ไทยตกต่ำรั้งอันดับการคอร์รัปชั่นอันดับที่ 102 ของโลก คอร์รัปชันหนัก ประจำปี 2556

กระทู้สนทนา


จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่อันดับที่ 102 (เดิมอันดับที่ 88) จากการจัดอันดับทั้งหมด 177 ประเทศทั่วโลก เท่ากับประเทศเอกวาดอร์ มอลโดวา และปานามา และอยู่อันดับที่ 16 จาก 28 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผลคะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปีนี้ ปรากฏว่า ร้อยละ 70 ของจำนวนประเทศที่นำมาจัดอันดับ สอบตกหรือมีคะแนนต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง มีเพียง 54 ประเทศเท่านั้น ที่สอบผ่าน หรือได้คะแนนเกิน 50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยประเทศเดนมาร์ก และนิวซีแลนด์ สามารถครองแชมป์อันดับหนึ่ง (91 คะแนนจาก 100 คะแนน)

ส่วนอันดับสุดท้ายที่ได้คะแนนต่ำที่สุด ได้แก่ อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ และโซมาเลีย (8 คะแนนจาก 100 คะแนน) และประเทศซีเรีย เป็นประเทศที่มีคะแนนลดลงจากปีที่แล้วอย่างมาก ส่วนในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ได้คะแนนเกินครึ่ง ได้แก่ สิงคโปร์ (86 คะแนน) บรูไน (60 คะแนน) และมาเลเซีย (50 คะแนน) ส่วนประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยยังคงมีคะแนนต่ำกว่าครึ่ง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศลาว และประเทศพม่า แม้จะมีคะแนนค่อนข้างต่ำ แต่ก็ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด

ขณะที่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 หนึ่งในหลายๆ นโยบายนั้น มีเรื่องของการปราบปรามคอร์รัปชันด้วย แต่ปรากฏว่า ดัชนีคอร์รัปชันโลกปี 2555 ประเทศไทยได้ 37 คะแนน จาก 100 คะแนน และล่าสุด ปี 2556 ได้ 35 คะแนน 2 ปีของการเข้ามาบริหารประเทศ คะแนนยังได้ไม่ถึงครึ่ง

CPI (Corruption Perceptions Index) คือ ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและมีเครือข่ายใน 120 ประเทศทั่วโลก และได้จัดทำดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ พ.ศ. 2538

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่