คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
จะขอเข้ามาช่วยตอบ ข้อสงสัย ให้ทราบตามที่เข้าใจ นะครับ
ปกติ การ ควบรวมกิจการกันนี้ กิจการ สามารถทำได้หลายรูปแบบหลายวิธีการ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ก็คือ วิธีการซื้อ ครับ อาจจะเป็นการซื้อหุ้น หรือ ซื้อ ทรัพย์สิน หรือ ควบรวมกิจการกันด้วยวิธีการอื่น ๆ
สำหรับ ข้อสงสัย ที่ว่า การควบรวมกิจการ ด้วยวิธีการซื้อ ทรัพย์สิน นั้น เราจะเรียกวิธีควบรวมกิจการแบบนี้ ว่า เป็นแบบ Merger
คือ การควบรวมกิจการระหว่างกัน ด้วยการโอนทรัพย์สินระหว่างกัน โดยผู้ซื้อตกลงจะซื้อทรัพย์สิน บางส่วนหรือทั้งหมด ของอีกกิจการหนึ่ง และภายหลังจากการซื้อแล้ว กิจการที่ขายทรัพย์สิน อาจจะเลิกกิจการ ก็ได้ หรือ จะไม่เลิกกิจการก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท A ตกลง จะซื้อทรัพย์สินของ บริษัท B บางส่วนหรือ ทั้งหมดก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่ง บริษัท A อาจจะจ่ายค่าซื้อทรัพย์สิน เป็นเงินสด หรือ จ่ายเป็นหุ้น ก็ได้ บริษัท B ก็ต้องโอนทรัพย์สินบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับ บริษัท A แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่ง บางกรณี บริษัท B อาจจะต้องเลิกกิจการไป หรือ บริษัท B อาจจะยังคงดำเนินกิจการอยู่ต่อไป ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
หรือ บริษัท A ซื้อทรัพย์สินของ บริษัท B แล้ว นำทรัพย์สินทั้งหมดไปรวมกัน จัดตั้ง เป็นบริษัทใหม่ เช่น บริษัท C ( บริษัทเปิดใหม่ โดย บริษัท A + B เป็นเจ้าของร่วมกัน ) ก็ได้ โดย บริษัท A และบริษัท B จะยังคงอยู่เหมือนเดิม หรือ จะเลิกกิจการก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
ในกรณีที่ บริษัท A ซื้ัอทรัพย์สินของ บริษัท B เราจะถือว่า บริษัท A เป็นบริษัทใหญ่ ส่วน บริษัท B เป็นบริษัทย่อย เมื่อบริษัท A ซื้อทรัพย์สินแล้ว นับตั้งแต่วันซื้อ บริษัท A จะต้องรับรู้ สินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ของบริษัท B (รวมถึงรายการที่ไม่เคยรับรู้ในงบการเงินมาก่อน) พร้อมทั้งค่าความนิยมหรือค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินของบริษัท B ไว้ในงบดุลของบริษัท A ด้วย และจะต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม โดยเอาผลการดำเนินงานของบริษัท B มารวมเข้ากับผลการดำเนินงานของบริษัท A ด้วย เป็นต้น
ส่วนพนักงานของบริษัท B ตั้งแต่ตำแหน่งใหญ่สุด ลงมาถึงตำแหน่งเล็กสุด (ถ้าไม่มีใครลาออกนะ) ก็จะถูกโอน และเข้ามาทำงานเป็นพนักงาน ในนามของบริษัท A กันต่อไปครับ
ส่วนข้อสงสัยที่ถามว่า แล้วบริษัทผู้ซื้อ จะได้ประโยชน์อะไร เมื่อซื้อแล้วไม่ได้สิทธิ์ แล้วจะซื้อไปทำไม
กรณีแบบนี้ ต้องพิจารณา เป็น กรณี ไป นะครับ ถ้า บริษัทผู้ซื้อ คือบริษัท A ซื้อทรัพย์สิน จากบริษัท B แล้ว แต่ไม่ต้องการเข้ามาบริหารกิจการภายในของบริษัท B ปล่อยให้บริษัท B ดำเนินงานต่อไปตามปกติ เหมือนเดิมก็ย่อมทำได้ หรือ ถ้า บริษัท A ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ หรือ ต้องการเข้าไป กำหนดนโยบาย หรือ เข้าไป ควบคุมการดำเนินงานของบริษัท B ก็ย่อมสามารถทำได้เช่นเดียวกัน
การควบรวมกิจการ กันแบบนี้ มีประโยชน์ ก็คือ ทำให้ บริษัท A จะกลายเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มี ทรัพย์สิน และ หนี้สิน เพิ่มขึ้น ลดคู่แข่งทางการค้าของกิจการให้น้อยลง ทำให้กิจการสามารถดำเนินงานได้ต่อไปโดยไม่ต้องหยุดชะงัก ป้องกันไม่ให้กิจการของตนเองถูกครอบงำโดยกิจการอื่น เป็นการประหยัดต้นทุนการดำเนินงาน และช่วยประหยัด ผลประโยชน์ทางด้านภาษี ด้วยครับ
เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว นะครับ
ปกติ การ ควบรวมกิจการกันนี้ กิจการ สามารถทำได้หลายรูปแบบหลายวิธีการ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ก็คือ วิธีการซื้อ ครับ อาจจะเป็นการซื้อหุ้น หรือ ซื้อ ทรัพย์สิน หรือ ควบรวมกิจการกันด้วยวิธีการอื่น ๆ
สำหรับ ข้อสงสัย ที่ว่า การควบรวมกิจการ ด้วยวิธีการซื้อ ทรัพย์สิน นั้น เราจะเรียกวิธีควบรวมกิจการแบบนี้ ว่า เป็นแบบ Merger
คือ การควบรวมกิจการระหว่างกัน ด้วยการโอนทรัพย์สินระหว่างกัน โดยผู้ซื้อตกลงจะซื้อทรัพย์สิน บางส่วนหรือทั้งหมด ของอีกกิจการหนึ่ง และภายหลังจากการซื้อแล้ว กิจการที่ขายทรัพย์สิน อาจจะเลิกกิจการ ก็ได้ หรือ จะไม่เลิกกิจการก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท A ตกลง จะซื้อทรัพย์สินของ บริษัท B บางส่วนหรือ ทั้งหมดก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่ง บริษัท A อาจจะจ่ายค่าซื้อทรัพย์สิน เป็นเงินสด หรือ จ่ายเป็นหุ้น ก็ได้ บริษัท B ก็ต้องโอนทรัพย์สินบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับ บริษัท A แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่ง บางกรณี บริษัท B อาจจะต้องเลิกกิจการไป หรือ บริษัท B อาจจะยังคงดำเนินกิจการอยู่ต่อไป ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
หรือ บริษัท A ซื้อทรัพย์สินของ บริษัท B แล้ว นำทรัพย์สินทั้งหมดไปรวมกัน จัดตั้ง เป็นบริษัทใหม่ เช่น บริษัท C ( บริษัทเปิดใหม่ โดย บริษัท A + B เป็นเจ้าของร่วมกัน ) ก็ได้ โดย บริษัท A และบริษัท B จะยังคงอยู่เหมือนเดิม หรือ จะเลิกกิจการก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
ในกรณีที่ บริษัท A ซื้ัอทรัพย์สินของ บริษัท B เราจะถือว่า บริษัท A เป็นบริษัทใหญ่ ส่วน บริษัท B เป็นบริษัทย่อย เมื่อบริษัท A ซื้อทรัพย์สินแล้ว นับตั้งแต่วันซื้อ บริษัท A จะต้องรับรู้ สินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ของบริษัท B (รวมถึงรายการที่ไม่เคยรับรู้ในงบการเงินมาก่อน) พร้อมทั้งค่าความนิยมหรือค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินของบริษัท B ไว้ในงบดุลของบริษัท A ด้วย และจะต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม โดยเอาผลการดำเนินงานของบริษัท B มารวมเข้ากับผลการดำเนินงานของบริษัท A ด้วย เป็นต้น
ส่วนพนักงานของบริษัท B ตั้งแต่ตำแหน่งใหญ่สุด ลงมาถึงตำแหน่งเล็กสุด (ถ้าไม่มีใครลาออกนะ) ก็จะถูกโอน และเข้ามาทำงานเป็นพนักงาน ในนามของบริษัท A กันต่อไปครับ
ส่วนข้อสงสัยที่ถามว่า แล้วบริษัทผู้ซื้อ จะได้ประโยชน์อะไร เมื่อซื้อแล้วไม่ได้สิทธิ์ แล้วจะซื้อไปทำไม
กรณีแบบนี้ ต้องพิจารณา เป็น กรณี ไป นะครับ ถ้า บริษัทผู้ซื้อ คือบริษัท A ซื้อทรัพย์สิน จากบริษัท B แล้ว แต่ไม่ต้องการเข้ามาบริหารกิจการภายในของบริษัท B ปล่อยให้บริษัท B ดำเนินงานต่อไปตามปกติ เหมือนเดิมก็ย่อมทำได้ หรือ ถ้า บริษัท A ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ หรือ ต้องการเข้าไป กำหนดนโยบาย หรือ เข้าไป ควบคุมการดำเนินงานของบริษัท B ก็ย่อมสามารถทำได้เช่นเดียวกัน
การควบรวมกิจการ กันแบบนี้ มีประโยชน์ ก็คือ ทำให้ บริษัท A จะกลายเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มี ทรัพย์สิน และ หนี้สิน เพิ่มขึ้น ลดคู่แข่งทางการค้าของกิจการให้น้อยลง ทำให้กิจการสามารถดำเนินงานได้ต่อไปโดยไม่ต้องหยุดชะงัก ป้องกันไม่ให้กิจการของตนเองถูกครอบงำโดยกิจการอื่น เป็นการประหยัดต้นทุนการดำเนินงาน และช่วยประหยัด ผลประโยชน์ทางด้านภาษี ด้วยครับ
เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว นะครับ
แสดงความคิดเห็น
วิธีควบรวมกิจการ แบบซื้อสินทรัพย์ ซื้อกิจการ สงสัย
อ้างอิงจาก >> http://www.set.or.th/th/market/MnA_p2.html
คืองงตรงที่
- วิธีที่ 2 ซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด หรือสำคัญ คือ ซื้อสินทรัพย์จำพวกไหนอะครับ
- แล้วพอซื้อแล้ว สิทธิ์ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ไม่ตกเป็นของผู้ซื้อ แล้ว ผู้ซื้อเค้าซื้อไปทำไมอะครับ
- ผู้ขายดำเนินธุรกิจต่อ หรือเลิก ก็ได้ คือ ถ้าซื้อกิจการนั้น แล้วเค้าปิดไป คือยังไงอะครับ งง
แล้ววิธีนี้ คนซื้อจะได้ประโยชน์จากส่วนไหนบ้างครับ ช่วยยกตัวอย่างให้เห็นภาพสักหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ