Credit :
http://printhaha.blogspot.com
ชื่อจริง เปาเจิ่ง包拯
เกิด พ.ศ. 1542นครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน
เสียชีวิตพ.ศ. 1605 (63 ปี)นครไคฟง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน
งาน-อาชีพ ข้าราชการ(ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร)
สัญชาติ จีนเชื้อชาติ จีน
วุฒิสูงสุด บัณฑิตหลวงอันดับ 1
เปาเจิ่ง (จีน: 包拯; พินอิน: Bāo Zhěng) , สมัญญาว่า "ซีเหริน" (จีน: 希仁; พินอิน: Xīrén; "ยอดคน") , นามที่ได้รับการเฉลิมเมื่อถึงแก่กรรมแล้วว่า "เสี้ยวสู้" (จีน: 孝肅; พินอิน: Xiàosù; "ผู้เป็นปูชนียะประหนึ่งบิดามารดา") หรือส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นคำในสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เปาอุ๋นเจิ่ง หน้าสุสานบันทึกไว้ว่า เปาเซี่ยวซู่[1] มีชีวิตอยู่จริงในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งมีชื่อเสียงมากและเป็นที่สรรเสริญในด้านความซื่อสัตย์และความยุติธรรม
กระทั่งต่อมาภายหลังได้รับยกย่องในเอเชียว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมและเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักคำนึงว่าเปาบุ้นจิ้นเป็นตุลาการ แต่ความจริงแล้วงานตุลาการเป็นหน้าที่หนึ่งในครั้งที่รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เปาบุ้นจิ้นนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหลายประเภท โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหกเดือนก่อนถึงแก่อสัญกรรม
เปาบุ้นจิ้น เป็นวีรบุรุษที่สำคัญอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน กล่าวกันว่าเคยมีชีวิตอยู่จริง ระหว่างปี ค.ศ.999 - 1062 มีชื่อจริงว่า เปาเจิ่ง (Bao Zheng) รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์และยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพในฐานะเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม ชาวจีนเรียกว่าเปากง (Bao Gong) ส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นชื่อที่คนไทยเรียกในสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว
เปาเจิ่ง ตั้งแต่เล็กก็เป็นบุตรที่ขยันขันแข็ง ร่ำเรียนหนังสืออย่างตั้งใจ จนกระทั่งอายุเพียง 29 ปี จึงสอบจอหงวนได้ในระดับสูง
เปาเจิ่งมีความขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องความกตัญญู โดยขณะที่ถูกส่งไปรับราชการที่มณฑลเจียงซี เมื่อทราบว่าบิดามารดาแก่ชรามากแล้ว ท่านก็ลาออกจากราชการ กลับมาปรนนิบัติผู้มีพระคุณทั้งสองจนกระทั่งเสียชีวิต โดยหลังจากบิดามารดาเสียชีวิต ท่านก็ทำพิธีศพและไว้อาลัยให้กับบิดามารดา จนครบตามประเพณีอันเคร่งครัดของลัทธิขงจื๊อ ก่อนที่จะกลับไปรับราชการต่อ
มีประวัติเล่าว่า ท่านเปารับราชการเป็นเวลา 45 ปี ในฝ่ายบริหาร เริ่มตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เจ้าเมืองไคฟง เสนาบดีการคลัง เป็นต้น ประวัติของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่เน้นที่การตัดสินความ แม้ว่าความจริงแล้ว เปาบุ้นจิ้นไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการก็ตาม ความเด็ดเดี่ยว กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่อง และคอยร้องทุกข์ต่อเปาบุ้นจิ้นเสมอ
มีการเขียนยกย่องเปาบุ้นจิ้นไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์จีนว่า "เป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลว แต่ท่านก็มิใช่เป็นคนดุร้าย ท่านเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา ท่านไม่เคยคบคนง่ายๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน ท่านมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง เสื้อผ้า เครื่องใช้ และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นคนสามัญธรรมดาเลย"
ความยุติธรรมของท่านเปา มิได้เกิดขึ้นแต่เพียงในหมู่ของชาวบ้านธรรมดาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงบุคคลทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี ขุนนางชั้นผู้น้อย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งญาติฝ่ายสนมองค์โปรดขององค์ฮ่องเต้ หรือจะกล่าวง่ายๆ ก็คือในสายตาของท่านเปา ความยุติธรรมไม่มีการแบ่งชนชั้น
ในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน เปาบุ้นจิ้นเป็นนักการเมืองที่มีวิทยาคุณและมีความมุ่งมาดปรารถนาอันแรงกล้า เป็นนักการปฏิรูปและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่ในทัศนะของชาวบ้าน เขาเป็น "ข้าราชการมือสะอาดหมายเลขหนึ่งในใต้หล้า" มากกว่า นี่เป็นเพราะว่า ผู้ปกครองในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่งนั้นไร้ความปรีชาสามารถ มาตรการปฏิรูปที่เปาบุ้นจิ้นเป็นผู้เสนอนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้เลย ฉะนั้น ความสามารถของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่จะแสดงออกในด้านสติภูมิปัญญา ความเที่ยงธรรมและความเฉียบขาดในการตัดสินคดีมากกว่า
แล้วหน้าประวัติศาสตร์จีนยังบันทึกไว้ด้วยว่า ท่านเปายังเป็นขุนนางที่ดำรงชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย มากกว่านั้น ในช่วงบั้นปลายท่านได้ตั้งกฎเกณฑ์เพื่อสั่งสอนลูกหลาน และตกทอดกันในตระกูลไว้ด้วยว่า
"ลูกหลานของข้าที่เข้ารับราชการ ผู้ใดหากกระทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงรับสินบน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ห้ามกลับมาเหยียบบ้านอีก หลังจากที่ตายไปแล้วศพก็ห้ามกล้ำกราย มาฝังรวมกับหลุมศพของตระกูล หากผู้ใดไม่ยึดถือในกฎเกณฑ์นี้ ก็จะไม่ถือเป็นผู้สืบสกุลของข้า"
วันหนึ่งกลางเดือนห้าของปี ค.ศ.1062 ท่านเปา ลาจากโลกนี้ไปด้วยอายุเพียง 63 ปี จากไปพร้อมกับความโศกสลดของชาวบ้านทั่วทั้งแผ่นดิน แม้กระทั่งองค์ฮ่องเต้ซ่งเหยินจง (Song Renzong : ค.ศ.1022 - 1063) ก็ยังทรงหยุดว่าราชการหนึ่งวัน และเสด็จมาร่วมแสดงความอาลัยต่อขุนนางผู้ซื่อสัตย์ยุติธรรมผู้นี้ด้วยพระองค์เอง
คุณงามความดีของท่านเปาเจิ่งที่สั่งสมส่วนใหญ่นั้นมาจากความซื่อสัตย์และความยุติธรรม ชาวบ้านจึงให้สมญานามว่า เปาชิงเทียน (Bao Qingtian) หรือ เปากระจ่างฟ้า โดยที่คำว่า "ชิงเทียน" หมายถึง "ท้องฟ้าสีคราม" เปรียบว่าการตัดสินคดีของท่านกระจ่างโปร่งใสตรวจสอบได้เหมือนท้องฟ้าสว่างใสๆ เปาบุ้นจิ้นได้รับการยกย่องสรรเสริญจากชนรุ่นหลังและมีผลงานการประพันธ์ที่เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นหลายต่อหลายชิ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งพันปีมานี้
ปัจจุบัน เปาบุ้นจิ้นได้รับการเคารพยกย่องเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ทั้งจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวจีนโพ้นทะเล และชนชาติอื่นๆ แม้กระทั่งชาวไทย รูปเคารพที่ว่ากันว่าสร้างหลังจากเปาบุ้นจิ้นถึงแก่อนิจกรรมได้นำมาไว้ในเมืองไทยโดยตั้งอยู่ที่อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ศาลไคฟง
ปัจจุบันอยู่ในอำเภอไคฟง (Kaifeng) เมืองเจิ้งโจว (Zhengzhou) มณฑลเหอหนาน (Henan) ประเทศจีน เป็นศาลที่ในสมัยก่อนเปาบุ้นจิ้นเคยตัดสินคดีที่นี่ จะมีเครื่องประหารทั้ง 3 (หัวมังกรสำหรับเชื้อพระวงศ์ หัวเสือใช้ประหารขุนนางและข้าราชการ ส่วนหัวสุนัขเอาไว้ประหารคนทั่วไป) จัดแสดงไว้ที่หน้าห้องตัดสินคดีความ ด้านในจะมีหุ่นขี้ผึ้งของคนในศาลไคฟง บริเวณด้านหลังที่ทำการจะมี "ชิงซินโหลว" หรือ "บ้านใจบริสุทธิ์" เป็นหอสูง 4 ชั้น ที่ว่ากันว่าบ้านหลังนี้ คือบ้านของเปาบุ้นจิ้น โดยในหอชั้นที่ 1 จะมีรูปปั้นเปาบุ้นจิ้นอยู่ รูปปั้นนี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 3 เมตร หนัก 2.5 ตัน นับเป็นรูปปั้นที่หนักที่สุดในเมืองจีน
######ในอีกความเชื่อหนึ่งมีการกล่าวไว้ว่า เปาบุ้นจิ้นเป็นเพียงจินตนาการของคนในยุคนั้นเนื่องจากรางวงศ์ซ่ง (ต้าซ้อง) อยู่ในยุคเน่าเฟะกังฉินกินบ้านครองเมือง ชาวบ้านหมดหวัง จึงสร้างจินตนาการว่ามีเทพแห่งความยุติธรรมมาปราบเหล่ากังฉินที่กัดกินบ้านเมืองจนเป็นตำนานเทพเจ้าหน้าดำ "เปาบุ้นจิ้น"######
----- มนุษย์เกิดมาก็ไม่มีความเท่าทียมกันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ชนชั้นวรรณะทางสังคมคือเรื่องจริงที่ปฎิเสธไม่ได้
กฏหมายจึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายสำหรับคนทุกยาก ดังนั้นหากสังคมใดไม่มีความยุติธรรม ถ้าแม้กระทั่งกฎหมายยังกลายเป็นเครื่องมือของคนแค่กลุ่มหนึ่ง แทนที่จะทำให้ความเท่าเทียมกันขั้นพื้นฐานในสังคม บ้านเมืองคงไม่อาจหลุดวังวนแห่งความตกต่ำไปได้-----
เชิญฟอกขาวกันต่อไปนะ
🌜🌜🌜🌜เทพเจ้าผู้ทรงธรรม ( เปาบุ้นจิ้น ) สิ่งที่ได้ขาดหายไปจากสังคม 🌛🌛🌛🌛
ชื่อจริง เปาเจิ่ง包拯
เกิด พ.ศ. 1542นครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน
เสียชีวิตพ.ศ. 1605 (63 ปี)นครไคฟง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน
งาน-อาชีพ ข้าราชการ(ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร)
สัญชาติ จีนเชื้อชาติ จีน
วุฒิสูงสุด บัณฑิตหลวงอันดับ 1
เปาเจิ่ง (จีน: 包拯; พินอิน: Bāo Zhěng) , สมัญญาว่า "ซีเหริน" (จีน: 希仁; พินอิน: Xīrén; "ยอดคน") , นามที่ได้รับการเฉลิมเมื่อถึงแก่กรรมแล้วว่า "เสี้ยวสู้" (จีน: 孝肅; พินอิน: Xiàosù; "ผู้เป็นปูชนียะประหนึ่งบิดามารดา") หรือส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นคำในสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เปาอุ๋นเจิ่ง หน้าสุสานบันทึกไว้ว่า เปาเซี่ยวซู่[1] มีชีวิตอยู่จริงในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งมีชื่อเสียงมากและเป็นที่สรรเสริญในด้านความซื่อสัตย์และความยุติธรรม
กระทั่งต่อมาภายหลังได้รับยกย่องในเอเชียว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมและเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักคำนึงว่าเปาบุ้นจิ้นเป็นตุลาการ แต่ความจริงแล้วงานตุลาการเป็นหน้าที่หนึ่งในครั้งที่รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เปาบุ้นจิ้นนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหลายประเภท โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหกเดือนก่อนถึงแก่อสัญกรรม
เปาบุ้นจิ้น เป็นวีรบุรุษที่สำคัญอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน กล่าวกันว่าเคยมีชีวิตอยู่จริง ระหว่างปี ค.ศ.999 - 1062 มีชื่อจริงว่า เปาเจิ่ง (Bao Zheng) รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์และยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพในฐานะเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม ชาวจีนเรียกว่าเปากง (Bao Gong) ส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นชื่อที่คนไทยเรียกในสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว
เปาเจิ่ง ตั้งแต่เล็กก็เป็นบุตรที่ขยันขันแข็ง ร่ำเรียนหนังสืออย่างตั้งใจ จนกระทั่งอายุเพียง 29 ปี จึงสอบจอหงวนได้ในระดับสูง
เปาเจิ่งมีความขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องความกตัญญู โดยขณะที่ถูกส่งไปรับราชการที่มณฑลเจียงซี เมื่อทราบว่าบิดามารดาแก่ชรามากแล้ว ท่านก็ลาออกจากราชการ กลับมาปรนนิบัติผู้มีพระคุณทั้งสองจนกระทั่งเสียชีวิต โดยหลังจากบิดามารดาเสียชีวิต ท่านก็ทำพิธีศพและไว้อาลัยให้กับบิดามารดา จนครบตามประเพณีอันเคร่งครัดของลัทธิขงจื๊อ ก่อนที่จะกลับไปรับราชการต่อ
มีประวัติเล่าว่า ท่านเปารับราชการเป็นเวลา 45 ปี ในฝ่ายบริหาร เริ่มตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เจ้าเมืองไคฟง เสนาบดีการคลัง เป็นต้น ประวัติของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่เน้นที่การตัดสินความ แม้ว่าความจริงแล้ว เปาบุ้นจิ้นไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการก็ตาม ความเด็ดเดี่ยว กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่อง และคอยร้องทุกข์ต่อเปาบุ้นจิ้นเสมอ
มีการเขียนยกย่องเปาบุ้นจิ้นไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์จีนว่า "เป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลว แต่ท่านก็มิใช่เป็นคนดุร้าย ท่านเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา ท่านไม่เคยคบคนง่ายๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน ท่านมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง เสื้อผ้า เครื่องใช้ และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นคนสามัญธรรมดาเลย"
ความยุติธรรมของท่านเปา มิได้เกิดขึ้นแต่เพียงในหมู่ของชาวบ้านธรรมดาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงบุคคลทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี ขุนนางชั้นผู้น้อย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งญาติฝ่ายสนมองค์โปรดขององค์ฮ่องเต้ หรือจะกล่าวง่ายๆ ก็คือในสายตาของท่านเปา ความยุติธรรมไม่มีการแบ่งชนชั้น
ในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน เปาบุ้นจิ้นเป็นนักการเมืองที่มีวิทยาคุณและมีความมุ่งมาดปรารถนาอันแรงกล้า เป็นนักการปฏิรูปและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่ในทัศนะของชาวบ้าน เขาเป็น "ข้าราชการมือสะอาดหมายเลขหนึ่งในใต้หล้า" มากกว่า นี่เป็นเพราะว่า ผู้ปกครองในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่งนั้นไร้ความปรีชาสามารถ มาตรการปฏิรูปที่เปาบุ้นจิ้นเป็นผู้เสนอนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้เลย ฉะนั้น ความสามารถของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่จะแสดงออกในด้านสติภูมิปัญญา ความเที่ยงธรรมและความเฉียบขาดในการตัดสินคดีมากกว่า
แล้วหน้าประวัติศาสตร์จีนยังบันทึกไว้ด้วยว่า ท่านเปายังเป็นขุนนางที่ดำรงชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย มากกว่านั้น ในช่วงบั้นปลายท่านได้ตั้งกฎเกณฑ์เพื่อสั่งสอนลูกหลาน และตกทอดกันในตระกูลไว้ด้วยว่า
"ลูกหลานของข้าที่เข้ารับราชการ ผู้ใดหากกระทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงรับสินบน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ห้ามกลับมาเหยียบบ้านอีก หลังจากที่ตายไปแล้วศพก็ห้ามกล้ำกราย มาฝังรวมกับหลุมศพของตระกูล หากผู้ใดไม่ยึดถือในกฎเกณฑ์นี้ ก็จะไม่ถือเป็นผู้สืบสกุลของข้า"
วันหนึ่งกลางเดือนห้าของปี ค.ศ.1062 ท่านเปา ลาจากโลกนี้ไปด้วยอายุเพียง 63 ปี จากไปพร้อมกับความโศกสลดของชาวบ้านทั่วทั้งแผ่นดิน แม้กระทั่งองค์ฮ่องเต้ซ่งเหยินจง (Song Renzong : ค.ศ.1022 - 1063) ก็ยังทรงหยุดว่าราชการหนึ่งวัน และเสด็จมาร่วมแสดงความอาลัยต่อขุนนางผู้ซื่อสัตย์ยุติธรรมผู้นี้ด้วยพระองค์เอง
คุณงามความดีของท่านเปาเจิ่งที่สั่งสมส่วนใหญ่นั้นมาจากความซื่อสัตย์และความยุติธรรม ชาวบ้านจึงให้สมญานามว่า เปาชิงเทียน (Bao Qingtian) หรือ เปากระจ่างฟ้า โดยที่คำว่า "ชิงเทียน" หมายถึง "ท้องฟ้าสีคราม" เปรียบว่าการตัดสินคดีของท่านกระจ่างโปร่งใสตรวจสอบได้เหมือนท้องฟ้าสว่างใสๆ เปาบุ้นจิ้นได้รับการยกย่องสรรเสริญจากชนรุ่นหลังและมีผลงานการประพันธ์ที่เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นหลายต่อหลายชิ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งพันปีมานี้
ปัจจุบัน เปาบุ้นจิ้นได้รับการเคารพยกย่องเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ทั้งจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวจีนโพ้นทะเล และชนชาติอื่นๆ แม้กระทั่งชาวไทย รูปเคารพที่ว่ากันว่าสร้างหลังจากเปาบุ้นจิ้นถึงแก่อนิจกรรมได้นำมาไว้ในเมืองไทยโดยตั้งอยู่ที่อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ศาลไคฟง
ปัจจุบันอยู่ในอำเภอไคฟง (Kaifeng) เมืองเจิ้งโจว (Zhengzhou) มณฑลเหอหนาน (Henan) ประเทศจีน เป็นศาลที่ในสมัยก่อนเปาบุ้นจิ้นเคยตัดสินคดีที่นี่ จะมีเครื่องประหารทั้ง 3 (หัวมังกรสำหรับเชื้อพระวงศ์ หัวเสือใช้ประหารขุนนางและข้าราชการ ส่วนหัวสุนัขเอาไว้ประหารคนทั่วไป) จัดแสดงไว้ที่หน้าห้องตัดสินคดีความ ด้านในจะมีหุ่นขี้ผึ้งของคนในศาลไคฟง บริเวณด้านหลังที่ทำการจะมี "ชิงซินโหลว" หรือ "บ้านใจบริสุทธิ์" เป็นหอสูง 4 ชั้น ที่ว่ากันว่าบ้านหลังนี้ คือบ้านของเปาบุ้นจิ้น โดยในหอชั้นที่ 1 จะมีรูปปั้นเปาบุ้นจิ้นอยู่ รูปปั้นนี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 3 เมตร หนัก 2.5 ตัน นับเป็นรูปปั้นที่หนักที่สุดในเมืองจีน
######ในอีกความเชื่อหนึ่งมีการกล่าวไว้ว่า เปาบุ้นจิ้นเป็นเพียงจินตนาการของคนในยุคนั้นเนื่องจากรางวงศ์ซ่ง (ต้าซ้อง) อยู่ในยุคเน่าเฟะกังฉินกินบ้านครองเมือง ชาวบ้านหมดหวัง จึงสร้างจินตนาการว่ามีเทพแห่งความยุติธรรมมาปราบเหล่ากังฉินที่กัดกินบ้านเมืองจนเป็นตำนานเทพเจ้าหน้าดำ "เปาบุ้นจิ้น"######
----- มนุษย์เกิดมาก็ไม่มีความเท่าทียมกันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ชนชั้นวรรณะทางสังคมคือเรื่องจริงที่ปฎิเสธไม่ได้
กฏหมายจึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายสำหรับคนทุกยาก ดังนั้นหากสังคมใดไม่มีความยุติธรรม ถ้าแม้กระทั่งกฎหมายยังกลายเป็นเครื่องมือของคนแค่กลุ่มหนึ่ง แทนที่จะทำให้ความเท่าเทียมกันขั้นพื้นฐานในสังคม บ้านเมืองคงไม่อาจหลุดวังวนแห่งความตกต่ำไปได้-----
เชิญฟอกขาวกันต่อไปนะ