สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
เราเคยเป็นครูสอนภาษาไทยให้ฝรั่งคะ สอนจากพูดไม่ได้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เลย จนนักเรียนพูดได้ อ่านออก แต่เขียนไม่ค่อยได้คะ เราเคยสอนมานานอยู่พอสมควร นักเรียนเกิน 90% สามารถฟังคนไทยเข้าใจ พูดได้ ส่วน 10% ที่เหลือคือพวกไม่ตั้งใจเรียน มาเมืองไทยเอาแต่เมาปลิ้น เที่ยวหญิง ไม่สนใจทบทวนบทเรียนเลยอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ฟังคำพูดง่ายๆในชีวิตประจำวันได้
วิธีที่เราสอนนะ คุณถามมาเรื่องเน้นการอ่าน เขียนไม่เน้น แล้วคุณแม่พูดได้ มันง่ายมากเลย ต้องอาศัยความอดทนของคุณแม่ที่จะพยายามอ่านให้ออกคะ
1. เริ่มต้นจากแบ่งอักษรไทยออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มเอักษรเสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ วันแรกให้จำกลุ่มเสียงสูงกับเสียงกลางให้ได้ พอคุณแม่จำได้แม่นแล้ว ให้จำอักษรเสียงต่ำคะ ไม่ต้องเอาหนังสือเด็กอนุบาลมาให้อ่านแบบที่บังคับให้ท่องจำตั้งแต่ ก - ฮ คะเพราะคนเรียนที่ไม่ใช่คนไทยจะสับสนมากคะ เกิดคำถามมากมาย แล้วเราผู้สอนผู้ไม่มีประสบการณ์จะตอบคำถามคนเรียนไม่ได้ แล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาคือ การเรียนไม่ต่อเนื่อง คนเรียนมีคำถามในใจแต่คนสอนตอบไม่ได้ ในระหว่างที่สอนถ้าคุณแม่ถามว่าทำไมต้องมาให้นั่งจำว่าอักษรไทยแบ่งเป็นสามกลุ่ม ตัวไหนอยู่กลุ่มไหน ให้คุณตอบคุณแม่ว่า เพราะถ้าจำกลุ่มไม่ได้จะทำให้อ่านคำผสมสระ วรรณยุกต์ไม่ออกคะ หรืออ่านผิดคะ แม้แต่คนไทยแท้ๆเองถ้าไม่รู้ว่าอักษรตัวนี้อยู่กลุ่มไหนก็จะอ่านคำที่ไม่คุ้นหูผิดคะ คุณลองไปภาคเหนือ ภาคใต้ซิ แล้วอ่านป้ายชื่อถนน ชื่อหมูบ้านเขาซิ เชื่อเลยกว่า 80% ยังอ่านผิดอยู่
2 พอคุณแม่จำอักษรไทยได้หมดทุกตัวแล้ว (ขณะที่สอนให้จำ คุณควรจะสอนให้เขียนได้ด้วยนะ เพราะมันจะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น) ให้จำสระเลย ก็ให้ท่องแบบเด็กป.2 เลยคะ อะ อา อิ อี ตามปกติ บอกคุณแม่ว่า สระไทยมีสองเสียงคือเสียงสั้นกับเสียงยาว ขั้นตอนนี้ให้ท่องให้ได้แม่นก่อน โดยให้เอา อ.อ่าง เป็นตัวประสมให้หมด ไม่เอาอักษรอื่นมาปนเลย
3. พอจำสระแม่นแล้ว ให้นำอักษรอื่นมาแทนที่ อ.อ่าง ไม่ต้องเรียงตั้งแต่ ก-ฮ นะ มันเยอะไป คนเรียนจะเบื่อ ให้ยกตัวอย่างคำมาให้อ่านเป็นคำๆไป โดยแบ่งเป็นทีละกลุ่มคือ ยกตัวอย่างคำในกลุ่มอักษรเสียงสูง เช่น ขา สา ฝา คำในกลุ่มอักษรเสียงกลาง เช่น กา ตา ปา คำในอักษรเสียงต่ำ เช่น มา นา งา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สลับเปลี่ยนกับสระอื่นๆไปเรื่อยๆ จนคุณแม่อ่านคล่องคะ ถามว่าทำไมต้องแบ่งให้อ่านตามกลุ่มอักษรแต่ละเสียงด้วย เพราะถ้าเอามาให้อ่านรวมกัน เช่น ขา กา นา คนเรียนจะสงสัยว่าทำไม ขา มันออกเสียงโทนต่างกับ กา และ นา ซึ่งถ้าให้อ่านแบบนี้แต่แรก คนเรียนจะเหนื่อยเพราะมันยาก เลยต้องแบ่งเป็นสามกลุ่ม แต่ถ้าคุณแบ่งสามกลุ่มจนคุณแม่อ่านคล่องแล้ว ทีนี้ลองยกตัวอย่างแบบรวมมิตรเลย เช่น มา หา ตา และ ไป นา พออ่านตัวอย่างคำรวมมิตรได้แล้ว ก็ขั้นตอนต่อไปคะ
4. ให้ฝึกจำรูปวรรณยุกต์ 5 เสียง ก็สอนแบบแยกกลุ่มเสียงเหมือนเดิม เอาทีละกลุ่มจนอ่านคล่อง เสร็จแล้ว เอามารวมมิตรกันให้อ่าน
5. ก่อนจะเข้าขั้นตอนนี้ คุณต้องมั่นใจว่าคุณแม่อ่าน 4 ขั้นตอนข้างตนได้แม่นแล้วนะคะ ขั้นตอนนี้คุณจะสอนเรื่องการผสมตัวสะกดเข้าไป
เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่
แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด
แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ
แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส
แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ
แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง
แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม
แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย
แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว
วิธีสอนแบบง่ายๆคือ บอกว่ามี 8 เสียงสะกดก็พอ (ตัดแม่ ก กา ออก)ไม่ต้องไปใช้คำว่ามาตรากับ แม่นั้น แม่นี้หรอก มันมึน ให้คุณแม่จำแค่ว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นพยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ ลงท้ายเป็นตัวสะกดให้อ่านออกเสียง บ. .ใบไม้ ก็คือเขียนแยกออกมา 8 ข้อให้เขาจำ แล้วก็ยกตัวอย่างคำมาให้หัดอ่าน ทีนี้แบ่งประเภทตามแบบตัวสะกด ไม่ต้องแบ่งประเภทตามอักษรสามเสียงแล้วคะ เช่น พืช กิจ จิต บาท พุธ โทษ แก๊ส
ทีนี้พอสอนไปเรื่อยๆมันก็จะมีข้อยกเว้นในการอ่านคำที่มีตัวสะกดอยู่บ้าง คุณต้องไปศึกษาเองคะ
6. ให้สอนอ่าน คำที่มี ห นำ เช่น หมา เหนียว หนาว, คำที่มี รร เช่น บรรทุก พรรคพวก, คำควบกล้ำทั้งหลาย เช่น กรุง ความ ทราบ อยาก มาตร เพชร ประเสริฐ แล้วก็อื่นๆ ที่เป็นกรณีเดียวกัน ตอนนี้นึกไม่ออกคะ ไปศึกษาเองคะ
7. ให้สอนอ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ตัวการันต์ ไม้ยมก ไม้ไต่คู้ จุด ทับ วงเล็บ และอื่นๆที่อยู่ในประเภทนี้คะ
8. ถึงขั้นนี้แล้ว ให้หาหนังสือเด็กที่ตัวใหญ่ๆ เขียนห่างๆ มาเริ่มอ่านก่อน เสร็จแล้วก็เพิ่มดีกรีความยากไปเรื่อยๆ โดยหาหนังสือที่เขียนติดกันแบบไม่เว้นวรรคแต่ตัวใหญ่หน่อย ต่อด้วยตัวเล็กลงประโยคยาวขึ้น ต่อด้วยตัวเล็กลงอีกคำศัพท์อยากขึ้น ฝึกไปเรื่อยๆจนสามารถอ่านหนังสือปกติได้ แต่ยังไม่ใช่หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ท นิตยาสาร
9. ขั้นนี้คือเก่งมากแล้วคะ ต้องเอาพวกหนังสือพิมพ์ให้อ่าน เอาพวกที่มีคำย่อ คำแสลงให้อ่านคะ
ตอบตามวิธีที่เราใช้นะ ไม่มีใครสอนเราให้ทำแบบนี้ เราเรียนรู้จากประสบการณ์การสอนเอง ถ้าคุณทำตามที่เราบอกแล้วคุณแม่ขยัน ไม่ท้อแท้ ประมาณ 3-4 เดือนก้มาถึงขั้น 7-8 แล้วคะ นักเรียนที่เราเคยสอนก็แก่กว่าเราทั้งนั้น อายุส่วนมากประมาณ 40 up ขอแค่คนเรียนตั้งใจและคนสอนฉลาดที่จะตอบคำถาม ต้องพยายามไปทั้งคู่คะ คุณแม่คุณพูดไทยได้ เราว่าง่ายมากนะ เราเคยสอนฝรั่งที่พูดไทยได้แต่อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ 3 เดือนก็มาถึงขั้น 8 แล้วคะ พยายามเข้านะคะ
วิธีที่เราสอนนะ คุณถามมาเรื่องเน้นการอ่าน เขียนไม่เน้น แล้วคุณแม่พูดได้ มันง่ายมากเลย ต้องอาศัยความอดทนของคุณแม่ที่จะพยายามอ่านให้ออกคะ
1. เริ่มต้นจากแบ่งอักษรไทยออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มเอักษรเสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ วันแรกให้จำกลุ่มเสียงสูงกับเสียงกลางให้ได้ พอคุณแม่จำได้แม่นแล้ว ให้จำอักษรเสียงต่ำคะ ไม่ต้องเอาหนังสือเด็กอนุบาลมาให้อ่านแบบที่บังคับให้ท่องจำตั้งแต่ ก - ฮ คะเพราะคนเรียนที่ไม่ใช่คนไทยจะสับสนมากคะ เกิดคำถามมากมาย แล้วเราผู้สอนผู้ไม่มีประสบการณ์จะตอบคำถามคนเรียนไม่ได้ แล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาคือ การเรียนไม่ต่อเนื่อง คนเรียนมีคำถามในใจแต่คนสอนตอบไม่ได้ ในระหว่างที่สอนถ้าคุณแม่ถามว่าทำไมต้องมาให้นั่งจำว่าอักษรไทยแบ่งเป็นสามกลุ่ม ตัวไหนอยู่กลุ่มไหน ให้คุณตอบคุณแม่ว่า เพราะถ้าจำกลุ่มไม่ได้จะทำให้อ่านคำผสมสระ วรรณยุกต์ไม่ออกคะ หรืออ่านผิดคะ แม้แต่คนไทยแท้ๆเองถ้าไม่รู้ว่าอักษรตัวนี้อยู่กลุ่มไหนก็จะอ่านคำที่ไม่คุ้นหูผิดคะ คุณลองไปภาคเหนือ ภาคใต้ซิ แล้วอ่านป้ายชื่อถนน ชื่อหมูบ้านเขาซิ เชื่อเลยกว่า 80% ยังอ่านผิดอยู่
2 พอคุณแม่จำอักษรไทยได้หมดทุกตัวแล้ว (ขณะที่สอนให้จำ คุณควรจะสอนให้เขียนได้ด้วยนะ เพราะมันจะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น) ให้จำสระเลย ก็ให้ท่องแบบเด็กป.2 เลยคะ อะ อา อิ อี ตามปกติ บอกคุณแม่ว่า สระไทยมีสองเสียงคือเสียงสั้นกับเสียงยาว ขั้นตอนนี้ให้ท่องให้ได้แม่นก่อน โดยให้เอา อ.อ่าง เป็นตัวประสมให้หมด ไม่เอาอักษรอื่นมาปนเลย
3. พอจำสระแม่นแล้ว ให้นำอักษรอื่นมาแทนที่ อ.อ่าง ไม่ต้องเรียงตั้งแต่ ก-ฮ นะ มันเยอะไป คนเรียนจะเบื่อ ให้ยกตัวอย่างคำมาให้อ่านเป็นคำๆไป โดยแบ่งเป็นทีละกลุ่มคือ ยกตัวอย่างคำในกลุ่มอักษรเสียงสูง เช่น ขา สา ฝา คำในกลุ่มอักษรเสียงกลาง เช่น กา ตา ปา คำในอักษรเสียงต่ำ เช่น มา นา งา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สลับเปลี่ยนกับสระอื่นๆไปเรื่อยๆ จนคุณแม่อ่านคล่องคะ ถามว่าทำไมต้องแบ่งให้อ่านตามกลุ่มอักษรแต่ละเสียงด้วย เพราะถ้าเอามาให้อ่านรวมกัน เช่น ขา กา นา คนเรียนจะสงสัยว่าทำไม ขา มันออกเสียงโทนต่างกับ กา และ นา ซึ่งถ้าให้อ่านแบบนี้แต่แรก คนเรียนจะเหนื่อยเพราะมันยาก เลยต้องแบ่งเป็นสามกลุ่ม แต่ถ้าคุณแบ่งสามกลุ่มจนคุณแม่อ่านคล่องแล้ว ทีนี้ลองยกตัวอย่างแบบรวมมิตรเลย เช่น มา หา ตา และ ไป นา พออ่านตัวอย่างคำรวมมิตรได้แล้ว ก็ขั้นตอนต่อไปคะ
4. ให้ฝึกจำรูปวรรณยุกต์ 5 เสียง ก็สอนแบบแยกกลุ่มเสียงเหมือนเดิม เอาทีละกลุ่มจนอ่านคล่อง เสร็จแล้ว เอามารวมมิตรกันให้อ่าน
5. ก่อนจะเข้าขั้นตอนนี้ คุณต้องมั่นใจว่าคุณแม่อ่าน 4 ขั้นตอนข้างตนได้แม่นแล้วนะคะ ขั้นตอนนี้คุณจะสอนเรื่องการผสมตัวสะกดเข้าไป
เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่
แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด
แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ
แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส
แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ
แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง
แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม
แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย
แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว
วิธีสอนแบบง่ายๆคือ บอกว่ามี 8 เสียงสะกดก็พอ (ตัดแม่ ก กา ออก)ไม่ต้องไปใช้คำว่ามาตรากับ แม่นั้น แม่นี้หรอก มันมึน ให้คุณแม่จำแค่ว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นพยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ ลงท้ายเป็นตัวสะกดให้อ่านออกเสียง บ. .ใบไม้ ก็คือเขียนแยกออกมา 8 ข้อให้เขาจำ แล้วก็ยกตัวอย่างคำมาให้หัดอ่าน ทีนี้แบ่งประเภทตามแบบตัวสะกด ไม่ต้องแบ่งประเภทตามอักษรสามเสียงแล้วคะ เช่น พืช กิจ จิต บาท พุธ โทษ แก๊ส
ทีนี้พอสอนไปเรื่อยๆมันก็จะมีข้อยกเว้นในการอ่านคำที่มีตัวสะกดอยู่บ้าง คุณต้องไปศึกษาเองคะ
6. ให้สอนอ่าน คำที่มี ห นำ เช่น หมา เหนียว หนาว, คำที่มี รร เช่น บรรทุก พรรคพวก, คำควบกล้ำทั้งหลาย เช่น กรุง ความ ทราบ อยาก มาตร เพชร ประเสริฐ แล้วก็อื่นๆ ที่เป็นกรณีเดียวกัน ตอนนี้นึกไม่ออกคะ ไปศึกษาเองคะ
7. ให้สอนอ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ตัวการันต์ ไม้ยมก ไม้ไต่คู้ จุด ทับ วงเล็บ และอื่นๆที่อยู่ในประเภทนี้คะ
8. ถึงขั้นนี้แล้ว ให้หาหนังสือเด็กที่ตัวใหญ่ๆ เขียนห่างๆ มาเริ่มอ่านก่อน เสร็จแล้วก็เพิ่มดีกรีความยากไปเรื่อยๆ โดยหาหนังสือที่เขียนติดกันแบบไม่เว้นวรรคแต่ตัวใหญ่หน่อย ต่อด้วยตัวเล็กลงประโยคยาวขึ้น ต่อด้วยตัวเล็กลงอีกคำศัพท์อยากขึ้น ฝึกไปเรื่อยๆจนสามารถอ่านหนังสือปกติได้ แต่ยังไม่ใช่หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ท นิตยาสาร
9. ขั้นนี้คือเก่งมากแล้วคะ ต้องเอาพวกหนังสือพิมพ์ให้อ่าน เอาพวกที่มีคำย่อ คำแสลงให้อ่านคะ
ตอบตามวิธีที่เราใช้นะ ไม่มีใครสอนเราให้ทำแบบนี้ เราเรียนรู้จากประสบการณ์การสอนเอง ถ้าคุณทำตามที่เราบอกแล้วคุณแม่ขยัน ไม่ท้อแท้ ประมาณ 3-4 เดือนก้มาถึงขั้น 7-8 แล้วคะ นักเรียนที่เราเคยสอนก็แก่กว่าเราทั้งนั้น อายุส่วนมากประมาณ 40 up ขอแค่คนเรียนตั้งใจและคนสอนฉลาดที่จะตอบคำถาม ต้องพยายามไปทั้งคู่คะ คุณแม่คุณพูดไทยได้ เราว่าง่ายมากนะ เราเคยสอนฝรั่งที่พูดไทยได้แต่อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ 3 เดือนก็มาถึงขั้น 8 แล้วคะ พยายามเข้านะคะ
แสดงความคิดเห็น
สอนแม่อ่าน-เขียนภาษาไทย เริ่มต้นยังไงดี
แม่อยากอ่าน-เขียนภาษาไทยได้ จะเนิ่มต้นสอนแม่ยังไงดี มีแอพ มีหนังสือ หรือที่เรียนที่ไหนแนะนำไหม
เพิ่มเติมจากการอ่านคอมเม้น
เอาแค่อ่านพอได้ก็พอครับ เขียนไม่เน้นมาก