เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ศกนี้ คนไทยทั้งประเทศใจจดใจจ่อรอฟังคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่าศาลโลก ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาฉบับสรุปย่อเสร็จ หลายคนก็งงๆ คำพิพากษาเป็นภาษากฎหมาย ประกอบกับการแปลค่อนข้างไม่ดีพอ ไม่สื่อความหมาย เข้าใจว่าคนแปลไม่ใช่นักกฎหมาย
เมื่อหัวหน้าคณะฝ่ายไทยคือ ท่านทูตวีรชัย พลาศรัย ออกมาอธิบายสรุปจึงเข้าใจยิ่งขึ้น เมื่อได้ฟังนักวิชาการอธิบายเพิ่มเติมจึงเข้าใจเพิ่มขึ้นมาอีก
ปฏิกิริยาแรกที่รัฐมนตรีต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวก็คือ ฝ่ายไทยกล่าวว่าผลของการตัดสินเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็แถลงว่าพอใจ ปัญหาที่เรื้อรังมาเป็นเวลาถึง 50 ปี ก็น่าจะบรรเทาเบาบางลงได้
เท่าที่ฟังจากการถ่ายทอดสด ศาลโลกได้พูดชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า คำว่า "พื้นที่ข้างเคียง" หรือ "vicinity" ของพระวิหารนั้นมีขอบเขตแค่ไหน คือไม่ใช่บริเวณพื้นที่ที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ล้อมรั้วลวดหนามไว้ แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่กว้างใหญ่ตามที่ฝรั่งเศสขีดเส้นไว้ ในแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับปี 2448 เพราะไม่ได้ครอบคลุมไปถึง "ภูมะเขือ" คงมีแค่ชะง่อนผาอันเป็นที่ตั้งของตัวปราสาท เนื้อที่ประมาณตารางกิโลเมตรเดียว แสดงว่าพื้นที่โดยรอบพระวิหารชัดเจนขึ้น ไม่ถึง 1 ตารางกิโลเมตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลให้ไปประชุมปรึกษาหารือกันอีกที ที่สำคัญศาลชี้ชัดว่าไม่ได้ใช้แผนที่ 1:200,000 เพราะคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ศาลโลกครั้งนั้นไม่ได้แนบแผนที่ฉบับนี้ไว้ท้ายคำพิพากษา
ถ้ามองอย่างเป็นธรรม ทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะพอใจและน่าจะชมเชยคณะทนายของทั้ง 2 ฝ่ายว่าได้ใช้ความรู้ความสามารถต่อสู้กันในศาลโลกอย่างเต็มที่ ในแบบของอารยประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ
ที่สำคัญการแสดงท่าทีของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นการแสดงของชาติอารยะ ไม่ใช่ชาติป่าเถื่อนที่จะเอาชนะคะคานกันด้วยกำลัง อย่างที่เคยเห็นเมื่อ 4-5 ปีก่อน ซึ่งต่างฝ่ายต่างทำสงครามน้ำลายและสงครามอาวุธ ห้ำหั่นกันจนมีทหารลูกหลานชาวบ้านล้มตายกันทั้ง 2 ฝ่าย
ศาลไม่พิจารณาเส้นเขตแดนเพียงแต่พิจารณาตีความคำพิพากษาปี 2505 เท่านั้น ส่วนการจะปักปันเขตแดนก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการร่วมชายแดนของทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเจรจาตกลงกันเอง แต่สำหรับตัวปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบนั้น อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาตามคำวินิจฉัยของศาลโลกเมื่อ 50 ปีก่อน
เมื่อเป็นอย่างนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็น่าจะยินดี กล่าวคือมองไปทางบวกไว้ก่อน ส่วนแนวเขตแดนก็คงต้องเจรจากันตามที่ได้ตกลงกันในสนธิสัญญาปี 2448 และเอกสารประกอบอื่นๆ ซึ่งก็แปลว่าทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ทั้งหมดตามที่ตนร้องขอและไม่ได้เสียทั้งหมดตามที่ตนคัดค้าน ถ้าทัศนคติทั้ง 2 ฝ่ายมุ่งเจรจากันอย่างเป็นมิตรประเทศในปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนนอกเหนือจากบริเวณที่ตั้งของตัวปราสาทอันเป็นชะง่อนผา ซึ่งศาลใช้คำว่า "เล็กๆ" ก็ว่ากันไปตามกลไกที่มีอยู่แล้วคือคณะกรรมการร่วมเขตแดน ศาลไม่ก้าวล่วงไปตรงนี้ ดังนั้นไทยก็ยังไม่เสียแต่ก็ยังไม่ได้พื้นที่ 4.6 ตร.กม. ตรงตามที่หนังสือพิมพ์มติชนเข้าใจ
ที่สำคัญศาลขอให้ทั้ง 2 ประเทศช่วยกันดูแลทะนุบำรุงปราสาทพระวิหารร่วมกับยูเนสโก เพราะบัดนี้ปราสาทพระวิหารได้เป็นมรดกของชาวโลกไปแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นคำพิพากษาที่สมเหตุสมผล เพราะกัมพูชามิได้ขอให้ศาลโลกพิจารณาเรื่องเส้นเขตแดน เพียงแต่ขอให้พิจารณาว่าปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
ที่น่ายินดีก็คือหลังจากมีคำพิพากษา ปฏิกิริยาของรัฐบาลและประชาชนของทั้ง 2 ฝ่ายไม่แสดงกิริยาอาการดีใจหรือเสียใจจนจะเกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลและประชาชนของตนให้ปฏิเสธคำพิพากษา
คนที่ยินดีมากกว่าใครก็คือ ประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สงครามเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงท่าทีของผู้นำกองทัพของทั้งสองประเทศต่างก็แสดงทีท่าไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ไม่ว่าคำพิพากษาจะออกมาอย่างไร ไทยกับกัมพูชาจะไม่รบกัน ไทยกับกัมพูชาจะไม่ใช้กำลังเข้าตัดสินปัญหา อันแสดงถึงวุฒิภาวะและความเป็นอารยะของผู้นำของทั้ง 2 ประเทศ แม้ว่าจะยังมีเรื่องต้องพิจารณาเจรจากันต่อไป ถ้ายังเจรจากันไม่ได้ก็ทิ้งไว้ก่อนเหมือนๆ กับท่าทีของไทยกับลาว ไทยกับพม่า ไทยกับมาเลเซียในขณะนี้ เพราะทุกฝ่ายก็มีข้อจำกัดทางการเมืองภายในประเทศที่ต้องดูแล อีกทั้งปัญหาเรื่องเขตแดนเป็นปัญหาที่ "อ่อนไหว" สำหรับทุกประเทศ เป็นมรดกที่เจ้าอาณานิคมทิ้งไว้ให้เป็นปัญหากับทุกประเทศ กัมพูชาก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเขตแดนกับไทยเท่านั้น กับเวียดนามและลาวด้วย ซึ่งก็น่าเห็นใจทุกฝ่าย แต่ด้วยความผูกพันฐานะมิตรประเทศเพื่อนบ้านจึงตกลงกันได้ ไม่เกิดเหตุให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นที่พึ่งของประเทศเล็กและศาลโลกต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว เพื่อให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ
จากนี้ไปประชาชนคนไทยก็ควรจะสงบและฟังการเจรจาปักปันเขตแดนของคณะกรรมการร่วมเขตแดน ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชา แต่มีกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นโดยรอบด้วย ซึ่งก็เป็นไปด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน บางทีก็มีการเจรจาแลกเปลี่ยนกัน ตรงไหนยังตกลงกันไม่ได้จริงๆ ก็ทิ้งไว้ก่อน เป็นพื้นที่ปลอดประชากร หรือ "no man?s land" ก็มี เราก็อยู่กันได้ไม่ต้องรบราฆ่าฟันกัน ประชากรบริเวณชายแดนซึ่งเป็นญาติพี่น้องกัน ที่แต่งงานข้ามกันไปมาก็จะได้ไม่เดือดร้อน
ข้อแนะนำอันสุดท้ายของศาลโลก ที่ให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกับองค์การยูเนสโกช่วยกันทะนุบำรุงปราสาทพระวิหาร ในฐานะที่เป็นมรดกโลก ให้คงความสำคัญในฐานะโบราณสถานของโลก ให้ชาวโลกได้ชื่นชม
ความจริงแล้วผู้ที่จะได้ประโยชน์อย่างมากแม้ว่าปราสาทพระวิหารจะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาก็น่าจะเป็นประเทศไทย ถ้าหากสันติภาพถาวรเกิดขึ้น สามารถเปิดให้นักท่องเที่ยว นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ เดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวก เขาเหล่านั้นก็น่าจะต้องผ่านประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เพราะทางขึ้นอยู่ฝั่งประเทศไทย สนามบินสุวรรณภูมิก็เป็นสนามบินที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอยู่แล้ว
นักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น จีน ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกา ถ้าจะไปเยี่ยมชม นครวัด นครธม ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกัมพูชาก็เดินทางมากรุงเทพฯมากที่สุด บริษัทท่องเที่ยวไทยก็จัดให้เสียมราฐ อันเป็นที่ตั้งของนครวัด นครธม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต่อยอดจากการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยอยู่แล้ว ไทยกับกัมพูชาจึงมีผลประโยชน์ร่วมกัน ปราสาทพระวิหารก็น่าจะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวทุกแห่ง แหล่งท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านก็เช่นกัน
นักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พุกาม เสียมราฐ พระตะบอง หรือแม้แต่ฮานอย ไซ่ง่อน ส่วนใหญ่ก็มาแวะที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยสายการบินไทยแล้วจึงเดินทางต่อไปพักโรงแรมของคนไทย ใช้บริการของบริษัทท่องเที่ยวไทย
ขณะเดียวกันถ้าเราไปประเทศเพื่อนบ้านก็จะเห็นสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไม้สอยตลอดไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ เครื่องไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถยนต์นั่งส่วนตัว ก็ล้วนแต่เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยทั้งนั้น เหมือนกับเราคนไทยสมัยก่อนก็ใช้ของที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นทั้งนั้น การค้าชายแดนไม่มีใครทราบแน่นอนว่ามีจำนวนมากเท่าไหร่ แต่มีการประมาณการว่ามีมูลค่าไม่น้อยกว่า 20-25 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
การรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าตลาดเหล่านี้หายไปก็จะมีคนอื่นแทรกเข้ามาแทนที่เรา กว่าจะกลับมาได้อีกก็คงจะเป็นเวลานาน การรักษาสัมพันธไมตรีด้วยการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
โลกยุคโลกาภิวัตน์ พรมแดนมีความสำคัญน้อยลง ผู้คนไปมาหาสู่กันได้อย่างเสรี ในประเทศยุโรปตะวันตกมีคนเคยกล่าวว่า บ้านหลังหนึ่งมีหน้าบ้านอยู่ในเขตประเทศหนึ่งและหลังบ้านอยู่ในเขตอีกประเทศหนึ่ง ก็เป็นไปได้
เราคงไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก
........
โล่งอก
เมื่อหัวหน้าคณะฝ่ายไทยคือ ท่านทูตวีรชัย พลาศรัย ออกมาอธิบายสรุปจึงเข้าใจยิ่งขึ้น เมื่อได้ฟังนักวิชาการอธิบายเพิ่มเติมจึงเข้าใจเพิ่มขึ้นมาอีก
ปฏิกิริยาแรกที่รัฐมนตรีต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวก็คือ ฝ่ายไทยกล่าวว่าผลของการตัดสินเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็แถลงว่าพอใจ ปัญหาที่เรื้อรังมาเป็นเวลาถึง 50 ปี ก็น่าจะบรรเทาเบาบางลงได้
เท่าที่ฟังจากการถ่ายทอดสด ศาลโลกได้พูดชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า คำว่า "พื้นที่ข้างเคียง" หรือ "vicinity" ของพระวิหารนั้นมีขอบเขตแค่ไหน คือไม่ใช่บริเวณพื้นที่ที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ล้อมรั้วลวดหนามไว้ แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่กว้างใหญ่ตามที่ฝรั่งเศสขีดเส้นไว้ ในแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับปี 2448 เพราะไม่ได้ครอบคลุมไปถึง "ภูมะเขือ" คงมีแค่ชะง่อนผาอันเป็นที่ตั้งของตัวปราสาท เนื้อที่ประมาณตารางกิโลเมตรเดียว แสดงว่าพื้นที่โดยรอบพระวิหารชัดเจนขึ้น ไม่ถึง 1 ตารางกิโลเมตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลให้ไปประชุมปรึกษาหารือกันอีกที ที่สำคัญศาลชี้ชัดว่าไม่ได้ใช้แผนที่ 1:200,000 เพราะคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ศาลโลกครั้งนั้นไม่ได้แนบแผนที่ฉบับนี้ไว้ท้ายคำพิพากษา
ถ้ามองอย่างเป็นธรรม ทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะพอใจและน่าจะชมเชยคณะทนายของทั้ง 2 ฝ่ายว่าได้ใช้ความรู้ความสามารถต่อสู้กันในศาลโลกอย่างเต็มที่ ในแบบของอารยประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ
ที่สำคัญการแสดงท่าทีของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นการแสดงของชาติอารยะ ไม่ใช่ชาติป่าเถื่อนที่จะเอาชนะคะคานกันด้วยกำลัง อย่างที่เคยเห็นเมื่อ 4-5 ปีก่อน ซึ่งต่างฝ่ายต่างทำสงครามน้ำลายและสงครามอาวุธ ห้ำหั่นกันจนมีทหารลูกหลานชาวบ้านล้มตายกันทั้ง 2 ฝ่าย
ศาลไม่พิจารณาเส้นเขตแดนเพียงแต่พิจารณาตีความคำพิพากษาปี 2505 เท่านั้น ส่วนการจะปักปันเขตแดนก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการร่วมชายแดนของทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเจรจาตกลงกันเอง แต่สำหรับตัวปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบนั้น อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาตามคำวินิจฉัยของศาลโลกเมื่อ 50 ปีก่อน
เมื่อเป็นอย่างนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็น่าจะยินดี กล่าวคือมองไปทางบวกไว้ก่อน ส่วนแนวเขตแดนก็คงต้องเจรจากันตามที่ได้ตกลงกันในสนธิสัญญาปี 2448 และเอกสารประกอบอื่นๆ ซึ่งก็แปลว่าทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ทั้งหมดตามที่ตนร้องขอและไม่ได้เสียทั้งหมดตามที่ตนคัดค้าน ถ้าทัศนคติทั้ง 2 ฝ่ายมุ่งเจรจากันอย่างเป็นมิตรประเทศในปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนนอกเหนือจากบริเวณที่ตั้งของตัวปราสาทอันเป็นชะง่อนผา ซึ่งศาลใช้คำว่า "เล็กๆ" ก็ว่ากันไปตามกลไกที่มีอยู่แล้วคือคณะกรรมการร่วมเขตแดน ศาลไม่ก้าวล่วงไปตรงนี้ ดังนั้นไทยก็ยังไม่เสียแต่ก็ยังไม่ได้พื้นที่ 4.6 ตร.กม. ตรงตามที่หนังสือพิมพ์มติชนเข้าใจ
ที่สำคัญศาลขอให้ทั้ง 2 ประเทศช่วยกันดูแลทะนุบำรุงปราสาทพระวิหารร่วมกับยูเนสโก เพราะบัดนี้ปราสาทพระวิหารได้เป็นมรดกของชาวโลกไปแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นคำพิพากษาที่สมเหตุสมผล เพราะกัมพูชามิได้ขอให้ศาลโลกพิจารณาเรื่องเส้นเขตแดน เพียงแต่ขอให้พิจารณาว่าปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
ที่น่ายินดีก็คือหลังจากมีคำพิพากษา ปฏิกิริยาของรัฐบาลและประชาชนของทั้ง 2 ฝ่ายไม่แสดงกิริยาอาการดีใจหรือเสียใจจนจะเกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลและประชาชนของตนให้ปฏิเสธคำพิพากษา
คนที่ยินดีมากกว่าใครก็คือ ประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สงครามเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงท่าทีของผู้นำกองทัพของทั้งสองประเทศต่างก็แสดงทีท่าไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ไม่ว่าคำพิพากษาจะออกมาอย่างไร ไทยกับกัมพูชาจะไม่รบกัน ไทยกับกัมพูชาจะไม่ใช้กำลังเข้าตัดสินปัญหา อันแสดงถึงวุฒิภาวะและความเป็นอารยะของผู้นำของทั้ง 2 ประเทศ แม้ว่าจะยังมีเรื่องต้องพิจารณาเจรจากันต่อไป ถ้ายังเจรจากันไม่ได้ก็ทิ้งไว้ก่อนเหมือนๆ กับท่าทีของไทยกับลาว ไทยกับพม่า ไทยกับมาเลเซียในขณะนี้ เพราะทุกฝ่ายก็มีข้อจำกัดทางการเมืองภายในประเทศที่ต้องดูแล อีกทั้งปัญหาเรื่องเขตแดนเป็นปัญหาที่ "อ่อนไหว" สำหรับทุกประเทศ เป็นมรดกที่เจ้าอาณานิคมทิ้งไว้ให้เป็นปัญหากับทุกประเทศ กัมพูชาก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเขตแดนกับไทยเท่านั้น กับเวียดนามและลาวด้วย ซึ่งก็น่าเห็นใจทุกฝ่าย แต่ด้วยความผูกพันฐานะมิตรประเทศเพื่อนบ้านจึงตกลงกันได้ ไม่เกิดเหตุให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นที่พึ่งของประเทศเล็กและศาลโลกต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว เพื่อให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ
จากนี้ไปประชาชนคนไทยก็ควรจะสงบและฟังการเจรจาปักปันเขตแดนของคณะกรรมการร่วมเขตแดน ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชา แต่มีกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นโดยรอบด้วย ซึ่งก็เป็นไปด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน บางทีก็มีการเจรจาแลกเปลี่ยนกัน ตรงไหนยังตกลงกันไม่ได้จริงๆ ก็ทิ้งไว้ก่อน เป็นพื้นที่ปลอดประชากร หรือ "no man?s land" ก็มี เราก็อยู่กันได้ไม่ต้องรบราฆ่าฟันกัน ประชากรบริเวณชายแดนซึ่งเป็นญาติพี่น้องกัน ที่แต่งงานข้ามกันไปมาก็จะได้ไม่เดือดร้อน
ข้อแนะนำอันสุดท้ายของศาลโลก ที่ให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกับองค์การยูเนสโกช่วยกันทะนุบำรุงปราสาทพระวิหาร ในฐานะที่เป็นมรดกโลก ให้คงความสำคัญในฐานะโบราณสถานของโลก ให้ชาวโลกได้ชื่นชม
ความจริงแล้วผู้ที่จะได้ประโยชน์อย่างมากแม้ว่าปราสาทพระวิหารจะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาก็น่าจะเป็นประเทศไทย ถ้าหากสันติภาพถาวรเกิดขึ้น สามารถเปิดให้นักท่องเที่ยว นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ เดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวก เขาเหล่านั้นก็น่าจะต้องผ่านประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เพราะทางขึ้นอยู่ฝั่งประเทศไทย สนามบินสุวรรณภูมิก็เป็นสนามบินที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอยู่แล้ว
นักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น จีน ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกา ถ้าจะไปเยี่ยมชม นครวัด นครธม ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกัมพูชาก็เดินทางมากรุงเทพฯมากที่สุด บริษัทท่องเที่ยวไทยก็จัดให้เสียมราฐ อันเป็นที่ตั้งของนครวัด นครธม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต่อยอดจากการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยอยู่แล้ว ไทยกับกัมพูชาจึงมีผลประโยชน์ร่วมกัน ปราสาทพระวิหารก็น่าจะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวทุกแห่ง แหล่งท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านก็เช่นกัน
นักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พุกาม เสียมราฐ พระตะบอง หรือแม้แต่ฮานอย ไซ่ง่อน ส่วนใหญ่ก็มาแวะที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยสายการบินไทยแล้วจึงเดินทางต่อไปพักโรงแรมของคนไทย ใช้บริการของบริษัทท่องเที่ยวไทย
ขณะเดียวกันถ้าเราไปประเทศเพื่อนบ้านก็จะเห็นสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไม้สอยตลอดไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ เครื่องไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถยนต์นั่งส่วนตัว ก็ล้วนแต่เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยทั้งนั้น เหมือนกับเราคนไทยสมัยก่อนก็ใช้ของที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นทั้งนั้น การค้าชายแดนไม่มีใครทราบแน่นอนว่ามีจำนวนมากเท่าไหร่ แต่มีการประมาณการว่ามีมูลค่าไม่น้อยกว่า 20-25 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
การรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าตลาดเหล่านี้หายไปก็จะมีคนอื่นแทรกเข้ามาแทนที่เรา กว่าจะกลับมาได้อีกก็คงจะเป็นเวลานาน การรักษาสัมพันธไมตรีด้วยการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
โลกยุคโลกาภิวัตน์ พรมแดนมีความสำคัญน้อยลง ผู้คนไปมาหาสู่กันได้อย่างเสรี ในประเทศยุโรปตะวันตกมีคนเคยกล่าวว่า บ้านหลังหนึ่งมีหน้าบ้านอยู่ในเขตประเทศหนึ่งและหลังบ้านอยู่ในเขตอีกประเทศหนึ่ง ก็เป็นไปได้
เราคงไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก
........