ทำยังไงถึงจะได้เป็นโปรแกรมเมอร์เงินเดือนหลักแสน

ทำยังไงถึงจะได้เป็นโปรแกรมเมอร์เงินเดือนหลักแสน



วันนี้ เราได้อ่านบทความดีๆ ชื่อว่า "ก้าวสู่การเป็นโปรแกรมเมอร์เงินเดือนหลักแสน" ที่เขียนโดยคุณ oat_happynerd เลยอยากเอามาแชร์ให้สมาชิกได้อ่านและพัฒนาศักยภาพของพวกเราเหล่ามนุษย์เงิน เดือนกันครับ เท่าที่ผมอ่าน สรุปได้คร่าวๆ ว่า ประเทศไทยเราเนี่ยให้ความสำคัญกับตำแหน่งโปรแรมเมอร์น้อยกว่าตำแหน่งอื่นๆ ในสายงานไอทีมาก ทั้งที่ความจริงแล้ว ผมพูดได้เต็มปากเลยว่า "โปรแกรมเมอร์เป็นตำแหน่งที่ต่ำที่สุดในสายงานไอที" เพราะผมเองก็เจอมากับตัวครับ ผมมีไอเดีย ผมมีหัวธุรกิจ ผมศึกษา วิธีที่คนเค้าออกแบบเว็บไซต์กัน ผมว่าทั้งหมดผมทำได้ดีนะ แต่สิ่งดียวที่คนอย่างผมทำไม่ได้ และเว็บไซต์หลายๆเว็บคงไม่ประสบความสำเร็จก็คือ ถ้าขาดโปรแกรมเมอร์ที่ดี ครับ โปรแกรมเมอร์ที่ดีไม่ได้หมายความว่า เค้ามีจรรยาบัญของความเป็นโปรแกรมเมอร์เฉยๆ แต่หมายถึงสิ่งเหล่านี้ครับ

(1) ทัศนคติที่ดี

(2) การทำการสำรวจการตลาดที่ดี

(3) การใช้สื่อให้เป็น

(4) ภาษาดี

(5) สถานที่ที่อยู่ต้องดี คือ อยู่ให้ถูกที่

(6) รู้จักพัฒนาตัวเองในด้านอื่นด้วย

ยัง ไง ผมขออนุญาตแชร์และละกันครับ ท่านสมาชิกที่อ่านะได้เห็ฯภาพ พร้อมกัน ผมชอบแนวคิดเค้าที่เค้ารู้จักพัฒนาตัวเอง มีทัศนคติที่ดี ทำให้เค้ารู้จักปรับตัวเข้ากับยุคปัจจุบัน ไม่ใช่แค่มานั่งโทษว่าอาชีพนี้มันเงินเดือนน้อย ด้อยค่าแล้วไม่พัฒนาตัวเอง ผมว่าคนแปบบนี้ ที่เอาแต่โทษโชคชะตา ก็ไม่สมควรที่จะได้งานดีๆ สังคมดีๆ และความก้าวหน้าครับ เพราะลึกๆแล้วทุกๆคน ทุกๆอาชีพ ก็ต้องทำการบ้าน ศึกษา พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ถึงจะก้าวหน้าเป็นเจ้าคนนายคนครับ เคยได้ยินคนเขาพูดกันไหมครับว่า "เป็นพนักงานทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ แต่หัวหน้าหรือเจ้าของบริษัทเค้าทำงาน 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดกันครับ" ดังนั้นอยากจะโตเป็นหัวหน้าคนกับเค้าบ้างก็ต้องรู้จักทุ่มเทและพัฒนาตัวเอง นะครับ เอาใจช่วยครับ



ก้าวสู่การเป็นโปรแกรมเมอร์เงินเดือนหลักแสน

"โปรแกรมเมอร์เป็นตำแหน่งที่ต่ำที่สุดในสายงานไอที"
เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดแบบนี้ นี่เป็นความเชื่อที่ทำให้หลายต่อหลายคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือย้ายตัวเอง ให้พ้นจากงานเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะคนที่มีความเชื่อตามค่านิยมในสังคมบ้านเราที่ให้คุณค่าของงาน ตำแหน่งนี้ต่ำเหลือเกิน ผมเองก็เคยเป็นหนึ่งคนที่เคยเชื่อแบบนั้น ผมใชัเวลา 10 ปีแรกของการทำงานเพื่อผลักดันตัวเองขึ้นมาจากโปรแกรมเมอร์ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าทีม และในทีสุดก็ได้ขึ้นมาเป็นผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ฟังดูเหมือนนั่นเป็นเส้นทางในฝันของใครหลายๆคน แต่สิ่งที่น่าเศร้าใจในการเติบโตของตำแหน่งการงาน ผมกลับทิ้งทักษะการเขียนโปรแกรมที่ผมเคยทำมันได้อย่างดีมากไประหว่างทาง
จนในวันหนึ่งเมื่อผมรู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังหมดไฟและนึกไม่ออกว่าต่อจากนี้ ที่ที่ผมต้องการไปต่อคือที่ใดกัน ในขณะเดียวกันการกำเนิดของสมาร์ทโฟนทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเติบโตขึ้น อย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีใหม่ๆในการพัฒนาโปรแกรมบนเว็บและสมาร์ทโฟนเกิดขึ้นอย่างมากมาย ผมเริ่มมองเห็นแสงสว่างในชีวิตการทำงานขึ้นมาอีกครั้ง จึงตัดสินใจกลับมาเขียนโปรแกรมหลังจากห่างหายไปหลายปีจึงได้พบว่าโลกแห่งการ พัฒนาโปรแกรมนั้นตั้งอยู่บนถนนแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด แม้หนทางในทีแรกจะตะกุกตะกักและค่าตอบแทนที่ได้ก็น้อยกว่าครั้งที่เคยอยู่ใน ตำแหน่งผู้จัดการ แต่ในปัจจุบันผมสามารถทำเงินได้มากกว่าเดิมเกือบเท่าตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ ดีกว่าเดิมแบบเทียบกันไม่ได้เลย นอกจากนั้นผมยังมองเห็นหนทางที่ตัวเองจะทำประโยชน์ให้ผู้อื่นได้อีกมากมาย ด้วย "งานเขียนโปรแกรม" นี่เอง
ผมได้รวบรวมวิธีการที่ผมใช้ในอดีต และหวังว่าจะช่วยให้เพื่อนๆ ร่วมอาชีพที่ต้องการที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อให้สามารถก้าวขึ้นมารับค่าตัวที่ คู่ควรกับทักษะความสามารถของคุณกันดังนี้ครับ

1. เริ่มที่ทัศนคติ
ถ้าคุณยังไม่เชื่อว่าการเลี้ยงชีพด้วยการเขียนโปรแกรมนี้สามารถทำเงินให้คุณ ได้ถึงหลักแสน (หรือแม้กระทั่งหลักล้าน) คุณควรเริ่มต้นที่จะเชื่อ มหาเศรษฐียุคปัจจุบันหลายคนสร้างตัวมาจากการเขียนโปรแกรม และสิ่งที่ทำให้คนเหล่านั้นสร้างฐานะจนร่ำรวยหรือแม้กระทั่งเปลี่ยนโลกของ เราไปตลอดกาล ไม่ใช่เพราะเขาฉลาดกว่าคุณหรือผม แต่เป็นเพราะพวกเขามีความรักและเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำมากกว่าคนทั่วไป ผมเคยมีโอกาสได้คุยกับ CEO ของบริษัทหนึ่งที่ผมเคยทำงานในอดีต เขาบอกผมว่า “งานของเรา (สร้างซอฟท์แวร์) เป็นงานที่วิเศษที่สุดในโลก มันจะมีซักกี่อาชีพที่สามารถสร้างสิ่งที่เปลี่ยนโลกได้ โดยใช้แค่สมองและเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น และนั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากตื่นขึ้นมาทำทุกวัน” คำพูดนั้นกลายเป็นความเชื่อที่ผมยึดถือมาตลอด การเริ่มทำอะไรซักอย่าง ถ้าคุณเชื่ออย่างสนิทใจว่ามันเป็นได้และยิ่งถ้าคุณศรัทธาในสิ่งที่ทำจริงๆ คุณจะพบว่าสิ่งต่างๆจะเป็นใจให้คุณไปถึงจุดหมายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

2. สำรวจตลาด
ถ้าวันนี้คุณเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่แล้วแต่ยังรู้สึกไม่พอใจกับค่าแรงที่ได้ ปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ในการทำให้คุณได้เงินน้อยกว่าที่ควร คือ เทคโนโลยีหรือภาษาที่คุณใช้ทำมาหากินอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นที่ต้องการ ของตลาดมากเท่าไรนักในปัจจุบัน วิธีที่จะทำให้รู้ว่าภาษาหรือเทคโนโลยีไหนที่ตลาดกำลังต้องการ คือ การเช็คผลสำรวจต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต อีกวิธีคือการเช็คตามเว็บไซต์สมัครใหญ่ๆ เช่น JobsDB ในเว็บไซต์เหล่านี้คุณสามารถกรองข้อมูลประกาศรับสมัครงานได้ตามเงื่อนไขที่ เรากำหนด ลองสำรวจดูครับว่าในระดับเงินเดือนที่คุณอยากได้นั้น ต้องการทักษะทางด้านเทคโนโลยีหรือภาษาใดบ้าง จากนั้นคุณควรจะเริ่มโฟกัสและเร่งพัฒนาทักษะที่คุณยังขาดอยู่



3. ใช้สื่อให้เป็น
ทุกวันนี้บริษัทใหญ่หลายๆแห่งให้ความสำคัญกับข้อมูลออนไลน์ของผู้สมัครงาน มากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลของคุณในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น facebook instagram ฯลฯ อาจจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายบุคคลของบริษัทที่คุณสมัครงาน ดังนั้นทุกครั้งที่คุณต้องการสมัครงาน ลองสำรวจข้อมูลออนไลน์ของคุณว่ามีข้อมูลในด้านลบที่อาจจะทำให้คุณพลาดงานดีๆ หรือเปล่า นอกจากนี้คุณควรใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะสำหรับคนทำงาน เช่น LinkedIn เพื่อรวบรวมประวัติการทำงาน ผลงานเด่นๆ และทักษะสำคัญที่คุณต้องการนำเสนอ หรือถ้าคุณมีผลงานการเขียนโปรแกรมที่แบ่งปันให้ผู้อื่นอยู่บน GitHub ก็อย่าลืมใส่ลงไปใน portfolio ด้วย เพราะนั่นจะทำให้คุณดูโดดเด่นกว่าผู้สมัครงานทั่วๆไปมากเลยทีเดียว นอกจากนั้น การมีข้อมูลออนไลน์ของคุณในที่ที่ถูกต้องอย่าง LinkedIn หรือ GitHub ยังอาจจะช่วยสร้างเครือข่ายให้คุณได้เชื่อมต่อกับคนที่อยู่ในวงการเดียวกัน ได้ทั่วโลกอีกด้วย

4. ภาษาต้องได้
ต้องยอมรับกันอยู่อย่างหนึ่ง ว่า บริษัทและองค์กรต่างๆในประเทศไทยส่วนมากยังให้คุณค่าของนักพัฒนาโปรแกรมต่ำ กว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นการพัฒนาตัวเองให้สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่มโอกาสในการทำงานกับบริษัทข้ามชาติ ซึ่งทุกวันนี้มีบริษัทข้ามชาติจำนวนมากที่เข้ามาเปิดในบ้านเรา เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือ ค่าแรงของโปรแกรมเมอร์ในบ้านเรายังถูกกว่าในประเทศอื่นๆมาก แต่นั่นคือโอกาสที่ยอดเยี่ยม เพราะถึงค่าตัวเราจะถูกกว่าอาชีพเดียวกันในต่างประเทศ แต่บริษัทข้ามชาติหลายๆแห่งก็ยินดีจะจ่ายค่าตัวคุณสูงกว่าราคาตลาด และถ้าคุณสามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าคุณมีฝีมือทัดเทียมกับโปรแกรมเมอร์ค่า ตัวแพงๆในต่างประเทศ​ โอกาสที่คุณจะเรียกค่าตัวที่คู่ควรกับคุณก็เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินฝัน
เทคนิคการเสริมทักษะด้านภาษาเล็กๆอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ให้คุณอ่านหนังสือ บทความ หรือดูคลิปใน Youtube ที่เป็นภาษาต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือการเขียนโปรแกรมที่คุณสนใจ ซึ่งมีเยอะแยะมากมายในอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญคือข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่ “ฟรี” จงตักตวงความฟรีนี้ให้มากที่สุดและทำเป็นประจำให้เป็นเรื่องปกติ

5. อยู่ให้ถูกที่
หลายคนมีทุกอย่างที่ผมแนะนำมาข้างต้นครบอยู่แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับความสามารถเสีย ที นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าที่ที่คุณอยู่นั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานของคุณมาก เท่าที่ควร จากประสบการณ์ของผม ที่ทำงานที่มักจะให้ผลตอบแทนโปรแกรมเมอร์ค่อนข้างสูงมีอยู่สองแบบด้วยกัน แบบแรกคือบริษัทที่ประกอบกิจการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์โดยตรง บริษัทเหล่านี้จะให้คุณค่ากับบุคคลากรในตำแหน่งพัฒนาโปรแกรมสูงมาก ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อให้บริการหรือขายให้กับคนเป็นจำนวน มากยิ่งให้ค่าตอบแทนที่สูงมากขึ้นไปอีก ส่วนอีกรูปแบบคือบริษัทที่ไม่ได้พัฒนาซอฟท์แวร์โดยตรงแต่การดำเนินธุรกิจของ องค์กรนั้นขึ้นอยู่กับระบบไอทีเป็นส่วนสำคัญ ยิ่งถ้าบริษัทขึ้นอยู่กับระบบไอทีหรือซอฟท์แวร์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีแนวโน้ม ที่องค์กรจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคคลากรที่ดูแลระบบเหล่านั้นมากขึ้นเช่นกัน
การหาที่ทำงานที่ใช่สำหรับคุณ ก็เหมือนกับการตกปลา ต่อให้คุณเป็นนักตกปลาที่เก่งกาจมากแค่ไหน ก็ไม่มีประโยชน์ถ้าคุณยังนั่งตกปลาอยู่ในบ่อที่ไม่มีปลาหรือมีแต่ปลาตัว เล็กๆ ถามตัวเองนะครับว่าได้เวลาที่จะออกไปหาปลาตัวใหญ่ขึ้นหรือยัง



6. พัฒนาตัวเองในด้านอื่นด้วย
มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก บิล เกตส์ และสตีฟ จอบส์ ไม่ได้ร่ำรวยและมีชื่อเสียงเพียงเพราะพวกเขามีทักษะทางไอทีที่เยี่ยมยอดเท่า นั้น พวกเขายังพัฒนาทักษะอื่นๆขึ้นมาประกอบ ที่ทำให้เขาแตกต่างจากเนิร์ดทั่วไป พวกเราชาวโปรแกรมเมอร์ที่เป็นมนุษย์เงินเดือนก็เช่นกัน การที่คุณเป็นนักเขียนโปรแกรมที่เก่งฉกาจ นั่นก็อาจจะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้ระดับหนึ่ง แต่การที่คุณมีทักษะในด้านอื่นๆที่เป็นประโยชน์ เช่น การตลาด การนำเสนองาน การบริหารคน ฯลฯ จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญมากในการฉุดให้คุณก้าวออกมาโดดเด่นมากกว่าคนอื่นๆ และนั่นหมายถึงอำนาจในการต่อรองเพื่อให้ได้ค่าตัวที่เหมาะสมกับคุณที่มาก ขึ้นไปอีกด้วย

ที่มา: http://storylog.co, https://www.facebook.com/oat.happynerd

เรียบเรียงโดย AEC Job Listing Team www.aecenlist.com

รูปภาพ: internet
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่