งกลางทะเล สำหรับเป็นที่หลบอาศัยแบบ
ลวงหลอกหรือเป็นบ้านพักชั่วคราวให้ปลาได้มาอาศัยกันเป็นกลุ่มก้อนยามค่ำคืน
ปัจจุบัน เรือประมงแทบทุกลำในบ้านเรา แทบไม่มีเหลือแรงงานไทยแล้ว นอกจากไต้ก๋ง เหตุคร่าว ๆ คงต้องย้อนไปหลังเรื่องราว
พายุ 2 ลูกใหญ่ คือพายุเกย์ และ พายุลินดา ที่ถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศไทย นอกจากจะหอบเอาความวอดวายครั้ง
ประวัติการณ์มาเยือนดินแดนด้ามขวานและทั่วทั้งอ่าวไทยตลอดจนอันดามันแล้ว ยังหอบเอาขวัญกำลังใจที่จะลงเรือประมงของ
พี่น้องแรงงานไทยให้เหี้ยนหายไปด้วย
หลังจากเตรียมซั้ง น้ำแข็งป่น เกลือเม็ด และเสบียงอาหารพรั่งพร้อม โดยที่ไม่แยแสคนช้า ไม่รั้งรอลูกเรือผู้มาสายคนใดทั้งนั้น
เสียงหวูด สัญญาณต่ำ ๆ ก็ดังอื้อขึ้นในหู พร้อมกับภาพพรายน้ำแตกฟองสีขาวบริเวณกาบเรือและท้ายเรือ ก่อนที่บ้านเรือน แพปลา
ประภาคาร และผืนดินจะค่อย ๆ ลับตาไป ตลอดเวลา 13 ชั่วโมงจากปากน้ำระยอง เรือมาจอดตอนแดดตรงหัวลอยลำอยู่กลางทะเล
(ทราบภายหลังว่าเป็นน่านน้ำไทยบริเวณจังหวัดตราด)
เชื่อเถอะ...ว่าบางทีการได้เห็นทะเลสีเขียวตัดกับฟ้าสีครามอาจไม่ใช่ความสุขเสมอไป
ในเมื่อทุกขณะที่ทอดสายตาออกไปไม่ว่าจะซ้ายขวาหน้าหลังก็เจอแต่ ทะเลและทะเล
ภารกิจแรกของลูกเรือ คือ นำซั้งใหม่ ๆ สด ๆ ที่เตรียมมาผูกไว้กับลำไผ่และก้อนปูนซึ่งหนักราว 50 กิโลกรัม แล้วช่วยกันถีบลงทะเล
ก้อนแล้วก้อนเล่ามากมายจนลืมนับ ...ภารกิจจบลงแทบจะพร้อมกับเสียงรัวตะหลิวลงบนถังแก๊สถี่ ๆ แล้วแทบทุกคนก็ปรี่เข้าไปในเก๋ง
เพื่อหยิบจานสังกะสีใบเขื่อง
เรื่องตรงหน้าจบลงตอนที่ลูกเรือชาวกัมพูชาที่ทั้งชีวิตไม่เคยเห็นหน้ากัน ส่งสายตาอ่อนน้อมพร้อมผงกหัวให้กับผมสองสามที
...แล้วนี่เป็นบรรยากาศการกินอาหารกลางทะเลในแบบที่ลูกเรือเองยังบอกว่า “รสชาติแย่กว่าเมียที่บ้านอีก”...
คืนแรกของการหาปลาผมวิสาสะขึ้นไปคุยกับ ไต้ก๋ง (ซึ่งขอสงวนนาม) พบว่าการเป็นอยู่ของไต้ก๋งบนเรือทุกลำในทุกเที่ยวนั้น
ช่างเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ในกระโจมซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเรืออันเป็นทั้งที่กิน นอน อาบน้ำ ทำงาน ของไต้ก๋ง
ประกอบไปด้วย เครื่องอำนวยความสะดวกในการจับปลา อาทิ เครื่องรับสัญญาณเดินทางจากดาวเทียว โซนาร์ ซาวเดอร์ เครื่องวัด
-ระดับน้ำ อุปกรณ์สื่อสารจำพวกวอกี้ทอล์กกี้ และโทรศัพท์ดาวเทียม (ด้วยว่าบนเรือไม่มีทั้งสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต)
แล้วไหนจะมีโทรทัศน์ กล่องรับสัญณาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น และอุปกรณ์ป้องกันตัว !
...ที่สำคัญทุกมื้ออาหารของไต้ก๋งพ่อครัวจะต้องเป็นคนหิ้วกับข้าวบรรจุปิ่นโตไปส่งให้ถึงห้อง...
เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดการเดินทางของผม ไม่ได้เห็นไต้ก๋งก้าวออกมาจากห้องแคบ ๆ นั้นเลย การทำงานทุกอย่างหากเกิดปัญหา
จะถูกสั่งการผ่านลำโพงที่ดังกระหึ่มไปทั่วเรือ ...จากการสอบถาม ว่ากันว่าเพียงลงทุนอุปกรณ์ในห้องดังกล่าวนี้ ก็เกินครึ่งของต้นทุน
ทั้งหมดแล้ว
(โลกอาจดำเนินไปถึงยุคที่ไม่มีใครต้องหาปลาด้วยมือเปล่าเข้าซักวัน อนาคตอาจมีการค้นพบเทคโนโลยีที่จะนำปลามาใส่ปากคนได้
โดยไม่ต้องลงแรง แต่ระหว่างนี้ ทุกวินาทีที่อาจมีใครสักคนกำลังคิดค้นอุปกรณ์จับปลาใหม่ ๆ ก็เป็นเวลาเดียวกับที่ใครหลายคนกำลัง
ใช้มือสาวอวนกันอย่างเหน็ดเหนื่อย)
ทุกมื้ออาหารบนเรือประมง ผู้ประกอบการจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายโดยจะเลี้ยงลูกเรือวันละสองมื้อ หากวันไหนหาปลาหมึกได้เยอะ ๆ
ก็จะมีเมนูเด็ดคือหมึกสด(มาก)กับน้ำจิ้มซีฟู้ด และที่เด็ดกว่าเมนูใดคือ พล่าปลา (หาทานกันเอาเองครับอร่อยจริงจังมาก) และหากว่า
มีอาการปวดท้องขึ้นมา (เหมือนผม เพราะทุกครั้งที่กินเสร็จจะปวดอึตุ่ย ๆ --) ก็จะต้องพากันไปต่อคิวเข้าห้องน้ำ ซึ่งเรือทุกลำจะมี
ห้องน้ำสำหรับลูกเรือแค่เพียงห้องเดียว…และนี่คือภาพห้องน้ำที่เป็นธรรมชาติที่สุดตั้งแต่ได้เคยใช้บริการมาทั้งชีวิต
แน่นอนหากวัดกันที่สัดส่วนความต้องการใช้ห้องน้ำ กับปริมาณประชากรย่อมไม่เพียงพอ จึงเกิดภาพเหล่านี้ตามมา
(ปล.บางภาพไม่สามารถนำมาแบ่งปันให้ดูได้เนื่องจากเกรงว่าจะไม่เป็นที่ถูกใจ เช่น ภาพของลูกเรือที่นั่งอี้ข้างเรือพร้อม ๆ กันสามสี่คน)
เรือหาปลาจะถูกแบ่งตามลักษณะสีของเครื่องมือ และวิธีที่แตกต่าง เช่นเรืออวนเขียว เน้นหาปลาเล็กเพื่อเอาไปทำน้ำปลา ซึ่งจะ
ออกทะเลไม่นานนัก หรือเรืออวนดำที่ล่องออกจากฝั่ง ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์เพื่อหาปลาใส่กระป๋อง ยังมีทั้งเรืออวนล้อม อวนลาก แม้กระทั่ง
เรือไดหมึก ทุกลำเรือจะได้สัตว์น้ำตามความห่างถี่ของตาอวน หากว่ากันตามจริงเรือหลายลำในน่านน้ำทั้งอ่าวไทยและอันดามันก็เป็นเรือ
ที่ดัดแปลงโดยไม่ถูกกฎหมายนัก จนเป็นที่มาของปัญหาคาราคาซัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภารกิจของคนหาปลาไม่เคยตอกบัตรตรงเวลากันซักคืนเดียว ขึ้นอยู่กับความสว่างของพระจันทร์ กระแสน้ำ และความแม่นยำของเรือปั่น
“ถ้าวันไหนคืนเดือนมืดปลาจะชุม ลูกเรือต้องออกแรงกันหลายรอบ บางคืนก็เริ่มสามทุ่มไปเสร็จเอาเกือบเที่ยง แต่วันไหนเดือนหงาย
คนเรือจะได้เฮเพราะจำเป็นต้องเข้าฝั่งหลบเดือน”
ชิ้ว (เป็นชื่อเรียกตำแหน่งของหัวหน้าคนงาน) ของเรือผู้มีประสบการณ์ใช้ชีวิตบนเรือมาไม่ต่ำว่า 10 ปี เล่าให้ผมฟังแถมโอ่ด้วยว่า “ในโลก
นี้ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติใดให้ผลผลิตได้มากเท่าทะเลอีกแล้ว”
ตำแหน่งชิ้วนั้ถือเป็นตำแหน่งสำคัญ เพราะต้องคอยควบคุมการทำงาน และดูแลการเบิกจ่ายเงินของลูกเรือทุกชีวิต ค่าแรงจะถูกคำนวณ
แบบแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ตามจำนวนปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ รายได้ล้วนมาจากการลงแรง ส่วนแบ่งของพวกเขาไม่เท่ากัน วันเงินเดือนออก
บางครั้งก็ต้องรอถึงปีครึ่ง สองปี หรือ สามปี ถ้าต่ำสุดก็สิบเดือน ไม่มีเดือนชนเดือน
แม้ระยะทางพิสูจน์ม้า แต่กาลเวลาเนิ่นนานอย่างนั้นมันแทบจะพิสูจน์ได้ว่าหัวใจของคนหาปลาเข้มแข็งและมั่นคงเพียงใด มีลูกเรือไม่น้อย
หอบเงินทีละแสนสองแสนกลับบ้านคราวตัดบัญชี สวนทางกับอีกหลายคนที่กลับบ้านพร้อมบาดแผล และรอยแหว่งหวิ่นของแขนขา หรือ
กระทั่งบางคนที่ไม่มีแม้วันได้กลับมาตุภูมิ
เสียงลูกเรือร้องเพลงยาเลเป็นจังหวะ ดังราวกับหีบดนตรีกล่อมท่ามกลางคืนวันอันสุดเหงา เพลงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่สร้างพลังและ
หลอมรวมหัวใจพวกเขาไว้ เมื่ออวนสีดำถูกเครื่องจักรรูดรวบมาข้างเรือจนใกล้พ้นหมดจากน้ำ ชายกล้ามใหญ่เกือบทุกคนจะเข้าแถว
ยืนเรียงเป็นหน้ากระดาน แล้วจับอวนในลักษณะเดียวกัน ทันทีที่ต้นเสียงเห่ร้องเป็นจังหวะเชื่องช้า "โอ้ ...ลา... ลา" พวกเขาจะสาวอวน
เนิบเนือยพร้อมกัน ...ท่วงทำนองของปากกับมือช่างพ้องจองสอดรับกันเป็นจังหวะ จากเนิบช้าชวนให้เคลิบเคลิ้ม จังหวะทำนองของ
คนหาปลาเริ่มเร่งขึ้น เร่งขึ้น เร่งขึ้น จนกลายเป็นเหมือนเพลงมาร์ชชวนฮึกเหิมเพิ่มพลัง...จนชีวิตปลาตัวสุดท้ายที่ถูกอวนล้อมจับศิโรราบ
ลงกับพื้นกระดานเรือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเก็บรักษาสภาพของปลาให้สดใหม่นั้นไม่ต่างกันนักทุกเรือจะใช้เพียงสองวิธี คือ การ"น็อค" ด้วยน้ำเเข็ง" หรือ "ดอง" ด้วยน้ำเกลือ
จากนั้นวงจรชีวิตของคนหาปลาจะเริ่มใหม่จาก
1.เรือปั่นไฟสำรวจซั้ง // หรือเปิดไฟเขียวจอดเเช่เพื่อรอเรือแม่มาล้อมปลา
2.เรือเเม่จะทิ้งอวนรัศมีราว 900 เมตร รอบซั้ง หรือเรือปั่นไฟที่เลือก โดยตีอวนเป็นรูบวงกลม ก่อนจะค่อย ๆ คืบคลานจากจุดเริ่มเป็น
เส้นตรงแปรอวนคล้ายรูปแว่นตา จากนั้นเครื่องจักผสานกับเเรงคนจะค่อย ๆ รวบอวนมาจนสุดตีนจนกว่าอวนจะถูกรวบมากองสองกาบ
3.แรงงานจะค่อย ๆ สาวอวนด้วยมือ แล้วตักปลาขึ้นมาด้วยสวิงใหญ่ จากนั้นก็ลำเลียงลงท้องเรือรักษาสภาพปลาทันที
ปลาส่วนใหญ่ที่จับได้และโรงงานนิยมเอาไปใช้ทำปลากระป๋องมีสามสี่อย่าง แต่ที่นิยมมากสุด คือปลาทูแขกกับปลาสันเขียว
แล้วก็มีจำพวกปลาลังปลาโอ ...ส่วนปลาซาร์ดีนนาน ๆ จะเจอ เพราะในน่านน้ำนี้มีปลาซาร์ดีนน้อยกว่าพวกปลาตระกูลเดียวกัน
อย่างปลาสันเขียวแน่นอน ตอนที่ลองถามหา -ปลาแม็คเคอเรล- ตามระบุบนฉลากข้างปลากระป๋องนั้น ทุกคนหัวเราะเพราะไม่เคย
ได้เห็นหรือได้ยินชื่อมาก่อน จนผมมาทราบจากไต้ก๋งชาวไทยว่า ที่ถูกพิมพ์บนฉลากข้างกระป๋อง คือบรรดาปลาในตระกูลเกล็ด
ละเอียด ซึ่งมีสีเงินมันวาว ตัวมันเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ
หางสองแฉก ซึ่งคนหาปลาเรียกโดยรวมว่า “ปลาไก่ดี” หรือ “ปลารวม” และ เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าปลาแม็คเคอเรลนั้นไม่ใช่ชื่อชนิด
แต่เป็นชื่อกลุ่มสายพันธุ์หนึ่งของปลา โดยปลาเหล่านี้จะถูกแบ่งเกรด เกรดแรกคือ ปลาไก่ดี ที่เข้าพวกกับปลากระป๋องทั้งหลาย
รวมกับปลาท้องแตกบ้าง และเกรดไม่ดีนัก คือเศษปลาหรือปลาไก่ นิยมเอาเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ไปทำอาหารสัตว์
มาถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการกระโดดขึ้นเรือประมงคือ คำที่ว่า "ตลอดรอดฝั่ง" คำนี้ไม่ได้เเข็งทื่อไร้เรื่องราว แต่คราวแรกที่
สายตาผมเห็นผืนเเผ่นดินมันรู้สึกปีติในหัวใจจนบอกไม่ถูก แม้จะอยู่กลางทะเลไม่กี่วันแต่ช่วงเวลาเหล่านั้นมันทำให้รู้ว่า "ทุกความ
เหงาล้วนมีเจ้าของ" เวลาว่างของลูกเรือประมงหลายคนใช้ไปกับการฟังเพลง เปิดโทรศัพท์ดูหนัง นอนกอดตุ๊กตา กระทั่งว่าไต้ก๋ง
เองก็ต้องพยายามเอาชนะความเหงาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกนานา
เนื่องจากว่าง่วงนอนเเล้ว สุดท้ายนี้กระผมขอลาไปด้วยภาพบรรยากาศการใช้ชีวติบนเรือให้ได้ดูกันแบบจุใจ
แล้วครั้งหน้าจะพาไปไหนอีก สัญญาว่าจะไม่ง่วงนอนตอนเขียนรีวิวครับ
^^