เป้าหมายที่แท้จริงของฝ่ายกบฎ คือยึดพระราชอำนาจ และล้มระบอบการปกครอง ?
ฝ่ายกบฎ สุเทพ และพวก ต้องการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างต้องการล้มล้างตระกูลชินวัตร ไปจากการเมือง แต่กบฎสุเทพ ก็ไม่ได้สำเหนียก ว่า คนส่วนใหญ่ ก็ไม่เอาด้วยตระกูลเทือกสุบรรณ พวกฆาตรกร เข่นฆ่าประชาชน เพียงแต่วันนี้ คนส่วนใหญ่ เขากำลังมองไปที่จุดหมายปลายทาง ของพวกกบฎ ว่าแท้จริง ต้องการอะไร และใครอยู่เบื้องหลัง
เพราะการเรียกร้อง นายกฯและรัฐบาล ตามมาตรา 7 เป็นไปไม่ได้ ขัดกับพระราชดำรัสในหลวง ที่พระราชทานเมื่อ 25 เม.ย. 49 ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย มั่ว ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมร้องขอพระราชทานนายกฯ ม. 7 ด้วย เรื่องนายกฯม. 7 ในหลวงท่านตรัสว่า ท่านเดือดร้อน เพราะท่านต้องสั่งราชการ โดยต้องมีสภา สนองพระบรมราชโองการ และสภา ก็มาจากรัฐธรรมนูญ คือการเลือกตั้ง แต่ฝ่ายกบฎ กลับเสนอ ให้มีสภาประชาชน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีในรัฐธรรมนูญ นั่นคือไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งย่อมหมายถึง การยึดอำนาจ จากพระราชอำนาจจากในหลวง ด้วยการต้อง เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นเอง เขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นเอง จึงจะสามารถตั้งสภาประชาชน ได้ ตั้งรัฐบาลประชาชนได้ และเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นเองโดยฝ่ายกบฎ ย่อมหมายถึง รัฐบาลต้องให้นายสุเทพ หัวหน้ากบฎ เป็นคนตั้ง ไม่ใช่ในหลวงโปรดเกล้า นายกฯ ที่บอกว่ามาจากประชาชน ก็หมายถึงนายสุเทพ หัวหน้ากบฎ ตั้งเอง ไม่ใช่นายกฯจากประชาชน และต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ
ในทิศทางที่เป็นปลายทางตามข้อเรียกร้องของกบฎสุเทพ และพวก เมื่อทำสำเร็จ ก็คือ การ "ยึดพระราชอำนาจ"
ที่แปลกใจ ก็คือ สถาบันการศึกษา 5 แห่ง โดยอธิการบดี ที่อ้างว่า เป็นมติของทปอ. หรือที่ประชุมอธิการบดี (องค์กรนี้ ตั้งขึ้นโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีผลทางกฎหมาย นอกจากสนองตัณหาของอธิการบดี ที่ฝักใฝ่ การแย่งชิงอำนาจการเมืองไปจากมือประชาชนเท่านั้น) โดยเฉพาะอธิการบดี ธรรมศาสตร์,จุฬา,มศว,นิด้า,รามคำแหง, ล่าสุดก็พระจอมเกล้าฯ กลับฝักใฝ่สนับสนุน แนวทางของกบฎ และพยายามตะแบง ตีความรัฐธรรมนูญ ไปในทางสนับสนุนกลุ่มกบฎ โดยไม่สนใจความถูกต้องและความชอบธรรม แต่ปากกลับใส่ร้ายฝ่ายประชาธิปไตย ที่มาจากเสียงประชาชนส่วนใหญ่ ไม่มีความชอบธรรม ทั้ง ๆ ที่รู้ทั้งรู้ ว่า ข้อเรียกร้องของฝ่ายกบฎ คือ การยึดพระราชอำนาจ แต่ยังให้การสนับสนุน ทั้ง ๆที่รู้ว่านายกฯ ม. 7 ในหลวงมีพระราชดำรัสชัดเจนว่าไม่เป็นประชาธิปไตย "มั่ว" และท่านเดือดร้อน แต่อธิการเหล่านี้ก็พยายามตะแบง
มีสิ่งเดียวที่สะท้อน ว่า เรื่องนี้มีเบื้องหลัง มีกลุ่มคนที่มีอำนาจระดับสูงมาก หนุนหลัง และด้วยทิศทางที่ฝืนพระราชดำรัส ย่อมหมายถึง ฝ่ายหนุนหลังที่ไม่เอาด้วย กับสถาบันกษัตริย์ หรืออยู่ตรงข้ามกับในหลวง เพราะตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ด้วยเมื่อในหลวงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ชัดเจนว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย "มั่ว" แต่พวกนี้ยังเดินหน้าเรียกร้องในสิ่งที่ขัดแย้งต่อพระราชดำรัส
ทีนี้มาพิจารณาว่า กลุ่มคนที่อยู่เบื้องที่พลังอำนาจมากและอยู่ในระดับสูง ที่แม้กระทั่งนายสุเทพ พรรคปชป. และอธิการบดี ยอมสยบ นั้นเป็นใคร คงต้องไล่ไปยัง กลุ่มรอยัลลิสต์เก่า ที่เคยมีอำนาจด้านทุน และอำนาจทางสังคมชั้นสูง ที่สืบต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคร. 6 และร. 7 นั่นคือกลุ่มราชนิกุล และราชสกุล บางกลุ่มที่ เห็นว่า ถึงเวลาที่พวกเขาจะทวงคืนอำนาจ ได้ เพราะหากทิศทางยังดำเนินต่อไป โดยปกติ ว่ากันตามการสืบสันตติวงศ์และกฎมณเทียรบาล การสืบราชบัลลังก์ ต่อจากในหลวง ร. 9 ก็คือ ร. 10 คือ องค์รัชทายาท ซึ่งแน่นอนว่า อำนาจของพวกเขาที่เคยมีมาช้านาน ทั้งด้านทุน กุมเศรษฐกิจ (ย่านสีลม) และทั่วประเทศ เสพสุข อยู่กับทรัพย์สมบัติ และบทบาท ชนชั้นสูง (อำมาตย์) ที่กุมสภาพ ชักใย รัฐบาล ราชการ และเครือข่ายกลุ่มทุน มาโดยตลอด ก็จะจางหายไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา
ดังนั้นมีข้อสันนิษฐานข้อเดียวก็คือ กลุ่มเบื้องหลัง กบฎ และผุ้สนับสนุนกบฎ จากทปอ. ทั้งหลาย ที่ประกาศตัวออกมา ล้วนแล้วแต่มีกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ ที่ต้องการทวงอำนาจราชบัลลังก์ คือจากในหลวง (นี่เป็นข้อสันนิษฐาน) ที่เป็นไปได้
แต่การที่จะฝ่าด่าน ไปยังปลายทางได้ ก็ต้องล้มรัฐบาล ที่มาจากรัฐธรรมนูญ ให้ได้ก่อน นั่นคือ ล้มรัฐบาลได้ ก็ฉีกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ แล้วเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ตั่งสภาประชาชน ตั้งรัฐบาลเอง รวมถึงตั้งศาลเอง ได้ ซึ่งนั่นหมายถึง การยึดพระราชอำนาจ มาอยู่ในมือของฝ่ายกบฎ นั่นคือขั้นบันได ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ตามที่พวกเขาต้องการในบั้นปลาย
แต่ด้วยพวกฝ่ายกบฎ ยังกลัวมวลชน ไม่เอาด้วยระยะแรก จึงต้องสรรหาคำ ตั้งกลุ่ม ให้ยึดโยงกับประชาธิปไตย เข้าไว้ ซึ่งก็ไม่ได้เรื่องแปลก กลุ่มคนที่เคยปลุกระดมประชาชน ยึดอำนาจจากรัฐบาล ในหลายประเทศ ที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ ก็ล้วน อ้างคำ "ประชาธิปไตย เช่นจีน ก็สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน, สปป.ลาว ก็ใช่ แต่เมื่อยึดอำนาจได้แล้ว ก็คือเผด็จการคอมมิวนิสต์ หรือเผด็จการประธานาธิบดี ที่มีสภาบูลิตบูโร เป็นฐานรองรับ ซึ่งหากดูปลายทางจากประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ที่ทำสำเร็จมาแล้ว ทิศทางที่กลุ่มกบฎเหล่านี้กำลังดำเนินอยู่ ล้วนไม่ต่างกัน
ข้อสังเกตนี้จึงเป็นที่มาว่า ทำไม กองทัพ โดยผบ.สามเหล่าทัพ จึงไม่เอาด้วย ต่อแนวทางของกบฎ เพราะทหารสามเหล่าทัพ คือทหารของกษัตริย์ เมื่อกลุ่มกบฎเหล่านี่ มีเป้าหมายปลายทาง อยู่ที่การยึดพระราชอำนาจ ทหารของพระมหากษัตริย์ จึงต้องทำหน้าที่ปกป้อง สถาบัน และไม่เอาด้วยกับแนวทางของกลุ่มกบฎ เหล่านี้ เหมือนที่พวกเขาต้องการและร้องขอ แต่การที่จะให้ทหาร ใช้อำนาจเด็ดขาด ปราบปราม ก็จะทำให้เดินซ้ำรอยความแตกแยก เหมือนปี 53 และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่มาร่วมม็อบ กลายเป็นเหยื่อ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ ถูกปลุกปั่นยุยง จากพวกที่สนับสนุน และชักใย โดยฉากหน้ามีนายสุเทพ และพวกส.ส.พรรคปชป. และเหล่าอธิการบดี ที่โผล่หน้าสลอนออกมา สนับสนุน
อีกประการหนึ่ง เหล่านักวิชาการประชาธิปไตย ก็ยืนยันว่านายกฯม. 7 เป็นไปไม่ได้ ตั้งสภาประชาชน เป็นไปไม่ได้ ตั้งรัฐบาลประชาชน เป็นไปไม่ได้ แต่เหล่าแกนนำกบฎ และอธิการบดี ที่โผล่หน้าสนับสนุนม็อบกบฎ ก็ยังดื้อตาใส เรียกร้อง อย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อทหารไม่ออกมาหนุน เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ออกมาหนุน จึงเหลือเพียงกลุ่มคนเหล่านี้และมวลชนของพรรคปชป. ที่ระดมกันมา เพราะ พวกเขาก็ไม่มีทางถอย ไม่มีทางลง เพราะปลายทางหากพวกเขาแพ้ หมายถึงไม่มีเหลือแผ่นดินให็อยู่ โดยเฉพาะนายสุเทพ การที่ศาลออกหมายจับข้อหาเป็นกบฎ นั่นคือโทษประหาร เพราะตั้งแต่อดีตกาลมา คำว่ากบฎ ล้วนมีโทษประหาร 7 ชั่วโคตร แม้กระทั้งตอนมีการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ ในยุค รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเขียร ที่มีพล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เมื่อทำไม่สำเร็จ ก็ถูกถอดยศและประหารชีวิต ซึ่งหากต้องมีการปลดปล่อยพวกเขาจากข้อหากบฎ ต้องถูกประหารชีวิต ทางเดียวที่ทำได้ คือต้องเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ด้วยสภาประชาชน เพื่อนิรโทษกรรมให้กับตนเอง
พฤติกรรมเหล่านี้ มันยิ่งกว่าพ.ร.บ.เหมาเข่ง ของทักษิณ เพราะไม่เพียงแต่นิรโทษกรรมให้กับตนเองและพวก แล้ว ยังยึดพระราชอำนาจ มาอยู่ในมือ ซึ่งในหลวงทรงเห็นเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นท่านจึงมีพระราชดำรัสว่า ท่านเดือดร้อน และทุกข์
ในอดีตการปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อทำสำเร็จ ต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง แล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ยังยึดมั่นในพระราชอำนาจ คือต้องนำเสนอโปรดเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้ แต่การกระทำของกลุ่มกบฎ เหล่านี้ กลับพยายามอำพราง จุดหมายปลายทาง เพราะกลัวประชาชนรู้ และไม่เข้าร่วมชุมนุม จึงยังพยายามบอกว่า ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ แต่ก็ขัดแย้งกับข้อเรียกร้อง ที่หากไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ทิ้ง ก็ไม่สามารถทำให้ข้อเรียกร้องให้สำเร็จได้ ดังนั้นหากกลุ่มกบฎทำสำเร็จ ตั้งสภาประชาชน ตั้งรัฐบาลประชาชน ก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง และเขียนขึ้นใหม่ และจากการประกาศ ของนายสุเทพ ล่าสุด ก็คือกลุ่มกบฎ จะเป็นองค์รัฐาธิปัตย์ มีอำนาจสูงสุด ที่จะออกกฎหมาย (พวกเขาเลี่ยงใช้คำว่าปฏิรูป) โดยสภาประชาชน นั่นคือ "สภาบูลิตบูโร" ที่ไม่ต้องได้รับการโปรดเกล้า ก็สามารถประกาศใช้ได้เลย
แต่การที่จะเดินสู่จุดหมายนั้นได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ต้องล้มรัฐบาล คือฝ่ายบริหาร ล้มสภา คือฝ่ายนิติบัญญัติ ให้ได้ก่อน ซึ่งก็คือการทำรัฐประหาร โดยใช้ประชาชน เพราะฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นสถาบันที่ในหลวง ทรงใช้ปกครองประเทศ โดยทั้งสองสถาบันหลักนี้ เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ และรับผิดชอบแทนในหลวง ในการบริหารประเทศ และออกกฎหมาย ส่วนอำนาจตุลาการ ที่ผ่านคณะรัฐประหาร จะไม่แตะต้อง เพราะต้องคงไว้ ในการจัดการด้านยุติธรรม ที่มีทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และรองรับอำนาจของฝ่ายรัฐประหาร
เมื่อล้มรัฐบาลได้ คือล้มฝ่ายบริหารได้ ล้มฝ่ายนิติบัญญัติได้ คือไม่มีสภา คือทำรัฐประหารสำเร็จ แน่นอน กลุ่มคนที่เข้าร่วมก่อกบฎ ก็ต้องแบ่งปันตำแหน่ง ในรัฐบาลกัน ตำแหน่งในสภา กันเอง ซึ่งย่อมเป็นผลประโยชน์ร่วม แต่คนที่อยู่เบื้องหลัง กลุ่มกบฎ เหล่านี้ ก็ย่อมได้ประโยชน์ จากการยึดพระราชอำนาจ และต้องเดินหน้าต่อ ในการยึดกุมพระราชอำนาจ มาอยู่ในมือ เสียเอง
คำถาม ที่เกิดขึ้นก็คือ ภายใต้การเดินหน้าอย่างไม่หยี่หระ ไม่กลัวฟ้ากลัวดิน ฝืนพระราชดรัส คนไทยส่วนใหญ่ จะตัดสินใจอย่างไร คนไทยที่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และรักในหลวง ตัวจริง จะตัดสินใจอย่างไร กลุ่มประชาชนที่รักประชาธิปไตย จะตัดสินใจอย่างไร จะยินยอมยกแผ่นดิน ให้กลุ่มกบฎ ให้กลุ่มคนหนุนหลัง ยึดพระราชอำนาจ ในบั้นปลาย คนอย่างนายสุเทพ ที่โดนข้อหา "ฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล" ข้อหาเป็นกบฎ คนไทย จะยินยอมให้คนเหล่านี้ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เหนือประชาชน และแอบอ้างประชาชน กลุ่มหนึ่ง ที่ได้ปลุกปลั่น จัดจ้างและมาเป็นพลังหนุน ให้เป็นฐานรากนำไปสู่การตั้งสภาประชาชน ตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง ออกกฎหมายด้วยตนเอง
วันนี้ถึงเวลา ที่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องตัดสินใจ ว่าจะยอมเข้าร่วมกับกบฎ เพื่อนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ยึดพระราชอำนาจ ในปลายทาง หรือจะยังยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้เป็นการกล่าวหา แต่เป็นการวิเคราะห์ และมุมมอง ต่อจุดหมายปลายทาง ของฝ่ายกบฎ ที่นำโดยนายสุเทพ และพวกอดีตส.ส.พรรคปชป. และกลุ่มคนหนุนหลัง เพื่อให้คนไทยตระหนักคิด และตัดสินใจ
เป้าหมายที่แท้จริงของฝ่ายกบฎ คือยึดพระราชอำนาจ และล้มระบอบการปกครอง ?
ฝ่ายกบฎ สุเทพ และพวก ต้องการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างต้องการล้มล้างตระกูลชินวัตร ไปจากการเมือง แต่กบฎสุเทพ ก็ไม่ได้สำเหนียก ว่า คนส่วนใหญ่ ก็ไม่เอาด้วยตระกูลเทือกสุบรรณ พวกฆาตรกร เข่นฆ่าประชาชน เพียงแต่วันนี้ คนส่วนใหญ่ เขากำลังมองไปที่จุดหมายปลายทาง ของพวกกบฎ ว่าแท้จริง ต้องการอะไร และใครอยู่เบื้องหลัง
เพราะการเรียกร้อง นายกฯและรัฐบาล ตามมาตรา 7 เป็นไปไม่ได้ ขัดกับพระราชดำรัสในหลวง ที่พระราชทานเมื่อ 25 เม.ย. 49 ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย มั่ว ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมร้องขอพระราชทานนายกฯ ม. 7 ด้วย เรื่องนายกฯม. 7 ในหลวงท่านตรัสว่า ท่านเดือดร้อน เพราะท่านต้องสั่งราชการ โดยต้องมีสภา สนองพระบรมราชโองการ และสภา ก็มาจากรัฐธรรมนูญ คือการเลือกตั้ง แต่ฝ่ายกบฎ กลับเสนอ ให้มีสภาประชาชน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีในรัฐธรรมนูญ นั่นคือไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งย่อมหมายถึง การยึดอำนาจ จากพระราชอำนาจจากในหลวง ด้วยการต้อง เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นเอง เขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นเอง จึงจะสามารถตั้งสภาประชาชน ได้ ตั้งรัฐบาลประชาชนได้ และเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นเองโดยฝ่ายกบฎ ย่อมหมายถึง รัฐบาลต้องให้นายสุเทพ หัวหน้ากบฎ เป็นคนตั้ง ไม่ใช่ในหลวงโปรดเกล้า นายกฯ ที่บอกว่ามาจากประชาชน ก็หมายถึงนายสุเทพ หัวหน้ากบฎ ตั้งเอง ไม่ใช่นายกฯจากประชาชน และต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ
ในทิศทางที่เป็นปลายทางตามข้อเรียกร้องของกบฎสุเทพ และพวก เมื่อทำสำเร็จ ก็คือ การ "ยึดพระราชอำนาจ"
ที่แปลกใจ ก็คือ สถาบันการศึกษา 5 แห่ง โดยอธิการบดี ที่อ้างว่า เป็นมติของทปอ. หรือที่ประชุมอธิการบดี (องค์กรนี้ ตั้งขึ้นโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีผลทางกฎหมาย นอกจากสนองตัณหาของอธิการบดี ที่ฝักใฝ่ การแย่งชิงอำนาจการเมืองไปจากมือประชาชนเท่านั้น) โดยเฉพาะอธิการบดี ธรรมศาสตร์,จุฬา,มศว,นิด้า,รามคำแหง, ล่าสุดก็พระจอมเกล้าฯ กลับฝักใฝ่สนับสนุน แนวทางของกบฎ และพยายามตะแบง ตีความรัฐธรรมนูญ ไปในทางสนับสนุนกลุ่มกบฎ โดยไม่สนใจความถูกต้องและความชอบธรรม แต่ปากกลับใส่ร้ายฝ่ายประชาธิปไตย ที่มาจากเสียงประชาชนส่วนใหญ่ ไม่มีความชอบธรรม ทั้ง ๆ ที่รู้ทั้งรู้ ว่า ข้อเรียกร้องของฝ่ายกบฎ คือ การยึดพระราชอำนาจ แต่ยังให้การสนับสนุน ทั้ง ๆที่รู้ว่านายกฯ ม. 7 ในหลวงมีพระราชดำรัสชัดเจนว่าไม่เป็นประชาธิปไตย "มั่ว" และท่านเดือดร้อน แต่อธิการเหล่านี้ก็พยายามตะแบง
มีสิ่งเดียวที่สะท้อน ว่า เรื่องนี้มีเบื้องหลัง มีกลุ่มคนที่มีอำนาจระดับสูงมาก หนุนหลัง และด้วยทิศทางที่ฝืนพระราชดำรัส ย่อมหมายถึง ฝ่ายหนุนหลังที่ไม่เอาด้วย กับสถาบันกษัตริย์ หรืออยู่ตรงข้ามกับในหลวง เพราะตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ด้วยเมื่อในหลวงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ชัดเจนว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย "มั่ว" แต่พวกนี้ยังเดินหน้าเรียกร้องในสิ่งที่ขัดแย้งต่อพระราชดำรัส
ทีนี้มาพิจารณาว่า กลุ่มคนที่อยู่เบื้องที่พลังอำนาจมากและอยู่ในระดับสูง ที่แม้กระทั่งนายสุเทพ พรรคปชป. และอธิการบดี ยอมสยบ นั้นเป็นใคร คงต้องไล่ไปยัง กลุ่มรอยัลลิสต์เก่า ที่เคยมีอำนาจด้านทุน และอำนาจทางสังคมชั้นสูง ที่สืบต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคร. 6 และร. 7 นั่นคือกลุ่มราชนิกุล และราชสกุล บางกลุ่มที่ เห็นว่า ถึงเวลาที่พวกเขาจะทวงคืนอำนาจ ได้ เพราะหากทิศทางยังดำเนินต่อไป โดยปกติ ว่ากันตามการสืบสันตติวงศ์และกฎมณเทียรบาล การสืบราชบัลลังก์ ต่อจากในหลวง ร. 9 ก็คือ ร. 10 คือ องค์รัชทายาท ซึ่งแน่นอนว่า อำนาจของพวกเขาที่เคยมีมาช้านาน ทั้งด้านทุน กุมเศรษฐกิจ (ย่านสีลม) และทั่วประเทศ เสพสุข อยู่กับทรัพย์สมบัติ และบทบาท ชนชั้นสูง (อำมาตย์) ที่กุมสภาพ ชักใย รัฐบาล ราชการ และเครือข่ายกลุ่มทุน มาโดยตลอด ก็จะจางหายไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา
ดังนั้นมีข้อสันนิษฐานข้อเดียวก็คือ กลุ่มเบื้องหลัง กบฎ และผุ้สนับสนุนกบฎ จากทปอ. ทั้งหลาย ที่ประกาศตัวออกมา ล้วนแล้วแต่มีกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ ที่ต้องการทวงอำนาจราชบัลลังก์ คือจากในหลวง (นี่เป็นข้อสันนิษฐาน) ที่เป็นไปได้
แต่การที่จะฝ่าด่าน ไปยังปลายทางได้ ก็ต้องล้มรัฐบาล ที่มาจากรัฐธรรมนูญ ให้ได้ก่อน นั่นคือ ล้มรัฐบาลได้ ก็ฉีกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ แล้วเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ตั่งสภาประชาชน ตั้งรัฐบาลเอง รวมถึงตั้งศาลเอง ได้ ซึ่งนั่นหมายถึง การยึดพระราชอำนาจ มาอยู่ในมือของฝ่ายกบฎ นั่นคือขั้นบันได ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ตามที่พวกเขาต้องการในบั้นปลาย
แต่ด้วยพวกฝ่ายกบฎ ยังกลัวมวลชน ไม่เอาด้วยระยะแรก จึงต้องสรรหาคำ ตั้งกลุ่ม ให้ยึดโยงกับประชาธิปไตย เข้าไว้ ซึ่งก็ไม่ได้เรื่องแปลก กลุ่มคนที่เคยปลุกระดมประชาชน ยึดอำนาจจากรัฐบาล ในหลายประเทศ ที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ ก็ล้วน อ้างคำ "ประชาธิปไตย เช่นจีน ก็สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน, สปป.ลาว ก็ใช่ แต่เมื่อยึดอำนาจได้แล้ว ก็คือเผด็จการคอมมิวนิสต์ หรือเผด็จการประธานาธิบดี ที่มีสภาบูลิตบูโร เป็นฐานรองรับ ซึ่งหากดูปลายทางจากประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ที่ทำสำเร็จมาแล้ว ทิศทางที่กลุ่มกบฎเหล่านี้กำลังดำเนินอยู่ ล้วนไม่ต่างกัน
ข้อสังเกตนี้จึงเป็นที่มาว่า ทำไม กองทัพ โดยผบ.สามเหล่าทัพ จึงไม่เอาด้วย ต่อแนวทางของกบฎ เพราะทหารสามเหล่าทัพ คือทหารของกษัตริย์ เมื่อกลุ่มกบฎเหล่านี่ มีเป้าหมายปลายทาง อยู่ที่การยึดพระราชอำนาจ ทหารของพระมหากษัตริย์ จึงต้องทำหน้าที่ปกป้อง สถาบัน และไม่เอาด้วยกับแนวทางของกลุ่มกบฎ เหล่านี้ เหมือนที่พวกเขาต้องการและร้องขอ แต่การที่จะให้ทหาร ใช้อำนาจเด็ดขาด ปราบปราม ก็จะทำให้เดินซ้ำรอยความแตกแยก เหมือนปี 53 และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่มาร่วมม็อบ กลายเป็นเหยื่อ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ ถูกปลุกปั่นยุยง จากพวกที่สนับสนุน และชักใย โดยฉากหน้ามีนายสุเทพ และพวกส.ส.พรรคปชป. และเหล่าอธิการบดี ที่โผล่หน้าสลอนออกมา สนับสนุน
อีกประการหนึ่ง เหล่านักวิชาการประชาธิปไตย ก็ยืนยันว่านายกฯม. 7 เป็นไปไม่ได้ ตั้งสภาประชาชน เป็นไปไม่ได้ ตั้งรัฐบาลประชาชน เป็นไปไม่ได้ แต่เหล่าแกนนำกบฎ และอธิการบดี ที่โผล่หน้าสนับสนุนม็อบกบฎ ก็ยังดื้อตาใส เรียกร้อง อย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อทหารไม่ออกมาหนุน เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ออกมาหนุน จึงเหลือเพียงกลุ่มคนเหล่านี้และมวลชนของพรรคปชป. ที่ระดมกันมา เพราะ พวกเขาก็ไม่มีทางถอย ไม่มีทางลง เพราะปลายทางหากพวกเขาแพ้ หมายถึงไม่มีเหลือแผ่นดินให็อยู่ โดยเฉพาะนายสุเทพ การที่ศาลออกหมายจับข้อหาเป็นกบฎ นั่นคือโทษประหาร เพราะตั้งแต่อดีตกาลมา คำว่ากบฎ ล้วนมีโทษประหาร 7 ชั่วโคตร แม้กระทั้งตอนมีการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ ในยุค รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเขียร ที่มีพล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เมื่อทำไม่สำเร็จ ก็ถูกถอดยศและประหารชีวิต ซึ่งหากต้องมีการปลดปล่อยพวกเขาจากข้อหากบฎ ต้องถูกประหารชีวิต ทางเดียวที่ทำได้ คือต้องเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ด้วยสภาประชาชน เพื่อนิรโทษกรรมให้กับตนเอง
พฤติกรรมเหล่านี้ มันยิ่งกว่าพ.ร.บ.เหมาเข่ง ของทักษิณ เพราะไม่เพียงแต่นิรโทษกรรมให้กับตนเองและพวก แล้ว ยังยึดพระราชอำนาจ มาอยู่ในมือ ซึ่งในหลวงทรงเห็นเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นท่านจึงมีพระราชดำรัสว่า ท่านเดือดร้อน และทุกข์
ในอดีตการปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อทำสำเร็จ ต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง แล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ยังยึดมั่นในพระราชอำนาจ คือต้องนำเสนอโปรดเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้ แต่การกระทำของกลุ่มกบฎ เหล่านี้ กลับพยายามอำพราง จุดหมายปลายทาง เพราะกลัวประชาชนรู้ และไม่เข้าร่วมชุมนุม จึงยังพยายามบอกว่า ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ แต่ก็ขัดแย้งกับข้อเรียกร้อง ที่หากไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ทิ้ง ก็ไม่สามารถทำให้ข้อเรียกร้องให้สำเร็จได้ ดังนั้นหากกลุ่มกบฎทำสำเร็จ ตั้งสภาประชาชน ตั้งรัฐบาลประชาชน ก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง และเขียนขึ้นใหม่ และจากการประกาศ ของนายสุเทพ ล่าสุด ก็คือกลุ่มกบฎ จะเป็นองค์รัฐาธิปัตย์ มีอำนาจสูงสุด ที่จะออกกฎหมาย (พวกเขาเลี่ยงใช้คำว่าปฏิรูป) โดยสภาประชาชน นั่นคือ "สภาบูลิตบูโร" ที่ไม่ต้องได้รับการโปรดเกล้า ก็สามารถประกาศใช้ได้เลย
แต่การที่จะเดินสู่จุดหมายนั้นได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ต้องล้มรัฐบาล คือฝ่ายบริหาร ล้มสภา คือฝ่ายนิติบัญญัติ ให้ได้ก่อน ซึ่งก็คือการทำรัฐประหาร โดยใช้ประชาชน เพราะฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นสถาบันที่ในหลวง ทรงใช้ปกครองประเทศ โดยทั้งสองสถาบันหลักนี้ เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ และรับผิดชอบแทนในหลวง ในการบริหารประเทศ และออกกฎหมาย ส่วนอำนาจตุลาการ ที่ผ่านคณะรัฐประหาร จะไม่แตะต้อง เพราะต้องคงไว้ ในการจัดการด้านยุติธรรม ที่มีทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และรองรับอำนาจของฝ่ายรัฐประหาร
เมื่อล้มรัฐบาลได้ คือล้มฝ่ายบริหารได้ ล้มฝ่ายนิติบัญญัติได้ คือไม่มีสภา คือทำรัฐประหารสำเร็จ แน่นอน กลุ่มคนที่เข้าร่วมก่อกบฎ ก็ต้องแบ่งปันตำแหน่ง ในรัฐบาลกัน ตำแหน่งในสภา กันเอง ซึ่งย่อมเป็นผลประโยชน์ร่วม แต่คนที่อยู่เบื้องหลัง กลุ่มกบฎ เหล่านี้ ก็ย่อมได้ประโยชน์ จากการยึดพระราชอำนาจ และต้องเดินหน้าต่อ ในการยึดกุมพระราชอำนาจ มาอยู่ในมือ เสียเอง
คำถาม ที่เกิดขึ้นก็คือ ภายใต้การเดินหน้าอย่างไม่หยี่หระ ไม่กลัวฟ้ากลัวดิน ฝืนพระราชดรัส คนไทยส่วนใหญ่ จะตัดสินใจอย่างไร คนไทยที่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และรักในหลวง ตัวจริง จะตัดสินใจอย่างไร กลุ่มประชาชนที่รักประชาธิปไตย จะตัดสินใจอย่างไร จะยินยอมยกแผ่นดิน ให้กลุ่มกบฎ ให้กลุ่มคนหนุนหลัง ยึดพระราชอำนาจ ในบั้นปลาย คนอย่างนายสุเทพ ที่โดนข้อหา "ฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล" ข้อหาเป็นกบฎ คนไทย จะยินยอมให้คนเหล่านี้ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เหนือประชาชน และแอบอ้างประชาชน กลุ่มหนึ่ง ที่ได้ปลุกปลั่น จัดจ้างและมาเป็นพลังหนุน ให้เป็นฐานรากนำไปสู่การตั้งสภาประชาชน ตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง ออกกฎหมายด้วยตนเอง
วันนี้ถึงเวลา ที่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องตัดสินใจ ว่าจะยอมเข้าร่วมกับกบฎ เพื่อนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ยึดพระราชอำนาจ ในปลายทาง หรือจะยังยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้เป็นการกล่าวหา แต่เป็นการวิเคราะห์ และมุมมอง ต่อจุดหมายปลายทาง ของฝ่ายกบฎ ที่นำโดยนายสุเทพ และพวกอดีตส.ส.พรรคปชป. และกลุ่มคนหนุนหลัง เพื่อให้คนไทยตระหนักคิด และตัดสินใจ