http://www.peopleunitynews.com/web02/2014/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%95/
สำนักข่าวออนไลน์ พีเพิล ยูนิตี้ – หลังจากธนาคารออมสินเผชิญผลกระทบจากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง จนทำให้เกิดเหตุการณ์การแห่ถอนเงินฝากจากลูกค้าส่วนหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ในที่สุดด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของผู้บริหารและพนักงานที่นำโดย นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส ซึ่งทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รวมถึงการเสียสละของอดีตผู้อำนวยการธนาคาร นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ที่ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งทันทีเพื่อคลี่คลายเหตุการณ์ ส่งผลทำให้สถานการณ์ของธนาคารออมสินกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดธนาคารออมสินก็กลับมามีบทบาทช่วยเหลือเศรษฐกิจของบ้านเมืองและลูกค้าประชาชนอีกครั้งเหมือนที่เคยทำมา ด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อรายย่อยจนถึงระดับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และการเมือง โดยการลดเงินงวดผ่อนชำระเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. ถึงวันที่ 31 ก.ค.2557 ณ สาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้ และยังได้ออกมาตรการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวใน 6 จังหวัดภาคเหนืออีกด้วย
มาตรการดังกล่าวถือเป็นผลงานและฝีมือของ นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส ซึ่งทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสินอยู่ในขณะนี้ ที่นำธนาคารออมสินกลับมาอยู่ในใจของลูกค้าประชาชน และกลับมาเป็นธนาคารผู้นำในการมีส่วนร่วมแก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้ง ด้วยการออกมาตรการอย่างไม่รอช้าเพื่อช่วยเหลือลูกค้าประชาชนและธุรกิจ SMEs ที่เริ่มได้รับความเดือดร้อนจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังดิ่งเหวอันเป็นผลจากวิกฤตการเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นการเตรียมรับมือของธนาคารออมสินกับภาวะภาพรวมสินเชื่อรายย่อยและ SMEs ของประเทศที่กำลังมีสัญญาณไม่สู้ดี รวมทั้งมาตรการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว
มาตรการดังกล่าวถือเป็น “มาตรการปลอดการเมือง” เพราะเกิดจากการตัดสินใจของผู้บริหารธนาคารเองในภาวะที่ฝ่ายการเมืองกำลังสาละวนอยู่กับปัญหาการเมือง ซึ่งจากมาตรการเหล่านี้ทำให้ภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินสลัดหลุดพ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองและกลับมาเป็นธนาคารของประชาชนอย่างแท้จริง อันเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สุดของธนาคาร
โดยนายธัชพล ได้เปิดเผยรายละเอียดของมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อรายย่อยจนถึงระดับ SMEs ว่า จากการที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตในหลายๆด้าน ทั้งจากการชุมนุมทางการเมือง ภัยธรรมชาติ และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้ประจำมีรายได้ลดลงจนถึงถูกเลิกจ้าง ขณะที่กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ก็ค้าขายไม่ได้ตามปกติหรือไม่สามารถค้าขายได้ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs มีรายได้ลดลงจนถึงต้องเลิกกิจการ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ธนาคารออมสินจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้ ด้วยการปรับปรุงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินงวดประจำเดือน ด้วยการปรับลดจำนวนเงินงวดลงเป็นเวลานาน 6 เดือน ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ลูกค้าเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ณ สาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้อยู่
ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับกลุ่มลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ จะต้องเป็นลูกค้ากลุ่มสินเชื่อรายย่อย และกลุ่มสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ทั้งที่เป็นลูกหนี้ปกติและลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน) อาทิ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อธุรกิจห้องแถว สินเชื่อไทรทอง และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น (ยกเว้นสินเชื่อกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งธนาคารคาดว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 76,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 24,000 ล้านบาท
สำหรับยอดสินเชื่อคงเหลือทั้งหมดของธนาคาร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มีจำนวน 2.94 ล้านราย เป็นเงินกว่า 1.69 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ปกติจำนวน 2.7 ล้านราย เป็นเงิน 1.62 ล้านล้านบาท เป็นลูกหนี้ในกลุ่มที่จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) จำนวน 125,233 ราย เป็นเงิน 44,763 ล้านบาท และเป็นลูกหนี้ต่ำกว่ามาตรฐาน (NPLs) จำนวน 121,488 ราย เป็นเงิน 25,931 ล้านบาท
“ธนาคารออมสินหรือทุกสถาบันการเงิน ต่างไม่ต้องการให้คุณภาพสินเชื่อด้อยลง แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยหลายด้านรุมเร้าลูกค้ามากมาย ถ้าธนาคารสามารถช่วยเหลือได้ ก็ควรจะช่วยกันบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตได้อย่างผ่อนคลายไม่ตึงเครียดมากนัก ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อลูกค้าและโดยภาพรวมของระบบเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย” นายธัชพล กล่าว
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2557 ธนาคารออมสินได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มสินเชื่อหนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPLs (มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 180 วัน) โดยยังไม่ฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมาย แต่ใช้วิธีการเชิญลูกหนี้มาเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ตามความสามารถ โดยขยายเวลาผ่อนชำระหนี้หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราดอกเบี้ยผิดนัด 14% ต่อปี ให้เหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยปกติ และกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ ธนาคารยังผ่อนผันให้ตั้งพักดอกเบี้ยค้างไว้ แล้วนำมาเฉลี่ยจ่ายเมื่อลูกหนี้สามารถผ่อนชำระเงินได้ ซึ่งทำให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ไปได้แล้วกว่า 10,600 ราย คิดเป็นมูลหนี้กว่า 5,000 ล้านบาท
ส่วนเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือ ธนาคารออมสินได้ออกมาตรการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว 6 จังหวัดภาคเหนือ โดยพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปี พร้อมเปิดให้ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SMEs กู้ไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ย MLR – 2% ผ่อนชำระ 5 ปี ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ให้กู้ในวงเงิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย MLR – 2% ผ่อน 5 ปี ส่วนลูกค้าสินเชื่อเคหะ และประชาชนทั่วไป ยื่นกู้ฉุกเฉินหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย วงเงินสูงสุด 300,000 บาท ผ่อนชำระ 5 ปี ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ MLR – 2.375% อีกทั้งธนาคารยังได้ผ่อนปรนเงื่อนไขให้ลูกค้าเดิมสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ กู้ฉุกเฉินในวงเงิน 50,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน
โดย – พูลเดช กรรณิการ์
7 พฤษภาคม 2557
ข่าวด่วน // “ออมสิน” จัดเต็มมาตรการบรรเทาทุกข์ การเมือง-เศรษฐกิจ-แผ่นดินไหว
สำนักข่าวออนไลน์ พีเพิล ยูนิตี้ – หลังจากธนาคารออมสินเผชิญผลกระทบจากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง จนทำให้เกิดเหตุการณ์การแห่ถอนเงินฝากจากลูกค้าส่วนหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ในที่สุดด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของผู้บริหารและพนักงานที่นำโดย นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส ซึ่งทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รวมถึงการเสียสละของอดีตผู้อำนวยการธนาคาร นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ที่ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งทันทีเพื่อคลี่คลายเหตุการณ์ ส่งผลทำให้สถานการณ์ของธนาคารออมสินกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดธนาคารออมสินก็กลับมามีบทบาทช่วยเหลือเศรษฐกิจของบ้านเมืองและลูกค้าประชาชนอีกครั้งเหมือนที่เคยทำมา ด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อรายย่อยจนถึงระดับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และการเมือง โดยการลดเงินงวดผ่อนชำระเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. ถึงวันที่ 31 ก.ค.2557 ณ สาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้ และยังได้ออกมาตรการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวใน 6 จังหวัดภาคเหนืออีกด้วย
มาตรการดังกล่าวถือเป็นผลงานและฝีมือของ นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส ซึ่งทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสินอยู่ในขณะนี้ ที่นำธนาคารออมสินกลับมาอยู่ในใจของลูกค้าประชาชน และกลับมาเป็นธนาคารผู้นำในการมีส่วนร่วมแก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้ง ด้วยการออกมาตรการอย่างไม่รอช้าเพื่อช่วยเหลือลูกค้าประชาชนและธุรกิจ SMEs ที่เริ่มได้รับความเดือดร้อนจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังดิ่งเหวอันเป็นผลจากวิกฤตการเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นการเตรียมรับมือของธนาคารออมสินกับภาวะภาพรวมสินเชื่อรายย่อยและ SMEs ของประเทศที่กำลังมีสัญญาณไม่สู้ดี รวมทั้งมาตรการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว
มาตรการดังกล่าวถือเป็น “มาตรการปลอดการเมือง” เพราะเกิดจากการตัดสินใจของผู้บริหารธนาคารเองในภาวะที่ฝ่ายการเมืองกำลังสาละวนอยู่กับปัญหาการเมือง ซึ่งจากมาตรการเหล่านี้ทำให้ภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินสลัดหลุดพ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองและกลับมาเป็นธนาคารของประชาชนอย่างแท้จริง อันเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สุดของธนาคาร
โดยนายธัชพล ได้เปิดเผยรายละเอียดของมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อรายย่อยจนถึงระดับ SMEs ว่า จากการที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตในหลายๆด้าน ทั้งจากการชุมนุมทางการเมือง ภัยธรรมชาติ และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้ประจำมีรายได้ลดลงจนถึงถูกเลิกจ้าง ขณะที่กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ก็ค้าขายไม่ได้ตามปกติหรือไม่สามารถค้าขายได้ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs มีรายได้ลดลงจนถึงต้องเลิกกิจการ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ธนาคารออมสินจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้ ด้วยการปรับปรุงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินงวดประจำเดือน ด้วยการปรับลดจำนวนเงินงวดลงเป็นเวลานาน 6 เดือน ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ลูกค้าเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ณ สาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้อยู่
ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับกลุ่มลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ จะต้องเป็นลูกค้ากลุ่มสินเชื่อรายย่อย และกลุ่มสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ทั้งที่เป็นลูกหนี้ปกติและลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน) อาทิ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อธุรกิจห้องแถว สินเชื่อไทรทอง และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น (ยกเว้นสินเชื่อกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งธนาคารคาดว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 76,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 24,000 ล้านบาท
สำหรับยอดสินเชื่อคงเหลือทั้งหมดของธนาคาร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มีจำนวน 2.94 ล้านราย เป็นเงินกว่า 1.69 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ปกติจำนวน 2.7 ล้านราย เป็นเงิน 1.62 ล้านล้านบาท เป็นลูกหนี้ในกลุ่มที่จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) จำนวน 125,233 ราย เป็นเงิน 44,763 ล้านบาท และเป็นลูกหนี้ต่ำกว่ามาตรฐาน (NPLs) จำนวน 121,488 ราย เป็นเงิน 25,931 ล้านบาท
“ธนาคารออมสินหรือทุกสถาบันการเงิน ต่างไม่ต้องการให้คุณภาพสินเชื่อด้อยลง แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยหลายด้านรุมเร้าลูกค้ามากมาย ถ้าธนาคารสามารถช่วยเหลือได้ ก็ควรจะช่วยกันบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตได้อย่างผ่อนคลายไม่ตึงเครียดมากนัก ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อลูกค้าและโดยภาพรวมของระบบเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย” นายธัชพล กล่าว
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2557 ธนาคารออมสินได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มสินเชื่อหนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPLs (มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 180 วัน) โดยยังไม่ฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมาย แต่ใช้วิธีการเชิญลูกหนี้มาเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ตามความสามารถ โดยขยายเวลาผ่อนชำระหนี้หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราดอกเบี้ยผิดนัด 14% ต่อปี ให้เหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยปกติ และกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ ธนาคารยังผ่อนผันให้ตั้งพักดอกเบี้ยค้างไว้ แล้วนำมาเฉลี่ยจ่ายเมื่อลูกหนี้สามารถผ่อนชำระเงินได้ ซึ่งทำให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ไปได้แล้วกว่า 10,600 ราย คิดเป็นมูลหนี้กว่า 5,000 ล้านบาท
ส่วนเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือ ธนาคารออมสินได้ออกมาตรการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว 6 จังหวัดภาคเหนือ โดยพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปี พร้อมเปิดให้ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SMEs กู้ไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ย MLR – 2% ผ่อนชำระ 5 ปี ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ให้กู้ในวงเงิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย MLR – 2% ผ่อน 5 ปี ส่วนลูกค้าสินเชื่อเคหะ และประชาชนทั่วไป ยื่นกู้ฉุกเฉินหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย วงเงินสูงสุด 300,000 บาท ผ่อนชำระ 5 ปี ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ MLR – 2.375% อีกทั้งธนาคารยังได้ผ่อนปรนเงื่อนไขให้ลูกค้าเดิมสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ กู้ฉุกเฉินในวงเงิน 50,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน
โดย – พูลเดช กรรณิการ์
7 พฤษภาคม 2557