ทีมละลายน้ำแข็ง โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่12 มติชนออนไลน์
(ที่มา:มติชนรายวัน 26 ก.ค.2556)
การแต่งตั้งโยกย้ายนายพลตำรวจประจำปี ในระดับ พล.ต.อ.-พล.ต.ท.เพิ่งเสร็จสิ้นไป
ไม่ว่าใครจะย้ายไปไหนมาไหนก็ตาม แต่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ยังเป็น
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลไม่แปรเปลี่ยน
นั่นก็หมายความว่า ม็อบแช่แข็งภาค 2 ที่ประกาศจะฟื้นคืนชีพในต้นเดือนหน้านี้
คงต้องเจอกับทีมตำรวจควบคุมม็อบชุดเดิม ที่เคยจัดการได้อย่างเรียบร้อย ม้วนเดียวจบ
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนปีที่แล้ว
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ยังอยู่ไม่ได้เกษียณ
พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.ฝ่ายความมั่นคง ยังทำหน้าที่อยู่
ขณะที่ ผบช.น. ยังเป็น พล.ต.ท.คำรณวิทย์
ไปจนถึง ผบช.พื้นที่รอบๆ กทม.ที่เป็นกำลังหนุนเสริมสำคัญ ทั้ง พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ
ยังเป็น ผบช.ภาค 1 ดังเดิม รวมทั้ง พล.ต.ต.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ยังคงคุม บช.ภาค 7
ไม่ได้โยกย้ายไปไหน
ตำรวจชุดนี้แหละ ที่เคยสร้างปรากฏการณ์เมื่อปีที่แล้ว โดยควบคุมการชุมนุมด้วยความเข้มแข็ง
เล่นเอาม็อบแช่แข็งซึ่งประกาศจะระดมคนเป็นล้านไล่รัฐบาลในวันเดียว ม้วนเดียวจบ เป็นฝ่ายจบ
ไปเสียเองแบบม้วนเดียวจริงๆ
ที่พูดเช่นนี้ ไม่ได้เชียร์ตำรวจให้ปราบม็อบดุดันโหดเหี้ยม ทั้งขอเน้นย้ำว่ารัฐบาลไม่ควรใช้ความ
รุนแรงเกินขอบเขตกับผู้ชุมนุมทางการเมือง
แต่รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง สามารถใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ผ่าน
การฝึกฝนด้านควบคุมฝูงชนอย่างถูกหลัก เป็นหน่วยที่ควบคุมสถานการณ์ ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
หน่วยตำรวจที่นำมาใช้ในสถานการณ์แบบนี้ ต้องฝึกฝนมา ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับการปราบจลาจล
เท่านั้น มีโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา ปืนยิงกระสุนยาง ปืนยิงแห
ห้ามใช้ปืนใส่กระสุนจริงอย่างเด็ดขาด
ห้ามมีคำอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงได้ แบบรัฐบาลสมัยปี 2553
ที่สำคัญ กฎกติกาสากลกำหนดไว้ชัด ตำรวจปราบจลาจลเท่านั้นที่นำมาใช้เผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมประท้วง
อย่าทำอย่างรัฐบาลปี 2553 อ้างสถานการณ์พิเศษ อ้างชุดดำ อ้างผู้ก่อการร้าย แล้วสั่งกองทัพพร้อม
อาวุธจริงเข้ามาเดินบนท้องถนน แถมด้วยสไนเปอร์บนยอดตึกอีก
กองทัพเขามีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติ เป็นรั้วอันเข้มแข็งที่ประชาชนไว้วางใจและยกย่อง
มีแต่รัฐบาลที่บ้าอำนาจเท่านั้น ไปลากกองทัพมาเผชิญหน้ากับม็อบ
นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปปาฐกถาในต่างประเทศหลายครั้ง เน้นย้ำว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้ง
เป็นประชาธิปไตยเต็มตัว และจะไม่ทำเรื่องน่าเศร้าสลดสำหรับประชาชนที่รักเสรีภาพ อย่างเช่น
เหตุการณ์ 99 ศพ
หวังว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะยึดมั่นในคำกล่าวนี้
แต่สิ่งที่เห็นได้ในเหตุการณ์ม็อบแช่แข็งเมื่อปี 2555
คือ ใช้ตำรวจปราบจลาจลล้วนๆ จริงๆ แล้วเป็นตำรวจ
ปราบจลาจลในยุคที่ฝึกฝนมาอย่างแข็งแกร่ง แต่อยู่ในกฎกติกา
พูดอย่างถึงที่สุดแล้ว ผู้คนในสังคมไม่ได้ชื่นชมตำรวจในแง่ปราบม็อบเก่งกาจ แต่ชื่นชมเพราะม็อบแช่แข็งนั้น
ประกาศเจตนารมณ์ที่ขัดแย้งกับเสรีภาพของประชาชนส่วนใหญ่มากกว่า
เพียงแค่นี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่
เมื่อตำรวจทำหน้าที่ได้ดี ไม่เหยาะแหยะ ก็เลยพึงพอใจ
เล่นจะเอาประเทศไปแช่แข็ง ได้ตำรวจแข็งๆ มาช่วยละลายน้ำแข็งให้ ประชาชนย่อมมีความสุขและพึงพอใจ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374849037&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ชอบสำนวน ...ทีมละลายน้ำแข็ง...
เขาไม่ได้มา สลายม็อบ ไม่ได้ขอคืนพื้นที่ แค่มาละลายน้ำแข็ง
เลยไม่ต้อง เอากระสุนจริง สไนเปอร์ หรือ รถถังออกมาใช้ ...
สงคราม สุดท้าย ของ เจ้าชาย "แช่แข็ง" วันที่ 4 สิงหาคม ....... วิเคราะห์ ... มติชนออนไลน์
พลันที่คณะกรรมการประสานงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)
มีมติให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ และคณะในวันที่ 7 สิงหาคม
ก็มีอาการ 2 อาการปรากฏ
1 เป็นความดีใจอันมาจากแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ไม่ว่าจะเป็น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น นางธิดา ถาวรเศรษฐ
1 เป็นความหงุดหงิดจากพรรคประชาธิปัตย์
มติ ครม.เงา "ให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทั้ง 4 ฉบับที่อยู่ในวาระการประชุมออกมา
แล้วหันหน้าไปแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน"
ในความเห็นของ นายถาวร เสนเนียม
"การประชุมในวันที่ 7 สิงหาคมเป็นห่วงว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยที่สุด
องค์กรภาคประชาชนซึ่งไม่เห็นด้วยต้องออกมาเคลื่อนไหว"
สอดรับกับคำเชิญชวนของโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
"ขอเรียกร้องกลุ่มผู้เสียหายทุกกลุ่มทุกสีให้ร่วมกันลุกขึ้นต่อต้านกฎหมายที่ล้างผิดให้กับการทำร้ายประเทศ"
"อาการ" น่า "เป็นห่วง"
ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับที่เสนอโดย นายวรชัย เหมะ และส.ส.กว่า 40 คน
แห่งพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามอย่างเต็มกำลัง
พยายามกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกไป
พยายามกันแกนนำ นปช.ที่ตกเป็นคดีความฟ้องร้องจากเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
เป็นการนิรโทษกรรมให้เฉพาะ "มวลชน"
เรียกตามภาษาปากก็คือ นิรโทษกรรมให้กับคนตัวเล็กตัวน้อยที่เข้าร่วมการชุมนุมแล้วถูกจับกุมคุมขัง
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ
ที่ดำเนินการเช่นนี้เพราะไม่ต้องการให้ถูกขยายความอย่างที่กระทำกันมาตลอดว่า
ร่างกฎหมายเพื่อล้างผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ล้างผิดให้กับแกนนำ
ไม่ว่าจะเป็น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ไม่ว่าจะเป็น
นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ล้วนไม่อยู่ในข่ายได้อานิสงส์
แต่พลันที่พร้อมจะพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ก็เป็นเรื่อง
สัมผัสได้จากอาการของ "ประชาธิปัตย์"
ที่มีข่าวออกมาจากพรรคประชาธิปัตย์ทำนองว่าจะต้องเกิดความวุ่นวายแน่นอน
วิปฝ่ายค้านบางคนถึงกับตีปลาหน้าไซถึงระดับ
"อาจมีการยึดอำนาจ"
ประเมินจากน้ำเสียงของ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ความเลวร้ายอันเนื่องแต่ร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ไปไกลถึงขั้น
"ผู้ที่สังหารหมู่ 6 ศพที่วัดปทุมฯ จะได้รับการล้างผิดทันที"
"รัฐบาลต้องหยุดฟังและต้องถอยกระบวนการล้างผิดคนฆ่าประชาชน เผาบ้าน เผาเมือง"
"โน้มเอียงที่จะนิรโทษกรรมให้กับคนที่ทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112"
อะไรที่นึกขึ้นได้และคาดคิดว่าจะสามารถระดมคนให้เข้ามาร่วมคัดค้านต่อต้านได้ก็ไม่ลังเลที่จะโหมประโคม
แม้ว่าจะได้ชื่อว่าเป็น "วิชามาร" แม้จะไม่ดำรงและดำเนินไปบนฐานแห่งความเป็นจริงของร่าง พ.ร.บ.
เหมือนกรณี "ข้าวเน่า" เหมือนกรณี "สารพิษ" ในข้าว
กลยุทธ์เช่นนี้อาจเคยได้ผลในการปลุกระดมก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และตอนยึด
ทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบินในปี 2551 แต่น่าสงสัยว่าคราวนี้จะได้ผลหรือไม่
น่าติดตาม ณ วันที่ 4 สิงหาคม
จากนี้จึงเห็นได้ว่า การเปิดสภาสมัยสามัญในเดือนสิงหาคม จึงเป็นเส้นแบ่งอย่างมีนัยสำคัญ
เป็นเส้นแบ่งของเวที "ผ่าความจริง" เป็นเส้นแบ่งของการผนึกพลังหลอมรวมเข้ากับ "กองทัพประชาชน"
เปิดแนวรบทั้งบนดิน ใต้ดิน ทั้งในสภาและนอกสภา
สงครามครั้งสุดท้าย เหล่าเจ้าชาย "แช่แข็ง"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374825922&grpid=&catid=12&subcatid=1200
ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป จะมีปชช.ทนไม่ไหว มากน้อยเท่าไหร่ ที่จะไปร่วมกันแช่แข็งแประเทศ
ในวันนั้น ...เพื่อนๆ ในรดน. มีใครจะไปร่วมบ้าง ประกาศตัวหน่อย
เรื่องของ ..... "ทีมละลายน้ำแข็ง" กับ "เจ้าชายแช่แข็ง" .... มติชนออนไลน์
(ที่มา:มติชนรายวัน 26 ก.ค.2556)
การแต่งตั้งโยกย้ายนายพลตำรวจประจำปี ในระดับ พล.ต.อ.-พล.ต.ท.เพิ่งเสร็จสิ้นไป
ไม่ว่าใครจะย้ายไปไหนมาไหนก็ตาม แต่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ยังเป็น
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลไม่แปรเปลี่ยน
นั่นก็หมายความว่า ม็อบแช่แข็งภาค 2 ที่ประกาศจะฟื้นคืนชีพในต้นเดือนหน้านี้
คงต้องเจอกับทีมตำรวจควบคุมม็อบชุดเดิม ที่เคยจัดการได้อย่างเรียบร้อย ม้วนเดียวจบ
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนปีที่แล้ว
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ยังอยู่ไม่ได้เกษียณ
พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.ฝ่ายความมั่นคง ยังทำหน้าที่อยู่
ขณะที่ ผบช.น. ยังเป็น พล.ต.ท.คำรณวิทย์
ไปจนถึง ผบช.พื้นที่รอบๆ กทม.ที่เป็นกำลังหนุนเสริมสำคัญ ทั้ง พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ
ยังเป็น ผบช.ภาค 1 ดังเดิม รวมทั้ง พล.ต.ต.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ยังคงคุม บช.ภาค 7
ไม่ได้โยกย้ายไปไหน
ตำรวจชุดนี้แหละ ที่เคยสร้างปรากฏการณ์เมื่อปีที่แล้ว โดยควบคุมการชุมนุมด้วยความเข้มแข็ง
เล่นเอาม็อบแช่แข็งซึ่งประกาศจะระดมคนเป็นล้านไล่รัฐบาลในวันเดียว ม้วนเดียวจบ เป็นฝ่ายจบ
ไปเสียเองแบบม้วนเดียวจริงๆ
ที่พูดเช่นนี้ ไม่ได้เชียร์ตำรวจให้ปราบม็อบดุดันโหดเหี้ยม ทั้งขอเน้นย้ำว่ารัฐบาลไม่ควรใช้ความ
รุนแรงเกินขอบเขตกับผู้ชุมนุมทางการเมือง
แต่รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง สามารถใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ผ่าน
การฝึกฝนด้านควบคุมฝูงชนอย่างถูกหลัก เป็นหน่วยที่ควบคุมสถานการณ์ ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
หน่วยตำรวจที่นำมาใช้ในสถานการณ์แบบนี้ ต้องฝึกฝนมา ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับการปราบจลาจล
เท่านั้น มีโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา ปืนยิงกระสุนยาง ปืนยิงแห
ห้ามใช้ปืนใส่กระสุนจริงอย่างเด็ดขาด
ห้ามมีคำอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงได้ แบบรัฐบาลสมัยปี 2553
ที่สำคัญ กฎกติกาสากลกำหนดไว้ชัด ตำรวจปราบจลาจลเท่านั้นที่นำมาใช้เผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมประท้วง
อย่าทำอย่างรัฐบาลปี 2553 อ้างสถานการณ์พิเศษ อ้างชุดดำ อ้างผู้ก่อการร้าย แล้วสั่งกองทัพพร้อม
อาวุธจริงเข้ามาเดินบนท้องถนน แถมด้วยสไนเปอร์บนยอดตึกอีก
กองทัพเขามีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติ เป็นรั้วอันเข้มแข็งที่ประชาชนไว้วางใจและยกย่อง
มีแต่รัฐบาลที่บ้าอำนาจเท่านั้น ไปลากกองทัพมาเผชิญหน้ากับม็อบ
นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปปาฐกถาในต่างประเทศหลายครั้ง เน้นย้ำว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้ง
เป็นประชาธิปไตยเต็มตัว และจะไม่ทำเรื่องน่าเศร้าสลดสำหรับประชาชนที่รักเสรีภาพ อย่างเช่น
เหตุการณ์ 99 ศพ
หวังว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะยึดมั่นในคำกล่าวนี้
แต่สิ่งที่เห็นได้ในเหตุการณ์ม็อบแช่แข็งเมื่อปี 2555
คือ ใช้ตำรวจปราบจลาจลล้วนๆ จริงๆ แล้วเป็นตำรวจ
ปราบจลาจลในยุคที่ฝึกฝนมาอย่างแข็งแกร่ง แต่อยู่ในกฎกติกา
พูดอย่างถึงที่สุดแล้ว ผู้คนในสังคมไม่ได้ชื่นชมตำรวจในแง่ปราบม็อบเก่งกาจ แต่ชื่นชมเพราะม็อบแช่แข็งนั้น
ประกาศเจตนารมณ์ที่ขัดแย้งกับเสรีภาพของประชาชนส่วนใหญ่มากกว่า
เพียงแค่นี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่
เมื่อตำรวจทำหน้าที่ได้ดี ไม่เหยาะแหยะ ก็เลยพึงพอใจ
เล่นจะเอาประเทศไปแช่แข็ง ได้ตำรวจแข็งๆ มาช่วยละลายน้ำแข็งให้ ประชาชนย่อมมีความสุขและพึงพอใจ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374849037&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ชอบสำนวน ...ทีมละลายน้ำแข็ง...
เขาไม่ได้มา สลายม็อบ ไม่ได้ขอคืนพื้นที่ แค่มาละลายน้ำแข็ง
เลยไม่ต้อง เอากระสุนจริง สไนเปอร์ หรือ รถถังออกมาใช้ ...
สงคราม สุดท้าย ของ เจ้าชาย "แช่แข็ง" วันที่ 4 สิงหาคม ....... วิเคราะห์ ... มติชนออนไลน์
พลันที่คณะกรรมการประสานงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)
มีมติให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ และคณะในวันที่ 7 สิงหาคม
ก็มีอาการ 2 อาการปรากฏ
1 เป็นความดีใจอันมาจากแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ไม่ว่าจะเป็น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น นางธิดา ถาวรเศรษฐ
1 เป็นความหงุดหงิดจากพรรคประชาธิปัตย์
มติ ครม.เงา "ให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทั้ง 4 ฉบับที่อยู่ในวาระการประชุมออกมา
แล้วหันหน้าไปแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน"
ในความเห็นของ นายถาวร เสนเนียม
"การประชุมในวันที่ 7 สิงหาคมเป็นห่วงว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยที่สุด
องค์กรภาคประชาชนซึ่งไม่เห็นด้วยต้องออกมาเคลื่อนไหว"
สอดรับกับคำเชิญชวนของโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
"ขอเรียกร้องกลุ่มผู้เสียหายทุกกลุ่มทุกสีให้ร่วมกันลุกขึ้นต่อต้านกฎหมายที่ล้างผิดให้กับการทำร้ายประเทศ"
"อาการ" น่า "เป็นห่วง"
ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับที่เสนอโดย นายวรชัย เหมะ และส.ส.กว่า 40 คน
แห่งพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามอย่างเต็มกำลัง
พยายามกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกไป
พยายามกันแกนนำ นปช.ที่ตกเป็นคดีความฟ้องร้องจากเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
เป็นการนิรโทษกรรมให้เฉพาะ "มวลชน"
เรียกตามภาษาปากก็คือ นิรโทษกรรมให้กับคนตัวเล็กตัวน้อยที่เข้าร่วมการชุมนุมแล้วถูกจับกุมคุมขัง
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ
ที่ดำเนินการเช่นนี้เพราะไม่ต้องการให้ถูกขยายความอย่างที่กระทำกันมาตลอดว่า
ร่างกฎหมายเพื่อล้างผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ล้างผิดให้กับแกนนำ
ไม่ว่าจะเป็น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ไม่ว่าจะเป็น
นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ล้วนไม่อยู่ในข่ายได้อานิสงส์
แต่พลันที่พร้อมจะพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ก็เป็นเรื่อง
สัมผัสได้จากอาการของ "ประชาธิปัตย์"
ที่มีข่าวออกมาจากพรรคประชาธิปัตย์ทำนองว่าจะต้องเกิดความวุ่นวายแน่นอน
วิปฝ่ายค้านบางคนถึงกับตีปลาหน้าไซถึงระดับ
"อาจมีการยึดอำนาจ"
ประเมินจากน้ำเสียงของ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ความเลวร้ายอันเนื่องแต่ร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ไปไกลถึงขั้น
"ผู้ที่สังหารหมู่ 6 ศพที่วัดปทุมฯ จะได้รับการล้างผิดทันที"
"รัฐบาลต้องหยุดฟังและต้องถอยกระบวนการล้างผิดคนฆ่าประชาชน เผาบ้าน เผาเมือง"
"โน้มเอียงที่จะนิรโทษกรรมให้กับคนที่ทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112"
อะไรที่นึกขึ้นได้และคาดคิดว่าจะสามารถระดมคนให้เข้ามาร่วมคัดค้านต่อต้านได้ก็ไม่ลังเลที่จะโหมประโคม
แม้ว่าจะได้ชื่อว่าเป็น "วิชามาร" แม้จะไม่ดำรงและดำเนินไปบนฐานแห่งความเป็นจริงของร่าง พ.ร.บ.
เหมือนกรณี "ข้าวเน่า" เหมือนกรณี "สารพิษ" ในข้าว
กลยุทธ์เช่นนี้อาจเคยได้ผลในการปลุกระดมก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และตอนยึด
ทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบินในปี 2551 แต่น่าสงสัยว่าคราวนี้จะได้ผลหรือไม่
น่าติดตาม ณ วันที่ 4 สิงหาคม
จากนี้จึงเห็นได้ว่า การเปิดสภาสมัยสามัญในเดือนสิงหาคม จึงเป็นเส้นแบ่งอย่างมีนัยสำคัญ
เป็นเส้นแบ่งของเวที "ผ่าความจริง" เป็นเส้นแบ่งของการผนึกพลังหลอมรวมเข้ากับ "กองทัพประชาชน"
เปิดแนวรบทั้งบนดิน ใต้ดิน ทั้งในสภาและนอกสภา
สงครามครั้งสุดท้าย เหล่าเจ้าชาย "แช่แข็ง"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374825922&grpid=&catid=12&subcatid=1200
ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป จะมีปชช.ทนไม่ไหว มากน้อยเท่าไหร่ ที่จะไปร่วมกันแช่แข็งแประเทศ
ในวันนั้น ...เพื่อนๆ ในรดน. มีใครจะไปร่วมบ้าง ประกาศตัวหน่อย