หลายคนอาจเคยได้ยินนักการเมือง หรือ นักวิชาการชอบพูดถึง นายก ม. 7 บ้างก็นายกพระราชทาน เราลองมาดูกันว่า มาตรา 7 ตามรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญ คืออะไรบ้าง
มาตรา 7 "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ทำไมต้องใช้จารีตประเพณีการปกครองฯ?
จารีตประเพณีการปกครองทำให้ปวงชนชาวไทยขอนายกฯพระราชทานได้จริงหรือ?
---
จารีตประเพณีในการปกครอง เป็นบทบัญญัติที่ใช้เพื่ออุดช่องว่างของตัวรัฐธรรมนูญเอง หากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นแล้วไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าให้ทำอย่างไร ก็ให้ใช้จารีตประเพณีฯในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีขึ้นมาเพื่อเสริมกฎหมายลายลักษณ์อักษร และเมื่อจะใช้ก็จะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร
หากเปรียบรัฐธรรมนูญเป็นเค้กก้อนหนึ่ง ที่เค้กมันแหว่งๆไปบางส่วน
จารีตประเพณีก็เหมือนเค้กส่วนที่เหลือที่เอามาเติมให้เค้กมันเต็ม
และต้องไม่ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งแหว่งหายไปด้วย
การจะเป็นจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นต้องมีลักษณะดังนี้ คือเป็นสิ่งที่ปฎิบัติกันซ้ำๆจนแน่นอนว่าเมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้นก็จะทำเช่นนี้ (precedent) และประชาชนผู้ปฏิบัติจะต้องรู้สึกว่ามันถูกต้องเป็นกฎหมาย (opinio juris) และการใช้จารีตประเพณีฯนี้ก็ต้องไม่ขัดกับสิ่งที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ประเด็นที่กำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบันคือเรื่องการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เราจึงต้องดูก่อนว่ามาตรา 7 นั้นเปิดช่องให้สามารถใช้จารีตประเพณีทางการปกครองในกรณีนี้ได้หรือไม่
ตามที่อธิบายไปข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ากรณีที่จะใช้มาตรา 7 ต้องเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเรื่องนั้นไว้ ซึ่งในเรื่องของที่มาของนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 171 172 ที่บอกว่านายกรัฐมนตรีมีที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุนี้เองเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจน จึงไม่สามารถจะใช้จารีตประเพณีในกรณีนี้ได้
ส่วนประเด็นที่ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานเป็นจารีตประเพณีการปกครองฯหรือไม่ก็ต้องดูว่ามันเข้าลักษณะของจารีตประเพณีการปกครองฯหรือไม่ ซึ่งการพระราชทานนายกรัฐมนตรีนั้นเคยทำมาเพียงครั้งเดียวคือกรณีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และในเวลานี้ก็ยังคงมีผู้โต้แย้งไม่ยอมรับการกระทำแบบนี้ การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีจึงยังไม่อาจนับเป็นจารีตประเพณีการปกครองฯได้
จึงสรุปได้ว่าเวลาที่จะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 นั้นก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้เขียนเรื่องดังกล่าวไว้ หลังจากนั้นก็ค่อยดูว่ามีจารีตประเพณีฯอะไรหรือไม่ที่สามารถนำไปใช้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นและจารีตประเพณีนั้นมีองค์ประกอบครบตามที่อธิบายไว้แล้วหรือเปล่า และสุดท้ายต้องดูว่าจารีตประเพณีนั้นขัดกับเรื่องที่มีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ขัดก็สามารถนำไปใช้ประกอบกับมาตรา 7 ได้
มาตรา 7 "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณี
มาตรา 7 "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ทำไมต้องใช้จารีตประเพณีการปกครองฯ?
จารีตประเพณีการปกครองทำให้ปวงชนชาวไทยขอนายกฯพระราชทานได้จริงหรือ?
---
จารีตประเพณีในการปกครอง เป็นบทบัญญัติที่ใช้เพื่ออุดช่องว่างของตัวรัฐธรรมนูญเอง หากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นแล้วไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าให้ทำอย่างไร ก็ให้ใช้จารีตประเพณีฯในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีขึ้นมาเพื่อเสริมกฎหมายลายลักษณ์อักษร และเมื่อจะใช้ก็จะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร
หากเปรียบรัฐธรรมนูญเป็นเค้กก้อนหนึ่ง ที่เค้กมันแหว่งๆไปบางส่วน
จารีตประเพณีก็เหมือนเค้กส่วนที่เหลือที่เอามาเติมให้เค้กมันเต็ม
และต้องไม่ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งแหว่งหายไปด้วย
การจะเป็นจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นต้องมีลักษณะดังนี้ คือเป็นสิ่งที่ปฎิบัติกันซ้ำๆจนแน่นอนว่าเมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้นก็จะทำเช่นนี้ (precedent) และประชาชนผู้ปฏิบัติจะต้องรู้สึกว่ามันถูกต้องเป็นกฎหมาย (opinio juris) และการใช้จารีตประเพณีฯนี้ก็ต้องไม่ขัดกับสิ่งที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ประเด็นที่กำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบันคือเรื่องการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เราจึงต้องดูก่อนว่ามาตรา 7 นั้นเปิดช่องให้สามารถใช้จารีตประเพณีทางการปกครองในกรณีนี้ได้หรือไม่
ตามที่อธิบายไปข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ากรณีที่จะใช้มาตรา 7 ต้องเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเรื่องนั้นไว้ ซึ่งในเรื่องของที่มาของนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 171 172 ที่บอกว่านายกรัฐมนตรีมีที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุนี้เองเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจน จึงไม่สามารถจะใช้จารีตประเพณีในกรณีนี้ได้
ส่วนประเด็นที่ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานเป็นจารีตประเพณีการปกครองฯหรือไม่ก็ต้องดูว่ามันเข้าลักษณะของจารีตประเพณีการปกครองฯหรือไม่ ซึ่งการพระราชทานนายกรัฐมนตรีนั้นเคยทำมาเพียงครั้งเดียวคือกรณีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และในเวลานี้ก็ยังคงมีผู้โต้แย้งไม่ยอมรับการกระทำแบบนี้ การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีจึงยังไม่อาจนับเป็นจารีตประเพณีการปกครองฯได้
จึงสรุปได้ว่าเวลาที่จะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 นั้นก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้เขียนเรื่องดังกล่าวไว้ หลังจากนั้นก็ค่อยดูว่ามีจารีตประเพณีฯอะไรหรือไม่ที่สามารถนำไปใช้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นและจารีตประเพณีนั้นมีองค์ประกอบครบตามที่อธิบายไว้แล้วหรือเปล่า และสุดท้ายต้องดูว่าจารีตประเพณีนั้นขัดกับเรื่องที่มีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ขัดก็สามารถนำไปใช้ประกอบกับมาตรา 7 ได้