ขอเกาะกระแส กระทู้แนะนำ สักนิด
พยายามไล่อ่าน ความเห็น ทั้งหมด แต่ไม่ไหว
แตกกระทู้มาทางนี้แล้วกัน
ก่อนอื่น ทำความรู้จัก "ครีม" กันสักนิดนะคะ (จะพยายามใช้ภาษาง่ายๆ)
ครีม/โลชั่น เป็นส่วนหนึ่งของอิมัลชั่น
อิมัลชั่นเป็นส่วนประกอบของสารที่ชอบน้ำ(จะละลายน้ำ) และ สารที่ชอบน้ำมัน(จะละลายในน้ำมัน) มาจับมือกัน
โดยการใช้ตัวช่วย คือ อิมัลซิฟายเออร์
ครีมบ้านๆ ที่เรารู้จักกันดีคือ น้ำสลัด น้ำสลัดข้นๆ หน่อย ก็มีเนื้อคล้ายๆ ครีม ใครทำน้ำสลัดเป็นน่าจะเข้าใจ
สูตรน้ำสลัด คือ น้ำ น้ำมัน และไข่แดง ไข่แดงจะเป็นตัวเชื่อม ให้น้ำและน้ำมันเข้ากัน ยิ่งเนียนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับฝีมือการตี
ครีม ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยคงตัว ลองสังเกตว่า เปิดกระปุกครีมทิ้งไว้ วันสองวัน หรือตั้งในห้องร้อนๆ อากาศแบบร้อนบ้านเราสัก 40 องศา
ครีมจะมีสภาพไม่เหลวก็ข้นขึ้นและแยกชั้น(เพราะมันเป็นเรื่องของสารสองพวกที่ไม่เข้ากัน-แต่เราพยายามทำให้มันเข้ากัน)
ครีมดีๆ แพงๆ นอกจากจะพยายามค้นคว้า สารสำคัญที่(อ้างว่าทรงคุณค่า)
ต้องค้นคว้าพัฒนาสูตรส่วนผสม ที่คงตัวมากที่สุด คงไม่มีใครอยากเปิดกระปุกมา แล้ว อี๋
ยิ่งกระปุกเปิดบ่อย ครีม มีโอกาสเสื่อมมากขึ้น หลังๆ หลายๆ แบรนด์จึงพยายามเน้นไปที่หลอด มีรูจิ๊ดเดียวไว้บีบครีม
::: อ่านซ้ำๆ สักนิดนะคะ บางคนอาจจะรู้แล้ว :::
จากกระทู้แนะนำ
อยากจะบอก จขกท สักนิดว่า
แค่ ครีม เปลี่ยนสี รูปร่าง ลักษณะ ไม่ได้เป็นการบอกว่า ครีม มีปรอทนะคะ
ครีมสูตรแย่ๆ ห่วยๆ ตั้งทิ้งแป๊ปเดียว เปลี่ยนทั้งสี กลิ่น ลักษณะ ค่ะ
(คือพยายามอ่าน รูปภาพที่ จขกท cap มามากๆ ว่าพิสูจน์ทราบได้อย่างไร)
ถ้า จขกท พิสูจน์ ด้วยวิธีอื่น เราก็ขอโทษด้วยจริงๆ
แต่ในเมื่อ ตั้งใจมาให้ความรู้ ก็ขอชี้แจง เพื่อให้เข้าใจกันทุกฝ่าย
::: พูดแบบนี้เหมือนเข้าข้างแม่ค้า...เดี่ยวก่อนค่ะ อ่านต่อสักนิด :::
เมื่ออ่าน ความเห็นของแม่ค้า เรารู้สึกว่า นี่เป็นโอกาส อันดี ที่จะให้ความรู้(เท่าหางอึ่ง) ของเรา เท่าที่เราเข้าใจ มาบอกต่อกันนิดนึง
อ.ย. ในเครื่องสำอางค์
เครื่องสำอางค์ทั่วๆไป แทบไม่ต้องขอ อ.ย. เลยค่ะ...
ยกเว้นมีสารควบคุม
การที่เครื่องสำอางค์ ได้รับ อ.ย. แล้วไม่ได้พิสูจน์ว่า เครื่องสำอางค์นั่น ไม่มีปรอท
โอ๊ะ อย่างเพิ่งตกใจค่ะ
จาก เวป กลุ่มควบคุมเครื่องสำอางค์ อ.ย.
การขอ "จดแจ้งเครื่องสำอางค์"
http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/manual.pdf
เอกสารที่เอาไว้ยื่น หลักๆ คือ
ใครทำ
ทำที่ไหน
(อย่างดีคือไปตรวจโรงงานผลิตว่าทำตามขั้นตอนมั้ย-ซึ่งผู้ผลิตที่ออกแบรนด์ส่วนใหญ่ มักจะใช้การจ้างบริการโรงงานผลิต-เรียกง่ายๆ ว่า outsouce)
สูตรส่วนผสม
เงินธรรมเนียม
จะเห็นว่าไม่มีค่าวิเคราะห์ ว่าได้สารตามสูตรมั้ย รวมถึง...มีสารอื่นๆ อีกมากมายหรือไม่?
แต่ในแนบท้าย ทางผู้ผลิตจำเป็นต้องมีเอกสารไว้ยืนยัน เผื่อทาง อ.ย.ขอเรียกตรวจสอบ(หากจำต้องมีให้ตรวจสอบ)
ซึ่ง ถ้าเราจำไม่ผิด ทางเครื่องสำอางค์ทั่วๆ ไปที่ไม่มีสารควบคุมไม่ต้องขอ อ.ย. เลยก็ยังได้
...รบกวนถ้าใครทำงานเกี่ยวข้อง เช็คนิดนึงนะคะว่า ตอนนี้ยังเป็นแบบนี้รึเปล่า
เราอยากจะบอกว่า
กลุ่ม คสอ เนี้ยะ ทำงานเชิงรับ คือ ออก เลข อนุญาตไป
ผู้ผลิตก็ทำขายไป
สักพัก(ไม่นานหรอกไม่ต้องตกใจ) อ.ย. จะออกตรวจ สุ่มสินค้า
แล้วแจ้งรายการ สินค้าเครื่องสำอางค์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือพบสารต้องห้าม กันทีหลัง
ออกประกาศเป็นคราวๆ ไป ใครอยากรู้ก็เข้าไปดูได้ ที่ เวปกลุ่มงานเครื่องสำอางค์
::: ตายแล้วฉันจะเชื่อถือ อ.ย. ได้หรือนี่ :::
อย่าตกใจไปค่ะ เชื่อได้ค่ะ ผลตรวจต่างๆ ยังคงถูกต้อง(เมื่อมีการสุ่มสินค้า)
และ ถ้ามีปัญหา ตามตัวเจอค่ะ เพราะเอกสารการจดแจ้งเครื่องสำอางค์จำต้องมีระบุเจ้าของและสถานที่ผลิต (ยกเว้นปิดร้านหนี 555)
ทาง อ.ย. เองก็พยายามเตือนแล้วเตือนเล่าเรื่องเครื่องสำอางค์ที่โฆษณาเกินจริง อันที่จริงบางตัวก็ไม่ได้เกินจริงนะคะ
คือขาวจริง บริ๊งค์จริงแบบแม่ค้าโฆษณานั่นแหละ...แต่มันเกินจริง จริงๆนะคะ ขาวไวหนึ่งเดือน ฉุกคิดสักนิดนะคะว่าทำไม
...บริษัทใหญ่ๆ ล้มละลายแน่นอนค่ะ หรือไม่ก็ต้องมาขอซื้อสูตรจากผู้ผลิตไทย กันเป็นล้านๆ ดอลล่า
::: ปรอท ::::
บางครั้งผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจจะใส่ลงไปนะคะ
แต่บางทีกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานก็ทำให้มีโลหะหนักตกค้าง
ทั้งปรอท ตะกั่ว สารพัดค่ะ...
แหล่งที่มา...โดยทั่วไปคือ อุปกรณ์ในการผลิต เช่น หม้อ ถ้วย รวมถึงน้ำผสม ครีมเบสที่ไม่ได้มาตรฐาน สีผสมราคาถูก
หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ทางทนายจำเลยจำเป็นต้องพิสูจน์ให้ศาลทราบว่าไม่มีเจตนา
...จะทราบได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการสืบค้นและหลักฐานต่างๆ...แต่ยังไงก็เอาผิดได้(มั่ง-ก็มีปรอทจริงๆอ่ะ)
ส่วนที่ผู้ผลิตตั้งใจใส่เพื่อหวังผล....
:::: แค่นี้ก่อนนะคะ ::::
เรามาแชร์ ตามที่ได้รู้คร่าวๆ สมัยเรียน ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจ เท่าไหร่
โตขึ้นแก่ขึ้น อุ้ยตาย ทำไมเดี๋ยวนี้เครื่องสำอางค์เกลื่อนเมือง ดูแล้วไม่ค่อยน่าไว้ใจ
พอรู้คร่าวๆ ก็ลองเสิรชหาข้อมูลอีกนิดหน่อย เพื่อ รื้อฟื้นความจำ
แต่ทั้งหมด นี่เป็นความเห็นของเรานะคะ
ทาง อ.ย. เองยังไม่เคยออกมาชี้แจงเรื่องการจดแจ้งเครื่องสำอางค์แบบละเอียด
เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของเรา ที่แม่ค้ามักอ้างมั่วๆ แบบที่อ่านๆ กัน
ปล...ป้องกันดราม่า เราตั้งใจตั้งกระทู้นี้เพื่อแจ้งทราบ งดดราม่านะคะ
หากใคร มีข้อมูลที่อัฟเดทกว่า...ชี้แจงได้เลยนะคะ
//และทางกลุ่มงานเครื่องสำอางค์งานหนักค่ะ การออกสุ่มตรวจทีหลังไม่ใช่ว่าเบาๆ
แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป เราแน่ใจ ว่า ต่อไป ทาง อ.ย. หากตั้งใจจริง คงมีการขยับออกมาเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการดำเนินงาน
เช่น ตรวจสอบปริมาณที่ถูกต้องก่อน ให้อนุญาต (เหมือนทางยา) เป็นต้น
ซึ่งเราไม่แน่ใจว่า เดี๋ยวนี้...เป็นแบบนี้รึยัง?
::: แถม...สารที่ใช้ในเครื่องสำอางค์แบบควบคุม :::
ไม่แน่ใจว่าล่าสุดรึยัง ประกาศพวกนี้ ออกใหม่เรื่อยๆ
http://www2.customs.go.th/jsp/Hazard/public/cosmetic/preface.pdf
http://www2.customs.go.th/jsp/Hazard/public/cosmetic/MOPH_Notification_38.pdf
:::: เพิ่มเติม ::::
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้:::: เพิ่มเติม เบื่ออีพวกพออ่านแล้วตีความ เที่ยวใส่ความคนอื่น:::::
สงสัยเราเขียนวิชาการไปอ่านไม่เข้าใจ
ประเด็น
1) เวลาแม่ค้ามันบอกว่า ของชั้นได้คุณภาพ ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ เพราะชั้นผ่าน อ.ย. มาแล้วนั่น มันโม้
เพราะเวลาขอจดแจ้ง ไม่มีการทำ stability ความคงเสื่อมสภาพของสารสำคัญ ไม่มี ha ทั้งนั้น
-มีสารปรอทมั้ย...ไม่รู้ จนกว่า อ.ย. จะไปสุ่มตรวจ ถ้ายี่ห้อไหนมี จะมีประกาศออกมารวมถึงเรียกคืน
บางยี่ห้อที่ยังไม่เรียกคืนออกยากท้องตลาด มีสองกรณีคือตรวจไม่เจอ(ของดีจริง ปลอดภัยจริง) กับยังไม่ตรวจ
-ถ้าสงสัย ไม่ไว้ใจ สินค้าตัวไหน เอาสินค้าไปให้ กรมวิทย์ หรือแจ้งไปทาง อ.ย. ให้ตรวจได้
2) ครีมเปลี่ยนไป ไม่จำเป็นต้องมี ปรอท จขกท นั้นก็เกินไป...ถ้าสงสัย เอาไปตรวจ
3) เราไม่ใช่แม่ค้า ไม่ใช่คนซื้อ ไม่ใช่ ha อะไรทั้งนั้น แค่อยากให้เข้าใจ เรื่อง อ.ย. ที่ติดฉลากๆ จะได้ไม่ต้องโดนแม่ค้ายกมาอ้างเป่าหูมึนๆ ไป
4) เครื่องสำอางค์ ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมี อ.ย. ส่วนที่ขอจดแจ้ง อ.ย. ก็เพื่อหวังผลโฆษณา เอาไว้โม้ ว่าสินค้าชั้นมี อ.ย. ปลอดภัยนะยะ
จากกระทู้แนะนำ Eliza และความเข้าใจเกี่ยวกับ อ.ย.
พยายามไล่อ่าน ความเห็น ทั้งหมด แต่ไม่ไหว
แตกกระทู้มาทางนี้แล้วกัน
ก่อนอื่น ทำความรู้จัก "ครีม" กันสักนิดนะคะ (จะพยายามใช้ภาษาง่ายๆ)
ครีม/โลชั่น เป็นส่วนหนึ่งของอิมัลชั่น
อิมัลชั่นเป็นส่วนประกอบของสารที่ชอบน้ำ(จะละลายน้ำ) และ สารที่ชอบน้ำมัน(จะละลายในน้ำมัน) มาจับมือกัน
โดยการใช้ตัวช่วย คือ อิมัลซิฟายเออร์
ครีมบ้านๆ ที่เรารู้จักกันดีคือ น้ำสลัด น้ำสลัดข้นๆ หน่อย ก็มีเนื้อคล้ายๆ ครีม ใครทำน้ำสลัดเป็นน่าจะเข้าใจ
สูตรน้ำสลัด คือ น้ำ น้ำมัน และไข่แดง ไข่แดงจะเป็นตัวเชื่อม ให้น้ำและน้ำมันเข้ากัน ยิ่งเนียนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับฝีมือการตี
ครีม ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยคงตัว ลองสังเกตว่า เปิดกระปุกครีมทิ้งไว้ วันสองวัน หรือตั้งในห้องร้อนๆ อากาศแบบร้อนบ้านเราสัก 40 องศา
ครีมจะมีสภาพไม่เหลวก็ข้นขึ้นและแยกชั้น(เพราะมันเป็นเรื่องของสารสองพวกที่ไม่เข้ากัน-แต่เราพยายามทำให้มันเข้ากัน)
ครีมดีๆ แพงๆ นอกจากจะพยายามค้นคว้า สารสำคัญที่(อ้างว่าทรงคุณค่า)
ต้องค้นคว้าพัฒนาสูตรส่วนผสม ที่คงตัวมากที่สุด คงไม่มีใครอยากเปิดกระปุกมา แล้ว อี๋
ยิ่งกระปุกเปิดบ่อย ครีม มีโอกาสเสื่อมมากขึ้น หลังๆ หลายๆ แบรนด์จึงพยายามเน้นไปที่หลอด มีรูจิ๊ดเดียวไว้บีบครีม
::: อ่านซ้ำๆ สักนิดนะคะ บางคนอาจจะรู้แล้ว :::
จากกระทู้แนะนำ
อยากจะบอก จขกท สักนิดว่า
แค่ ครีม เปลี่ยนสี รูปร่าง ลักษณะ ไม่ได้เป็นการบอกว่า ครีม มีปรอทนะคะ
ครีมสูตรแย่ๆ ห่วยๆ ตั้งทิ้งแป๊ปเดียว เปลี่ยนทั้งสี กลิ่น ลักษณะ ค่ะ
(คือพยายามอ่าน รูปภาพที่ จขกท cap มามากๆ ว่าพิสูจน์ทราบได้อย่างไร)
ถ้า จขกท พิสูจน์ ด้วยวิธีอื่น เราก็ขอโทษด้วยจริงๆ
แต่ในเมื่อ ตั้งใจมาให้ความรู้ ก็ขอชี้แจง เพื่อให้เข้าใจกันทุกฝ่าย
::: พูดแบบนี้เหมือนเข้าข้างแม่ค้า...เดี่ยวก่อนค่ะ อ่านต่อสักนิด :::
เมื่ออ่าน ความเห็นของแม่ค้า เรารู้สึกว่า นี่เป็นโอกาส อันดี ที่จะให้ความรู้(เท่าหางอึ่ง) ของเรา เท่าที่เราเข้าใจ มาบอกต่อกันนิดนึง
อ.ย. ในเครื่องสำอางค์
เครื่องสำอางค์ทั่วๆไป แทบไม่ต้องขอ อ.ย. เลยค่ะ...
ยกเว้นมีสารควบคุม
การที่เครื่องสำอางค์ ได้รับ อ.ย. แล้วไม่ได้พิสูจน์ว่า เครื่องสำอางค์นั่น ไม่มีปรอท
โอ๊ะ อย่างเพิ่งตกใจค่ะ
จาก เวป กลุ่มควบคุมเครื่องสำอางค์ อ.ย.
การขอ "จดแจ้งเครื่องสำอางค์"
http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/manual.pdf
เอกสารที่เอาไว้ยื่น หลักๆ คือ
ใครทำ
ทำที่ไหน
(อย่างดีคือไปตรวจโรงงานผลิตว่าทำตามขั้นตอนมั้ย-ซึ่งผู้ผลิตที่ออกแบรนด์ส่วนใหญ่ มักจะใช้การจ้างบริการโรงงานผลิต-เรียกง่ายๆ ว่า outsouce)
สูตรส่วนผสม
เงินธรรมเนียม
จะเห็นว่าไม่มีค่าวิเคราะห์ ว่าได้สารตามสูตรมั้ย รวมถึง...มีสารอื่นๆ อีกมากมายหรือไม่?
แต่ในแนบท้าย ทางผู้ผลิตจำเป็นต้องมีเอกสารไว้ยืนยัน เผื่อทาง อ.ย.ขอเรียกตรวจสอบ(หากจำต้องมีให้ตรวจสอบ)
ซึ่ง ถ้าเราจำไม่ผิด ทางเครื่องสำอางค์ทั่วๆ ไปที่ไม่มีสารควบคุมไม่ต้องขอ อ.ย. เลยก็ยังได้
...รบกวนถ้าใครทำงานเกี่ยวข้อง เช็คนิดนึงนะคะว่า ตอนนี้ยังเป็นแบบนี้รึเปล่า
เราอยากจะบอกว่า
กลุ่ม คสอ เนี้ยะ ทำงานเชิงรับ คือ ออก เลข อนุญาตไป
ผู้ผลิตก็ทำขายไป
สักพัก(ไม่นานหรอกไม่ต้องตกใจ) อ.ย. จะออกตรวจ สุ่มสินค้า
แล้วแจ้งรายการ สินค้าเครื่องสำอางค์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือพบสารต้องห้าม กันทีหลัง
ออกประกาศเป็นคราวๆ ไป ใครอยากรู้ก็เข้าไปดูได้ ที่ เวปกลุ่มงานเครื่องสำอางค์
::: ตายแล้วฉันจะเชื่อถือ อ.ย. ได้หรือนี่ :::
อย่าตกใจไปค่ะ เชื่อได้ค่ะ ผลตรวจต่างๆ ยังคงถูกต้อง(เมื่อมีการสุ่มสินค้า)
และ ถ้ามีปัญหา ตามตัวเจอค่ะ เพราะเอกสารการจดแจ้งเครื่องสำอางค์จำต้องมีระบุเจ้าของและสถานที่ผลิต (ยกเว้นปิดร้านหนี 555)
ทาง อ.ย. เองก็พยายามเตือนแล้วเตือนเล่าเรื่องเครื่องสำอางค์ที่โฆษณาเกินจริง อันที่จริงบางตัวก็ไม่ได้เกินจริงนะคะ
คือขาวจริง บริ๊งค์จริงแบบแม่ค้าโฆษณานั่นแหละ...แต่มันเกินจริง จริงๆนะคะ ขาวไวหนึ่งเดือน ฉุกคิดสักนิดนะคะว่าทำไม
...บริษัทใหญ่ๆ ล้มละลายแน่นอนค่ะ หรือไม่ก็ต้องมาขอซื้อสูตรจากผู้ผลิตไทย กันเป็นล้านๆ ดอลล่า
::: ปรอท ::::
บางครั้งผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจจะใส่ลงไปนะคะ
แต่บางทีกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานก็ทำให้มีโลหะหนักตกค้าง
ทั้งปรอท ตะกั่ว สารพัดค่ะ...
แหล่งที่มา...โดยทั่วไปคือ อุปกรณ์ในการผลิต เช่น หม้อ ถ้วย รวมถึงน้ำผสม ครีมเบสที่ไม่ได้มาตรฐาน สีผสมราคาถูก
หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ทางทนายจำเลยจำเป็นต้องพิสูจน์ให้ศาลทราบว่าไม่มีเจตนา
...จะทราบได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการสืบค้นและหลักฐานต่างๆ...แต่ยังไงก็เอาผิดได้(มั่ง-ก็มีปรอทจริงๆอ่ะ)
ส่วนที่ผู้ผลิตตั้งใจใส่เพื่อหวังผล....
:::: แค่นี้ก่อนนะคะ ::::
เรามาแชร์ ตามที่ได้รู้คร่าวๆ สมัยเรียน ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจ เท่าไหร่
โตขึ้นแก่ขึ้น อุ้ยตาย ทำไมเดี๋ยวนี้เครื่องสำอางค์เกลื่อนเมือง ดูแล้วไม่ค่อยน่าไว้ใจ
พอรู้คร่าวๆ ก็ลองเสิรชหาข้อมูลอีกนิดหน่อย เพื่อ รื้อฟื้นความจำ
แต่ทั้งหมด นี่เป็นความเห็นของเรานะคะ
ทาง อ.ย. เองยังไม่เคยออกมาชี้แจงเรื่องการจดแจ้งเครื่องสำอางค์แบบละเอียด
เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของเรา ที่แม่ค้ามักอ้างมั่วๆ แบบที่อ่านๆ กัน
ปล...ป้องกันดราม่า เราตั้งใจตั้งกระทู้นี้เพื่อแจ้งทราบ งดดราม่านะคะ
หากใคร มีข้อมูลที่อัฟเดทกว่า...ชี้แจงได้เลยนะคะ
//และทางกลุ่มงานเครื่องสำอางค์งานหนักค่ะ การออกสุ่มตรวจทีหลังไม่ใช่ว่าเบาๆ
แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป เราแน่ใจ ว่า ต่อไป ทาง อ.ย. หากตั้งใจจริง คงมีการขยับออกมาเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการดำเนินงาน
เช่น ตรวจสอบปริมาณที่ถูกต้องก่อน ให้อนุญาต (เหมือนทางยา) เป็นต้น
ซึ่งเราไม่แน่ใจว่า เดี๋ยวนี้...เป็นแบบนี้รึยัง?
::: แถม...สารที่ใช้ในเครื่องสำอางค์แบบควบคุม :::
ไม่แน่ใจว่าล่าสุดรึยัง ประกาศพวกนี้ ออกใหม่เรื่อยๆ
http://www2.customs.go.th/jsp/Hazard/public/cosmetic/preface.pdf
http://www2.customs.go.th/jsp/Hazard/public/cosmetic/MOPH_Notification_38.pdf
:::: เพิ่มเติม ::::
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้