Interstellar อาจไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของ Nolan แต่เป็นหนังที่สเกล "ใหญ่" ที่สุดของเขาแน่นอน (ก็เล่นทะลุจักรวาลผ่านรูหนอนไปถึงมิติที่ห้าขนาดนั้น)
(ปี 2012 ยกให้ Cloud Atlas และปีที่แล้วผมได้รีวิว Gravity เป็นหนังแห่งปีไว้ และถูกโค่นลงจากหนังที่อาจไม่สมบูรณ์เท่าแต่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจอย่าง The Secret Life of Walter Mitty ดังนั้นผมจึงไม่ได้ลุ่มหลงโปรหนังไซไฟจนเกินงามแน่นอน^^)
แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็มาจากบทที่สองพี่น้องโนแลนทำการบ้านมาอย่างดี ทั้งด้านองค์ประกอบภาพยนตร์, บท (ที่ชอบคือ บทหนังของ Jonathan Nolan เรื่องนี้ก็ยังคงไม่ต้องอาศัย "บทบรรยาย" ทั้งที่การเกริ่นเรื่องโลกอนาคตนั้นยากนักหากไร้การบรรยาย แต่เลี่ยงไปใช้การเปิดเรื่องโดยตัวละครพูดถึงอดีตแทน), ทฤษฎีของเรื่อง (ในฐานะอดีตเป็นสาวกชัยคุปต์และสนใจดาราศาสตร์ เรื่องนี้คือการยำใหญ่ทฤษฎีที่เป็นกะทิของฟิสิกส์ดาราศาสตร์นับแต่ปี 80 เป็นต้นมา)
ความสามารถของบทและการทำหนังของพี่น้องนี้คือ การย่อยและเล่าเรื่องยากให้ง่ายลงและน่าติดตาม เรื่องนี้นอกจากการเอาทฤษฎีหลายอย่าง จากเรื่องกาลอวกาศไปถึงควอนตัมฟิสิกส์มาย่อยและคลุกรวมกันอย่างลงตัวแล้ว ยังกล้าก้าวข้ามไปถึงเรื่องทฤษฎีสตริง, มิติที่ห้า มานำเสนอให้คนดูอย่างไม่เคยมีเรื่องใดทำมาก่อน
การโต้เถียงถึงความเป็นไปได้หรือทฤษฎีที่ใช้อาจเป็นแก่นหลักของคอหนังไซไฟ แต่เหนืออื่นใด สิ่งสำคัญหรือสารหลักของเรื่องสำหรับความคิดผม กลับเป็นประโยคของ Dr.Amelia Brand:
"Maybe we’ve spent too long trying to figure all this out with theory. Love is the one thing that transcends time and space."
แก่นของภาพยนตร์อีพิคไซไฟเรื่องนี้ ไม่ว่าจะใช้ทฤษฎีใดมาประกอบเพื่อขับเคลื่อนเรื่องให้เดินไปจนสุดทาง แต่แกนกลางของเรื่องของตัวละครหลักกลับถูกผลักดันไปด้วย "ความรัก", สิ่งที่ทำให้เกิดการเดินทาง ทะลุกาล มิติ อวกาศ จนคลายปมของเรื่องได้ ไม่ใช่ทฤษฎีหรือสมการใด ๆ แต่นั่นคือความรู้สึกนี้เองที่พาตัวละครหลักไปได้ทุกที่ ตั้งแต่ห้องนอนลูกจนถึงโลกใบใหม่
ยังไม่นับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แทรกอยู่ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องถึงฉากจบที่น่าชื่นชมความเอาใจใส่ในงานของพี่น้อง(เทพ)คู่นี้ ตั้งแต่ชื่อตัวละคร รูปทรงขององค์ประกอบฉาก ไปจนถึงงานเชื่อมโยงต่าง ๆ, กิมมิคสไตล์การเล่นกับมุมมองและเหลี่ยมทรงโนแลนที่ถูกใส่มาในฉากน่าจดจำอย่างการเชื่อมต่อของยาน Endurance ไปถึงมิติของห้องเมิร์ฟ, งานภาพ การตัดต่อและเสียงประกอบที่ส่งเสริมตัวหนัง แม้ใครอาจเห็นต่างหรือตะขิดตะขวงใจในบางเรื่อง แต่เชื่อว่าหนังทะเยอทะยานเรื่องนี้จะถูกจดจำในฐานะ Sci-fi Classic ในอนาคตแน่นอน
10/10
Interstellar (10/10): รักทะลุมิติ (พาดหัวเหมือนหนังเกรดบี แต่คิดอย่างนี้จริงนะ)
Interstellar อาจไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของ Nolan แต่เป็นหนังที่สเกล "ใหญ่" ที่สุดของเขาแน่นอน (ก็เล่นทะลุจักรวาลผ่านรูหนอนไปถึงมิติที่ห้าขนาดนั้น)
(ปี 2012 ยกให้ Cloud Atlas และปีที่แล้วผมได้รีวิว Gravity เป็นหนังแห่งปีไว้ และถูกโค่นลงจากหนังที่อาจไม่สมบูรณ์เท่าแต่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจอย่าง The Secret Life of Walter Mitty ดังนั้นผมจึงไม่ได้ลุ่มหลงโปรหนังไซไฟจนเกินงามแน่นอน^^)
แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็มาจากบทที่สองพี่น้องโนแลนทำการบ้านมาอย่างดี ทั้งด้านองค์ประกอบภาพยนตร์, บท (ที่ชอบคือ บทหนังของ Jonathan Nolan เรื่องนี้ก็ยังคงไม่ต้องอาศัย "บทบรรยาย" ทั้งที่การเกริ่นเรื่องโลกอนาคตนั้นยากนักหากไร้การบรรยาย แต่เลี่ยงไปใช้การเปิดเรื่องโดยตัวละครพูดถึงอดีตแทน), ทฤษฎีของเรื่อง (ในฐานะอดีตเป็นสาวกชัยคุปต์และสนใจดาราศาสตร์ เรื่องนี้คือการยำใหญ่ทฤษฎีที่เป็นกะทิของฟิสิกส์ดาราศาสตร์นับแต่ปี 80 เป็นต้นมา)
ความสามารถของบทและการทำหนังของพี่น้องนี้คือ การย่อยและเล่าเรื่องยากให้ง่ายลงและน่าติดตาม เรื่องนี้นอกจากการเอาทฤษฎีหลายอย่าง จากเรื่องกาลอวกาศไปถึงควอนตัมฟิสิกส์มาย่อยและคลุกรวมกันอย่างลงตัวแล้ว ยังกล้าก้าวข้ามไปถึงเรื่องทฤษฎีสตริง, มิติที่ห้า มานำเสนอให้คนดูอย่างไม่เคยมีเรื่องใดทำมาก่อน
การโต้เถียงถึงความเป็นไปได้หรือทฤษฎีที่ใช้อาจเป็นแก่นหลักของคอหนังไซไฟ แต่เหนืออื่นใด สิ่งสำคัญหรือสารหลักของเรื่องสำหรับความคิดผม กลับเป็นประโยคของ Dr.Amelia Brand:
"Maybe we’ve spent too long trying to figure all this out with theory. Love is the one thing that transcends time and space."
แก่นของภาพยนตร์อีพิคไซไฟเรื่องนี้ ไม่ว่าจะใช้ทฤษฎีใดมาประกอบเพื่อขับเคลื่อนเรื่องให้เดินไปจนสุดทาง แต่แกนกลางของเรื่องของตัวละครหลักกลับถูกผลักดันไปด้วย "ความรัก", สิ่งที่ทำให้เกิดการเดินทาง ทะลุกาล มิติ อวกาศ จนคลายปมของเรื่องได้ ไม่ใช่ทฤษฎีหรือสมการใด ๆ แต่นั่นคือความรู้สึกนี้เองที่พาตัวละครหลักไปได้ทุกที่ ตั้งแต่ห้องนอนลูกจนถึงโลกใบใหม่
ยังไม่นับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แทรกอยู่ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องถึงฉากจบที่น่าชื่นชมความเอาใจใส่ในงานของพี่น้อง(เทพ)คู่นี้ ตั้งแต่ชื่อตัวละคร รูปทรงขององค์ประกอบฉาก ไปจนถึงงานเชื่อมโยงต่าง ๆ, กิมมิคสไตล์การเล่นกับมุมมองและเหลี่ยมทรงโนแลนที่ถูกใส่มาในฉากน่าจดจำอย่างการเชื่อมต่อของยาน Endurance ไปถึงมิติของห้องเมิร์ฟ, งานภาพ การตัดต่อและเสียงประกอบที่ส่งเสริมตัวหนัง แม้ใครอาจเห็นต่างหรือตะขิดตะขวงใจในบางเรื่อง แต่เชื่อว่าหนังทะเยอทะยานเรื่องนี้จะถูกจดจำในฐานะ Sci-fi Classic ในอนาคตแน่นอน
10/10