พอดี อ่านกระทู้ฮอต
http://pantip.com/topic/32463688
แล้วนึกถึง factor ของการบริหารงาน หรือกระทั่งทำงานที่อาจจะจัดได้เป็น 2 คู่ คือ "โง่, ฉลาด" กับ "ขยัน, ขี้เกียจ" ซึ่งเมื่อมาไขว้กัน ก็จะได้เป็น 4 ประเภท คือ "ฉลาดและขยัน", "ฉลาดแต่ขี้เกียจ", "โง่แต่ขยัน", "โง่และขี้เกียจ" โดยทั่วไปเหมือนองค์กรอยากได้มากที่สุดคงเป็น "ฉลาดและขยัน" แต่ไม่ค่อยเจอและในอีก 3 ประเภทที่เหลือก็มักชอบประเภท "โง่แต่ขัยน" มากกว่า "ฉลาดแต่ขี้เกียจ" และภาพของพวก "โง่แต่ขยัน" มักจะถูกมองว่า เป็นคนฉลาดไปในตัว เมื่อผ่านการเรียนรู้ไปนานๆ แต่นั่นใช่การเรียนรู้จริงๆหรือเปล่า อาจจะเป็นแค่การจำและทำ function งานของตนให้คล่องแค่นั้นมั้ย?
แต่ถ้าถามว่า คน"โง่แต่ขยัน" ผิดมั้ยก็ไม่ผิด คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ซึ่งหากใช้คำว่า "โง่" ก็อาจจะแรงไป แต่ก็ค่อนข้างตรง นัยย์ก็อาจจะหมายถึงคนที่เป็นประเภท ทำงานที่ต้องใช้ความคิดใช้สมองไม่ถนัดนักถนัดงาน routine มากกว่า และเอาจริงๆแล้วคนแต่ละประเภทก็ควรมีหน้าที่และงานที่เหมาะสมให้อาศัยต่างกันถึงจะดี
1."ฉลาดและขยัน" พวกนี้ควรได้เป็นระดับหัวหน้างาน ทำงานดีถึงลูกถึงคน แต่เชื่อมั้ยว่า เขาอาจจะขาดแรงบางอย่างไป จึงทำให้อาจจะเป็นคนที่สำเร็จทุกๆมิติยกเว้นเรื่องเวลาพัก หรือก็คือพวกคนรวยๆที่ต้องเหนื่อยไปตลอดชีวิต
2."ฉลาดแต่ขี้เกียจ" พวกนี้ส่วนมากมักเป็นนักคิดค้น นักวางแผนแบบสั้นง่าย จบงานไว หรือผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ค่อยได้ทำงาน นั่นเพราะเขามีแรงพลักดันที่ข้อ 1 ไม่มี คือความขี้เกียจนั่นเอง ด้วยความขี้เกียจนี้จึงต้องการออกแรงน้อยที่สุด แต่ได้ผลตอบแทนสูง และรู้สึกว่าเป็นนิสัยร่วมของ ผู้บริหารที่วันๆได้แต่ตีกอล์ฟ ล่องเรือ
3."โง่แต่ขยัน" พวกนี้ถ้าเป็นในรัสเซียมักจะถูกกันไว้เป็นพวกทำงานที่มีรูปแบบตายตัว วางกรอบไม่ให้ผิดพลาด แต่ในบ้านเราส่วนมากพวกนี้จะได้เป็นผู้นำระดับต่างๆในองค์กรเพราะส่วนใหญ่จะนั่งทำงานดึกๆดื่นๆ ไม่มีปากเสียง ใครพูดอะไรก็ตามนั้น ทำงาน 16 ชม. ได้ผลงานเท่ากับพวก "ฉลาดแต่ขี้เกียจ" ทำ แค่ ชม. เดียว แต่เจ้านายมักรักและเอ็นดู และพวกนี้เองบ่อยครั้งสร้างปัญหาให้กับองค์กรเพราะตัวเองไปที่อื่นได้ยากจึงมักยึดติดองค์กร ใครเข้ามาใหม่ๆก็จะโดนสร้างกำแพงเข้าใส่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะความผูกพันธ์ในองค์กรนั่นเอง
4."โง่และขี้เกียจ" พวกนี้ปัจจุบันพบได้เยอะมากตามโรงงาน คือทำงานก็ไม่ได้ผล แถมเสียหายมาก แต่ก็ดันเป็นกลุ่มคนที่เยอะที่สุด เหมาะแก่การทำงานประจำที่ใช้ทักษะน้อย วางกรอบเวลาและกรอบการทำงานอย่าให้หลุดออกไปได้
ถึงอย่างไรก็ตาม ก็มีอีก factor หนึ่งที่น่าสนใจ คือ "ความเห็นแก่ตัว" หรือคุณธรรม ซึ่งท้ายที่สุดหาก "ฉลาดแต่ขี้เกียจ" ซึ่งเป็นคนที่มีแนวโน้มจะก้าวหน้าสูงนั้น ดัน"เห็นแก่ตัว"ขึ้นมา ก็เป็นคนที่อันตรายอย่างยิ่ง ในทางกลับกัน คนที่ "โง่แต่ขยัน" ถ้า"ไม่เห็นแก่ตัว"แล้ว กลับดูน่ารักขึ้นมาทันที
ในองค์กรเพื่อนๆคนแบบใหนเยอะกว่ากันครับ
โง่แต่ ขยัน, ฉลาด แต่ขี้เกียจ
แล้วนึกถึง factor ของการบริหารงาน หรือกระทั่งทำงานที่อาจจะจัดได้เป็น 2 คู่ คือ "โง่, ฉลาด" กับ "ขยัน, ขี้เกียจ" ซึ่งเมื่อมาไขว้กัน ก็จะได้เป็น 4 ประเภท คือ "ฉลาดและขยัน", "ฉลาดแต่ขี้เกียจ", "โง่แต่ขยัน", "โง่และขี้เกียจ" โดยทั่วไปเหมือนองค์กรอยากได้มากที่สุดคงเป็น "ฉลาดและขยัน" แต่ไม่ค่อยเจอและในอีก 3 ประเภทที่เหลือก็มักชอบประเภท "โง่แต่ขัยน" มากกว่า "ฉลาดแต่ขี้เกียจ" และภาพของพวก "โง่แต่ขยัน" มักจะถูกมองว่า เป็นคนฉลาดไปในตัว เมื่อผ่านการเรียนรู้ไปนานๆ แต่นั่นใช่การเรียนรู้จริงๆหรือเปล่า อาจจะเป็นแค่การจำและทำ function งานของตนให้คล่องแค่นั้นมั้ย?
แต่ถ้าถามว่า คน"โง่แต่ขยัน" ผิดมั้ยก็ไม่ผิด คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ซึ่งหากใช้คำว่า "โง่" ก็อาจจะแรงไป แต่ก็ค่อนข้างตรง นัยย์ก็อาจจะหมายถึงคนที่เป็นประเภท ทำงานที่ต้องใช้ความคิดใช้สมองไม่ถนัดนักถนัดงาน routine มากกว่า และเอาจริงๆแล้วคนแต่ละประเภทก็ควรมีหน้าที่และงานที่เหมาะสมให้อาศัยต่างกันถึงจะดี
1."ฉลาดและขยัน" พวกนี้ควรได้เป็นระดับหัวหน้างาน ทำงานดีถึงลูกถึงคน แต่เชื่อมั้ยว่า เขาอาจจะขาดแรงบางอย่างไป จึงทำให้อาจจะเป็นคนที่สำเร็จทุกๆมิติยกเว้นเรื่องเวลาพัก หรือก็คือพวกคนรวยๆที่ต้องเหนื่อยไปตลอดชีวิต
2."ฉลาดแต่ขี้เกียจ" พวกนี้ส่วนมากมักเป็นนักคิดค้น นักวางแผนแบบสั้นง่าย จบงานไว หรือผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ค่อยได้ทำงาน นั่นเพราะเขามีแรงพลักดันที่ข้อ 1 ไม่มี คือความขี้เกียจนั่นเอง ด้วยความขี้เกียจนี้จึงต้องการออกแรงน้อยที่สุด แต่ได้ผลตอบแทนสูง และรู้สึกว่าเป็นนิสัยร่วมของ ผู้บริหารที่วันๆได้แต่ตีกอล์ฟ ล่องเรือ
3."โง่แต่ขยัน" พวกนี้ถ้าเป็นในรัสเซียมักจะถูกกันไว้เป็นพวกทำงานที่มีรูปแบบตายตัว วางกรอบไม่ให้ผิดพลาด แต่ในบ้านเราส่วนมากพวกนี้จะได้เป็นผู้นำระดับต่างๆในองค์กรเพราะส่วนใหญ่จะนั่งทำงานดึกๆดื่นๆ ไม่มีปากเสียง ใครพูดอะไรก็ตามนั้น ทำงาน 16 ชม. ได้ผลงานเท่ากับพวก "ฉลาดแต่ขี้เกียจ" ทำ แค่ ชม. เดียว แต่เจ้านายมักรักและเอ็นดู และพวกนี้เองบ่อยครั้งสร้างปัญหาให้กับองค์กรเพราะตัวเองไปที่อื่นได้ยากจึงมักยึดติดองค์กร ใครเข้ามาใหม่ๆก็จะโดนสร้างกำแพงเข้าใส่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะความผูกพันธ์ในองค์กรนั่นเอง
4."โง่และขี้เกียจ" พวกนี้ปัจจุบันพบได้เยอะมากตามโรงงาน คือทำงานก็ไม่ได้ผล แถมเสียหายมาก แต่ก็ดันเป็นกลุ่มคนที่เยอะที่สุด เหมาะแก่การทำงานประจำที่ใช้ทักษะน้อย วางกรอบเวลาและกรอบการทำงานอย่าให้หลุดออกไปได้
ถึงอย่างไรก็ตาม ก็มีอีก factor หนึ่งที่น่าสนใจ คือ "ความเห็นแก่ตัว" หรือคุณธรรม ซึ่งท้ายที่สุดหาก "ฉลาดแต่ขี้เกียจ" ซึ่งเป็นคนที่มีแนวโน้มจะก้าวหน้าสูงนั้น ดัน"เห็นแก่ตัว"ขึ้นมา ก็เป็นคนที่อันตรายอย่างยิ่ง ในทางกลับกัน คนที่ "โง่แต่ขยัน" ถ้า"ไม่เห็นแก่ตัว"แล้ว กลับดูน่ารักขึ้นมาทันที
ในองค์กรเพื่อนๆคนแบบใหนเยอะกว่ากันครับ