พุทธภาษิต :
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ตัวทำชั่วเอง
ตัวก็สกปรกเอง
อตฺตนา อกตํ ปาปํ
อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
ตัวไม่ได้ทำชั่ว
ตัวก็บริสุทธิ์เอง
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ รู้อยู่แก่ใจตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.
สังคมออกใบรับรองความบริสุทธิ์ให้กันไม่ได้
(สำนวนแปลของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=813422698751469&pnref=story
ที่มา อัตตวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๒๒
ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง
ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง
ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=692&Z=720&pagebreak=0
---------------------------
หลักกฎหมายกับหลักพระธรรมวินัย
บางแง่มีข้อแตกต่างที่ต้องระวัง มิเช่นนั้นอาจหลงทาง
ตัวอย่างเช่น :
นาย เอ. ฆ่าคนตาย ฆ่าจริง ครบองค์ประกอบแห่งการฆ่าทุกอย่าง
เมื่อคดีไปสู่ศาล ฝ่ายนาย เอ. นำพยานหลักฐานมาต่อสู้ว่า นาย เอ. ไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหา (เช่นอ้างสถานที่อยู่ อ้างวันเวลา และมีพยานยืนยัน)
ในที่สุดศาลตัดสินว่า นาย เอ. ไม่มีความผิด
กรณีเช่นนี้ นาย เอ. ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับคนบริสุทธิ์ทั้งหลาย
แต่เป็นความบริสุทธิ์ตามหลักกฎหมาย
พระภิกษุ เอ. ฆ่าคนตาย ฆ่าจริง ครบองค์ประกอบแห่งการฆ่าทุกอย่าง
เมื่อคดีไปสู่ศาล ฝ่ายพระภิกษุ เอ. นำพยานหลักฐานมาต่อสู้ว่า พระภิกษุ เอ. ไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหา (เช่นอ้างสถานที่อยู่ อ้างวันเวลา
และมีพยานยืนยัน) ในที่สุดศาลตัดสินว่าพระภิกษุ เอ. ไม่มีความผิด
กรณีเช่นนี้ พระภิกษุ เอ. ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับคนบริสุทธิ์ทั้งหลาย
แต่เป็นความบริสุทธิ์ตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่ความบริสุทฺธิ์ตามหลักพระธรรมวินัย
เพราะหลักพระธรรมวินัยมีอยู่ว่า
ภิกษุฆ่ามนุษย์ ถ้าครบองค์ประกอบแห่งการฆ่า ก็ต้องอาบัติปาราชิกทันที ไม่ว่าจะมีใครรู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการฟ้องคดีหรือไม่
และไม่ว่าศาลจะตัดสินว่าอย่างไร
กรณีเช่นนี้ แม้ฝ่ายพระภิกษุ เอ. จะนำเอาคำตัดสินของศาลมายืนยันว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็ไม่อาจทำให้พ้นจากการต้องอาบัติปาราชิก
ฐานฆ่ามนุษย์ไปได้เลยเป็นอันขาด
นี่คือข้อแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายกับหลักพระธรรมวินัย
อาบัติปาราชิกในฐานความผิดข้ออื่นๆ รวมทั้งอาบัติอื่นๆ ก็พึงเทียบเคียงโดยนัยเดียวกัน
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
ที่มา
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/811280488965690
---------------------------
การถอนฟ้อง กรณีพระธัมมชโย
คำพิพากษายกฟ้อง คือ คำพิพากษาที่เป็นปรปักษ์กับฝ่ายโจทก์
เหตุแห่งการยกฟ้องมีได้หลายสาเหตุ
-
บางสาเหตุเป็นการยกฟ้องที่ไม่ได้มีการวินิจฉัยความผิดเลยก็ได้ เช่น ยกฟ้องเพราะฟ้องขาดอายุความ ยกฟ้องเพราะฟ้องผิดศาล ฯลฯ
- ส่วนการยกฟ้องที่มีลักษณะวินิจฉัยชี้ขาดแล้วคือการยกฟ้องเพราะศาลเชื่อว่าจำเลย "ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง"
การถอนฟ้อง คือการระงับข้อพิพาททางหนึ่งซึ่งโจทก์ตกลงใจระงับโดยการถอนคำฟ้องของตนออกไปจากศาล
การถอนฟ้องในศาลชั้นต้นมีผลให้คดีเสร็จไปจากศาลโดยศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
การถอนฟ้องเช่นนี้ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพระธัมมชโยและได้มีการถอนฟ้องไปก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาว่าพระธัมมชโย "ไม่มีความผิด" แต่อย่างใด
ครูนัท หนอนพระไตรปิฎก
ที่มา
https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=10203184879415216&id=1604870167
ตัวทำชั่วเอง ตัวก็สกปรกเอง ตัวไม่ได้ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ รู้อยู่แก่ใจตัว
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ตัวทำชั่วเอง
ตัวก็สกปรกเอง
อตฺตนา อกตํ ปาปํ
อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
ตัวไม่ได้ทำชั่ว
ตัวก็บริสุทธิ์เอง
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ รู้อยู่แก่ใจตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.
สังคมออกใบรับรองความบริสุทธิ์ให้กันไม่ได้
(สำนวนแปลของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=813422698751469&pnref=story
ที่มา อัตตวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๒๒
ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง
ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง
ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=692&Z=720&pagebreak=0
---------------------------
หลักกฎหมายกับหลักพระธรรมวินัย
บางแง่มีข้อแตกต่างที่ต้องระวัง มิเช่นนั้นอาจหลงทาง
ตัวอย่างเช่น :
นาย เอ. ฆ่าคนตาย ฆ่าจริง ครบองค์ประกอบแห่งการฆ่าทุกอย่าง
เมื่อคดีไปสู่ศาล ฝ่ายนาย เอ. นำพยานหลักฐานมาต่อสู้ว่า นาย เอ. ไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหา (เช่นอ้างสถานที่อยู่ อ้างวันเวลา และมีพยานยืนยัน)
ในที่สุดศาลตัดสินว่า นาย เอ. ไม่มีความผิด
กรณีเช่นนี้ นาย เอ. ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับคนบริสุทธิ์ทั้งหลาย แต่เป็นความบริสุทธิ์ตามหลักกฎหมาย
พระภิกษุ เอ. ฆ่าคนตาย ฆ่าจริง ครบองค์ประกอบแห่งการฆ่าทุกอย่าง
เมื่อคดีไปสู่ศาล ฝ่ายพระภิกษุ เอ. นำพยานหลักฐานมาต่อสู้ว่า พระภิกษุ เอ. ไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหา (เช่นอ้างสถานที่อยู่ อ้างวันเวลา
และมีพยานยืนยัน) ในที่สุดศาลตัดสินว่าพระภิกษุ เอ. ไม่มีความผิด
กรณีเช่นนี้ พระภิกษุ เอ. ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับคนบริสุทธิ์ทั้งหลาย
แต่เป็นความบริสุทธิ์ตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่ความบริสุทฺธิ์ตามหลักพระธรรมวินัย
เพราะหลักพระธรรมวินัยมีอยู่ว่า
ภิกษุฆ่ามนุษย์ ถ้าครบองค์ประกอบแห่งการฆ่า ก็ต้องอาบัติปาราชิกทันที ไม่ว่าจะมีใครรู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการฟ้องคดีหรือไม่
และไม่ว่าศาลจะตัดสินว่าอย่างไร
กรณีเช่นนี้ แม้ฝ่ายพระภิกษุ เอ. จะนำเอาคำตัดสินของศาลมายืนยันว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็ไม่อาจทำให้พ้นจากการต้องอาบัติปาราชิก
ฐานฆ่ามนุษย์ไปได้เลยเป็นอันขาด
นี่คือข้อแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายกับหลักพระธรรมวินัย
อาบัติปาราชิกในฐานความผิดข้ออื่นๆ รวมทั้งอาบัติอื่นๆ ก็พึงเทียบเคียงโดยนัยเดียวกัน
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
ที่มา
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/811280488965690
---------------------------
การถอนฟ้อง กรณีพระธัมมชโย
คำพิพากษายกฟ้อง คือ คำพิพากษาที่เป็นปรปักษ์กับฝ่ายโจทก์
เหตุแห่งการยกฟ้องมีได้หลายสาเหตุ
- บางสาเหตุเป็นการยกฟ้องที่ไม่ได้มีการวินิจฉัยความผิดเลยก็ได้ เช่น ยกฟ้องเพราะฟ้องขาดอายุความ ยกฟ้องเพราะฟ้องผิดศาล ฯลฯ
- ส่วนการยกฟ้องที่มีลักษณะวินิจฉัยชี้ขาดแล้วคือการยกฟ้องเพราะศาลเชื่อว่าจำเลย "ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง"
การถอนฟ้อง คือการระงับข้อพิพาททางหนึ่งซึ่งโจทก์ตกลงใจระงับโดยการถอนคำฟ้องของตนออกไปจากศาล
การถอนฟ้องในศาลชั้นต้นมีผลให้คดีเสร็จไปจากศาลโดยศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
การถอนฟ้องเช่นนี้ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพระธัมมชโยและได้มีการถอนฟ้องไปก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาว่าพระธัมมชโย "ไม่มีความผิด" แต่อย่างใด
ครูนัท หนอนพระไตรปิฎก
ที่มา
https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=10203184879415216&id=1604870167