ชำแหละ EHIA แม่วงก์ 2555 ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ

คลิปรายการ 2 ตอนครับ

1. สัมภาษณ์ อ.ศศิน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
2. สัมภาษณ์คุณวีระกร
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ช่วงนี้ติดตามข้อมูลเรื่องเขื่อนตลอดสัปดาห์จากเกือบทุกสื่อที่นำเสนอ มีข้อมูลทั้งสองฝั่งออกมาจนผมเริ่มสงสัยใน EHIA  ประกอบกับเมื่อวานได้ดูรายการเจาะข่าวเด่นของคุณสรยุทธแล้วเกิดทนไม่ได้ เฮ้ย! นี่เราโดนอ.ศศินปั่นหัวอยู่รึป่าว(วะ)  EHIA เหมือนกันพูดไม่เหมือนกัน มีป่าเสื่อมโทรม มีแผ้วถางแล้ว จะไปดูด้วยตาตัวเองก็ยังไม่ว่าง จริง ๆก็ได้ดูภาพที่คนอื่นเค้าถ่ายมาแล้วล่ะ แต่ถ้าเขาร่วมมือกับ อ.ศศินใช้ Photoshop ตบตาเราล่ะ ! ทนไม่ได้ เลยไปหา EHIA ฉบับ เมษายน 2555 มาอ่าน คือผมหาเล่มกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งเป็นเล่มเก่า ที่คุณวีระกรใช้ไม่ได้ครับ เลยขออนุมานเอาว่าใช้ของใหม่ในการวิเคราะห์จะดีกว่า  เราจะไม่ยอมโดน อ.ศศินปั่นหัวอีกต่อไป !

ข้อควรทราบก่อนอ่าน

1.ขอไม่วิเคราะห์ว่า EHIA นี้มีความถูกต้องหรือไม่ เอาแค่ว่าใน EHIAเล่มนี้ เขียนว่าอย่างไร
2.ภาพทั้งหมดผมเอามาจาก EHIA ฉบับสแกนที่เค้าลงลายน้ำไว้ว่าอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม
3.คร่าว ๆ คือรายงานตามภาพด้านล่างเลยครับ
4.เนื่องจากผมเกิดข้อสงสัยอย่างจริงจัง หลังจากได้ดูคลิปที่ 2. ดังนั้นนาทีที่ระบุจึงสัมพันธ์กับคลิปที่ 2. ครับ



เข้าประเด็นแรกกันเลยครับ

นาทีที่ 2.40 เหมือนจะพูดกันคนละที่ครับไม่รู้โครงการยิ้มงที่ไหน 3แสนไร่ตลอดเวลา ที่อ.ศศินบอกว่าในฤดูแล้งแค่แสนกว่าไร่ เป็นไปตาม EHIA ด้านล่างครับ



+ผลด้านลบบางข้อ ที่หลายคนก็ไม่รู้ครับ ว่าเขื่อนก็มีเวรคืนที่ดินจำนวนมากเหมือนกัน



แผนที่พื้นที่ชลประทานครับ จะเห็นว่าเวลาเรากล่าวว่าได้ประโยชน์ถึง 3 จังหวัด แต่โดยพื้นที่ชลประทานตามระบุใน EHIA กินพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ตามขอบสีม่วงที่ผมวงสีแดงล้อมไว้ให้สังเกตง่ายด้านบน และ จ.อุทัยธานี ด้านล่างครับ



นาที 4.00 จับใจความได้ประมาณนี้ “มันจุดเล็กๆนิดเดียว  ไม่ใช่แหล่งทำมาหากินของเสือ โกหกทั้งนั้น” คือตอนแรกผมเข้าใจว่าเสือโคร่งอาจไม่ได้อาศัยที่นี่เป็นหลัก แต่มีสัตว์กีบซึ่งเป็นอาหารของเสือโคร่งอาศัยอยู่ ซึ่งก็ครบวงจรแล้วล่ะ ถ้าไม่มีเหยื่อเสือจะอยู่ได้อย่างไร กวางอยู่นี่ เดินไปให้ยิ้มินอีกที่ก็ไม่แปลกอะไร แต่อย่างไรซะผมก็ยังไม่หายสงสัย ว่าตกลงมันยังไงกันแน่รายงานมีเขียนมั้ย เขียนถึงอย่างไร ผลจากการอ่าน ก็เจอตามนี้ครับ มีเสือหลายชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN) เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม (NT) โดยเฉพาะเสือโคร่งก็มีการระบุว่าพบในพื้นที่



จะเห็นว่าบางชนิดได้จากการสอบถาม (จากเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง)แล้วที่มีนักการเมืองท้องถิ่นให้ข้อมูลว่า ไม่เคยเจอ ไม่มี ถามชาวบ้านได้เลยหมายความว่าอย่างไร ? ผมไม่ได้ว่าชาวบ้านโกหกนะครับ แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่อนุรักษ์ จะไปถามชาวบ้านได้อย่างไรครับ ชาวบ้านไม่มีสิทธิเดินเข้าไปตามอำเภอใจเสียหน่อย ไม่เข้าใจตรรกะนี้นะ

นาทีที่ 4.25 “เราจะใช้พื้นที่แค่ตรงนี้เอง 8,000 ไร่จาก 12 ล้านไร่ ของผืนป่าตะวันตกเพราะเวลาเขาพูดเขาจะพูดเรื่องเสือมี 200 ตัว มันหมายถึงเสือทั้งผืนป่าตะวันตก ไม่ใช่เฉพาะอ่างเก็บน้ำที่จะเกิดมี 200 ตัว” จริง ๆ ผมคิดว่าท่านก็เข้าใจจำนวนเสือไม่ผิดนัก น้อยขนาดนี้ยังไม่เห็นใจกันอีกหรืออย่างไรครับ

เรื่องขนาดเขื่อนที่ย้ำ ๆ หลายครั้งว่า 8,000 ไร่ ชี้แจงได้ตามภาพนะครับ



กลับมาที่เสืออีกแล้ว นาทีที่ 5.30 “ผมถามว่ามันมีที่ 12 ล้านไร่เสือมันจะมาเดินเล่นตรงนี้มั้ย ก็ไม่มาเดินอยู่กับคนหรอกครับ เพราะว่า บริเวณตรงนี้คือบริเวณที่เขาพานักท่องเที่ยวเที่ยวกัน เป็นพื้นที่เปิดอยู่แล้วที่จะสร้างเป็นเขื่อนเนี่ย เป็นบริเวณอุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่อุทยานก็ต้องพาเดินอยู่แล้ว”

ในเมื่อยังเกี่ยวข้องกับเสือที่ภาพด้านบนตอบคำถามไปแล้วงั้นเลยเอาภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเสือและสัตว์อนุรักษ์อื่นมาลงเพิ่มครับ



นาทีที่ 6.22  ผมสังเกตว่าคุณวีระกรใช้ภาพนี้ออกอากาศหลายครั้งแล้ว แต่มีข้อสงสัยเพราะหากน้ำท่วมแค่ในภาพไม่น่าจะได้พื้นที่รองรับน้ำพอ258 ล้าน ลบ.ม. ลองหาดูเจอหน้าที่คล้าย ๆ กับของท่านนี่แหละ แต่พื้นที่น้ำท่วมมันมากกว่านะครับ แตกต่างแค่ไหนให้ผู้อ่านเล่นเกมจับผิดภาพเองครับ



นาทีที่ 7 กลับมาที่ป่าดงดิบกัน อันนี้ถ้าเราเข้าใจเรื่องระบบนิเวศน์ จะทราบว่าไม่มีใครกล่าวถึงป่าดงดิบแต่แรกแล้ว และไม่ได้หมายความว่าป่าสมบูรณ์จะต้องเป็นป่าดงดิบเสมอไปนะครับ
นาที 8.58 มีการยืนยันกันในรายการว่า “ไม่ใช่ป่าสมบูรณ์แน่นอน” ผมพ่วงกับนาทีที่ 7 เลยครับ



วาทะหนึ่งที่เราจะได้ยินเสมอ ๆ ว่ามันเป็นป่าเสื่อมโทรม ผมก็ได้กระจ่างหลังจากอ่าน EHIA นี่แหละครับ สรุปสั้น ๆ ก่อนดูภาพด้านล่างว่า ในการศึกษาเค้าจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ พื้นที่หัวงาน , พื้นที่อ่างเก็บน้ำ , พื้นที่ชลประทาน , พื้นที่รับประโยชน์, บ่อยืมดิน , ฯลฯ ซึ่งป่าเสื่อมโทรมมีจริง  แต่ไม่ได้อยู่ในส่วนของพื้นที่หัวงาน หรือพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแต่อย่างใด  สรุปดังภาพด้านล่างครับ การไปเอาป่านอกอุทยานมาพูดรวมทั้งโครงการ แล้วบอกว่ามันไม่ได้ทำลายอะไรมาก มีป่าเสื่อมโทรมแล้ว แผ้วถางแ้ล้ว แบบนี้หมายความว่าอย่างไร ?



หรือมาดูตัวอย่างปริมาตรไม้ของป่าในอุทยานกับป่าด้านนอกกันครับ แล้วจะพบว่ามันช่างแตกต่างกันนัก



ลูกไม้และกล้าไม้



นาที 18.10 มีคำถามในรายการว่า  “คุณศศิน อ่านรึเปล่าเล่มนี้ คุณศศินได้อ่านรึเปล่า” ผมสรุปให้ว่าเนื้อหาน่าจะคล้ายกัน แต่คนละเล่มครับคนนึงใช้เล่มเก่า ก.พ.2555 อีกคนใช้เล่มใหม่ เม.ย.2555 ส่วนใครจะอ่านหรือไม่อ่านผมชักจะไม่แน่ใจ

ดราม่าตอนท้ายรายการ ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกของคุณวีระกรและแสดงให้เห็นว่าคุณวีระกรไม่เข้าใจคำว่า “ระบบนิเวศน์” เลย ที่พูดอย่างนี้หมายความว่านักอนุรักษ์ทุกคนเข้าใจดีถึงความลำบากของประชาชนจึงไม่ได้ขอให้หยุดโครงการ แต่ขอให้ทบทวนลักษณะการจัดการน้ำในรูปแบบอื่น เสียดายที่ท่านเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีน่าจะมีฝีมือในการช่วยประสานประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งคงจะได้รับคำยกย่องไปอีกนานทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และวงการอนุรักษ์

อธิบายเพิ่มเติมพอสังเขปเพราะผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนักในเรื่องระบบนิเวศน์ ที่กล่าวถึงเสือนั้นเป็นการสรุปสั้น ๆ เพราะเสืออยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหารการมีเสือหมายความว่าระบบนิเวศน์มีความสมบูรณ์ ป่าเป็นแหล่งต้นน้ำเราคงรู้กันดีแต่ป่าที่ไม่มีสัตว์จะเสื่อมโทรมลง เพราะมันซ่อมตัวเองไม่ได้ สมมติว่าหญ้าขึ้นเยอะก็มีกวาง มีสัตว์กีบมากิน ถ้าไม่มีเสือแล้วจำนวนสัตว์กินพืชเพิ่มมากขึ้นพืชก็จะโดนกินมากเกินไป จนถึงจุดหนึ่งอาจจะไม่มีลูกไม้ กล้าไม้ที่สามารถเติบโตมาทดแทนได้ ทุกสิ่งในป่าล้วนถูกออกแบบมาแล้วอย่างสมดุล และเราเหลือพื้นที่เหล่านี้ในประเทศไทยน้อยมากแล้ว โดยเฉพาะป่าที่ราบต่ำเพราะในอดีตให้สัมปทานป่าไม้ในป่าลักษณะนี้ไปมาก

แต่หากเรามนุษย์เราจะใจแคบมา มองเสือไม่กี่ตัวก็จะพบว่าปัจจุบัน มีเสือโคร่งอินโดจีนในป่าเพียง 1,200-1,800 ตัวทั่วโลก และในป่าเมืองไทยไม่ถึง 300 ตัว ด้วยพื้นที่ป่าตะวันตกที่มีศักยภาพและเป็นโอกาสไม่มากนี้ ก็น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนได้อีกเล็กน้อย ที่กล่าวว่าป่าตะวันตก 11.7 ล้านไร่ แค่นี้มันไม่ตาย แต่ทำให้มันลำบากครับ ปัจจุบันเราพบว่าเสือเดินไปมาระหว่างห้วยขาแข้ง แม่วงก์ คลองลาน แล้วการไปทำเขื่อนตรงที่ราบระหว่างกลางคือแม่วงก์ในระยะเวลา 8 ปี นอกจากพื้นที่ที่เหมาะสมกับการล่าเหยื่อหายไปแล้วสิ่งที่จะเกิดอีกแน่ ๆ คือ เสือจะโดนคุกคามอย่างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเรามองหาวิธีการจัดการน้ำรูปแบบอื่นที่ทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ก็จะดี เนื่องจากทรัพยากรใช้ไปแล้วเอากลับมาไม่ได้ครับ

เสริม
ป่าตะวันตกในมุมมองของ EHIA




สุดท้ายเรื่องสัตว์ป่าในมุมมองสรุปของ EHIA






* คำอธิบายเรื่อง EHIA เพิ่มเติม
EHIA 1 ชุดสำหรับเขื่อนนี้จะมี 5 เล่มคือ รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานหลัก รายงานแผนการป้องกันแก้ไขและติดตามผลกระทบฯ รายงานการมีส่วนร่วมสาธารณะ และรายงานภาคผนวก ผมสันนิษฐานว่าคุณวีระกรถือเล่มสรุปสำหรับผู้บริหาร ซึ่งจะบางกว่าครึ่งหนึ่ง แต่เนื้อหามิได้แตกต่างกัน ในเล่มผู้บริหารก็นำข้อมูลจากเล่มหลักที่ละเอียดกว่าไปสรุปไว้ ปัญหาจึงเป็นว่าทำไมใช้ของเก่า/ใหม่ มากกว่าเรื่องฉบับสรุปกับฉบับเต็มครับ

*อย่างไรก็ตามจากข่าวล่าสุดจะมีการทำ EHIA และศึกษาโครงการใหม่ ไม่ได้ใช้ฉบับเดิมแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่