เด็กที่เพิ่งเกิดจะยังมีจิตที่บริสุทธิ์ (ประภัสสร) ยังไม่มีกิเลส แม้จะสัมผัสโลก ก็จะยังไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดอุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตนเอง) ซึ่งนี่คือจิตเดิมแท้ตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน
ส่วนเหตุของจิตเดิมแท้ก็คืออายตนะภายใน (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ส่วนปัจจัยก็คืออายตนะภายนอก (คือ รูป เสียง กลื่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) ที่มากระทบ จึงทำให้เกิดวิญญาณ (การรับรู้ตามอายตนะภายในทั้งหลาย) เมื่อมีวิญญาณ ก็จะเกิดเวทนา แต่เพราะจิตเด็กที่เพิ่งเกิดนี้ยังไม่มีกิเลส จึงยังไม่เกิดตัณหา จึงไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดอุปาทานและทุกข์
แต่เมื่อเด็กนี้ได้รับรู้โลกมากขึ้น ก็จะเริ่มเกิดความพอใจและไม่พอใจต่อเวทนา จิตของเด็กก็จะเริ่มเกิดกิเลสขึ้นมา แล้วก็จะทำให้เกิดอุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตนเองที่เป็นผู้พอใจและไม่พอใจ) และความทุกข์ขึ้นมา ซึ่งก็จะทำให้จิตประภัสสรหรือจิตเดิมแท้หายไป แต่เมื่อใดที่กิเลสจรหายไป จิตประภัสสรหรือจิตเดิมแท้ก็จะกลับมาปรากฏได้อีก แต่ถ้ากิเลสกลับมาอีก จิตประภัสสรหรรือจิตเดิมแท้ก็จะหายไปอีก
จิตที่ประภัสสรหรือจิตเดิมแท้นั่นเองที่มีนิพพาน (ความสงบเย็น เพระไม่มีความทุกข์ใจ)
จิตเดิมแท้มีอยู่แล้วในจิตของทุกคน เพียงเอากิเลสออกไปก็จะพบ
ส่วนเหตุของจิตเดิมแท้ก็คืออายตนะภายใน (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ส่วนปัจจัยก็คืออายตนะภายนอก (คือ รูป เสียง กลื่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) ที่มากระทบ จึงทำให้เกิดวิญญาณ (การรับรู้ตามอายตนะภายในทั้งหลาย) เมื่อมีวิญญาณ ก็จะเกิดเวทนา แต่เพราะจิตเด็กที่เพิ่งเกิดนี้ยังไม่มีกิเลส จึงยังไม่เกิดตัณหา จึงไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดอุปาทานและทุกข์
แต่เมื่อเด็กนี้ได้รับรู้โลกมากขึ้น ก็จะเริ่มเกิดความพอใจและไม่พอใจต่อเวทนา จิตของเด็กก็จะเริ่มเกิดกิเลสขึ้นมา แล้วก็จะทำให้เกิดอุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตนเองที่เป็นผู้พอใจและไม่พอใจ) และความทุกข์ขึ้นมา ซึ่งก็จะทำให้จิตประภัสสรหรือจิตเดิมแท้หายไป แต่เมื่อใดที่กิเลสจรหายไป จิตประภัสสรหรือจิตเดิมแท้ก็จะกลับมาปรากฏได้อีก แต่ถ้ากิเลสกลับมาอีก จิตประภัสสรหรรือจิตเดิมแท้ก็จะหายไปอีก
จิตที่ประภัสสรหรือจิตเดิมแท้นั่นเองที่มีนิพพาน (ความสงบเย็น เพระไม่มีความทุกข์ใจ)