เป็นโครงการที่มีตั้งแต่ ปี2522
โดยมีการออกเป็นระเบียบปฏิบัติกำหนดให้ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่จะทำสัญญาซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป ต้องมีข้อกำหนดให้ผู้ขายต้องซื้อสินค้าเกษตรจากไทยเป็นการตอบแทนในอัตราที่กำหนด การซื้อสินค้าตอบแทน ไม่จำเป็นต้องซื้อเอง จะมอบหมายหรือหาผู้ซื้ออื่นมาซื้อก็ได้ ซึ่งที่นิยมใช้คือระบบบาร์เตอร์เทรด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล จนถึงปี 2536 รัฐบาลไทยสมัยนั้นเจรจากับรัฐบาลฟิลิปปินส์นำข้าวแลกปุ๋ย แต่ไม่ใช่บาร์เตอร์เทรด 100% เพราะราคาสินค้าต่างกัน ที่สุดจึงจ่ายเป็นเงินให้ไทยจำนวนหนึ่งพร้อมปุ๋ย
หลังจากนั้นหยุดชะงักไป จนถึงปี 2548 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ฟื้นวิธีนี้นำกลับมาใช้ใหม่ เน้นระบบบาร์เตอร์เทรด แต่ที่สุดไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะติดขัดเรื่องขั้นตอน โดยเฉพาะการตีมูลค่าสินค้าที่จะใช้แลกเปลี่ยนกัน จนที่สุดได้ยกเลิกระบบดังกล่าว
ข้อมูลเกี่ยวกับ บาร์เตอร์เทรด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากข้อมูลกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บาร์เตอร์เทรด (BARTER TRADE) เป็นส่วนหนึ่งของเคาน์เตอร์เทรด (COUNTER TRADE) หรือการค้าต่างตอบแทน นั่นคือ การที่ประเทศหนึ่ง ตกลงซื้อสินค้าจากอีกประเทศหนึ่ง เป็นการตอบแทนที่ประเทศนั้นซื้อสินค้าหรือบริการของตน ซึ่งการค้าต่างตอบแทนมี 7 วิธีการ แต่ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้เจรจากันมากที่สุดมี 4 วิธี ได้แก่
1.การแลกเปลี่ยนสินค้า (BARTER) หรือการใช้สินค้าแลกสินค้าเท่านั้น โดยตีเป็นมูลค่าที่เท่ากัน เช่น น้ำมันแลกข้าว สินค้าเกษตรแลกเครื่องจักร ซึ่งรัฐวิสาหกิจไทยหลายแห่งนิยมใช้วิธีนี้
2.การซื้อต่างตอบแทน (COUNTER PURCHASE) เป็นกรณีผู้ขายสินค้าหรือบริการไปยังอีกประเทศหนึ่ง ตกลงจะซื้อสินค้าตามที่กำหนดจากประเทศที่ตนขายสินค้าหรือบริการ
3.การซื้อกลับ (Buyback) คือกรณีที่ผู้ขายอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ผลิตสินค้าตกลงจะซื้อสินค้าที่ผลิตจากอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือที่ซื้อเป็นการตอบแทน
4.ออฟเซต (OFFSET) เป็นการซื้อ-ขายที่ไม่ต้องชำระเงิน แต่ใช้หักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้
ถ้าเอาโครงการบาร์เตอร์เทรด กลับมาใช้ใหม่จะช่วยเพิ่มยอดการส่งออกได้ไหมครับ
เป็นโครงการที่มีตั้งแต่ ปี2522
โดยมีการออกเป็นระเบียบปฏิบัติกำหนดให้ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่จะทำสัญญาซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป ต้องมีข้อกำหนดให้ผู้ขายต้องซื้อสินค้าเกษตรจากไทยเป็นการตอบแทนในอัตราที่กำหนด การซื้อสินค้าตอบแทน ไม่จำเป็นต้องซื้อเอง จะมอบหมายหรือหาผู้ซื้ออื่นมาซื้อก็ได้ ซึ่งที่นิยมใช้คือระบบบาร์เตอร์เทรด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล จนถึงปี 2536 รัฐบาลไทยสมัยนั้นเจรจากับรัฐบาลฟิลิปปินส์นำข้าวแลกปุ๋ย แต่ไม่ใช่บาร์เตอร์เทรด 100% เพราะราคาสินค้าต่างกัน ที่สุดจึงจ่ายเป็นเงินให้ไทยจำนวนหนึ่งพร้อมปุ๋ย
หลังจากนั้นหยุดชะงักไป จนถึงปี 2548 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ฟื้นวิธีนี้นำกลับมาใช้ใหม่ เน้นระบบบาร์เตอร์เทรด แต่ที่สุดไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะติดขัดเรื่องขั้นตอน โดยเฉพาะการตีมูลค่าสินค้าที่จะใช้แลกเปลี่ยนกัน จนที่สุดได้ยกเลิกระบบดังกล่าว
ข้อมูลเกี่ยวกับ บาร์เตอร์เทรด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้