วันนี้(7พ.ค.)ดร.บัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(กช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ของโรงเรียนเอกชนว่า ปัจจุบันต้องบอกว่ามีการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนทุกประเภทมากกว่ายุบเลิกหรือเลิกกิจการ โดยที่ผ่านมาจำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 3-5 หมื่นคน แต่ในช่วง 2-3 ปีมานี้อัตราการเพิ่มของจำนวนนักเรียนเอกชนลดลงเหลือเพียงปีละหมื่นกว่าคนเท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อัตราการเพิ่มของจำนวนนักเรียนลดลงนั้นไม่ใช่เพราะคนไม่นิยมเรียนโรงเรียนเอกชน แต่เป็นเพราะประชากรวัยเรียนลดลง เช่น เมื่อก่อนโรงเรียนเอกชนเคยมีเด็กแต่ละชั้นไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน แต่ปัจจุบันจะเหลือประมาณ 8 แสนคน ซึ่งสถานการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะโรงเรียนเอกชนเท่านั้น แม้แต่โรงเรียนของรัฐเองก็ประสบกับสถานการณ์นี้เช่นกัน
“ไม่เพียงแต่โรงเรียนเอกชนทุกประเภทที่อัตราการเพิ่มของนักเรียนลดลง วันนี้โรงเรียนกวดวิชาก็เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้สมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนกวดวิชา ได้มารายงานถึงสภาพปัญหาโรงเรียนกวดวิชาว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนกวดวิชาอยู่ทั่วประเทศกว่า 4,000 แห่ง ซึ่งผู้ปกครองก็ยังคงต้องการให้ลูกหลานเรียนกวดวิชาอยู่ โดยวิชาที่นิยมเรียนในสถาบันกวดวิชากันมาก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพราะจะเป็นพื้นฐานในการเรียนสาขาวิชาอื่น ๆ ต่อไป แต่จำนวนเด็กที่มาเรียนกวดวิชาก็ลดลงอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุสำคัญก็น่าจะเพราะจำนวนประชากรวัยเรียนลดลง ขณะเดียวกันปัจจุบันการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนก็เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ไม่เน้นการท่องจำ และเปิดโอกาสให้เด็กศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริมการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน จึงไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องไปเรียนกวดวิชา”เลขาธิการ กช.กล่าว
นายอนุสรณ์ ศิวะกุล นายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนกวดวิชา กล่าวว่า ขณะนี้เด็กที่มาเรียนในโรงเรียนกวดวิชามีจำนวนลดน้อยลง บางแห่งลดลงเกือบ 100% เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ต่ำลง และอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กมาเรียนกวดวิชาลดลง น่าจะเป็นไปตามธรรมชาติของธุรกิจกวดวิชามากกว่า เพราะทุกวันนี้โรงเรียนกวดวิชามีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยมีกลุ่มติวเตอร์หน้าใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กจบให้และได้รับเกียรตินิยม ผู้ปกครองจึงต้องการให้ลูกหลานได้เรียนแบบตัวต่อตัวกับติวเตอร์มากกว่า ขณะเดียวกันบางแห่งก็จัดโปรโมชั่นลด แลก แจกแถมมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่อยากให้มองว่าการเรียนกวดวิชาจะเป็นการสอนให้เด็กท่องจำอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด แต่การเรียนกวดวิชาเป็นการใช้รูปแบบการสอนที่ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจและแก้ปัญหาโจทย์ได้มากกว่า ทุกมิติการตลาดจึงถูกนำมาใช้กับโรงเรียนกวดวิชา
เดลินิวส์
เด็กวัยเรียนลดลง โรงเรียนกวดวิชากระเทือน
“ไม่เพียงแต่โรงเรียนเอกชนทุกประเภทที่อัตราการเพิ่มของนักเรียนลดลง วันนี้โรงเรียนกวดวิชาก็เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้สมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนกวดวิชา ได้มารายงานถึงสภาพปัญหาโรงเรียนกวดวิชาว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนกวดวิชาอยู่ทั่วประเทศกว่า 4,000 แห่ง ซึ่งผู้ปกครองก็ยังคงต้องการให้ลูกหลานเรียนกวดวิชาอยู่ โดยวิชาที่นิยมเรียนในสถาบันกวดวิชากันมาก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพราะจะเป็นพื้นฐานในการเรียนสาขาวิชาอื่น ๆ ต่อไป แต่จำนวนเด็กที่มาเรียนกวดวิชาก็ลดลงอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุสำคัญก็น่าจะเพราะจำนวนประชากรวัยเรียนลดลง ขณะเดียวกันปัจจุบันการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนก็เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ไม่เน้นการท่องจำ และเปิดโอกาสให้เด็กศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริมการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน จึงไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องไปเรียนกวดวิชา”เลขาธิการ กช.กล่าว
นายอนุสรณ์ ศิวะกุล นายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนกวดวิชา กล่าวว่า ขณะนี้เด็กที่มาเรียนในโรงเรียนกวดวิชามีจำนวนลดน้อยลง บางแห่งลดลงเกือบ 100% เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ต่ำลง และอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กมาเรียนกวดวิชาลดลง น่าจะเป็นไปตามธรรมชาติของธุรกิจกวดวิชามากกว่า เพราะทุกวันนี้โรงเรียนกวดวิชามีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยมีกลุ่มติวเตอร์หน้าใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กจบให้และได้รับเกียรตินิยม ผู้ปกครองจึงต้องการให้ลูกหลานได้เรียนแบบตัวต่อตัวกับติวเตอร์มากกว่า ขณะเดียวกันบางแห่งก็จัดโปรโมชั่นลด แลก แจกแถมมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่อยากให้มองว่าการเรียนกวดวิชาจะเป็นการสอนให้เด็กท่องจำอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด แต่การเรียนกวดวิชาเป็นการใช้รูปแบบการสอนที่ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจและแก้ปัญหาโจทย์ได้มากกว่า ทุกมิติการตลาดจึงถูกนำมาใช้กับโรงเรียนกวดวิชา
เดลินิวส์