ถ้าเริ่มต้นเข้าใจเรื่อง "ความทุกข์" ผิด การศึกษาอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าทั้งหมดก็จะผิดไปหมด
เพราะหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับ (หรือกำจัด หรือพ้น) ความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน
เมื่อเราเข้าใจความทุกข์ผิด เราก็จะเข้าใจถึงสาเหตุของทุกข์ผิดตามไปด้วยทันที
คือ เข้าใจผิดไปว่า ความทุกข์ในอริสัจ ๔ คือความทุกข์ของร่างกาย ดังนั้นจึงเกิดความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า เป็นเพราะ การเกิดร่างกายขึ้นมาจึงทำให้เกิดความทุกข์ (คือเข้าใจผิดว่า ทุกข์เพราะร่างกายแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น)
เมื่อเข้าใจผิดว่าสาเหตุของความทุกข์คือการเกิดร่างกายขึ้นมา จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า นิพพาน (ความพ้นทุกข์) ก็คือ การไม่เกิดร่างกายใดๆขึ้นมาอีก (คือเข้าใจผิดว่า เมื่อไม่มีร่างกาย ก็จะไม่การแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น ให้ต้องเป็นทุกข์)
เมื่อเข้าใจนิพพานผิด ก็จะเข้าใจวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพานผิดตามไปด้วย คือเข้าใจว่าการปฏิบัติอริยมรรค หรือปัญญา ศีล และสมาธินั้น คือการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการเกิดร่างกายขึ้นมาอีกอย่างถาวร (คือเข้าใจผิดว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อไม่ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดทางร่างกาย)
เมื่อปฏิบัติผิด จิตใจก็ไม่พ้นทุกข์ หรือทุกข์ไม่ดับลงจริง (แม้เพียงชั่วคราว) สรุปคือยังมีความทุกข์ในปัจจุบันอยู่ต่อไป
แต่ถ้าเราเข้าใจเรื่องความทุกข์ในอริสัจ ๔ ถูกต้อง ว่า คือความทุกข์ของจิตใจในชีวิตปัจจุบัน (อันได้แก่ ความเศร้าโศก ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความแห้งเหี่ยวใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น) เราก็จะเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ได้อย่างถูกต้อง (ว่าเป็นเพราะความยึดถือว่ามีตัวเราแก่ ตัวเราเจ็บ ตัวเราจะตาย ตัวเรากำลังพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รักอยู่ เป็นต้น ซึ่งความยึดถือนี้ก็มาจากตัณหาหรือความอยาก ส่วนความอยากก็มาจากการที่จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา และความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ก็มาจากอวิชชา-ความรู้ว่ามีตัวเรา ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)
เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ถูกต้องแล้ว ก็จะเข้าใจถึงนิพพานหรือความไม่มีทุกข์ได้อย่างถูกต้องตามไปด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน (ความทุกข์คือความร้อน นิพพานคือความเย็น ความทุกข์คือความดิ้นรน ไม่สงบ นิพพานคือความสงบ ไม่ดิ้นรน ความทุกข์คือความรู้สึกทรมาน นิพพานคือความรู้สึกสบาย ความทุกข์คือความรู้สึกหนัก นิพพานคือความรู้สึกเบา ความทุกข์คือความมืดมัว ขุ่นมัว นิพพานคือความปลอดโปร่ง แจ่มใส ความทุกข์คือความเศร้าซึม นิพพานคือความสดชื่น)
เมื่อเข้าใจนิพพานถูกต้อง ก็จะเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน (หรืออริยมรรค) ถูกต้องตามไปด้วย (คือต้องใช้ปัญญา-ความรอบรู้ว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง และสมาธิ-จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน มาทำงานร่วมกัน โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว)
เมื่อเข้าใจอริยมรรคถูกต้อง ก็จะทำให้การปฏิบัติถูกต้อง เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน (ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงที่สุดสำหรับมนุษย์ทุกคน) ก็จะดับลงทันที (แม้เพียงชั่วคราว) หรือที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็นิพพาน คือสงบเย็น สดชื่น แจ่มใส เบา สบาย ทันที (แม้เพียงชั่วคราวก็ได้) และถ้ามีการปฏิบัติอริยมรรคได้อย่างต่อเนื่องนานๆ จนความเคยชินของอวิชชาที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึก (ที่เรียกว่าสังโยชน์ ๑๐) ได้หมดความเคยชินไป (สังโยชน์ถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร) จิตก็จะนิพพานได้อย่างถาวร (ตราบเท่าที่ยังมีจิตอยู่)
สรุป เราต้องมาศึกษาเรื่องความทุกข์โดยสรุป ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า "กล่าวโดยย่ออุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ (ความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นตัวเรา-ของเรา) คือตัวทุกข์" นี้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องอื่น ถ้าเข้าใจเรื่องความทุกข์นี้ถูกต้องแล้ว ก็จะเข้าใจเรื่องอื่นๆหรือคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าถูกต้องไปด้วย แต่ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องความทุกข์นี้ถูกต้อง ก็จะเข้าใจเรื่องอื่นๆไม่ถูกต้องตามไปด้วยทั้งหมด หรือเท่ากับไม่รู้จักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
ถ้าเริ่มต้นเข้าใจเรื่อง "ความทุกข์" ผิด การศึกษาอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าทั้งหมดก็จะผิดไปหมด
เพราะหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับ (หรือกำจัด หรือพ้น) ความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน
เมื่อเราเข้าใจความทุกข์ผิด เราก็จะเข้าใจถึงสาเหตุของทุกข์ผิดตามไปด้วยทันที
คือ เข้าใจผิดไปว่า ความทุกข์ในอริสัจ ๔ คือความทุกข์ของร่างกาย ดังนั้นจึงเกิดความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า เป็นเพราะ การเกิดร่างกายขึ้นมาจึงทำให้เกิดความทุกข์ (คือเข้าใจผิดว่า ทุกข์เพราะร่างกายแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น)
เมื่อเข้าใจผิดว่าสาเหตุของความทุกข์คือการเกิดร่างกายขึ้นมา จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า นิพพาน (ความพ้นทุกข์) ก็คือ การไม่เกิดร่างกายใดๆขึ้นมาอีก (คือเข้าใจผิดว่า เมื่อไม่มีร่างกาย ก็จะไม่การแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น ให้ต้องเป็นทุกข์)
เมื่อเข้าใจนิพพานผิด ก็จะเข้าใจวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพานผิดตามไปด้วย คือเข้าใจว่าการปฏิบัติอริยมรรค หรือปัญญา ศีล และสมาธินั้น คือการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการเกิดร่างกายขึ้นมาอีกอย่างถาวร (คือเข้าใจผิดว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อไม่ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดทางร่างกาย)
เมื่อปฏิบัติผิด จิตใจก็ไม่พ้นทุกข์ หรือทุกข์ไม่ดับลงจริง (แม้เพียงชั่วคราว) สรุปคือยังมีความทุกข์ในปัจจุบันอยู่ต่อไป
แต่ถ้าเราเข้าใจเรื่องความทุกข์ในอริสัจ ๔ ถูกต้อง ว่า คือความทุกข์ของจิตใจในชีวิตปัจจุบัน (อันได้แก่ ความเศร้าโศก ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความแห้งเหี่ยวใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น) เราก็จะเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ได้อย่างถูกต้อง (ว่าเป็นเพราะความยึดถือว่ามีตัวเราแก่ ตัวเราเจ็บ ตัวเราจะตาย ตัวเรากำลังพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รักอยู่ เป็นต้น ซึ่งความยึดถือนี้ก็มาจากตัณหาหรือความอยาก ส่วนความอยากก็มาจากการที่จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา และความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ก็มาจากอวิชชา-ความรู้ว่ามีตัวเรา ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)
เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ถูกต้องแล้ว ก็จะเข้าใจถึงนิพพานหรือความไม่มีทุกข์ได้อย่างถูกต้องตามไปด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน (ความทุกข์คือความร้อน นิพพานคือความเย็น ความทุกข์คือความดิ้นรน ไม่สงบ นิพพานคือความสงบ ไม่ดิ้นรน ความทุกข์คือความรู้สึกทรมาน นิพพานคือความรู้สึกสบาย ความทุกข์คือความรู้สึกหนัก นิพพานคือความรู้สึกเบา ความทุกข์คือความมืดมัว ขุ่นมัว นิพพานคือความปลอดโปร่ง แจ่มใส ความทุกข์คือความเศร้าซึม นิพพานคือความสดชื่น)
เมื่อเข้าใจนิพพานถูกต้อง ก็จะเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน (หรืออริยมรรค) ถูกต้องตามไปด้วย (คือต้องใช้ปัญญา-ความรอบรู้ว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง และสมาธิ-จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน มาทำงานร่วมกัน โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว)
เมื่อเข้าใจอริยมรรคถูกต้อง ก็จะทำให้การปฏิบัติถูกต้อง เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน (ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงที่สุดสำหรับมนุษย์ทุกคน) ก็จะดับลงทันที (แม้เพียงชั่วคราว) หรือที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็นิพพาน คือสงบเย็น สดชื่น แจ่มใส เบา สบาย ทันที (แม้เพียงชั่วคราวก็ได้) และถ้ามีการปฏิบัติอริยมรรคได้อย่างต่อเนื่องนานๆ จนความเคยชินของอวิชชาที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึก (ที่เรียกว่าสังโยชน์ ๑๐) ได้หมดความเคยชินไป (สังโยชน์ถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร) จิตก็จะนิพพานได้อย่างถาวร (ตราบเท่าที่ยังมีจิตอยู่)
สรุป เราต้องมาศึกษาเรื่องความทุกข์โดยสรุป ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า "กล่าวโดยย่ออุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ (ความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นตัวเรา-ของเรา) คือตัวทุกข์" นี้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องอื่น ถ้าเข้าใจเรื่องความทุกข์นี้ถูกต้องแล้ว ก็จะเข้าใจเรื่องอื่นๆหรือคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าถูกต้องไปด้วย แต่ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องความทุกข์นี้ถูกต้อง ก็จะเข้าใจเรื่องอื่นๆไม่ถูกต้องตามไปด้วยทั้งหมด หรือเท่ากับไม่รู้จักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า