คิดว่าความจริงแล้ว คนเท่ากันจริงหรือเปล่า จะเท่ากันได้จริงหรือ?
ในทัศนคติของผม คิดว่าคนเราเท่าเทียมกันเฉพาะเมื่อเกิดมา สิ่งที่เท่าเทียมกันมีเพียงแค่ "ความเป็นคน”
นอกนั้นไม่เคยจะเท่ากันสักเท่าไร
บางคนเกิดมามีอวัยวะครบ 32 ประการ ในขณะที่บางคนก็ขาดบ้าง เกินบ้าง
บางคนเกิดมาในเผ่าพันธุ์ที่ดี มีสติปัญญาสูงล้ำเลิศ ในขณะที่บางคนไม่ใช่อย่างนั้น
ญาณปัญญาเป็นสมบัติพิเศษของมนุษย์ ที่ยกระดับฐานันดรของมนุษย์ให้สูงส่งกว่าสัตว์เดรัจฉานทั้งปวงในโลกหล้า ความฉลาดนอกจากจะเกิดจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยสิ่งเร้าภายนอกที่เหมาะสมแล้ว พันธุกรรมเองก็มีส่วนไม่น้อยเช่นกัน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมชาวยิวถึงฉลาดกว่าคนป่าพื้นเมืองในอเมซอน แต่ก็ไม่เสมอไป มันก็มีการผันผวนได้ บางคนพ่อแม่ฉลาดเป็นกรด แต่ลูกดันโง่ IQต่ำต้อยกว่าโปรโตซัวในลำไส้ปลวกซะอีก
คนบางคนเกิดมาบนกองเงินกองทอง บางคนรวยล้นฟ้า ถูกห้อมล้อมด้วยความสะดวกสบาย และความเอาใจใส่ แต่มีอีกหลายคนไม่น้อยที่เกิดมาลำบากยากจนข้นแค้น ต้องดิ้นรนตะเกียกตะกายเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นทุกขภาวะนั้นไปสู่ความสบายให้ได้ คงมีคนน้อยคนที่อยากให้ตัวเองลำบาก คนเรารักความสบายกันทั้งนั้น คนรวยที่สะดวกสบายอยู่แล้วจะไปอยากลำบากทำไมกัน
คนที่เคยลำบากมาก่อนย่อมเข้าใจถึงรสชาติอันขมขื่นของความลำเค็ญ เขาจะรู้ว่ามันจะเจ็บปวดทุกข์ทรมานขนาดไหน นั่นเป็นบทเรียน ที่จะเตือนสติไม่ให้เขาหล่นลงไป ณ จุดๆเดิมนั้นง่ายๆ คนเหล่านี้มีแต่จะไต่เต้าให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จะไม่ตกลง ถ้าไม่มีความโลภบังตา ในขณะที่คนที่ไม่เคยลำบาก จะทำอะไรได้ นอกจากหาทางดำรงให้ความสบายมีอายุขัยที่ยืนยาวต่อไปเรื่อยๆ หากก้าวพลาด ก็มีโอกาสที่จะพินาศสันตะโรมากกว่าซะอีก
คนเราไม่เคยเท่ากันจริงๆ เกิดมาเป็นคนเหมือนกัน แค่ปัจจัยต่างกันนิดเดียว คนก็ออกมาร้อยแปดพันเก้าประเภท แบบลางเนื้อชอบลางยา พ่อแม่เลี้ยงดูต่างกันเพียงนิดเดียว นิสัยและทัศนคติที่ส่งต่อๆกันก็เปลี่ยนได้ การขัดเกลาในสังคมอาจช่วยให้คนปฏิตัวเหมือนกันในบางเรื่อง แต่โดยรวม มันก็ไม่เคยเท่าเทียมกัน
โดยธรรมชาติ ก็ไม่มีอะไรเท่าเทียมกันในวิถีของสิ่งมีชีวิต สังคมทุกประเภทมีการแก่งแย่งชิงดีกันอยู่เสมอ ไม่งั้นคงไม่มีผู้ผลิต ผู้ล่าอันดับ1 2 3 แน่ๆ ทุกสังคมใดๆไม่เคยเรียงตัวกันในแนวระนาบ แต่จะพยายามเรียงตัวกันเป็นทรงพีระมิดเสมอ ผู้ที่แข็งแกร่งหรือเฉลียวฉลาดที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่บนปลายยอดซิ่งเล็กที่สุดได้ ผู้ที่อ่อนแอก็ถูกคัดออกโดยธรรมชาติเป็นสัจนิรันดร์เสมอๆ
"ประชาธิปไตย" เองก็ไม่ใช่ความเท่าเทียม คำๆนี้มักถูกเข้าใจผิดว่ามันคือความเท่าเทียม แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ มันคือการรับฟังเสียงส่วนข้างมากๆกว่าข้างน้อยกว่า มันเป็นวิธีที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ดีหรือเลว ไม่สำคัญสักนิด มันไม่ใช่ "ธรรมาธิปไตย" ที่เล็งเป้าหมายไปที่ความถูกต้องมากกว่าสิ่งอื่น การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่จำเป็นคนที่ดีมีศีลธรรม เพราะมันวัดกันได้ยาก ขอเพียงแค่ปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่อย่างถูกต้องเหมาะสมก็เพียงพอ
แม้ว่าต้นทุนทางชีวิตเราจะได้มาไม่เท่ากัน เราก็ย่อมหาต้นทุนใหม่ๆได้เสมอ ต้นทุนทางปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์มากนัก เพราะมันไม่ได้มีจำกัด เพียงแต่ว่าการเก็บเกี่ยวต้นทุนมีจำกัด ด้วยเนื่องจากเวลาและความขวนขวายไม่เท่ากัน คนเราจะสำเร็จได้ ต้องขยันหมั่นเพียร อดทนและรู้จักคิด ย่อมมีความสำเร็จในชีวิตคนที่ไม่ทำอะไรเลย นั่งหายใจทิ้งขว้างไปวันๆ
พอดีนั่งคิดเล่นๆแล้วเพ้อๆน่ะครับ
อยากขอความเห็นจากท่านอื่นๆด้วยนะครับ อยากได้แนวคิดใหม่ๆบ้างครับ
ขอบคุณสำหรับพื้นที่บ่นนะครับ

คิดว่าคนเท่ากันกันได้จริงหรือ?
ในทัศนคติของผม คิดว่าคนเราเท่าเทียมกันเฉพาะเมื่อเกิดมา สิ่งที่เท่าเทียมกันมีเพียงแค่ "ความเป็นคน”
นอกนั้นไม่เคยจะเท่ากันสักเท่าไร
บางคนเกิดมามีอวัยวะครบ 32 ประการ ในขณะที่บางคนก็ขาดบ้าง เกินบ้าง
บางคนเกิดมาในเผ่าพันธุ์ที่ดี มีสติปัญญาสูงล้ำเลิศ ในขณะที่บางคนไม่ใช่อย่างนั้น
ญาณปัญญาเป็นสมบัติพิเศษของมนุษย์ ที่ยกระดับฐานันดรของมนุษย์ให้สูงส่งกว่าสัตว์เดรัจฉานทั้งปวงในโลกหล้า ความฉลาดนอกจากจะเกิดจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยสิ่งเร้าภายนอกที่เหมาะสมแล้ว พันธุกรรมเองก็มีส่วนไม่น้อยเช่นกัน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมชาวยิวถึงฉลาดกว่าคนป่าพื้นเมืองในอเมซอน แต่ก็ไม่เสมอไป มันก็มีการผันผวนได้ บางคนพ่อแม่ฉลาดเป็นกรด แต่ลูกดันโง่ IQต่ำต้อยกว่าโปรโตซัวในลำไส้ปลวกซะอีก
คนบางคนเกิดมาบนกองเงินกองทอง บางคนรวยล้นฟ้า ถูกห้อมล้อมด้วยความสะดวกสบาย และความเอาใจใส่ แต่มีอีกหลายคนไม่น้อยที่เกิดมาลำบากยากจนข้นแค้น ต้องดิ้นรนตะเกียกตะกายเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นทุกขภาวะนั้นไปสู่ความสบายให้ได้ คงมีคนน้อยคนที่อยากให้ตัวเองลำบาก คนเรารักความสบายกันทั้งนั้น คนรวยที่สะดวกสบายอยู่แล้วจะไปอยากลำบากทำไมกัน
คนที่เคยลำบากมาก่อนย่อมเข้าใจถึงรสชาติอันขมขื่นของความลำเค็ญ เขาจะรู้ว่ามันจะเจ็บปวดทุกข์ทรมานขนาดไหน นั่นเป็นบทเรียน ที่จะเตือนสติไม่ให้เขาหล่นลงไป ณ จุดๆเดิมนั้นง่ายๆ คนเหล่านี้มีแต่จะไต่เต้าให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จะไม่ตกลง ถ้าไม่มีความโลภบังตา ในขณะที่คนที่ไม่เคยลำบาก จะทำอะไรได้ นอกจากหาทางดำรงให้ความสบายมีอายุขัยที่ยืนยาวต่อไปเรื่อยๆ หากก้าวพลาด ก็มีโอกาสที่จะพินาศสันตะโรมากกว่าซะอีก
คนเราไม่เคยเท่ากันจริงๆ เกิดมาเป็นคนเหมือนกัน แค่ปัจจัยต่างกันนิดเดียว คนก็ออกมาร้อยแปดพันเก้าประเภท แบบลางเนื้อชอบลางยา พ่อแม่เลี้ยงดูต่างกันเพียงนิดเดียว นิสัยและทัศนคติที่ส่งต่อๆกันก็เปลี่ยนได้ การขัดเกลาในสังคมอาจช่วยให้คนปฏิตัวเหมือนกันในบางเรื่อง แต่โดยรวม มันก็ไม่เคยเท่าเทียมกัน
โดยธรรมชาติ ก็ไม่มีอะไรเท่าเทียมกันในวิถีของสิ่งมีชีวิต สังคมทุกประเภทมีการแก่งแย่งชิงดีกันอยู่เสมอ ไม่งั้นคงไม่มีผู้ผลิต ผู้ล่าอันดับ1 2 3 แน่ๆ ทุกสังคมใดๆไม่เคยเรียงตัวกันในแนวระนาบ แต่จะพยายามเรียงตัวกันเป็นทรงพีระมิดเสมอ ผู้ที่แข็งแกร่งหรือเฉลียวฉลาดที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่บนปลายยอดซิ่งเล็กที่สุดได้ ผู้ที่อ่อนแอก็ถูกคัดออกโดยธรรมชาติเป็นสัจนิรันดร์เสมอๆ
"ประชาธิปไตย" เองก็ไม่ใช่ความเท่าเทียม คำๆนี้มักถูกเข้าใจผิดว่ามันคือความเท่าเทียม แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ มันคือการรับฟังเสียงส่วนข้างมากๆกว่าข้างน้อยกว่า มันเป็นวิธีที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ดีหรือเลว ไม่สำคัญสักนิด มันไม่ใช่ "ธรรมาธิปไตย" ที่เล็งเป้าหมายไปที่ความถูกต้องมากกว่าสิ่งอื่น การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่จำเป็นคนที่ดีมีศีลธรรม เพราะมันวัดกันได้ยาก ขอเพียงแค่ปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่อย่างถูกต้องเหมาะสมก็เพียงพอ
แม้ว่าต้นทุนทางชีวิตเราจะได้มาไม่เท่ากัน เราก็ย่อมหาต้นทุนใหม่ๆได้เสมอ ต้นทุนทางปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์มากนัก เพราะมันไม่ได้มีจำกัด เพียงแต่ว่าการเก็บเกี่ยวต้นทุนมีจำกัด ด้วยเนื่องจากเวลาและความขวนขวายไม่เท่ากัน คนเราจะสำเร็จได้ ต้องขยันหมั่นเพียร อดทนและรู้จักคิด ย่อมมีความสำเร็จในชีวิตคนที่ไม่ทำอะไรเลย นั่งหายใจทิ้งขว้างไปวันๆ
พอดีนั่งคิดเล่นๆแล้วเพ้อๆน่ะครับ
อยากขอความเห็นจากท่านอื่นๆด้วยนะครับ อยากได้แนวคิดใหม่ๆบ้างครับ
ขอบคุณสำหรับพื้นที่บ่นนะครับ