สภาประชาชน กับ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความคล้ายคลึงหรือไม่ ?

กระทู้สนทนา

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ประวัติการก่อตั้ง
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 89 โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและแผนอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติก่อนจะพิจารณาประกาศใช้ ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรมและโปร่งใสเป็นสำคัญ
ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 ท่าน ที่เป็นตัวแทนบุคคลจากกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ อาทิ กลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน สถาบันสันติศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย สภาทนายความ นักกฎหมายมหาชน กลุ่มผู้หญิงกับการเมือง รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติฯ และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป จนกระทั่งได้มีการประกาศมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543[2]
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 258 ได้บัญญัติให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อ คณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ต้องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้ด้วย

พิมพ์เขียวสภาประชาชน
รายละเอียดของแนวทางในการจัดตั้งและองค์ประกอบของสภาประชาชนว่า สมาชิกสภาประชาชนจะมีจำนวนไม่เกิน 400 คน โดย 300 คน เลือกมาจากกลุ่มประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ อีก 100 คนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่กปปส.จะร่วมกันสรรหาคนดีเข้ามาทำหน้าที่....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1hOHxkg

ก็ต้องดูต่อไปว่า สภาประชาชนจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ถ้าลองมองแบบตัดประเด็น มาตรา 7 ออกไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่