ภาพเก่าเล่าความหลัง ชุดที่ 2 (27)

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ...

ไม้ขีดไฟ หรือตามภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือตอนบนว่า "กั๋บไฟ" (กลักไฟ)  "ไม้ปั๊ดโซ้" (ไม้ปั๊ด = ไม้ขีด, โซ้ = เสียงฟู่จากหัวไม้ขีดเวลาจุดติด) หรือคำเรียกสมัยยายของผม "แปม" (ไม้ขีด) นั้น เป็นเสมือนชีวิตประจำวันของพี่น้องชาวต่างจังหวัดสมัยผมยังเด็กทีเดียว



ตื่นเช้ามา ล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ ก็ควานหากลักไม้ขีด ที่ปกติ มักจะเก็บในกระป๋องกันความชื้นจากอากาศ แล้วจุดใส่ "โกม" (ตะเกียงกระป๋อง) ส่องเดินไปยังครัว ก่อนที่จะก่อด้วยเชื้อฟืนชิ้นเล็กๆ แล้วเอาเศษไม้เกี๊ยะ (ไม้สน) แหย่ตรงโกม แล้วเอาไปใส่ตรงกองเชื้อฟืน พอลุกติดดี ก็เอา "หลัว" (ดุ้นฟืน) แหย่ลงไป กระแสควันไฟสีเทาอ่อน ลอยสู่หลังคาบ้าน ล่องลอยไปตามสายลม แสดงว่าชีวิตประจำวันกำลังจะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง



สมัยเด็กๆ มักจะทายปริศนากันว่า "ไก่แม่หม่น ส่นหลังคา ?" ก็มาจากควันไฟที่ล่องลอยผ่านหลังคาบ้านยามเช้านั่นเอง

แต่ถ้าเป็นควันดำหนา พร้อมด้วยเสียงโวยวายล่ะก็ จะกลายเป็นเรื่องตื่นเต้นรับยามเช้า ร้อนถึงเพื่อนบ้านต้องมาลงแรงปลูกบ้านให้ใหม่ที่วอดวายไปกับเปลวไฟนั่นแหละ อมยิ้ม01
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่