สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ทั้งคู่ มีความรู้ทางกฎหมายมหาชน
แต่ละคน ไปสังเกตุดูว่า มีจุดยืนที่ประชาชนหรือไม่
หรือรับใช้คนกลุ่มใดกลุ่มนึง เท่านั้น
เนติบริกร สำหรับผม มันไม่มีศักดิ์ศรีหรอก มันก็แค่คนที่ใช้วิชาการเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น
คนแบบนั้น อย่าไปเอาเยี่ยงอย่าง อย่าไปนับหน้าถือตา อย่าให้ความสำคัญ
เพราะคนพวกนี้นี่แหละ ที่ทำลายหลักวิชาการ ทำลายหลักกฎหมาย ฉีกตำรามาครั้งแล้วครั้งเล่า
ส่วนคนที่ยึดหลักกฎหมายที่แท้จริง
พูด 10 รอบ เค้าก็ยังมีหลักการเหมือนเดิมทุกครั้ง มีเหตุมีผล เป็นที่ยอมรับของนักกฎหมายมหาชนทั่วโลก
ถึงแม้จะไม่มีตำแหน่ง แต่ผมว่า เค้ามีศักดิ์ศรีนะ รู้ว่าอะไรเลว อะไรไม่ถูกต้อง เค้าก็ไม่ยอมก้มหัว
คนพวกนี้มีความมั่นคง โดนจับตัวไปบังคับขู่เข็ญสารพัด เรียกว่าปรับทัศนะคติ เค้าก็ยังมีจุดยืนเดิม ไม่เป็นขี้ข้ารับใช้คนบางกลุ่ม
หรือที่เราเรียกว่า เนติบริกรนั้นแหละ
คำพูดของเนติบริกรว่า ลงเรือแป้ะ ต้องตามใจแป้ะ โธ่ แล้วมันจะมีกฎหมายไว้ทำไม ก็เรียกว่ากฎแป้ะไปซะสิ
ไอ้กฎหมายทีสอนๆกัน ก็ไม่ต้องสอน เอาตามเนติบริกร ก็ต้องเรียกว่า สอนกฎของแป้ะ
ตำราที่เรียนๆกัน ก็ฉีกไป เชื่อตามเนติบริการ ก็ตำรากฎของแป้ะ
วิชาที่เรียน กฎหมายมหาชน ก็ต้องเปลี่ยนไปเป็น กฎหมายตามใจแป้ะ
แต่ละคน ไปสังเกตุดูว่า มีจุดยืนที่ประชาชนหรือไม่
หรือรับใช้คนกลุ่มใดกลุ่มนึง เท่านั้น
เนติบริกร สำหรับผม มันไม่มีศักดิ์ศรีหรอก มันก็แค่คนที่ใช้วิชาการเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น
คนแบบนั้น อย่าไปเอาเยี่ยงอย่าง อย่าไปนับหน้าถือตา อย่าให้ความสำคัญ
เพราะคนพวกนี้นี่แหละ ที่ทำลายหลักวิชาการ ทำลายหลักกฎหมาย ฉีกตำรามาครั้งแล้วครั้งเล่า
ส่วนคนที่ยึดหลักกฎหมายที่แท้จริง
พูด 10 รอบ เค้าก็ยังมีหลักการเหมือนเดิมทุกครั้ง มีเหตุมีผล เป็นที่ยอมรับของนักกฎหมายมหาชนทั่วโลก
ถึงแม้จะไม่มีตำแหน่ง แต่ผมว่า เค้ามีศักดิ์ศรีนะ รู้ว่าอะไรเลว อะไรไม่ถูกต้อง เค้าก็ไม่ยอมก้มหัว
คนพวกนี้มีความมั่นคง โดนจับตัวไปบังคับขู่เข็ญสารพัด เรียกว่าปรับทัศนะคติ เค้าก็ยังมีจุดยืนเดิม ไม่เป็นขี้ข้ารับใช้คนบางกลุ่ม
หรือที่เราเรียกว่า เนติบริกรนั้นแหละ
คำพูดของเนติบริกรว่า ลงเรือแป้ะ ต้องตามใจแป้ะ โธ่ แล้วมันจะมีกฎหมายไว้ทำไม ก็เรียกว่ากฎแป้ะไปซะสิ
ไอ้กฎหมายทีสอนๆกัน ก็ไม่ต้องสอน เอาตามเนติบริกร ก็ต้องเรียกว่า สอนกฎของแป้ะ
ตำราที่เรียนๆกัน ก็ฉีกไป เชื่อตามเนติบริการ ก็ตำรากฎของแป้ะ
วิชาที่เรียน กฎหมายมหาชน ก็ต้องเปลี่ยนไปเป็น กฎหมายตามใจแป้ะ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
กฎหมายการเมือง
ระหว่าง "ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" และ. ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ใครคือปราชญ์ "กฎหมายมหาชน" แห่งยุคตัวจริง
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 — )
รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[1] อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและอุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ 1
การศึกษา >> บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2519 สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของรุ่นที่ 29) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี พ.ศ. 2522 ได้ปริญญาชั้นสูงทางกฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2525 สำเร็จปริญญาเอก กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยปารีส และพ.ศ. 2541 จบหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4111
การทำงาน >> บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2519 ในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 เป็นคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 ได้กลับเข้ารับราชการ ภาควิชากฎหมายปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี พ.ศ. 2542 - 2546 เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2546- 2549 เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นอกจากนั้น ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราภิชานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย
รางวัลและเกียรติคุณดีเด่น>>
พ.ศ. 2542 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2543 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานกิตติบัตรแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะนิติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2545 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2545 - 2548 ได้รับคัดเลือกจากองค์การสหประชาชาติ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิกรรมาธิการบริหารภาครัฐของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Committee of Experts on Public Administration of the United Nations Economic and Social Council) ประจำปี 2545-2548
ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนิสิตเก่านิติศาสตร์ดีเด่นจากสมาคมนิสิตเก่า คณะนิติศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
นักนิติศาสตร์ชาวไทย เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] และเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาอื่นอีกหลายแห่ง[2] เขามีชื่อเสียงจากการร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ที่เสนอแนะการปรับปรุงสังคมในหลายด้าน โดยเฉพาะการต่อต้านอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย[3] แต่เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วย จึงมีการต่อต้านวรเจตน์กับเพื่อนหลายครั้ง คราวร้ายแรงที่สุด มีผู้ทำร้ายร่างกายเขาจนบาดเจ็บ[4]
มติชนออนไลน์ ให้วรเจตน์กับเพื่อนคณะนิติราษฎร์เป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 ในสาขาวิชาการ[5] และสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติอนุมัติแต่งตั้งเขาเป็นศาสตราจารย์ในเดือนสิงหาคม 2557[6]
การศึกษา>> วรเจตน์จบการศึกษาชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[8] จากนั้นเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหอวังในกรุงเทพมหานคร[8] ระหว่างนั้น เขานั่งรถไฟไปโรงเรียนและกลับบ้านที่พระนครศรีอยุธยาทุกวัน โดยลงที่สถานีบางเขนแล้วต่อรถประจำทางไปยังโรงเรียน ต่อมา สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[7], นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2533[8] และรับทุนมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (University of Göttingen) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ด้วยคะแนนสูงสุดของรุ่น[8]
ผลงานหนังสือ>>
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (2546)[22]
ความรับผิดทางละเมิดของฝ่ายปกครองตาม Common Law ในระบบกฎหมายอังกฤษ (2546)
หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง (2546)
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน (2549)[23]
การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัย และผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ (2550)[24]
จุดไฟในสายลม (2552)[25]
กฎหมายปกครอง (2554)[26]
รัฐและหลักกฎหมายมหาชน (2555)[27]