ผมรู้สึกว่าหลายๆ บริษัทมักจะมีหัวหน้างานหรือผู้บริหารที่ยึดติดกับความคิดแบบนี้กันเยอะพอสมควรเลยนะ
ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องนี้หรอกนะ แต่พอมาเจอกับคนใกล้ตัวแล้ว ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่แนวคิดที่เข้าท่าเลยซักนิด
ผมเป็นพนักงานระดับ Senior ซึ่งมีหน้าที่คุมลูกน้องในทีมครับ ซึ่งปัจจุบันผมดูแลลูกน้องอยู่ 4 คน
ในกรณีนี้ผมจะยกตัวอย่างลูกน้องสองคนให้ฟังนะครับ สมมติให้ชื่อ เอ กับ บี ละกัน
คือเมื่อวานเอโดนผู้จัดการ หัวหน้าแผนกนั่นแหละ ตำแหน่งสูงกว่าผม 1 ขั้น ไปคุยประมาณครึ่งชั่วโมง
เอกลับมาทำหน้าซีดๆ ผมเลยถามว่าเค้าเรียกไปคุยเรื่องอะไร
เอเล่าให้ผมฟังว่า เค้าโดนตักเตือนว่า จากสถิติที่ฝ่ายไอทีส่งมาให้ เอมีจำนวน traffic ใช้เน็ตกับเว็บเฟสบุคมากผิดปกติ
พร้อมทั้งบอกว่านี่เป็นการตักเตือนครั้งแรก ถ้าครบ 3 ครั้งจะมีบทลงโทษ เช่น หักเงินเดือน และถ้ายังมีอีกอาจถูกเชิญออก
ผมได้ยินแล้วเคืองแทนเอเลยครับ คือผมเป็นคนดูแลเค้าอยู่ นั่งข้างๆ เค้า ผมยอมรับว่าเค้าเล่นเฟสบุคบ่อยจริง แต่ผมไม่เคยว่าอะไรเค้าเลย
เพราะอะไรน่ะเหรอ? เพราะว่าเค้าทำงานเก่งและดีมากที่สุดในทีมผมเลย ทำงานเร็วมาก สั่งอะไรไป แป๊บเดียวเสร็จ เข้าใจง่าย ไม่ต้องสอนอะไรเยอะ
พูดไปจะหาว่าผมอวย แต่เอนี่แหละคือคนที่ช่วยแบ่งเบางานให้ผมได้มากที่สุดละ และการที่เค้าเป็นคนทำงานเสร็จไว ทำให้เค้าเหลือเวลาว่างเยอะกว่าคนอื่น เค้าก็เลยใช้เวลานั้นเล่นเฟสบุคคลายเคลียด
เค้าบอกผมนะว่าถ้าเล่นเฟสบุคไม่ได้ เท่ากับว่าเวลาว่างเค้าต้องนั่งเฉยๆ ทำให้เค้ารู้สึกเบื่อมาก และเอ็นจอยกับการทำงานน้อยลง เพราะปกติเค้ารู้สึกชิวกับการทำงานมาก แฮปปี้ดีมาตลอด
กลับกัน ลูกน้องอีกคนที่ชื่อบีเนี่ย ผมก็ไม่ได้อยากตำหนิอะไรเค้านะ เพียงแต่อยากยกตัวอย่างเปรียบกับเอให้ฟัง
เค้าเป็นคนหัวไม่ค่อยไว เข้าใจอะไรยาก ชอบทำงานผิดบ่อยๆ แก้แล้วแก้อีก ทำให้งานเสร็จช้า จนบางทีเค้าต้องกลับบ้านช้ากว่าคนอื่นเพราะมัวแต่แก้งาน
ซึ่งแน่นอนว่าเค้าก็ใช้เวลานั่งทำงานทั้งวันนั่นแหละ ไม่มีเวลามานั่งเล่นเฟสบุคแบบเอหรอก เพราะแค่ทำงานก็แทบจะเสร็จไม่ทันอยู่แล้ว บางทีลำบากผมต้องมาช่วยสอนงานมากขึ้นด้วย
แต่บีไม่เคยโดนเบื้องบนตำหนิอะไรเลย...เพราะจากสถิติเค้าขาวสะอาดมาก ไร้ traffic จากเว็บเฟสบุค...
แล้วพนักงานกลุ่มนึงในบริษัทที่มีหน้าที่ดูแลเพจเฟสบุคของบริษัท พวกเค้ากลับสามารถเล่นเฟสบุคได้อย่างสบายลัลล้าโดยที่หัวหน้าไม่ว่าอะไรเลยซักคำเดียว เพราะเค้าคิดว่าพนักงานกลุ่มนี้ต้องใช้เฟสบุคทำงานอยู่แล้ว แต่คุณรู้อะไรไหม...ผมเดินผ่านทีไร เห็นเค้านั่งแชทกันทั้งวันเลยครับ....
แบบนี้มันแฟร์แล้วเหรอครับ?
แน่นอนว่าผมไม่นิ่งเฉยๆ ผมก็เลยลองไปคุยกับผู้จัดการดู บอกว่าเอเค้าทำงานดีนะ เค้าจะเล่นเฟสบุคก็ให้เค้าเล่นไปเหอะ
แต่ผู้จัดการก็ตอบมาว่า... ฝ่ายผู้บริหารเค้าออกกฏมาแบบนี้ พี่ก็ต้องทำตามที่เค้าบอกน่ะ คงช่วยอะไรไม่ได้ แต่ยังไงนี่มันก็ที่ทำงานอ่ะนะ ไม่เล่นเฟสบุคมันก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร
ครับ.................
ไม่รู้สิครับ...คือผมรู้สึกว่าแนวคิดแบบนี้มันดูไม่เข้าท่ายังไงไม่รู้ อยากให้หัวหน้าผู้บริหารทั้งหลายได้มาอ่านครับ
คุณรู้ไหมว่าความคิดแบบนี้ ที่คุณคิดว่าจะช่วยให้ลูกน้องขยันทำงานมากขึ้น มันกลับจะทำให้ลูกน้องเอ็นจอยกับการทำงานลดลงเสียด้วยซ้ำครับ
เหมือนโดนกดดัน ยิ่งถ้าเค้าทำงานได้ดีอยู่แล้ว เค้าจะยิ่งเสียกำลังใจ กับความไม่ยุติธรรมแบบนี้
และถ้าพวกคุณจะบอกว่า ถ้าทำงานเสร็จเร็ว เวลาว่างเหลือเยอะ ก็เอาเวลาไปเรียนรู้หรือหางานทำเพิ่มเติมสิ
ผมก็อยากจะบอกเหมือนกันว่าคุณจ้างเค้าให้ทำงานให้คุณ ในเมื่อเค้าทำงานให้คุณได้สำเร็จลุล่วงหน้า เวลาว่างของเค้า จะทำอะไรมันก็สิทธิของเค้าครับ
ไม่งั้นจะกลายเป็นว่า การที่เค้าทำงานเสร็จเร็ว เท่ากับว่าเค้าต้องทำงานมากกว่าคนอื่นเหรอ?
ตกลงคุณต้องการจ่ายเงินเดือนเพื่อซื้อผลงานของเค้า หรือต้องการซื้อเวลาของเค้ากันแน่ครับ?
คุณอยากได้พนักงานที่ทำงานเก่ง หรืออยากได้พนักงานที่ไม่เล่นเฟสบุค แต่ทำงานไม่เก่งก็ช่าง?
ทำไมไม่พิจารณาจากผลงานเป็นหลักล่ะครับ?
อยากให้ลองเอาไปคิดกันดูนะครับ...
ทำไมหัวหน้าถึงชอบมีปัญหากับการเล่นเฟสบุคของพนักงาน?
ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องนี้หรอกนะ แต่พอมาเจอกับคนใกล้ตัวแล้ว ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่แนวคิดที่เข้าท่าเลยซักนิด
ผมเป็นพนักงานระดับ Senior ซึ่งมีหน้าที่คุมลูกน้องในทีมครับ ซึ่งปัจจุบันผมดูแลลูกน้องอยู่ 4 คน
ในกรณีนี้ผมจะยกตัวอย่างลูกน้องสองคนให้ฟังนะครับ สมมติให้ชื่อ เอ กับ บี ละกัน
คือเมื่อวานเอโดนผู้จัดการ หัวหน้าแผนกนั่นแหละ ตำแหน่งสูงกว่าผม 1 ขั้น ไปคุยประมาณครึ่งชั่วโมง
เอกลับมาทำหน้าซีดๆ ผมเลยถามว่าเค้าเรียกไปคุยเรื่องอะไร
เอเล่าให้ผมฟังว่า เค้าโดนตักเตือนว่า จากสถิติที่ฝ่ายไอทีส่งมาให้ เอมีจำนวน traffic ใช้เน็ตกับเว็บเฟสบุคมากผิดปกติ
พร้อมทั้งบอกว่านี่เป็นการตักเตือนครั้งแรก ถ้าครบ 3 ครั้งจะมีบทลงโทษ เช่น หักเงินเดือน และถ้ายังมีอีกอาจถูกเชิญออก
ผมได้ยินแล้วเคืองแทนเอเลยครับ คือผมเป็นคนดูแลเค้าอยู่ นั่งข้างๆ เค้า ผมยอมรับว่าเค้าเล่นเฟสบุคบ่อยจริง แต่ผมไม่เคยว่าอะไรเค้าเลย
เพราะอะไรน่ะเหรอ? เพราะว่าเค้าทำงานเก่งและดีมากที่สุดในทีมผมเลย ทำงานเร็วมาก สั่งอะไรไป แป๊บเดียวเสร็จ เข้าใจง่าย ไม่ต้องสอนอะไรเยอะ
พูดไปจะหาว่าผมอวย แต่เอนี่แหละคือคนที่ช่วยแบ่งเบางานให้ผมได้มากที่สุดละ และการที่เค้าเป็นคนทำงานเสร็จไว ทำให้เค้าเหลือเวลาว่างเยอะกว่าคนอื่น เค้าก็เลยใช้เวลานั้นเล่นเฟสบุคคลายเคลียด
เค้าบอกผมนะว่าถ้าเล่นเฟสบุคไม่ได้ เท่ากับว่าเวลาว่างเค้าต้องนั่งเฉยๆ ทำให้เค้ารู้สึกเบื่อมาก และเอ็นจอยกับการทำงานน้อยลง เพราะปกติเค้ารู้สึกชิวกับการทำงานมาก แฮปปี้ดีมาตลอด
กลับกัน ลูกน้องอีกคนที่ชื่อบีเนี่ย ผมก็ไม่ได้อยากตำหนิอะไรเค้านะ เพียงแต่อยากยกตัวอย่างเปรียบกับเอให้ฟัง
เค้าเป็นคนหัวไม่ค่อยไว เข้าใจอะไรยาก ชอบทำงานผิดบ่อยๆ แก้แล้วแก้อีก ทำให้งานเสร็จช้า จนบางทีเค้าต้องกลับบ้านช้ากว่าคนอื่นเพราะมัวแต่แก้งาน
ซึ่งแน่นอนว่าเค้าก็ใช้เวลานั่งทำงานทั้งวันนั่นแหละ ไม่มีเวลามานั่งเล่นเฟสบุคแบบเอหรอก เพราะแค่ทำงานก็แทบจะเสร็จไม่ทันอยู่แล้ว บางทีลำบากผมต้องมาช่วยสอนงานมากขึ้นด้วย
แต่บีไม่เคยโดนเบื้องบนตำหนิอะไรเลย...เพราะจากสถิติเค้าขาวสะอาดมาก ไร้ traffic จากเว็บเฟสบุค...
แล้วพนักงานกลุ่มนึงในบริษัทที่มีหน้าที่ดูแลเพจเฟสบุคของบริษัท พวกเค้ากลับสามารถเล่นเฟสบุคได้อย่างสบายลัลล้าโดยที่หัวหน้าไม่ว่าอะไรเลยซักคำเดียว เพราะเค้าคิดว่าพนักงานกลุ่มนี้ต้องใช้เฟสบุคทำงานอยู่แล้ว แต่คุณรู้อะไรไหม...ผมเดินผ่านทีไร เห็นเค้านั่งแชทกันทั้งวันเลยครับ....
แบบนี้มันแฟร์แล้วเหรอครับ?
แน่นอนว่าผมไม่นิ่งเฉยๆ ผมก็เลยลองไปคุยกับผู้จัดการดู บอกว่าเอเค้าทำงานดีนะ เค้าจะเล่นเฟสบุคก็ให้เค้าเล่นไปเหอะ
แต่ผู้จัดการก็ตอบมาว่า... ฝ่ายผู้บริหารเค้าออกกฏมาแบบนี้ พี่ก็ต้องทำตามที่เค้าบอกน่ะ คงช่วยอะไรไม่ได้ แต่ยังไงนี่มันก็ที่ทำงานอ่ะนะ ไม่เล่นเฟสบุคมันก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร
ครับ.................
ไม่รู้สิครับ...คือผมรู้สึกว่าแนวคิดแบบนี้มันดูไม่เข้าท่ายังไงไม่รู้ อยากให้หัวหน้าผู้บริหารทั้งหลายได้มาอ่านครับ
คุณรู้ไหมว่าความคิดแบบนี้ ที่คุณคิดว่าจะช่วยให้ลูกน้องขยันทำงานมากขึ้น มันกลับจะทำให้ลูกน้องเอ็นจอยกับการทำงานลดลงเสียด้วยซ้ำครับ
เหมือนโดนกดดัน ยิ่งถ้าเค้าทำงานได้ดีอยู่แล้ว เค้าจะยิ่งเสียกำลังใจ กับความไม่ยุติธรรมแบบนี้
และถ้าพวกคุณจะบอกว่า ถ้าทำงานเสร็จเร็ว เวลาว่างเหลือเยอะ ก็เอาเวลาไปเรียนรู้หรือหางานทำเพิ่มเติมสิ
ผมก็อยากจะบอกเหมือนกันว่าคุณจ้างเค้าให้ทำงานให้คุณ ในเมื่อเค้าทำงานให้คุณได้สำเร็จลุล่วงหน้า เวลาว่างของเค้า จะทำอะไรมันก็สิทธิของเค้าครับ
ไม่งั้นจะกลายเป็นว่า การที่เค้าทำงานเสร็จเร็ว เท่ากับว่าเค้าต้องทำงานมากกว่าคนอื่นเหรอ?
ตกลงคุณต้องการจ่ายเงินเดือนเพื่อซื้อผลงานของเค้า หรือต้องการซื้อเวลาของเค้ากันแน่ครับ?
คุณอยากได้พนักงานที่ทำงานเก่ง หรืออยากได้พนักงานที่ไม่เล่นเฟสบุค แต่ทำงานไม่เก่งก็ช่าง?
ทำไมไม่พิจารณาจากผลงานเป็นหลักล่ะครับ?
อยากให้ลองเอาไปคิดกันดูนะครับ...