ถ้าไม่มีการยกเลิกทาสสมัย รัชกาลที่ 5 และยังใช้ระบบทาสจนถึงปัจจุบันนี้ พวกเราจะเป็นทาสมั้ย

ทุกคนมาจากต้นตระกูลไหนกันบ้าง บรรพบุรุษได้เป็นทาสมั้ย ปู่ย่าตาทวดได้เล่าให้ฟังหรือเปล่า
หรือเป็นทาสเฉพาะในส่วนพระนคร แต่รอบๆเช่นเหนือ ใต้ ออก ตก อิสาน อยุธยา(หลังเสียกรุงครั้งที่ 2) ในสมัยนั้นเป็นอะไร
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 49
ขอบคุณเจ้าของกระทู้นะคะ มีตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ทำให้รู้สึกถึงบรรยากาศห้องเฉลิมไทย สมัยก่อน ที่อ่านกระทู้ต่างๆ ก็จะได้ความรู้เพิ่มเติมจากผู้รู้ในด้านนั้นๆ

ชอบบรรยากาศแบบนั้นมากๆ ค่ะ และในกระทู้นี้ก็ทำให้เราได้รับความรู้จากการดูละคร

ทำให้รู้สึกว่า ห้องเฉลิมไทย แบบเดิมๆ มันกลับมาแล้ว (แต่มาแค่ไม่กี่กระทู้เอง T_T  ส่วนใหญ่มีแต่ พระ-นางไม่โอเค ไม่มีเคมี อยากให้เปลี่ยนเป็นคนโน้นคนนี้ แฟนคลับแต่ละช่องตีกัน ประชดกันไป-มา)

ขอโทษด้วยนะคะ ที่ไม่ได้เข้ามาตอบกระทู้ ... แต่เข้ามากอบโกยความรู้ และความน่ารักของผู้มาตอบกระทู้ไปค่ะ ยิ้ม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
แน่นอนว่าระบบทาสนั่นยังไงก็ต้องเลิกเพราะถือเป็นระบบที่ล้าสมัยของโลก ทุกประเทศเลิกได้แต่ต้องเสียเลือดเนื้อจำนวนมาก ที่เสด็จพ่อร.5 ทรงสำเร็จคือ การเลิกทาส "โดยไม่เสียเลือดเนื้อ" ต่างหาก
ความคิดเห็นที่ 6
ทุกวันนี้ที่ยอมให้พรรคพ. หรือพรรคป.. จูงจมูก

ยอมให้ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นได้เป็นนักการเมือง แล้วให้เค้าโกงกิน

เห็นใครมีเงินก็ชอบพูด "เอาเงินมาแบ่งให้ใช้มั่งสิ" (จะพูดจริงมั้ยก็ช่างนะ)

มีใครเก่งมีความสามารถ แทนที่จะยอมรับให้คนแบบนั้นมาบริหารบ้านเมือง
กลับชอบบอกกันว่า "เสียดาย ไม่มีบารมี" (เอ่อ แล้วถ้าเอ็งเลือกเค้าเข้าไป แล้วเค้าไม่ถือว่าได้อำนาจบริหารจาเอ็งเรอะ?)

สังคมแบบนี้ คิดว่าคนเหล่านี้เป็นไทจริงๆ เหรอครับ

บางที แค่ถูกเลิกทาสมันไม่พอนะ มันต้องคิดเป็นด้วย
ไม่งั้นก็เป็นได้แค่ ควายอิสระ
ความคิดเห็นที่ 21
เมื่อก่อนสังคมไทยมี 4 ชนชั้น เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส

ลูกทาส คือ เด็กขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาส พวกนี้จะไม่สามารถไถ่ตัวเองให้พ้นจากความเป็นทาสได้
อันนี้น่าเศร้าที่สุด เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชนชั้นได้เลยตั้งแต่เกิดจนตาย
ดีใจที่ประเทศไทยเลิกทาสโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป
ด้วยพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 5

ปล. ถ้ายังไม่เลิกระบบชนชั้น เราคงเป็นไพร่

เพิ่มเติม วิธีการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5
ที่มา http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2734-00/

          1.  การเลิกทาส
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินประชุมปรึกษาเพื่อปลดปล่อยทาส  
และมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  ดังนี้
                    21 สิงหาคม พ.ศ. 2417  ออกประกาศ  "พระราชบัญญัติพิกัดอายุลูกทาสลูกไท"  กำหนดค่าตัวลูกทาสที่เกิดในปีมะโรง  
พ.ศ. 2411  อันเป็นปีที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติให้มีค่าตัวลดลงเรื่อย ๆ และหมดไปเมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 21
                    8  ตุลาคม  พ.ศ.  2417  ออก  "ประกาศลูกทาส"  เพื่อให้เจ้าเบี้ยนายเงินสำรวจลูกทาสในสังกัดเพื่อจะได้กำหนดค่าตัวได้ถูกต้อง
                    18 ตุลาคม  พ.ศ.  2417  ประกาศ  "พระราชบัญญัติเกษียณอายุลูกทาสลูกไท"  เพื่อให้มิราษฏรทั่วไปวิตกว่าจะไม่มีทาสไว้ใช้สอย
                    1  เมษายน  พ.ศ.  2448  ประกาศใช้  "พระราชบัญญัติทาษรัตนโกสินทร์ศก 124"  กำหนดให้ลูกทาสทุกคนเป็นอิสระ
และห้ามการซื้อขายทาสอีก  เป็นผลให้ทาสหมดไปจากสังคมไทย

          2.  การเลิกไพร่
          ในสมัยรัชกาลที่ 5  ระบบไพร่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบ้านเมือง  เพราะไพร่ต้องสังกัดมูลนายจึงย้ายที่อยู่ไม่ได้  
เป็นการขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในสังกัด  เกิดปัญหาเรื่องการควบคุมกำลังคน  
เพราะทางการไม่สามารถควบคุมกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น  พระองค์จึงทรงดำเนินงานหลายขั้นตอนเพื่อเลิกระบบไพร่
โดยวิธีให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานดังนี้
                    3  มกราคม  พ.ศ.  2443  ออก  "พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์จ้าง"  กำหนดว่าตั้งแต่นี้ไป  
การเกณฑ์ราษฎรตลอดจนพาหนะเพื่อช่วยงานราชการให้ค่าจ้างตามสมควร  ถ้าผู้ถูกเกณฑ์ต้องเสียส่วยหรือเงินค่าราชการให้ลดเงินได้
                    ใน พ.ศ.  2444  ออกพระราชบัญญัติห้ามการเกณฑ์แรงงานไพร่และพระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญ  
พระราชบำเหน็จบำนาญแก่ข้าราชการแทนการพระราชทานไพร่สมให้  เป็นการสิ้นสุดการมีไพร่สมของมูลนาย
                    พ.ศ.  2448  ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124  ให้ชายฉกรรจ์อายุครบ 18 ปี  
เข้ารับราชการทหารประจำการ 2 ปี  แล้วปลดเป็นกองหนุน
          การยกเลิกระบบไพร่ทำให้ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ  การศึกษาเล่าเรียน  และเกิดระบบทหารอาชีพ  
หน้าที่ของชายไทยต่อประเทศมีจำนวนแน่นอนเพียง 2 ปีในเวลาปกติ  สามารถเลือกประกอบอาชีพและเลือกที่อยู่อาศัยได้ตามใจชอบ  
และสามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามความต้องการของการขยายการค้าระหว่างประเทศ  
จะเห็นได้ว่าการเลิกระบบไพร่มีความสำคัญยิ่งกว่าการเลิกระบบทาส  เพราะเป็นการปลดปล่อยราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศให้มีอิสระอย่างแท้จริง

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ศิริพร ดาบเพชร  คมคาย มากบัว และประจักษ์ แป๊ะสกุล.ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ความคิดเห็นที่ 14
คนสมัยนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นทาสนะครับ ส่วนมากจะอยู่ในสถานะ "ไพร่" มากกว่า

ความแตกต่างระหว่าง "ไพร่" กับ "ทาส" ชัดเจนครับ "ไพร่" แม้จะต้องรับใช้เจ้านายขุนนางตามหน้าที่ แต่ก็ยังเป็นอิสระแก่ตัวเองอยู่ สามารถเลือกนายเลือกกรมกองได้ เมื่อว่างเว้นจากการเข้ากรมกองก็จะมีเวลาทำมาหากินเป็นของตัวเอง (หรือถ้าใครมีทางหาเงินหรือหาสิ่งของที่รัฐต้องการได้ ก็สามารถจ่ายเงินหรือสิ่งของแทนการเข้ากรมกองได้) สามารถมีทรัพย์สมบัติส่วนตัวได้ ฯลฯ

ส่วน "ทาส" เป็นเหมือนทรัพย์สินอย่างหนึ่งของเจ้านาย ไม่มีอิสระ นายทาสจะลงโทษเฆี่ยนตีอย่างไรก็ได้ ซื้อขายหรือยกให้ใครก็ได้ ไม่มีสิทธิต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น

ถ้าสมมติว่ายังไม่มีการเลิกทาสโดยที่เงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเดิมทั้งหมด คนส่วนใหญ่ในประเทศก็จะยังคงอยู่ในสถานะ "ไพร่" แหละครับ แต่ไม่แน่ว่าพอมาถึงยุคนี้อาจจะมีไพร่ที่ต้องขายตัวกลายเป็น "ทาส" กันมากกว่าเดิมก็เป็นได้ (เพราะอะไรก็พอจะเห็นกันอยู่)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่