นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (สีม่วงใต้) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ว่า จากการศึกษาทบทวนแนวเส้นทางล่าสุดเพื่อลดผลกระทบด้านการเวนคืนได้มีการปรับแนวเส้นทางใน2 จุดใหญ่คือ 1. สถานีเตาปูน-รัฐสภา โดยปรับมาใช้แนวถนนผังเมือง ง. 8 ของกทม.แทนแนวเดิมที่ผ่านหมู่บ้านเสริมสิน ซึ่งจะทำให้มีค่าก่อสร้างเพิ่มอีกกว่าพันล้านบาทรวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการเดินรถเพิ่มเพราะมีวงเลี้ยวค่อนข้างแคบ
แต่เป็นทางลือกที่ลดผลกระทบการเวนคืนได้ดีที่สุด 2. ย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง จากบางผึ้ง(ใต้สะพานภูมิพล) ไปที่ริมถนนกาญจนาภิเษกวงแหวนใต้ (ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลีสุขสวัสดิ์ ด้านขาเข้าเมือง) พื้นที่ประมาณ 120-130ไร่ ซึ่งจะต้องต่อเส้นทางออกไปประมาณ 5 กม.เพิ่มอีก 2 สถานี คือ พระประแดง และครุใน (สุขสวัสดิ์ 70) ค่าก่อสร้างเพิ่มประมาณ 6,000 ล้านบาทช่วยลดการเวนคืนลงเหลือประมาณ 10 กว่ารายจากเดิมที่มีผู้ถูกเวนคืนกว่า 100 ราย
โดยคาดว่าภายในเดือนมกราคม 57 ที่ปรึกษาจะสรุปแนวเส้นทาง รูปแบบโครงสร้างผลการศึกษาออกแบบทางสถาปัตยกรรม ผลการศีกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธาน จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการต่อไป โดยหากครม.อนุมัติโครงการประมาณกลางปี 57 คาดว่าจะประกวดราคาและสามารถลงนามสัญญาก่อสร้างเริ่มงานก่อสร้างได้กลางปี 58 และเปิดให้บริการในปี 62
ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน
วันที่ 09 ธันวาคม 2556
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
http://www.facebook.com/maibat.thailand
รฟม.ปรับแนวสายสีม่วงอีก 2 สถานี
แต่เป็นทางลือกที่ลดผลกระทบการเวนคืนได้ดีที่สุด 2. ย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง จากบางผึ้ง(ใต้สะพานภูมิพล) ไปที่ริมถนนกาญจนาภิเษกวงแหวนใต้ (ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลีสุขสวัสดิ์ ด้านขาเข้าเมือง) พื้นที่ประมาณ 120-130ไร่ ซึ่งจะต้องต่อเส้นทางออกไปประมาณ 5 กม.เพิ่มอีก 2 สถานี คือ พระประแดง และครุใน (สุขสวัสดิ์ 70) ค่าก่อสร้างเพิ่มประมาณ 6,000 ล้านบาทช่วยลดการเวนคืนลงเหลือประมาณ 10 กว่ารายจากเดิมที่มีผู้ถูกเวนคืนกว่า 100 ราย
โดยคาดว่าภายในเดือนมกราคม 57 ที่ปรึกษาจะสรุปแนวเส้นทาง รูปแบบโครงสร้างผลการศึกษาออกแบบทางสถาปัตยกรรม ผลการศีกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธาน จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการต่อไป โดยหากครม.อนุมัติโครงการประมาณกลางปี 57 คาดว่าจะประกวดราคาและสามารถลงนามสัญญาก่อสร้างเริ่มงานก่อสร้างได้กลางปี 58 และเปิดให้บริการในปี 62
ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน
วันที่ 09 ธันวาคม 2556
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
http://www.facebook.com/maibat.thailand