คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 25
ดังนั้นเมื่อหลักเขตที่ 73 ยังคงอยู่เป็นที่ยอมรับ ตรวจสอบยืนยันได้ตามสภาพธรรมชาติของแหลม
และยังเป็นที่ยอมรับทั้งไทยและเขมร ดังนั้นหลักเขตจุดนี้คือจุดตายตัวของพื้นที่อาณาเขตไทย
เพราะถึงหลักอื่นๆจะขยับไปไม่ตรงเดิม แต่สุดท้ายเส้นเขตแดนก็ต้องลากมาสู่หลักที่ 73 ที่จุดเดิมอยู่ดี
ดังนั้นแม้ภายในจะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเขต แต่รับรองว่าพื้นที่ทะเลไทยไม่มีทางหายรึลดไปได้
นอกจากว่าจะเกิดภัยพิบัติ แผ่นดินตรงแหลมสารพัดพิษยุบหายลงไปในทะเลนั่นแหละ กรณีนี้ก็ทำใจ
และยังเป็นที่ยอมรับทั้งไทยและเขมร ดังนั้นหลักเขตจุดนี้คือจุดตายตัวของพื้นที่อาณาเขตไทย
เพราะถึงหลักอื่นๆจะขยับไปไม่ตรงเดิม แต่สุดท้ายเส้นเขตแดนก็ต้องลากมาสู่หลักที่ 73 ที่จุดเดิมอยู่ดี
ดังนั้นแม้ภายในจะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเขต แต่รับรองว่าพื้นที่ทะเลไทยไม่มีทางหายรึลดไปได้
นอกจากว่าจะเกิดภัยพิบัติ แผ่นดินตรงแหลมสารพัดพิษยุบหายลงไปในทะเลนั่นแหละ กรณีนี้ก็ทำใจ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งริปับลิกฝรั่งเสศ 23 มีนาคม ร.ศ.125 พ.ศ.2449/50 (ค.ศ.1907) ข้อ 2 ว่า
"รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยามตามกำหนดเขตแดนดังว่าไว้ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตแดนดังกล่าวมาแล้ว"
กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่เกาะกูด นอกจากนี้เมื่อฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาของไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ.125 (ค.ศ.1907) โดยระบุว่า"รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม"
นอกจากนี้ กรมอุทกศาสตร์ได้สร้างกระโจมไฟบนเกาะกูดเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือ และกระโจมไฟดังกล่าวก็อยู่ในเขตพื้นที่ที่ทหารเรือไทยดูแล จึงเป็นสิ่งแสดงชัดเจนว่าไทยถือครองกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินเกาะกูดตลอดมา และกัมพูชาก็ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ"
http://hilight.kapook.com/view/62465
เกาะกูดเป็นของไทยและกัมพูชาก็ยอมรับมาตลอดว่าเป็นของไทย
แผนที่ที่อ้างถึงที่ติดอยู่ที่ตำรวจน้ำเกาะกงนั้น เป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้ในการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะในปี 2515 ซึ่งทำขึ้นก่อนแผนที่ที่ไทยประกาศ 1 ปี
เส้นนั้นลากจากเส้นฐานคือปลายสุดของจังหวัดตราดออกไปยังอ่าวไทย ซึ่งจะทับกับเส้นของไทยที่ลากจนเกิดพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย
ปัญหาเรื่องนี้ก็คือ แผนที่ที่กัมพูชาอ้างอิง อ้างอิงจากแผนที่ตามสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสในปี 1907 ซึ่งฝรั่งเศสระบุว่ายกดินแดนให้ไทยคือเมืองตราดไปจนถึงหมู่เกาะในอ่าวไทยจนถึงเกาะกูดให้ไทย ถ้าไปสังเกตุดูดี ๆ แผนที่ของกัมพูชา แม้ว่าจะลาดเส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะในทะเลผ่านเกาะกูดออกไป แต่ก็จะวงเล็บไว้ตลาดว่า (Siam) หรือ (Thailand) และการลากเส้นของกัมพูชา แท้จริงคือการลากมาชนเกาะกูด และอ้อมเกาะกูดไปจนกลับมาในแนวเดิมอีกครั้งในอีกด้านของเกาะ
เกาะกูดเป็นเกาะที่ไทยมีอธิปไตยมายาวนาน มีกฏหมายบังคับใช้ มีการสร้างกระโจมไฟ มีขอบเขตอำนาจ มีการปกครอง และกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งเรื่องนี้ กลับกันกัมพูชายอมรับมาตลอดว่าเกาะกูดเป็นของไทย และเขาก็ไม่ได้อ้างสิทธิเหนือเกาะกูดครับ
ทำไมเส้นเป็นอย่างนั้น? ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเลในปี 1958 (UNCLOS 1958) ระบุให้รัฐชายฝั่งสามารถมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ 200 ไมล์ทะเลจากทะเลอาณาเขต เส้นที่เราลากก็อ้างอิงจากอนุสัญญาฉบับนี้ และเช่นกันเส้นที่กัมพูชาลากก็อ้างอิงจากอนุสัญญาฉบับนี้ และอนุสัญญาฉบับนี้มีข้อกำหนดอีกอย่างนึงว่า เส้นที่รัฐชายฝั่งลาก จะผูกพันเฉพาะรัฐชายฝั่งนั้น ถ้ามีเขตทับซ้อน ให้ใช้การเจรจาตกลงกัน นั่นหมายความว่า เส้นของกัมพูชาก็ผูกพันเฉพาะกัมพูชาไม่ผูกพันกับไทย แต่ก็เช่นเดียวกันว่าเส้นที่ไทยลากนั้นผูกพันกับไทยไม่ผูกพันกับกัมพูชา ประเทศใดจะบอกว่า ฉันลากแบบนี้ ทุกคนต้องยอมรับตามนี้นั้นไม่ได้ ถ้ามีการทับกันต้องเจรจากันครับ .... ทั้งสองประเทศลากเส้นตามที่อนุสัญญาให้สิทธิ และพยายามลากให้ได้พื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Maximum claim) ซึ่งเราก็ทำแบบนี้ และไม่ใช่ว่าเส้นใครจะถูกจะผิดมากกว่ากัน เพราะทั้งสองประเทศลากโดยอ้างอิงอนุสัญญาเดียวกัน แต่พอดีมีประเทศทั้งสองมันใกล้กันเกินไป เลยเกิดพื้นที่ทับซ้อนขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าตกใจครับ
ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าเกาะกูดจะเป็นของกัมพูชา หรือเราจะโดนกฏหมายปิดปากครับ เพราะเขตแดนในทะเลมันต้องมาเจรจากัน แบบกรณีเกาะโลซินของเรากับมาเลเซียที่ทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมหรือ JDA ขึ้นมา และในการเจรจาได้กระทำผ่าน MoU ปี 2544 ซึ่งใน MoU นั้นตัดพื้นที่ทับซ้อนเป็นสองส่วน คือส่วนบนที่ลองติจูดที่อยู่ใต้เกาะกูดมา 30 ไมล์ทะเล ตรงนี้กำหนดให้เจรจากำหนดเขตแดนกัน เพราะไทยก็ไม่ได้ยอมรับเส้นที่กัมพูชาลาก ส่วนพื้นที่ทับซ้อนด้านล่างลงไป กำหนดให้เจรจาแบ่งผลประโยชน์กันในทำนองเดียวกับ JDA
ดังนั้น สรุปได้ว่า
- อธิปไตยเหนือเกาะกูดเป็นของไทยแน่นอน และกัมพูชาก็ยอมรับเรื่องนี้ และไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูด
- เส้นของกัมพูชาลากชนเกาะกูด และอ้อมมาตามชายฝั่งจนมาถึงอีกด้านหนึ่งของเกาะกูด
- เส้นทั้งหลายไม่ใช่ข้อสรุป จำเป็นที่จะต้องมีการเจรจากันอีกครั้ง และจนถึงวินาทีนี้ ไทยก็ไม่ได้ยอมรับเส้นที่กัมพูชาอ้าง
- ด้งนั้นเรื่องนี้สบายใจได้ ดูเส้นที่เขาลากแล้วจะตกใจ แต่ถ้าดูดี ๆ จะพบว่าไม่น่าห่วงเลยครับ
"รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยามตามกำหนดเขตแดนดังว่าไว้ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตแดนดังกล่าวมาแล้ว"
กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่เกาะกูด นอกจากนี้เมื่อฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาของไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ.125 (ค.ศ.1907) โดยระบุว่า"รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม"
นอกจากนี้ กรมอุทกศาสตร์ได้สร้างกระโจมไฟบนเกาะกูดเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือ และกระโจมไฟดังกล่าวก็อยู่ในเขตพื้นที่ที่ทหารเรือไทยดูแล จึงเป็นสิ่งแสดงชัดเจนว่าไทยถือครองกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินเกาะกูดตลอดมา และกัมพูชาก็ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ"
http://hilight.kapook.com/view/62465
เกาะกูดเป็นของไทยและกัมพูชาก็ยอมรับมาตลอดว่าเป็นของไทย
แผนที่ที่อ้างถึงที่ติดอยู่ที่ตำรวจน้ำเกาะกงนั้น เป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้ในการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะในปี 2515 ซึ่งทำขึ้นก่อนแผนที่ที่ไทยประกาศ 1 ปี
เส้นนั้นลากจากเส้นฐานคือปลายสุดของจังหวัดตราดออกไปยังอ่าวไทย ซึ่งจะทับกับเส้นของไทยที่ลากจนเกิดพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย
ปัญหาเรื่องนี้ก็คือ แผนที่ที่กัมพูชาอ้างอิง อ้างอิงจากแผนที่ตามสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสในปี 1907 ซึ่งฝรั่งเศสระบุว่ายกดินแดนให้ไทยคือเมืองตราดไปจนถึงหมู่เกาะในอ่าวไทยจนถึงเกาะกูดให้ไทย ถ้าไปสังเกตุดูดี ๆ แผนที่ของกัมพูชา แม้ว่าจะลาดเส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะในทะเลผ่านเกาะกูดออกไป แต่ก็จะวงเล็บไว้ตลาดว่า (Siam) หรือ (Thailand) และการลากเส้นของกัมพูชา แท้จริงคือการลากมาชนเกาะกูด และอ้อมเกาะกูดไปจนกลับมาในแนวเดิมอีกครั้งในอีกด้านของเกาะ
เกาะกูดเป็นเกาะที่ไทยมีอธิปไตยมายาวนาน มีกฏหมายบังคับใช้ มีการสร้างกระโจมไฟ มีขอบเขตอำนาจ มีการปกครอง และกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งเรื่องนี้ กลับกันกัมพูชายอมรับมาตลอดว่าเกาะกูดเป็นของไทย และเขาก็ไม่ได้อ้างสิทธิเหนือเกาะกูดครับ
ทำไมเส้นเป็นอย่างนั้น? ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเลในปี 1958 (UNCLOS 1958) ระบุให้รัฐชายฝั่งสามารถมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ 200 ไมล์ทะเลจากทะเลอาณาเขต เส้นที่เราลากก็อ้างอิงจากอนุสัญญาฉบับนี้ และเช่นกันเส้นที่กัมพูชาลากก็อ้างอิงจากอนุสัญญาฉบับนี้ และอนุสัญญาฉบับนี้มีข้อกำหนดอีกอย่างนึงว่า เส้นที่รัฐชายฝั่งลาก จะผูกพันเฉพาะรัฐชายฝั่งนั้น ถ้ามีเขตทับซ้อน ให้ใช้การเจรจาตกลงกัน นั่นหมายความว่า เส้นของกัมพูชาก็ผูกพันเฉพาะกัมพูชาไม่ผูกพันกับไทย แต่ก็เช่นเดียวกันว่าเส้นที่ไทยลากนั้นผูกพันกับไทยไม่ผูกพันกับกัมพูชา ประเทศใดจะบอกว่า ฉันลากแบบนี้ ทุกคนต้องยอมรับตามนี้นั้นไม่ได้ ถ้ามีการทับกันต้องเจรจากันครับ .... ทั้งสองประเทศลากเส้นตามที่อนุสัญญาให้สิทธิ และพยายามลากให้ได้พื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Maximum claim) ซึ่งเราก็ทำแบบนี้ และไม่ใช่ว่าเส้นใครจะถูกจะผิดมากกว่ากัน เพราะทั้งสองประเทศลากโดยอ้างอิงอนุสัญญาเดียวกัน แต่พอดีมีประเทศทั้งสองมันใกล้กันเกินไป เลยเกิดพื้นที่ทับซ้อนขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าตกใจครับ
ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าเกาะกูดจะเป็นของกัมพูชา หรือเราจะโดนกฏหมายปิดปากครับ เพราะเขตแดนในทะเลมันต้องมาเจรจากัน แบบกรณีเกาะโลซินของเรากับมาเลเซียที่ทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมหรือ JDA ขึ้นมา และในการเจรจาได้กระทำผ่าน MoU ปี 2544 ซึ่งใน MoU นั้นตัดพื้นที่ทับซ้อนเป็นสองส่วน คือส่วนบนที่ลองติจูดที่อยู่ใต้เกาะกูดมา 30 ไมล์ทะเล ตรงนี้กำหนดให้เจรจากำหนดเขตแดนกัน เพราะไทยก็ไม่ได้ยอมรับเส้นที่กัมพูชาลาก ส่วนพื้นที่ทับซ้อนด้านล่างลงไป กำหนดให้เจรจาแบ่งผลประโยชน์กันในทำนองเดียวกับ JDA
ดังนั้น สรุปได้ว่า
- อธิปไตยเหนือเกาะกูดเป็นของไทยแน่นอน และกัมพูชาก็ยอมรับเรื่องนี้ และไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูด
- เส้นของกัมพูชาลากชนเกาะกูด และอ้อมมาตามชายฝั่งจนมาถึงอีกด้านหนึ่งของเกาะกูด
- เส้นทั้งหลายไม่ใช่ข้อสรุป จำเป็นที่จะต้องมีการเจรจากันอีกครั้ง และจนถึงวินาทีนี้ ไทยก็ไม่ได้ยอมรับเส้นที่กัมพูชาอ้าง
- ด้งนั้นเรื่องนี้สบายใจได้ ดูเส้นที่เขาลากแล้วจะตกใจ แต่ถ้าดูดี ๆ จะพบว่าไม่น่าห่วงเลยครับ
ความคิดเห็นที่ 23
จากภาพในคห.22 จะเห็นว่าตรงส่วนมาเลเซียนั้นชายฝั่งของไทยเป็นแบบเฉียงขึ้น
ดังนั้นเส้นอาณาเขตทะเลของไทยก็ควรจะเฉียงขึ้นตาม ไม่ควรจะมีส่วน MTJDA จริงมั้ยครับ
นี่เองคือกรณีที่อธิบายได้ชัด ว่าอาณาเขตทะเลว่ากันด้วยกฎหมาย
เพราะทางไทยไปงัดเอาเกาะๆหนึ่งขึ้นมาอ้าง ซึ่งเกาะนั้นตามกฎหมายก็ย่อมมีน่านน้ำของตน
ทำให้ไทยเราสามารถอ้างอาณาเขตทะเลยาวไปในส่วน MTJDA ได้
แทนที่มาเลเซียจะเป็นเจ้าของคนเดียว ไทยเราก็มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของด้วย
เรื่องเกาะที่ว่านี้ถ้าอยากได้รายละเอียดลองค้นดูด้วยคำว่า เกาะโลซิน กองหินที่มีค่าดั่งโคตรเพชร
ดังนั้นเส้นอาณาเขตทะเลของไทยก็ควรจะเฉียงขึ้นตาม ไม่ควรจะมีส่วน MTJDA จริงมั้ยครับ
นี่เองคือกรณีที่อธิบายได้ชัด ว่าอาณาเขตทะเลว่ากันด้วยกฎหมาย
เพราะทางไทยไปงัดเอาเกาะๆหนึ่งขึ้นมาอ้าง ซึ่งเกาะนั้นตามกฎหมายก็ย่อมมีน่านน้ำของตน
ทำให้ไทยเราสามารถอ้างอาณาเขตทะเลยาวไปในส่วน MTJDA ได้
แทนที่มาเลเซียจะเป็นเจ้าของคนเดียว ไทยเราก็มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของด้วย
เรื่องเกาะที่ว่านี้ถ้าอยากได้รายละเอียดลองค้นดูด้วยคำว่า เกาะโลซิน กองหินที่มีค่าดั่งโคตรเพชร
ความคิดเห็นที่ 28
เรื่องเขาพระวิหารกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไม่จะเกี่ยวกันนะครับ แต่ที่เขาเอามาโยงเพราะมันง่ายที่จะถูกนำมาใช้เพื่อปลุกระดมทางการเมือง เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนกระทบต่อความรู้สึกของคน ยิ่งเอามาผูกกับเรื่องผลประโยชน์เข้าไปยิ่งไปกันใหญ่ ทั้งที่มันจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้
ลองดูความเห็นของผู้ที่ทำงานในการเจรจาเขตแดนระหว่างประเทศมาตลอด อย่างพลเรือเอกถนอม เจริญลาภ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ผ่านจุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับ 110

ขอตัดย่อมาส่วนนึง ถ้าจะอ่านฉบับเต็มเข้าไปอ่านได้ http://www.geozigzag.com/pdf/110.pdf
หรือ โหลดเอกสารฉบับอื่นได้ จาที่นี่ครับ http://stability.trf.or.th/default.aspx

ส่วนเรื่องเกาะกูด ท่านได้กล่าวไว้ในเอกสารด้วย ว่ายังไงเกาะกูดก็เป็นของไทยแน่นอนไม่มีทางตกเป็นของกัมพูชาได้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องเส้นเขตแดนที่มีผลกระทบมาจากเรื่องเขาพระวิหาร บางคนยังแชร์ในเฟสถึงขนาดว่า เราจะสูญเสียแท่นแก๊สแท่นน้ำมันในอ่าวไทยไปด้วยซ้ำ ไม่รู้มันคิดกันได้ยังไง (ไอ้คนที่แชร์นี่ทำงานในทะเลด้วยนะ)
ลองดูความเห็นของผู้ที่ทำงานในการเจรจาเขตแดนระหว่างประเทศมาตลอด อย่างพลเรือเอกถนอม เจริญลาภ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ผ่านจุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับ 110

ขอตัดย่อมาส่วนนึง ถ้าจะอ่านฉบับเต็มเข้าไปอ่านได้ http://www.geozigzag.com/pdf/110.pdf
หรือ โหลดเอกสารฉบับอื่นได้ จาที่นี่ครับ http://stability.trf.or.th/default.aspx

ส่วนเรื่องเกาะกูด ท่านได้กล่าวไว้ในเอกสารด้วย ว่ายังไงเกาะกูดก็เป็นของไทยแน่นอนไม่มีทางตกเป็นของกัมพูชาได้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องเส้นเขตแดนที่มีผลกระทบมาจากเรื่องเขาพระวิหาร บางคนยังแชร์ในเฟสถึงขนาดว่า เราจะสูญเสียแท่นแก๊สแท่นน้ำมันในอ่าวไทยไปด้วยซ้ำ ไม่รู้มันคิดกันได้ยังไง (ไอ้คนที่แชร์นี่ทำงานในทะเลด้วยนะ)
ความคิดเห็นที่ 22
จากที่ได้ศึกษาเรื่องอาณาเขตทะเลมา ขอยืนยันครับว่าอาณาเขตทางบกกับอาณาเขตทะเลนี่เป็นคนละเรื่อง
อาณาเขตทางบกมีการอ้างอิงทั้งสนธิสัญญา-ประวัติศาสตร์ แต่อาณาเขตทางทะเลว่ากันด้วยกฎหมายอย่างเดียว (อาจจะมีอิงอย่างอื่นบ้างเช่น เกาะ)
เพราะอะไร เพราะว่าพื้นที่บกนั้นมีการครอบครองแสดงสิทธิได้ แต่พื้นที่ทะเลใครจะไปครอบครองได้ จะให้ไปครอบครองทะลกันอย่างไร
ดังนั้นอาณาเขตทะเลจึงว่ากันด้วยกฎหมายทะเลเท่านั้น รวมไปถึงสภาพภูมิประเทศชายฝั่ง และเกาะ
หากประเทศไหนมีภูมิประเทศชายฝั่งยาวออกไป ตามกฎหมายทะเลการขีดเส้นอาณาเขตทะเลก็ต้องลากตามถูมิประเทศที่เป็นไป
กรณีไทยกับเขมรนั้นตามกฎหมายไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องสงสัยเลย เพราะเขมรทำผิดหลักอย่างชัดเจนที่ลากตัดเกาะกูดของไทยมา
ตามหลักกฎหมายทะเลถึงเป็นเกาะก็มีน่านน้ำอาณาเขตของตน ดังนั้นเขมรจะลากเส้นอะไรมาทางไทย
จะต้องคำนวณพื้นที่ที่คาบเกี่ยวกันและหักหลบน่านน้ำของเกาะกูดไปก่อน
เพียงแต่หากไทยเสียดินแดนชายฝั่งตรงแหลมสารพัดพิษไปส่วนหนึ่ง คืออาณาเขตไม่ไปสุดตรงจุดเดิม
ก็อาจส่งผลต่อการลากเส้นอาณาเขตทะเลได้ ต้องลดลงมาตามอาณาเขตชายฝั่ง
อาณาเขตทางบกมีการอ้างอิงทั้งสนธิสัญญา-ประวัติศาสตร์ แต่อาณาเขตทางทะเลว่ากันด้วยกฎหมายอย่างเดียว (อาจจะมีอิงอย่างอื่นบ้างเช่น เกาะ)
เพราะอะไร เพราะว่าพื้นที่บกนั้นมีการครอบครองแสดงสิทธิได้ แต่พื้นที่ทะเลใครจะไปครอบครองได้ จะให้ไปครอบครองทะลกันอย่างไร
ดังนั้นอาณาเขตทะเลจึงว่ากันด้วยกฎหมายทะเลเท่านั้น รวมไปถึงสภาพภูมิประเทศชายฝั่ง และเกาะ
หากประเทศไหนมีภูมิประเทศชายฝั่งยาวออกไป ตามกฎหมายทะเลการขีดเส้นอาณาเขตทะเลก็ต้องลากตามถูมิประเทศที่เป็นไป
กรณีไทยกับเขมรนั้นตามกฎหมายไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องสงสัยเลย เพราะเขมรทำผิดหลักอย่างชัดเจนที่ลากตัดเกาะกูดของไทยมา
ตามหลักกฎหมายทะเลถึงเป็นเกาะก็มีน่านน้ำอาณาเขตของตน ดังนั้นเขมรจะลากเส้นอะไรมาทางไทย
จะต้องคำนวณพื้นที่ที่คาบเกี่ยวกันและหักหลบน่านน้ำของเกาะกูดไปก่อน
เพียงแต่หากไทยเสียดินแดนชายฝั่งตรงแหลมสารพัดพิษไปส่วนหนึ่ง คืออาณาเขตไม่ไปสุดตรงจุดเดิม
ก็อาจส่งผลต่อการลากเส้นอาณาเขตทะเลได้ ต้องลดลงมาตามอาณาเขตชายฝั่ง

แสดงความคิดเห็น
หากเราแพ้คดีเขาพระวิหารจะส่งผลถึงพื้นที่ทางทะเลด้วยจริงหรือครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
................................................................................................................................................
เอาจริงๆตัวผมไม่มีความรู้เรื่องนี้นะครับ แต่ผมตัดสินจาก common sense (ที่อาจจะผิด) ของผม (ที่ได้รับรู้เรื่องใส่สีตีไข่ในบ้านนี้เมืองนี้มาพอสมควร) ผมไม่เชื่อครับว่า "การแพ้คดีปราสาทเขาพระวิหารจะส่งผลถึงการสูญเสียพื้นที่ (หรือผลประโยชน์) ในทะเลด้วย" ซึ่งการที่ผมมาตั้งกระทู้นี้ไว้ก็เผื่อว่า common sense ของผมจะผิด ผมจะได้ปรับเปลี่ยนเสียใหม่ครับ
สืบเนื่องมาจากเพจๆหนึ่งเอาข้อมูล (จะเรียกว่าข้อมูลหรือเรื่องแต่งดี?) มาตามนี้ครับ
และนี่คือข้อความประกอบครับ
ผมเอ็งคิดแบบโง่ๆเลยนะครับ คือเขาพระวิหารกับอ่าวไทยมันอยู่ไกลกันมากตามรูปนะครับ
เลยไม่คิดว่าหากเราแพ้คดีเขาพระวิหารจะส่งผลถึงพื้นที่ทางทะเลด้วยจริง (กรณีนี้ผมไม่สนใจพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. บนบกนะครับ ว่าถ้าเราแพ้คดีนี้ พื้นที่ดังกล่าวเราจะเสียไปหรือไม่ เว้นแต่การเสียพื้นที่บนบกดังกล่าวจะส่งผลให้ส่งผลถึงพื้นที่ทางทะเลด้วย อันนี้คงต้องนำมาพิจารณา)
แล้วผมก็ไปเจอเอกสารของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรื่องการอ้างสิทธิไหล่ทวีปในอ่าวไทยของแต่ละประเทศ
จะเห็นว่าแต่ละประเทศก็เอาประโยชน์ของตัวเองเป็นใหญ่โดยอ้างสิทธิไหล่ทวีปในอ่าวไทยกันใหญ่เวอร์มาก (โปรดสังเกตไทยเราประกาศหลังคนอื่นๆเขาด้วย) ซึ่งผมว่าอันนี้แต่ละประเทศก็มuสิทธิอ้างล่ะครับ แต่ในความเป็นจริงประเทศเพื่อนบ้านก็คงไม่ยอมเช่นกัน ผมเลยคิดไปเอ็งว่ากรณีนี้ถ้าจะเอาคู่กรณีไทย-มาเลเซียมาพิจารณา ก็น่าจะกล่าวได้ว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area: JDA) ก็คือบทสรุปเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กันคนละครึ่งบนกรณีพิพาทเรื่องการอ้างสิทธิดังกล่าว
ทีนี้ลองมาพิจารณาคู่กรณีไทย-กัมพูชาบ้าง ผมก็เจออีกรูปหนึ่งครับ
ซึ่งผมคิดเอาว่านี่คือบทสรุประหว่างไทย-กัมพูชาที่ผ่านการเจรจาระหว่าง 2 ประเทศมาแล้ว คือ พื้นที่สีเหลืองเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเป็นสิทธิของไทยเท่านั้น ขณะที่พื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมเช่นเดียวกับ JDA Thai-Malaysia
ซึ่งผมคิดเอาเอง (อีกแล้ว) ว่า ก่อนหน้านี้ (ก่อนหน้าปี 2544 ตามรูป) กัมพูชาอ้างว่าพื้นที่สีเหลืองนั้นเป็นของเขาด้วย แต่เราไม่ยอมให้ จนเป็นทีมาของการทำ MOU ดังกล่าวเพื่อหาบทสรุปร่วมกัน
คำถามของผมก็คือ ถ้าเราแพ้คดีเขาพระวิหารไอ้ข้อตกลงตาม MOU ปี 2544 มันจะเปลี่ยนไปจนทำให้เราเสียประโยชน์ (เช่น กัมพูชามามีสิทธิร่วมเหนือพื้นที่สีเหลืองด้วย หรือ กัมพูชามีสิทธิเหนือพื้นที่สีเขียวแต่เพียงผู้เดียว) หรือไม่ครับ
ต้องรบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายเรื่องนี้ด้วยครับ และผมสัญญาว่าถ้าผมรู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเป็นอีก 1 กระบอกเสียงเพื่อช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง (รวมถึงไปปะ ฉะ ดะ กับไอ้พวกเต้าข่าวเพื่อสร้างความแตกแยก) สืบต่อไปครับ