พลิกพงศาวดาร
เหยียบเมืองรามัญ
พ.สมานคุรุกรรม
หลังจากที่ได้จัดการเรื่องกบฏเมืองตะนาวศรีเรียบร้อยแล้ว ถึงปลายปี
เจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งก็ถือหนังสือมาถึงพระยากาญจนบุรี แจ้งว่าเจ้าเมืองเมาะตะมะจะ
ยกทัพมาตีเมืองเมาะลำเลิ่ง ขอให้กรุงศรีอยุธยายกทัพไปช่วยป้องกันเมืองด้วย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสให้พระยา
ศรีไสยณรงค์ เจ้าเมืองตะนาวศรีคนใหม่ถือพลสองพัน ยกไปช่วยเมืองเมาะลำเลิ่ง ทาง
เมืองเมาะตะมะก็กลัวพระเดชเดชานุภาพ จึงมิได้คิดอาฆาตต่อไป
แลในเพลานั้นเองเจ้าฟ้าแสนหวีได้ถึงแก่พิราลัย ราชบุตรสององค์ต่าง
มารดากัน ก็ทำยุทธนาชิงราชสมบัติแก่กันอยู่ ผู้น้องสู้มิได้กลัวพี่ชายจะฆ่าเสีย จึงพาสมัคร
พรรคพวกประมาณร้อยเศษ หนีลงมาหาพระยาศรีไสยณรงค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเมาะลำเลิ่ง
พระยาศรีไสยณรงค์ก็ส่งตัวมายังกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า
อยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคและทรงเลี้ยงไว้โดยฐานาศักดิ์
ต่อมาถึงปีชวดสัมฤทธิศกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พล
ไว้ตั้งแต่เดือนห้า กะว่าเดือนสิบสองจะยกไปเอาเมืองเมาะตะมะ แลจะเลยไปตีเมือง
หงสาวดีให้ได้ พอดีเจ้าเมืองตะนาวศรีแจ้งข่าวจากเมืองเมาะลำเลิ่งว่าซึ่งพระเจ้าแปร
ผู้เป็นราชนัดดาเสียทัพไปเมื่อปีมะเมียนั้น พระเจ้าหงสาวดีเอาโทษให้ถอดเสียจากฐานา
ศักดิ์ ส่วนไพร่พลรามัญที่ไปทัพด้วยนั้นจับได้ให้ใส่เล้าคลอกเสีย ที่หนีรอดแตกฉานซ่านเซ็น
ไปก็มิได้เข้าเมือง ต่างคุมกันเป็นพวกเป็นเหล่าอยู่ในป่า ทางหงสาวดีแต่งข้าหลวงออก
ไปจับก็ต่อรบด้วย แลหัวเมืองทั้งปวงก็เสียใจพากันกระด้างกระเดื่อง เมืองหงสาวดีเอง
ก็เสียแก่มอญซึ่งเป็นกบฏ
พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ได้ทรงทราบดั่งนั้น จึงพระราชทาน
อาญาสิทธิ์ให้เจ้าพระยาจักรี เป็นนายทัพยกพลหมื่นห้าพัน ช้างเครื่องร้อยหนึ่งม้าสองร้อย
ออกไปตั้งมั่นปลูกยุ้งฉางทำไร่นาที่เมืองเมาะลำเลิ่ง คอยท่าทัพหลวง แลให้เจ้าฟ้าแสน
หวีไปกับเจ้าพระยาจักรีด้วย แล้วเกณฑ์ทัพเมืองทวายห้าพัน ให้ขึ้นไปตั้งตำบลเกาะพรวก
เมืองวังราว ขอบฝั่งทะเลตะวันตก คอยหนุนทัพเจ้าพระยาจักรี ส่วนกองทัพของเมืองตะ
นาวศรีนั้นเอาไว้ใช้ราชการ แต่ตัวพระยาศรีไสยณรงค์กับพรรคพวกนั้น ให้เข้ามารับราช
การในกรุงศรีอยุธยา
เมื่อเจ้าพระยาจักรียกไปถึงเมืองเมาะลำเลิ่งแล้ว ก็ระดมกำลังชาว
เมืองแลไพร่พลในกองทัพ ทำไร่ทำนา ต่อเรือรบเรือไล่เป็นอันมาก ฝ่ายเจ้าเมืองเมาะ
ตะมะ เจ้าเมืองละเคิ่ง เจ้าเมืองขลิก เจ้าเมืองบัวเผื่อน เจ้าเมืองพะสิม เจ้าเมือง
ตองอู แจ้งข่าวต่างก็เกรงพระเดชเดชานุภาพ จึงแต่งขุนนางให้ถือหนังสือแลเครื่องราช
บรรณาการ ลงมา ณ เมืองเมาะลำเลิ่ง เจ้าพระยาจักรีก็ส่งผู้ถือหนังสือแลเครื่องราช
บรรณาการเหล่านั้นเข้ามายังกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาเสนาบดีก็กราบทูลเบิกพม่ารามัญ
ผู้ถือหนังสือเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในหนังสือ เจ้าเมืองเมาะตะมะ เจ้าเมืองพะสิม เจ้าเมืองบัวเผื่อน
แลเจ้าเมืองขลิก ทั้งสี่นี้มีความว่า จะขอเป็นข้าขัณฑเสมากรุงเทพพระมหานคร ไปตราบ
เท่ากัลปาวสาน แต่หนังสือเจ้าเมืองตองอู กับเจ้าเมืองละเคิ่งนั้นว่า จะขอพึ่งพระบรม
โพธิสมภาร ถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปเอาเมือง
หงสาวดีเมื่อใด พระยาตองอู พระยาละเคิ่ง ก็จะขอยกพลมาควบทัพโดยเสด็จงานพระ
ราชสงครามด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้แจ้งในลักษณะอักษรนั้นแล้ว ก็มีพระทัยโสม
นัส ตรัสให้พระราชทานสิ่งของแก่เจ้าเมืองทั้งปวงโดยฐานาศักดิ์ แลให้ตอบหนังสือไปแก่
ท้าวพระยารามัญทั้งปวง
แต่เมื่อผู้ถือหนังสือกลับไปเมืองตองอูแล้ว พระยาตองอูก็เข้าปรึกษากับ
พระมหาเถรเสียมเพรียม คิดกลับใจจะต่อสู้กองทัพกรุงศรีอยุธยา แลถ้าเพลี่ยงพล้ำก็จะ
เข้ายึดกรุงหงสาวดีเสียเอง แล้วจึงมีหนังสือคาดโทษเจ้าเมืองทั้งหลายที่ได้ยอมอ่อนน้อม
ต่อกรุงศรีอยุธยา เจ้าเมืองรามัญเหล่านั้นก็ตกใจกลัวพระยาตองอูซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีไพร่
พลมาก จึงพากันเป็นกบฏต่อเจ้าพระยาจักรีซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเมาะลำเลิ่ง แลตัวเจ้าเมือง
เมาะลำเลิ่งก็พาครอบครัวอพยพ หนีออกจากเมืองข้ามไปเมืองเมาะตะมะด้วย พวกกบฏ
รามัญก็แต่งกองโจร กองละสองร้อยสามร้อยให้เที่ยวเป็นเสือป่า คอยขัดขวางการสะสม
เสบียงของทัพกรุงศรีอยุธยา ถ้าไพร่พลไทยออกเที่ยวหากินแลเกี่ยวข้าว ก็ลอบทำร้ายอยู่
เนืองๆ นายทัพนายกองทั้งปวงก็เอาเหตุไปแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรี
ครั้นเจ้าพระยาจักรีเห็นมอญกลับเป็นกบฏ ทำการกำเริบหนักขึ้น ก็บอก
หนังสือเข้ามากราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ เสนาบดีก็นำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสม
เด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบก็ทรงพระโกรธ ตรัสว่าเจ้าพระยาจักรีเป็นผู้ใหญ่ ก็เคยทำ
ศึกสงครามมา ยังจะไปตีเอาเมืองเหล่านี้ก็หาได้ตีไม่ เจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งก็เข้าสวามิ
ภักดิ์ ขอกองทัพออกไปรักษาเมืองไพร่บ้านพลเมืองก็เป็นปกติอยู่สิ้น ฝ่ายเมืองเมาะตะมะ
เมืองละเคิ่ง เมืองบ้วเผื่อน เมืองพะสิม เมืองขลิก เมืองตองอูเล่าก็อ่อนน้อม ควรหรือ
ให้เป็นได้ถึงเพียงนี้ ประการหนึ่งเมืองเมาะลำเลิ่งก็อยู่ฟากตะวันออกเหมือนอยู่ในกำมือ
ก็ยังให้เลิกหนีไปได้ ด้วยว่าทำดุจทารกอมมือ ครั้นจะให้ฆ่าเสียก็เสียดายคมหอกดาบ แล
ให้มีตราตอบคาดโทษออกไปว่า เจ้าพระยาจักรีจะตีเอาเมืองเมาะตะมะได้หรือมิได้ ถ้า
เห็นได้ฝ่ายเดียวแล้วให้ตีเอา ถ้าเห็นมิได้ให้รักษาค่ายเมาะลำเลิ่งไว้ให้มั่น ทัพหลวง
เสด็จพระราชดำเนินถึง จึ่งจะตีเมืองเมาะตะมะทีเดียว
เจ้าพระยาจักรีแจ้งในท้องตรารับสั่งดั่งนั้น ก็กลัวพระราชอาญาเป็นอัน
มาก แลเร่งรัดให้นายทัพนายกองทำเรือรบเรือไล่เสร็จ แล้วก็ลากลงไว้ในคลองน้ำ แล
คิดแต่งกองทัพไปป้องกันให้เกี่ยวข้าวสี่กอง กองละห้าร้อยคอยสกัดตีเหล่ารามัญกบฏทุกวัน
พวกมอญเห็นกองทัพไทยมาก ต้านทานมิได้ก็หลบหลีกเข้าไปในป่า นายทัพนายกองเร่งให้
เกี่ยวข้าวเบาแลข้าวหนักในท้องนาแขวงเมืองเมาะลำเลิ่ง ขนข้าวไว้ในฉางได้ประมาณ
สองพันเกวียน
ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้นให้หนังสือตอบไปยังเมืองเมาะลำ
เลิ่งแล้ว ก็มีพระราชโองการแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ให้เตรียมทัพพร้อม
เสร็จ ถึงวันเสาร์เดือนสามขึ้นค่ำหนึ่ง เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาได้มหาอุดมฤกษ์ สมเด็จ
พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอลังการสรรพาภรณ์วิชัยยุทธสรรพเสร็จ
เสด็จลงสู่พระที่นั่งกนกรัตนวิมานมหานาวา อันรจนาด้วยกาญจนมณีรัตนชัชวาลทั้งคู่ดูพันลึก
อธึกด้วยเรือจำนำ ท้าวพระยาสามนตราช ฝ่ายทหารพลเรือนเรียงประจำ จับสลากสลับ
สลอนคับคั่งตั้งโดยขบวนพยุหยาตรา พระโหราราชครูธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นฆ้องชัยให้
ขยายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ อันทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระสารีริกบรม
ธาตุ ถวายพระนามสมญาพระชัยนั้นก่อน แลเรือขบวนหน้าทั้งปวงเดินโดยลำดับ เรือพระ
ที่นั่งแลเรือแห่ซ้ายขวาทั้งปวง เดินโดยเสด็จดาดาษในท้องพระมหานทีธาร ประทับรอน
แรมห้าวันก็ถึงเมืองกาญจนบุรี เสด็จยังพลับพลาที่ประทับ พักช้างม้ารี้พลจัดกองทัพสามวัน
แลกองทัพหลวงนั้น พลฉกรรจ์ลำเครื่องสิบหมื่น ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย
รุ่งขึ้นสามนาฬิกาหกบาทได้มหาเพชรฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้ง
สองพระองค์ ทรงเครื่องสำหรับพิชัยสงครามเสร็จ สมเด็จพระนเรศวรบพิตรเป็นเจ้า
เสด็จทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธาร สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวร
บรมนาถทรงช้างเจ้าพระยาปราบมหิมาเป็นพระคชาธาร นำเสด็จโดยมารควิถีแถ
ทางทุเรศ ประทับรอนแรมเจ็ดวันจึงบรรลุถึงด่านพระเจดีย์สามองค์ เสด็จไปประทับแรม
ตั้งค่ายหลวงตำหนักแม่กษัตริย์ ประทับแรมอยู่อีกสามวัน จึงดำรัสให้เคลื่อนพยุหโยธาทวย
หาญเดินโดยสถลมารควิถีประทับรอนแรมอีกหกวัน ก็เสด็จถึงเมืองเมาะลำเลิ่ง เจ้าพระ
ยาจักรีแลมุขมหาอำมาตย์กวีราชโหราจารย์ แลนายทัพนายกองทั้งปวงเฝ้าพระบาทยุคล
เจ้าพระยาจักรีกราบทูลข้อราชการ เสร็จสิ้นทุกประการ ก็เสด็จพักพลอยู่สามวันพอหาย
เมื่อยล้า
ถึงวันพฤหัสเดือนสามแรมสิบสองค่ำ เพลารุ่งแล้วห้าบาท จึงมีพระราช
บริหารสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ ให้พระกาญจนบุรีเป็นยกกระบัตร แลท้าวพระยา
หัวเมืองพลอาสาสองหมื่น บรรจุเรือรบเรือไล่ยกพลข้ามไปรบเอาเมืองเมาะตะมะ ฝ่าย
พระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะ ก็แต่งทัพเรือออกมารบ ก็พ่ายแพ้แก่ทหารกรุงศรีอยุธยา
ต้องหนีออกจากเมือง ไพร่พลไทยก็ไล่ซ้ำรุกขึ้นป่ายปีนเอาเมืองเมาะตะมะนั้นได้ ทหาร
หลวงไล่ฆ่าฟันแทงมอญกบฏล้มตายเป็นอันมาก ตัวเจ้าเมืองขึ้นช้างหนีไปได้ประมาณห้าสิบ
เส้น ก็ถูกหมื่นจินดาตามจับเอาตัวมาถวาย พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
ทั้งสองพระองค์ก็ให้ลงพระอาญาแก่พระยาลาว แลไว้แต่ชีวิตเพราะว่าจะเอามาพิจารณา
โทษในกรุงพระนคร แล้วทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชโองการตรัสให้ข้ามช้างม้าทั้งปวงไป
ตั้งทัพหลวงในเมืองเมาะตะมะ แต่ให้จำเจ้าพระยาจักรีไว้ในเมืองเมาะลำเลิ่ง แลไว้
พระยาธนบุรีนอกราชการ แลขุนหมื่นทั้งปวง ให้อยู่รั้งเมืองเษฆมาะลำเลิ่ง กับมีพระราชกำ
หนดให้ซ่องสุมเอามอญอันซ่านเซ็นเข้าอยู่ในเมืองเมาะลำเลิ่ง แล้วให้พระยาสวรรคโลก
พระยาพิชัย และพระยากาญจนบุรี แลขุนหมื่นทั้งหลายอยู่รั้งเมืองเมาะตะมะ
อีกสามวันต่อมาก็ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะตะมะ โดยสถลมารค
ถึงฝั่งแม่น้ำสะโตง แล้วตรัสให้พระมหาเทพเป็นนายกองทัพม้าสองร้อย ให้ยกไปก่อนทัพ
หลวง แลตรัสให้พระยาเพชรบุรียกช้างม้าแลพลสามพันหนุนไป แล้วจึงยกทัพหลวงข้ามแม่
น้ำสะโตงถึงเมืองหงสาวดี แต่เมืองนั้นได้ร้างลงเสียแล้ว เพราะเมื่อพระยาตองอูแจ้ง
ข่าวว่าเสียเมืองเมาะตะมะ ก็ยกพลเข้าเมืองหงสาวดี สั่งให้เผาค่ายเหย้าเรือนทั้งปวง
เสียแลพาพระเจ้าหงสาวดีรุดหนีไปเมืองตองอู ก่อนทัพหลวงของกรุงศรีอยุธยาจะยาตรา
มาถึง พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์จึงตั้งทัพอยู่ที่ตำบล
สวนหลวงในเมืองหงสาวดี
แผ่นดินรามัญอันเป็นข้าศึกสัตรูสำคัญของกรุงศรีอยุธยามาแต่กาลก่อน ก็
อยู่ใต้อำนาจของสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ด้วยประการฉะนี้.
พลิกพงศาวดาร เหยียบเมืองรามัญ ๑ ก.ค.๕๘
เหยียบเมืองรามัญ
พ.สมานคุรุกรรม
หลังจากที่ได้จัดการเรื่องกบฏเมืองตะนาวศรีเรียบร้อยแล้ว ถึงปลายปี
เจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งก็ถือหนังสือมาถึงพระยากาญจนบุรี แจ้งว่าเจ้าเมืองเมาะตะมะจะ
ยกทัพมาตีเมืองเมาะลำเลิ่ง ขอให้กรุงศรีอยุธยายกทัพไปช่วยป้องกันเมืองด้วย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสให้พระยา
ศรีไสยณรงค์ เจ้าเมืองตะนาวศรีคนใหม่ถือพลสองพัน ยกไปช่วยเมืองเมาะลำเลิ่ง ทาง
เมืองเมาะตะมะก็กลัวพระเดชเดชานุภาพ จึงมิได้คิดอาฆาตต่อไป
แลในเพลานั้นเองเจ้าฟ้าแสนหวีได้ถึงแก่พิราลัย ราชบุตรสององค์ต่าง
มารดากัน ก็ทำยุทธนาชิงราชสมบัติแก่กันอยู่ ผู้น้องสู้มิได้กลัวพี่ชายจะฆ่าเสีย จึงพาสมัคร
พรรคพวกประมาณร้อยเศษ หนีลงมาหาพระยาศรีไสยณรงค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเมาะลำเลิ่ง
พระยาศรีไสยณรงค์ก็ส่งตัวมายังกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า
อยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคและทรงเลี้ยงไว้โดยฐานาศักดิ์
ต่อมาถึงปีชวดสัมฤทธิศกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พล
ไว้ตั้งแต่เดือนห้า กะว่าเดือนสิบสองจะยกไปเอาเมืองเมาะตะมะ แลจะเลยไปตีเมือง
หงสาวดีให้ได้ พอดีเจ้าเมืองตะนาวศรีแจ้งข่าวจากเมืองเมาะลำเลิ่งว่าซึ่งพระเจ้าแปร
ผู้เป็นราชนัดดาเสียทัพไปเมื่อปีมะเมียนั้น พระเจ้าหงสาวดีเอาโทษให้ถอดเสียจากฐานา
ศักดิ์ ส่วนไพร่พลรามัญที่ไปทัพด้วยนั้นจับได้ให้ใส่เล้าคลอกเสีย ที่หนีรอดแตกฉานซ่านเซ็น
ไปก็มิได้เข้าเมือง ต่างคุมกันเป็นพวกเป็นเหล่าอยู่ในป่า ทางหงสาวดีแต่งข้าหลวงออก
ไปจับก็ต่อรบด้วย แลหัวเมืองทั้งปวงก็เสียใจพากันกระด้างกระเดื่อง เมืองหงสาวดีเอง
ก็เสียแก่มอญซึ่งเป็นกบฏ
พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ได้ทรงทราบดั่งนั้น จึงพระราชทาน
อาญาสิทธิ์ให้เจ้าพระยาจักรี เป็นนายทัพยกพลหมื่นห้าพัน ช้างเครื่องร้อยหนึ่งม้าสองร้อย
ออกไปตั้งมั่นปลูกยุ้งฉางทำไร่นาที่เมืองเมาะลำเลิ่ง คอยท่าทัพหลวง แลให้เจ้าฟ้าแสน
หวีไปกับเจ้าพระยาจักรีด้วย แล้วเกณฑ์ทัพเมืองทวายห้าพัน ให้ขึ้นไปตั้งตำบลเกาะพรวก
เมืองวังราว ขอบฝั่งทะเลตะวันตก คอยหนุนทัพเจ้าพระยาจักรี ส่วนกองทัพของเมืองตะ
นาวศรีนั้นเอาไว้ใช้ราชการ แต่ตัวพระยาศรีไสยณรงค์กับพรรคพวกนั้น ให้เข้ามารับราช
การในกรุงศรีอยุธยา
เมื่อเจ้าพระยาจักรียกไปถึงเมืองเมาะลำเลิ่งแล้ว ก็ระดมกำลังชาว
เมืองแลไพร่พลในกองทัพ ทำไร่ทำนา ต่อเรือรบเรือไล่เป็นอันมาก ฝ่ายเจ้าเมืองเมาะ
ตะมะ เจ้าเมืองละเคิ่ง เจ้าเมืองขลิก เจ้าเมืองบัวเผื่อน เจ้าเมืองพะสิม เจ้าเมือง
ตองอู แจ้งข่าวต่างก็เกรงพระเดชเดชานุภาพ จึงแต่งขุนนางให้ถือหนังสือแลเครื่องราช
บรรณาการ ลงมา ณ เมืองเมาะลำเลิ่ง เจ้าพระยาจักรีก็ส่งผู้ถือหนังสือแลเครื่องราช
บรรณาการเหล่านั้นเข้ามายังกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาเสนาบดีก็กราบทูลเบิกพม่ารามัญ
ผู้ถือหนังสือเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในหนังสือ เจ้าเมืองเมาะตะมะ เจ้าเมืองพะสิม เจ้าเมืองบัวเผื่อน
แลเจ้าเมืองขลิก ทั้งสี่นี้มีความว่า จะขอเป็นข้าขัณฑเสมากรุงเทพพระมหานคร ไปตราบ
เท่ากัลปาวสาน แต่หนังสือเจ้าเมืองตองอู กับเจ้าเมืองละเคิ่งนั้นว่า จะขอพึ่งพระบรม
โพธิสมภาร ถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปเอาเมือง
หงสาวดีเมื่อใด พระยาตองอู พระยาละเคิ่ง ก็จะขอยกพลมาควบทัพโดยเสด็จงานพระ
ราชสงครามด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้แจ้งในลักษณะอักษรนั้นแล้ว ก็มีพระทัยโสม
นัส ตรัสให้พระราชทานสิ่งของแก่เจ้าเมืองทั้งปวงโดยฐานาศักดิ์ แลให้ตอบหนังสือไปแก่
ท้าวพระยารามัญทั้งปวง
แต่เมื่อผู้ถือหนังสือกลับไปเมืองตองอูแล้ว พระยาตองอูก็เข้าปรึกษากับ
พระมหาเถรเสียมเพรียม คิดกลับใจจะต่อสู้กองทัพกรุงศรีอยุธยา แลถ้าเพลี่ยงพล้ำก็จะ
เข้ายึดกรุงหงสาวดีเสียเอง แล้วจึงมีหนังสือคาดโทษเจ้าเมืองทั้งหลายที่ได้ยอมอ่อนน้อม
ต่อกรุงศรีอยุธยา เจ้าเมืองรามัญเหล่านั้นก็ตกใจกลัวพระยาตองอูซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีไพร่
พลมาก จึงพากันเป็นกบฏต่อเจ้าพระยาจักรีซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเมาะลำเลิ่ง แลตัวเจ้าเมือง
เมาะลำเลิ่งก็พาครอบครัวอพยพ หนีออกจากเมืองข้ามไปเมืองเมาะตะมะด้วย พวกกบฏ
รามัญก็แต่งกองโจร กองละสองร้อยสามร้อยให้เที่ยวเป็นเสือป่า คอยขัดขวางการสะสม
เสบียงของทัพกรุงศรีอยุธยา ถ้าไพร่พลไทยออกเที่ยวหากินแลเกี่ยวข้าว ก็ลอบทำร้ายอยู่
เนืองๆ นายทัพนายกองทั้งปวงก็เอาเหตุไปแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรี
ครั้นเจ้าพระยาจักรีเห็นมอญกลับเป็นกบฏ ทำการกำเริบหนักขึ้น ก็บอก
หนังสือเข้ามากราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ เสนาบดีก็นำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสม
เด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบก็ทรงพระโกรธ ตรัสว่าเจ้าพระยาจักรีเป็นผู้ใหญ่ ก็เคยทำ
ศึกสงครามมา ยังจะไปตีเอาเมืองเหล่านี้ก็หาได้ตีไม่ เจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งก็เข้าสวามิ
ภักดิ์ ขอกองทัพออกไปรักษาเมืองไพร่บ้านพลเมืองก็เป็นปกติอยู่สิ้น ฝ่ายเมืองเมาะตะมะ
เมืองละเคิ่ง เมืองบ้วเผื่อน เมืองพะสิม เมืองขลิก เมืองตองอูเล่าก็อ่อนน้อม ควรหรือ
ให้เป็นได้ถึงเพียงนี้ ประการหนึ่งเมืองเมาะลำเลิ่งก็อยู่ฟากตะวันออกเหมือนอยู่ในกำมือ
ก็ยังให้เลิกหนีไปได้ ด้วยว่าทำดุจทารกอมมือ ครั้นจะให้ฆ่าเสียก็เสียดายคมหอกดาบ แล
ให้มีตราตอบคาดโทษออกไปว่า เจ้าพระยาจักรีจะตีเอาเมืองเมาะตะมะได้หรือมิได้ ถ้า
เห็นได้ฝ่ายเดียวแล้วให้ตีเอา ถ้าเห็นมิได้ให้รักษาค่ายเมาะลำเลิ่งไว้ให้มั่น ทัพหลวง
เสด็จพระราชดำเนินถึง จึ่งจะตีเมืองเมาะตะมะทีเดียว
เจ้าพระยาจักรีแจ้งในท้องตรารับสั่งดั่งนั้น ก็กลัวพระราชอาญาเป็นอัน
มาก แลเร่งรัดให้นายทัพนายกองทำเรือรบเรือไล่เสร็จ แล้วก็ลากลงไว้ในคลองน้ำ แล
คิดแต่งกองทัพไปป้องกันให้เกี่ยวข้าวสี่กอง กองละห้าร้อยคอยสกัดตีเหล่ารามัญกบฏทุกวัน
พวกมอญเห็นกองทัพไทยมาก ต้านทานมิได้ก็หลบหลีกเข้าไปในป่า นายทัพนายกองเร่งให้
เกี่ยวข้าวเบาแลข้าวหนักในท้องนาแขวงเมืองเมาะลำเลิ่ง ขนข้าวไว้ในฉางได้ประมาณ
สองพันเกวียน
ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้นให้หนังสือตอบไปยังเมืองเมาะลำ
เลิ่งแล้ว ก็มีพระราชโองการแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ให้เตรียมทัพพร้อม
เสร็จ ถึงวันเสาร์เดือนสามขึ้นค่ำหนึ่ง เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาได้มหาอุดมฤกษ์ สมเด็จ
พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอลังการสรรพาภรณ์วิชัยยุทธสรรพเสร็จ
เสด็จลงสู่พระที่นั่งกนกรัตนวิมานมหานาวา อันรจนาด้วยกาญจนมณีรัตนชัชวาลทั้งคู่ดูพันลึก
อธึกด้วยเรือจำนำ ท้าวพระยาสามนตราช ฝ่ายทหารพลเรือนเรียงประจำ จับสลากสลับ
สลอนคับคั่งตั้งโดยขบวนพยุหยาตรา พระโหราราชครูธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นฆ้องชัยให้
ขยายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ อันทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระสารีริกบรม
ธาตุ ถวายพระนามสมญาพระชัยนั้นก่อน แลเรือขบวนหน้าทั้งปวงเดินโดยลำดับ เรือพระ
ที่นั่งแลเรือแห่ซ้ายขวาทั้งปวง เดินโดยเสด็จดาดาษในท้องพระมหานทีธาร ประทับรอน
แรมห้าวันก็ถึงเมืองกาญจนบุรี เสด็จยังพลับพลาที่ประทับ พักช้างม้ารี้พลจัดกองทัพสามวัน
แลกองทัพหลวงนั้น พลฉกรรจ์ลำเครื่องสิบหมื่น ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย
รุ่งขึ้นสามนาฬิกาหกบาทได้มหาเพชรฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้ง
สองพระองค์ ทรงเครื่องสำหรับพิชัยสงครามเสร็จ สมเด็จพระนเรศวรบพิตรเป็นเจ้า
เสด็จทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธาร สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวร
บรมนาถทรงช้างเจ้าพระยาปราบมหิมาเป็นพระคชาธาร นำเสด็จโดยมารควิถีแถ
ทางทุเรศ ประทับรอนแรมเจ็ดวันจึงบรรลุถึงด่านพระเจดีย์สามองค์ เสด็จไปประทับแรม
ตั้งค่ายหลวงตำหนักแม่กษัตริย์ ประทับแรมอยู่อีกสามวัน จึงดำรัสให้เคลื่อนพยุหโยธาทวย
หาญเดินโดยสถลมารควิถีประทับรอนแรมอีกหกวัน ก็เสด็จถึงเมืองเมาะลำเลิ่ง เจ้าพระ
ยาจักรีแลมุขมหาอำมาตย์กวีราชโหราจารย์ แลนายทัพนายกองทั้งปวงเฝ้าพระบาทยุคล
เจ้าพระยาจักรีกราบทูลข้อราชการ เสร็จสิ้นทุกประการ ก็เสด็จพักพลอยู่สามวันพอหาย
เมื่อยล้า
ถึงวันพฤหัสเดือนสามแรมสิบสองค่ำ เพลารุ่งแล้วห้าบาท จึงมีพระราช
บริหารสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ ให้พระกาญจนบุรีเป็นยกกระบัตร แลท้าวพระยา
หัวเมืองพลอาสาสองหมื่น บรรจุเรือรบเรือไล่ยกพลข้ามไปรบเอาเมืองเมาะตะมะ ฝ่าย
พระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะ ก็แต่งทัพเรือออกมารบ ก็พ่ายแพ้แก่ทหารกรุงศรีอยุธยา
ต้องหนีออกจากเมือง ไพร่พลไทยก็ไล่ซ้ำรุกขึ้นป่ายปีนเอาเมืองเมาะตะมะนั้นได้ ทหาร
หลวงไล่ฆ่าฟันแทงมอญกบฏล้มตายเป็นอันมาก ตัวเจ้าเมืองขึ้นช้างหนีไปได้ประมาณห้าสิบ
เส้น ก็ถูกหมื่นจินดาตามจับเอาตัวมาถวาย พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
ทั้งสองพระองค์ก็ให้ลงพระอาญาแก่พระยาลาว แลไว้แต่ชีวิตเพราะว่าจะเอามาพิจารณา
โทษในกรุงพระนคร แล้วทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชโองการตรัสให้ข้ามช้างม้าทั้งปวงไป
ตั้งทัพหลวงในเมืองเมาะตะมะ แต่ให้จำเจ้าพระยาจักรีไว้ในเมืองเมาะลำเลิ่ง แลไว้
พระยาธนบุรีนอกราชการ แลขุนหมื่นทั้งปวง ให้อยู่รั้งเมืองเษฆมาะลำเลิ่ง กับมีพระราชกำ
หนดให้ซ่องสุมเอามอญอันซ่านเซ็นเข้าอยู่ในเมืองเมาะลำเลิ่ง แล้วให้พระยาสวรรคโลก
พระยาพิชัย และพระยากาญจนบุรี แลขุนหมื่นทั้งหลายอยู่รั้งเมืองเมาะตะมะ
อีกสามวันต่อมาก็ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะตะมะ โดยสถลมารค
ถึงฝั่งแม่น้ำสะโตง แล้วตรัสให้พระมหาเทพเป็นนายกองทัพม้าสองร้อย ให้ยกไปก่อนทัพ
หลวง แลตรัสให้พระยาเพชรบุรียกช้างม้าแลพลสามพันหนุนไป แล้วจึงยกทัพหลวงข้ามแม่
น้ำสะโตงถึงเมืองหงสาวดี แต่เมืองนั้นได้ร้างลงเสียแล้ว เพราะเมื่อพระยาตองอูแจ้ง
ข่าวว่าเสียเมืองเมาะตะมะ ก็ยกพลเข้าเมืองหงสาวดี สั่งให้เผาค่ายเหย้าเรือนทั้งปวง
เสียแลพาพระเจ้าหงสาวดีรุดหนีไปเมืองตองอู ก่อนทัพหลวงของกรุงศรีอยุธยาจะยาตรา
มาถึง พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์จึงตั้งทัพอยู่ที่ตำบล
สวนหลวงในเมืองหงสาวดี
แผ่นดินรามัญอันเป็นข้าศึกสัตรูสำคัญของกรุงศรีอยุธยามาแต่กาลก่อน ก็
อยู่ใต้อำนาจของสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ด้วยประการฉะนี้.