วันนี้ไปเจอความรู้ใหม่ ๆ มาค่ะ เลยเอามาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ หวังว่าคงมีประโยชน์นะคะ
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ ตระกูลแคโรทีนอยด์ที่มีสีชมพูถึงแดงจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าแอสตาแซนธินมีความสามารถในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวหรือค่าแสดงการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าโคเอนไซม์ คิวเทน 800 เท่า สูงกว่าคาทีซินซึ่งเป็นสารสกัดจากชาเขียว 560 เท่าและมีค่าสูงกว่าวิตามินซี 6,000 เท่า (Nishida et al. 2007) จากการศึกษาเพิ่มเติมของ Shimidzu และคณะ พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอี 550 เท่า และสูงกว่าเบต้าแคโรทีน 40 เท่า
จากผลของการศึกษาที่พบว่าแอสตาแซนธินเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงจึงมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและความงามหลากหลายด้าน ดังนี้
1. ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อสภาพผิว
YamashitaE.ได้ทำการวิจัยทางคลีนิคโดยศึกษาแบบ Single Blind Randomized Control ในอาสาสมัครหญิงที่อายุประมาณ 47 ปี จำนวน 49 คน โดยให้รับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 ของการทดลอง อาสาสมัครรู้สึกว่าสุขภาพผิวดีขึ้น คือ ความแห้งและหยาบกระด้างของผิวลดลง ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นมากขึ้น ริ้วรอยลดลง
2.ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด
Iwamoto T. และคณะนักวิจัยได้ทำการศึกษาทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองถึงฤทธิ์ในการต้านการเกิด แอล ดี แอล ออกซิเดชั่น (LDL Oxidation) ของแอสตาแซนธิน เทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นเช่น วิตามินอี และลูทีน ซึ่งพบว่าแอสตาแซนธินมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด จากการศึกษาโดยวัดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และแอล ดี แอล คอเลสเตอรอลในเลือดของอาสาสมัครที่ทานแอสตาแซนธินเสริมที่ 1.8- 21.6 มิลลิกรัมเป็นเวลา 14 วันพบว่ามีการไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่ค่า แอล ดี แอล คอเลสเตอรอล lag time ซึ่งแสดงค่าการต้านการออกซิเดชั่นเพิ่มขึ้นแปรผันตามปริมาณของแอสตาแซนธิน นักวิจัยจึงสรุปว่าการทานแอสตาแซนธินเสริมอาจช่วยในการลดการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้
3.ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Uchiyama และคณะได้ทำการศึกษาวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการแล้วค้นพบว่าแอสตาแซนธินมีคุณสมบัติในการป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ตับอ่อนจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (Fasting blood sugar) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังเพิ่มความไวต่อการทำงานของอินซูลินกับเซลล์ภายในร่างกายอีกด้วย
4.ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูสภาพ
จากการศึกษาของ Sawaki และ คณะ ที่ประเทศญี่ปุ่นพบว่าหลังจากการให้นักกีฬาวิ่ง 1,200 เมตรรับประทานแอสตาแซนธินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ส่งผลให้ลดการเกิดการสะสมของกรดแลคติกอันเป็นสาเหตุของการทำให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา :
http://www.gotoknow.org/posts/543392
Astaxanthin ประโยชน์ที่คู่ควรแก่ผู้หญิงอย่างเรา
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ ตระกูลแคโรทีนอยด์ที่มีสีชมพูถึงแดงจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าแอสตาแซนธินมีความสามารถในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวหรือค่าแสดงการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าโคเอนไซม์ คิวเทน 800 เท่า สูงกว่าคาทีซินซึ่งเป็นสารสกัดจากชาเขียว 560 เท่าและมีค่าสูงกว่าวิตามินซี 6,000 เท่า (Nishida et al. 2007) จากการศึกษาเพิ่มเติมของ Shimidzu และคณะ พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอี 550 เท่า และสูงกว่าเบต้าแคโรทีน 40 เท่า
จากผลของการศึกษาที่พบว่าแอสตาแซนธินเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงจึงมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและความงามหลากหลายด้าน ดังนี้
1. ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อสภาพผิว
YamashitaE.ได้ทำการวิจัยทางคลีนิคโดยศึกษาแบบ Single Blind Randomized Control ในอาสาสมัครหญิงที่อายุประมาณ 47 ปี จำนวน 49 คน โดยให้รับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 ของการทดลอง อาสาสมัครรู้สึกว่าสุขภาพผิวดีขึ้น คือ ความแห้งและหยาบกระด้างของผิวลดลง ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นมากขึ้น ริ้วรอยลดลง
2.ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด
Iwamoto T. และคณะนักวิจัยได้ทำการศึกษาทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองถึงฤทธิ์ในการต้านการเกิด แอล ดี แอล ออกซิเดชั่น (LDL Oxidation) ของแอสตาแซนธิน เทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นเช่น วิตามินอี และลูทีน ซึ่งพบว่าแอสตาแซนธินมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด จากการศึกษาโดยวัดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และแอล ดี แอล คอเลสเตอรอลในเลือดของอาสาสมัครที่ทานแอสตาแซนธินเสริมที่ 1.8- 21.6 มิลลิกรัมเป็นเวลา 14 วันพบว่ามีการไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่ค่า แอล ดี แอล คอเลสเตอรอล lag time ซึ่งแสดงค่าการต้านการออกซิเดชั่นเพิ่มขึ้นแปรผันตามปริมาณของแอสตาแซนธิน นักวิจัยจึงสรุปว่าการทานแอสตาแซนธินเสริมอาจช่วยในการลดการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้
3.ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Uchiyama และคณะได้ทำการศึกษาวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการแล้วค้นพบว่าแอสตาแซนธินมีคุณสมบัติในการป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ตับอ่อนจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (Fasting blood sugar) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังเพิ่มความไวต่อการทำงานของอินซูลินกับเซลล์ภายในร่างกายอีกด้วย
4.ผลการศึกษาถึงประโยชน์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูสภาพ
จากการศึกษาของ Sawaki และ คณะ ที่ประเทศญี่ปุ่นพบว่าหลังจากการให้นักกีฬาวิ่ง 1,200 เมตรรับประทานแอสตาแซนธินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ส่งผลให้ลดการเกิดการสะสมของกรดแลคติกอันเป็นสาเหตุของการทำให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/543392