สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
คิดว่าน่าจะเป็นลักษณะนิสัยส่วนตัวของครูสมัยก่อนมากค่ะ นึกถึงเวลาเราดูหนังดูละคร ที่คุณพ่อ คุณตาสมัยก่อนดุๆ นั่งบนเตียงใส่เสื้อสีขาวมีหมอนสามเหลี่ยมถือไม้ตะพด อะไรทำนองนั้น ส่วนครู ก็จะถ่ายทอดเคล็ดลับวิชา เพราะวิชานาฎศิลป์ ต้องเอาไว้ใช้หากินต่อ แถมยังยากมากในการเรียน การดัดมือ ดัดตัว แถมคนสมัยนั้นก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร การมาฝากเรียนกับครู ก็เหมือนพ่อเหมือนแม่คนหนึ่ง ที่จะดุด่าตีลูกยังไงก็ได้ เพียงเพราะหวังว่าลูกจะเก่งได้
อีกประเด็นหนึ่งที่คิดคือ คนสมัยก่อนหวงวิชา เนื่องจาก วิชาแต่ละวิชามีสูตรไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนาฎศิลป์หรือศาสตร์ประเภทใหน กันการลอกสูตรกันเพราะนั่นหมายถึงว่าจะเกิดหรือดับ พอตายไป ความผูกพันกับวิชาที่ไม่อยากให้ใครเอาไปใช้ผิดๆก็ผูกมัดตัว ทำให้ไม่ไปผุดไปเกิด จนเหล่าลูกศิษย์ ต้องทำพิธีไหว้ครูขอขมา จึงจะเอาวิชาที่เรียนมาไปใช้ต่อได้
สรุปความคิดเรานะ
ครูนาฏศิลป์สมัยก่อนจะค่อนข้างดุ และมีอำนาจเด็ดขาดในการดูแลสมาชิกในวง
ระบบยศฐาบรรดาศักดิ์ ศิษย์จะตีตัวเสมอครูไม่ได้ ต้องให้ความเคารพ
ลิขสิทธ์และเคล็ดลับไม่มีในประเทศ อะไรที่สืบทอดกันมาหรือแตกต่างจากคนอื่น ต้องกันไว้ให้คนในตระกูลเป็นคนสืบทอด อย่าให้ตกในมือคนอื่น
จากความเขี้ยว ดุ ตีเจ็บ รักและหวงแหนในวิชาของตนจึงเกิดความผูกพัน พอตายไปหากไม่มีคนสืบทอดก็เป็นบ่วงผูกมัดอยู่กับวิชา ทำให้รู้สึกว่า มันมีอาถรรพ์
ส่วนเครื่องประดับและหัวโขน หรืออุปกรณ์ศิลป์ๆทั้งหลายที่มีความละเอียดบรรจง คนทำก็ต้องมีคนสอน และคนสอนกว่าจะสอนคนทำให้เป็น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเคี่ยวเข็ญแล้วเข็ญอีก กว่าจะได้งานศิลป์ชั้นสูงสักชิ้น และอีกอย่าง คนไทยถือหัวคือของสูง หัวโขนก็สวมบนหัว เลยต้องมีการเคารพ โดยการไม่ใช้เท้าเขี่ย หรือโยน จริงๆเพราะมันจะแตกและพัง กว่าจะได้แต่ละชิ้น ยาก
ส่วนพิธีบูชาครูในงานต่างๆ จริงๆก็งานไหว้ครูนั่นแหละ แต่ครูปัจจุบัน ก็มีครูสอนครูปัจจุบันมาอีกกี่รุ่นต่อกี่รุ่นก่อนหน้า ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่นับถือกันในงานก็เป็นความเชื่อของคนไทย ว่าจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข การแสดงราบลื่น
สรุปสุดท้ายสั้นๆ กุสโลบายของครูดนตรีที่ต้องมีพิธีนั่นนู่นนี่หรืออะไรก็ตามก็แค่อยากจะบอกลูกศิษย์ว่า "อย่าลืมตัว ว่ามาจากใหน"
อีกประเด็นหนึ่งที่คิดคือ คนสมัยก่อนหวงวิชา เนื่องจาก วิชาแต่ละวิชามีสูตรไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนาฎศิลป์หรือศาสตร์ประเภทใหน กันการลอกสูตรกันเพราะนั่นหมายถึงว่าจะเกิดหรือดับ พอตายไป ความผูกพันกับวิชาที่ไม่อยากให้ใครเอาไปใช้ผิดๆก็ผูกมัดตัว ทำให้ไม่ไปผุดไปเกิด จนเหล่าลูกศิษย์ ต้องทำพิธีไหว้ครูขอขมา จึงจะเอาวิชาที่เรียนมาไปใช้ต่อได้
สรุปความคิดเรานะ
ครูนาฏศิลป์สมัยก่อนจะค่อนข้างดุ และมีอำนาจเด็ดขาดในการดูแลสมาชิกในวง
ระบบยศฐาบรรดาศักดิ์ ศิษย์จะตีตัวเสมอครูไม่ได้ ต้องให้ความเคารพ
ลิขสิทธ์และเคล็ดลับไม่มีในประเทศ อะไรที่สืบทอดกันมาหรือแตกต่างจากคนอื่น ต้องกันไว้ให้คนในตระกูลเป็นคนสืบทอด อย่าให้ตกในมือคนอื่น
จากความเขี้ยว ดุ ตีเจ็บ รักและหวงแหนในวิชาของตนจึงเกิดความผูกพัน พอตายไปหากไม่มีคนสืบทอดก็เป็นบ่วงผูกมัดอยู่กับวิชา ทำให้รู้สึกว่า มันมีอาถรรพ์
ส่วนเครื่องประดับและหัวโขน หรืออุปกรณ์ศิลป์ๆทั้งหลายที่มีความละเอียดบรรจง คนทำก็ต้องมีคนสอน และคนสอนกว่าจะสอนคนทำให้เป็น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเคี่ยวเข็ญแล้วเข็ญอีก กว่าจะได้งานศิลป์ชั้นสูงสักชิ้น และอีกอย่าง คนไทยถือหัวคือของสูง หัวโขนก็สวมบนหัว เลยต้องมีการเคารพ โดยการไม่ใช้เท้าเขี่ย หรือโยน จริงๆเพราะมันจะแตกและพัง กว่าจะได้แต่ละชิ้น ยาก
ส่วนพิธีบูชาครูในงานต่างๆ จริงๆก็งานไหว้ครูนั่นแหละ แต่ครูปัจจุบัน ก็มีครูสอนครูปัจจุบันมาอีกกี่รุ่นต่อกี่รุ่นก่อนหน้า ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่นับถือกันในงานก็เป็นความเชื่อของคนไทย ว่าจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข การแสดงราบลื่น
สรุปสุดท้ายสั้นๆ กุสโลบายของครูดนตรีที่ต้องมีพิธีนั่นนู่นนี่หรืออะไรก็ตามก็แค่อยากจะบอกลูกศิษย์ว่า "อย่าลืมตัว ว่ามาจากใหน"
แสดงความคิดเห็น
ทำไมครูเกี่ยวกับดนตรีหรือนาฏศิลป์ไทยจึงค่อนข้างแรงมาก
อยากทราบครับว่า ทำไมครูหรือปูชณียบุคคลเกี่ยวกับดนตรีหรือนาฏศิลป์ไทย จึงมีพลังอำนาจ หรือที่เรียกว่า "แรง" มาก ชนิดที่ว่าหากใครประพฤติดี ปฏิบัติชอบกับท่าน แล้วก็จะได้รับแต่สิ่งดีๆ แต่ถ้าทำไม่ดีท่านก็จะแสดงหรือทำให้แทบจะไม่กล้าทำอีกเลย
ไม่ได้เคยเจอด้วยตัวเองหรอกครับ แต่ฟังจากหลายๆคน ใน the shock ก็มี โดยเฉพาะเรื่องที่ชื่อว่า "บ้านโขน" นี่น่ากลัวมากๆ อาจเป็นเพราะโขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง แทบจะเรียกได้ว่า ที่สุดของวิชานาฏศิลป์ไทยแล้ว ครูจึงค่อนข้างแรงมาก
อยากทราบว่า ใครเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างครับ ลองมาแชร์กัน
แล้วอยากทราบอีกว่า เครื่องดนตรีไทยที่ทำขึ้นใหม่นี่ ก็ถือว่ามีครูแล้วใช่ไหมครับ หรือต้องผ่านพิธีอะไรก่อน (ไม่ทราบจริงๆ)
จขกท. แปลกอย่างหนึ่งคือ จขกท.ไม่ชอบพิธีกรรมอะไรมากมาย ทำให้เรียนอะไรพวกนี้ ดนตรี นาฏศิลป์ไทย ไม่ได้เลย ทั้งๆที่จริงๆแล้วชอบมาก (ชอบเพลงไทยเดิมและเพลงลูกกรุงด้วย) อาจเป็นเพราะกลัวด้วย เช่นนี้จะเป็นอะไรหรือไม่ครับ