ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีเครื่องหมาย ใครๆ รู้ไม่ได้ ทั้งลำบากทั้งน้อย และประกอบด้วยทุกข์
สัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดแล้ว จะไม่ตายด้วยความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นไม่มีเลย แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ผลไม้สุกงอมแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัยเพราะจะต้องร่วงหล่นไปในเวลาเช้า ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัย เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยู มีมฤตยูเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด
เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกมฤตยูครอบงำแล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้
ท่านจงเห็น เหมือนเมื่อหมู่ญาติของสัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตาย กำลังแลดูรำพันอยู่โดยประการต่างๆ
สัตว์ผู้จะต้องตายผู้เดียวเท่านั้นถูกมฤตยู นำไปเหมือนโคที่บุคคลจะพึงฆ่าถูกนำไปตัวเดียวฉะนั้น
ความตายและความแก่กำจัดสัตว์โลกอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ทราบชัดสภาพของโลกแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ท่านย่อมไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป ไม่เห็นที่สุดทั้งสองอย่าง ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์
ถ้าผู้คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่จะยังประโยชน์อะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ไซร้ บัณฑิตผู้เห็นแจ้งก็พึงกระทำความคร่ำครวญนั้น
บุคคลจะถึงความสงบใจได้ เพราะการร้องไห้ เพราะความเศร้าโศก ก็หาไม่........
.......ท่านจงดูสภาพแห่งโลกเถิด
มาณพแม้จะพึงเป็นอยู่ร้อยปีหรือยิ่งกว่านั้น ก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ต้องละทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้
เพราะเหตุนั้น บุคคลฟังพระธรรมเทศนาของพระอรหันต์แล้ว เห็นคนผู้ล่วงลับทำกาละแล้ว
กำหนดรู้อยู่ว่า บุคคลผู้ล่วงลับทำกาละแล้วนั้นmเราไม่พึงได้ว่า จงเป็นอยู่อีกเถิด
ดังนี้ พึงกำจัดความรำพันเสีย บุคคลพึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำ ฉันใด
นรชนผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เฉลียวฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสีย โดยฉับพลันเหมือนลมพัดนุ่นฉะนั้น
คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตน พึงกำจัดความรำพันความทะยานอยากและความโทมนัสของตน พึงถอนลูกศรคือกิเลสของตนเสีย
เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้วถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกเยือกเย็น ฉะนี้แล ฯ
----------------------------
สัลลสูตรที่ ๘
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๒๐๕ - ๙๒๕๕. หน้าที่ ๔๐๐ - ๔๐๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=9205&Z=9255&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=380
ชีวิตนี้เป็นของน้อย
สัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดแล้ว จะไม่ตายด้วยความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นไม่มีเลย แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ผลไม้สุกงอมแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัยเพราะจะต้องร่วงหล่นไปในเวลาเช้า ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัย เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยู มีมฤตยูเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด
เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกมฤตยูครอบงำแล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้
ท่านจงเห็น เหมือนเมื่อหมู่ญาติของสัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตาย กำลังแลดูรำพันอยู่โดยประการต่างๆ
สัตว์ผู้จะต้องตายผู้เดียวเท่านั้นถูกมฤตยู นำไปเหมือนโคที่บุคคลจะพึงฆ่าถูกนำไปตัวเดียวฉะนั้น
ความตายและความแก่กำจัดสัตว์โลกอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ทราบชัดสภาพของโลกแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ท่านย่อมไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป ไม่เห็นที่สุดทั้งสองอย่าง ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์
ถ้าผู้คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่จะยังประโยชน์อะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ไซร้ บัณฑิตผู้เห็นแจ้งก็พึงกระทำความคร่ำครวญนั้น
บุคคลจะถึงความสงบใจได้ เพราะการร้องไห้ เพราะความเศร้าโศก ก็หาไม่........
.......ท่านจงดูสภาพแห่งโลกเถิด
มาณพแม้จะพึงเป็นอยู่ร้อยปีหรือยิ่งกว่านั้น ก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ต้องละทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้
เพราะเหตุนั้น บุคคลฟังพระธรรมเทศนาของพระอรหันต์แล้ว เห็นคนผู้ล่วงลับทำกาละแล้ว
กำหนดรู้อยู่ว่า บุคคลผู้ล่วงลับทำกาละแล้วนั้นmเราไม่พึงได้ว่า จงเป็นอยู่อีกเถิด
ดังนี้ พึงกำจัดความรำพันเสีย บุคคลพึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำ ฉันใด
นรชนผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เฉลียวฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสีย โดยฉับพลันเหมือนลมพัดนุ่นฉะนั้น
คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตน พึงกำจัดความรำพันความทะยานอยากและความโทมนัสของตน พึงถอนลูกศรคือกิเลสของตนเสีย
เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้วถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกเยือกเย็น ฉะนี้แล ฯ
----------------------------
สัลลสูตรที่ ๘
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๒๐๕ - ๙๒๕๕. หน้าที่ ๔๐๐ - ๔๐๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=9205&Z=9255&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=380