ถอดรหัสยิ้ม'นายกฯยิ่งลักษณ์'
ถอดรหัสยิ้ม'นายกฯยิ่งลักษณ์' : ขยายปมร้อน โดยสมถวิล เทพสวัสดิ์ @Somthawin_kcl

พอคาดเดาได้จากอาการส่งยิ้มให้ผู้สื่อข่าวของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ก่อนรีบก้าวเท้าขึ้นรถยนต์ออกจากกองบัญชาการกองทัพอากาศ เมื่อถูกซักถามจะไปรับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองหรือไม่ กรณี "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" (ป.ป.ช.) เรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้
และหากดูจากกำหนดการเดินทางออกจากกรุงเทพฯ เช้าวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อไปตรวจราชการที่ จ.เชียงรายและเชียงใหม่ โดยจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ถือเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี
หากในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ไม่ไปรับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองก็สามารถส่ง "ตัวแทน" ไปรับทราบข้อกล่าวหาแทนได้
หรือถ้าไม่ส่งตัวแทนทาง "ป.ป.ช." สามารถส่งจดหมายลงทะเบียนส่งไปที่บ้านพักของ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" หากมีการเซ็นรับเอกสารลงทะเบียนทางไปรษณีย์ก็ถือว่าเข้าสู่กระบวนการรับทราบข้อกล่าวหา
สำหรับข้อกล่าวหากรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและระบายข้าว จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมืองการชี้ขาดจะขึ้นอยู่กับวุฒิสภา และ 2.การดำเนินคดีทางอาญาขึ้นอยู่กับอัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
การเรียกให้ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ เป็นกระบวนการของการถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อส่งต่อให้วุฒิสภาดำเนินการ โดยขั้นตอนการรับทราบข้อกล่าวหา "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" มีเวลา 15 วัน นับจากวันที่ ป.ป.ช.ออกหนังสือเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา
การเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา เพื่อจะได้ทราบประเด็นข้อสงสัยที่ ป.ป.ช.อยากให้ชี้แจง หากไม่มาถือว่าสละสิทธิ์ ทาง ป.ป.ช.ก็จะดำเนินการต่อตามเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อเข้าสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270
ระยะเวลาของ "การถอดถอนตำแหน่งทางการเมือง" จะรวดเร็วกว่าการดำเนินคดีทางอาญา เพราะมีหลักฐานเพียงแค่ "ส่อว่า" ทางป.ป.ช.ก็สามารถชี้มูลได้
ดูจากหลักฐานที่ ป.ป.ช.นำมาใช้ประกอบการพิจารณาคดีกล่าวหาและเรียกให้ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" มารับทราบก็พอเดาได้ "ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการ"
การที่ "ยิ่งลักษณ์" ซึ่งมีตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) หลังจาก ป.ป.ช.ทำหนังสือทักท้วงถึง 2 ครั้งแต่นายกรัฐมนตรีกลับไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการ กลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อ และโครงการดังกล่าวยังถูกนำไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร และยังได้รับรายงานเรื่องผลของการดำเนินโครงการจากประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกว่าเสียหายถึงสองแสนล้านบาท แถมยังมีชาวนาที่ร่วมโครงการไม่ได้รับเงินจำนวนมาก ตามด้วยมีหนังสือจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ทบทวนและยุติโครงการดังกล่าวแต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็ยังเพิกเฉย
จากเอกสารหลักฐานในมือของ ป.ป.ช.หาก "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" สละสิทธิ์ไม่เข้าชี้แจงมีสิทธิถูกกล่าวหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270
ดังนั้นหาก "ป.ป.ช." สอบสวนแล้วพบว่า มีมูลความผิดจริงก็จะส่งเรื่องไปให้วุฒิสภาพิจารณาระหว่างนั้น "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ
โดยกระบวนการของ "วุฒิสภา" จะเรียกประชุมนัดแรกภายใน 20 วันนับจากวันที่รับเรื่องจากป.ป.ช. จะกำหนดวันเปิดคดีเพื่อนัดไต่สวน และจะดูว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มข้อมูลและหลักฐานหรือไม่ จากนั้นจะเรียกประชุมนัดที่สองเพื่อเข้าสู่กระบวนการไต่สวนพยานผู้กล่าวหา และไต่สวนพยานผู้ถูกกล่าวหา โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 45 วัน
เมื่อแล้วเสร็จจะนัดลงมติเพื่อถอดถอนหากวุฒิสภามีมติเสียง 3 ใน 5 ของจำนวน ส.ว.เท่าที่มีอยู่ให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที และถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีด้วย
ดังนั้น ข้อถกเถียงเรื่อง "นั่งรักษาการ" ในตำแหน่งทางการเมืองหากถูกถอดถอนแม้จะไม่มีผลต่อตำแหน่ง แต่จะมีผลต่อการถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ส่วนการดำเนินคดีอาญาก็ยังเดินหน้าต่อไป
คัดลอกจาก..
http://www.komchadluek.net/detail/20140226/179746.html#.Uw1S-OOtKQk
ถอดรหัสยิ้ม'นายกฯยิ่งลักษณ์'
ถอดรหัสยิ้ม'นายกฯยิ่งลักษณ์' : ขยายปมร้อน โดยสมถวิล เทพสวัสดิ์ @Somthawin_kcl
พอคาดเดาได้จากอาการส่งยิ้มให้ผู้สื่อข่าวของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ก่อนรีบก้าวเท้าขึ้นรถยนต์ออกจากกองบัญชาการกองทัพอากาศ เมื่อถูกซักถามจะไปรับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองหรือไม่ กรณี "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" (ป.ป.ช.) เรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้
และหากดูจากกำหนดการเดินทางออกจากกรุงเทพฯ เช้าวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อไปตรวจราชการที่ จ.เชียงรายและเชียงใหม่ โดยจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ถือเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี
หากในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ไม่ไปรับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองก็สามารถส่ง "ตัวแทน" ไปรับทราบข้อกล่าวหาแทนได้
หรือถ้าไม่ส่งตัวแทนทาง "ป.ป.ช." สามารถส่งจดหมายลงทะเบียนส่งไปที่บ้านพักของ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" หากมีการเซ็นรับเอกสารลงทะเบียนทางไปรษณีย์ก็ถือว่าเข้าสู่กระบวนการรับทราบข้อกล่าวหา
สำหรับข้อกล่าวหากรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและระบายข้าว จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมืองการชี้ขาดจะขึ้นอยู่กับวุฒิสภา และ 2.การดำเนินคดีทางอาญาขึ้นอยู่กับอัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
การเรียกให้ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ เป็นกระบวนการของการถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อส่งต่อให้วุฒิสภาดำเนินการ โดยขั้นตอนการรับทราบข้อกล่าวหา "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" มีเวลา 15 วัน นับจากวันที่ ป.ป.ช.ออกหนังสือเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา
การเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา เพื่อจะได้ทราบประเด็นข้อสงสัยที่ ป.ป.ช.อยากให้ชี้แจง หากไม่มาถือว่าสละสิทธิ์ ทาง ป.ป.ช.ก็จะดำเนินการต่อตามเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อเข้าสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270
ระยะเวลาของ "การถอดถอนตำแหน่งทางการเมือง" จะรวดเร็วกว่าการดำเนินคดีทางอาญา เพราะมีหลักฐานเพียงแค่ "ส่อว่า" ทางป.ป.ช.ก็สามารถชี้มูลได้
ดูจากหลักฐานที่ ป.ป.ช.นำมาใช้ประกอบการพิจารณาคดีกล่าวหาและเรียกให้ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" มารับทราบก็พอเดาได้ "ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการ"
การที่ "ยิ่งลักษณ์" ซึ่งมีตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) หลังจาก ป.ป.ช.ทำหนังสือทักท้วงถึง 2 ครั้งแต่นายกรัฐมนตรีกลับไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการ กลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อ และโครงการดังกล่าวยังถูกนำไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร และยังได้รับรายงานเรื่องผลของการดำเนินโครงการจากประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกว่าเสียหายถึงสองแสนล้านบาท แถมยังมีชาวนาที่ร่วมโครงการไม่ได้รับเงินจำนวนมาก ตามด้วยมีหนังสือจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ทบทวนและยุติโครงการดังกล่าวแต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็ยังเพิกเฉย
จากเอกสารหลักฐานในมือของ ป.ป.ช.หาก "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" สละสิทธิ์ไม่เข้าชี้แจงมีสิทธิถูกกล่าวหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270
ดังนั้นหาก "ป.ป.ช." สอบสวนแล้วพบว่า มีมูลความผิดจริงก็จะส่งเรื่องไปให้วุฒิสภาพิจารณาระหว่างนั้น "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ
โดยกระบวนการของ "วุฒิสภา" จะเรียกประชุมนัดแรกภายใน 20 วันนับจากวันที่รับเรื่องจากป.ป.ช. จะกำหนดวันเปิดคดีเพื่อนัดไต่สวน และจะดูว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มข้อมูลและหลักฐานหรือไม่ จากนั้นจะเรียกประชุมนัดที่สองเพื่อเข้าสู่กระบวนการไต่สวนพยานผู้กล่าวหา และไต่สวนพยานผู้ถูกกล่าวหา โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 45 วัน
เมื่อแล้วเสร็จจะนัดลงมติเพื่อถอดถอนหากวุฒิสภามีมติเสียง 3 ใน 5 ของจำนวน ส.ว.เท่าที่มีอยู่ให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที และถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีด้วย
ดังนั้น ข้อถกเถียงเรื่อง "นั่งรักษาการ" ในตำแหน่งทางการเมืองหากถูกถอดถอนแม้จะไม่มีผลต่อตำแหน่ง แต่จะมีผลต่อการถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ส่วนการดำเนินคดีอาญาก็ยังเดินหน้าต่อไป
คัดลอกจาก.. http://www.komchadluek.net/detail/20140226/179746.html#.Uw1S-OOtKQk