คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
เรียน จขกท.
เท่าที่ "จำได้" และ "เข้าใจ"
การสืบราชสันตติวงศ์สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หาได้มี "กฎเกณฑ์" ตายตัวไม่
โดยมาก "ขุนนาง - อำมาตย์" จะเป็นกลุ่มที่ "ยก" พระราชวงศ์ "พระองค์" ใดขึ้นครองราชย์
แต่โดย "ธรรมเนียม" กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ "ว้งหน้า" ซึ่งมี "อำนาจ" และหรือ "กำลัง"
ตามที่ "ยอมรับ" กัน จะได้สืบสันตติวงศ์ ด้วยเริ่ม "สร้างกรุง" สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(บุญมา)
สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๑ ทรง "ร่วมมือ" กับพระเชษฐาธิราช ในการตั้ง "ราชวงศ์" ใหม่
จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าทรงเป็น "หมายเลขสอง" แต่ก็เสด็จทิวงคตเสียก่อน รัชกาลที่ ๑ จึงทรงแต่งตั้ง
ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมขุนอิศรสุนทร พระราชโอรส "พระองค์ใหญ่" ใน "พระอัครมเหสี"
ดำรงพระอิศริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า และต่อมาก็ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งในรัชสมัยนี้ หาได้ทรงแต่งตั้ง "วังหน้า" จาก
พระราชโอรสพระองค์ใดไม่ เนื่องจาก "ขัดข้องทางเทคนิค" ด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ "พระองค์ใหญ่"
ในพระอัครมเหสี คือ เจ้าฟ้ามงกุฏ มีขุนนาง - อำมาตย์ "ขึ้น" ด้วย "น้อย" กว่าพระราชโอรสใน "พระสนมเอก"
คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ที่ทรงกำกับงานราชการสำคัญมากมายซึ่งต่อมา
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ "ขุนนาง - อำมาตย์" ก็ได้ "อเนกนิกรสโมสรสมมุติ" ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็น
รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่ก่อนสิ้นรัชกาลที่ ๒ เจ้าฟ้ามงกุฎได้ "ออกผนวช"
เป็นพระวชิญาณภิกษุ อันเป็นการบวชทาง "เทคนิค"
อีกประการหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฬามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์(พระปิ่นเกล่าฯ)
ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยและทรงเจริญในราชการเป็นอันมากได้กำกับกรมสำคัญหลายกรม และ
ทรงมี ขุนนาง - อำมาตย์ "ขึ้น" มาก แม้จะทรงเป็น"พระอนุชา" แท้ๆ ของ วิชิรญาณภิกษุ ก็หาได้ทำให้
"พระบารมี "ลดถอยลงไปไม่ เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ โดยที่ทรงมิได้มอบราชสมบัติให้แก่พระราชวงศ์พระองค์ใด
จึงเป็น "ภาระ" ให้ ขุนนาง-อำมาตย์ พิจารณา "ตกลง" ว่าจะ "ทูลเชิญ" พระราชวงศืพระองค์ใดขึ้นครอง
ราชสมบัติ เหล่าขุนาง - อำมาตย์ ที่มีตระกูล "บุนนาค" เป็น "หลัก" ก็จึงได้ "อเนกนิกรสโมสรสมมุติ"
ทูลเชิญพระวชิรญาณภิกษุลาผนวขขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์นี้ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชแล้ว
ทรง "สถาปนา" สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ที่วังหน้า ซึ่งมีทั้ง "กำลัง" "อำนาจ" และ "บารมี" และต่อมาด้วยพระอัจฉริยภาพทางรัฐประศาสโนบายอัน
แยบคายได้ "บวรราชาภิเษก" วังหน้า เป็นที่ พระบาทสมเด็จพระปวเรนทรมหาจุฬามณี พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดำรงพระอิศริยยศ(เทียบเท่า) พระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งด้วยพระปรีชาสามารถแลถึงพร้อมด้วย
"กำลัง" "อำนาจ" และ "บารมี" ย่อมเป็นที่ "ประกัน" ความมั่นคงแห่งราชบัลลังค์ในรัชกาลที่ ๔
(ทั้งสองพระองค์) ได้เป็นอย่างดี
เรื่องนี้ค่อนข้าง "ลึกซึ้ง" และ แสดงให้เห็นความ "แหลมคม" ทางการเมืองการปกครองในสมัยนั้น
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า "พระมหากษัตริย์" และ "ขุนนาง - อำมาตย์" ต้อง "ไปทางเดียวกัน" หาไม่แล้ว
"อาจ" เกิด "ผิดพลาดทางเทคนิค" ระส่ำระสายจนกระทั่งถึง "เปลี่ยนรัชกาล" ได้ ดังมีมาตั้งแต่
ครังสมัยกรุงศรีอยุธยา แม่ปัจจุบันนี้ บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่ผมว่า "หลัก" น่าจะนำมา
"ศึกษาเทียบเคียง" และเป็น "อุทาหรณ์" ให้เราได้ "เข้าใจ" เรื่อง "การเมือง" ได้ ไม่มาก ก็น้อย ละเด้อ
ครับ
เท่าที่ "จำได้" และ "เข้าใจ"
การสืบราชสันตติวงศ์สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หาได้มี "กฎเกณฑ์" ตายตัวไม่
โดยมาก "ขุนนาง - อำมาตย์" จะเป็นกลุ่มที่ "ยก" พระราชวงศ์ "พระองค์" ใดขึ้นครองราชย์
แต่โดย "ธรรมเนียม" กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ "ว้งหน้า" ซึ่งมี "อำนาจ" และหรือ "กำลัง"
ตามที่ "ยอมรับ" กัน จะได้สืบสันตติวงศ์ ด้วยเริ่ม "สร้างกรุง" สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(บุญมา)
สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๑ ทรง "ร่วมมือ" กับพระเชษฐาธิราช ในการตั้ง "ราชวงศ์" ใหม่
จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าทรงเป็น "หมายเลขสอง" แต่ก็เสด็จทิวงคตเสียก่อน รัชกาลที่ ๑ จึงทรงแต่งตั้ง
ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมขุนอิศรสุนทร พระราชโอรส "พระองค์ใหญ่" ใน "พระอัครมเหสี"
ดำรงพระอิศริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า และต่อมาก็ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งในรัชสมัยนี้ หาได้ทรงแต่งตั้ง "วังหน้า" จาก
พระราชโอรสพระองค์ใดไม่ เนื่องจาก "ขัดข้องทางเทคนิค" ด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ "พระองค์ใหญ่"
ในพระอัครมเหสี คือ เจ้าฟ้ามงกุฏ มีขุนนาง - อำมาตย์ "ขึ้น" ด้วย "น้อย" กว่าพระราชโอรสใน "พระสนมเอก"
คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ที่ทรงกำกับงานราชการสำคัญมากมายซึ่งต่อมา
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ "ขุนนาง - อำมาตย์" ก็ได้ "อเนกนิกรสโมสรสมมุติ" ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็น
รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่ก่อนสิ้นรัชกาลที่ ๒ เจ้าฟ้ามงกุฎได้ "ออกผนวช"
เป็นพระวชิญาณภิกษุ อันเป็นการบวชทาง "เทคนิค"
อีกประการหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฬามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์(พระปิ่นเกล่าฯ)
ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยและทรงเจริญในราชการเป็นอันมากได้กำกับกรมสำคัญหลายกรม และ
ทรงมี ขุนนาง - อำมาตย์ "ขึ้น" มาก แม้จะทรงเป็น"พระอนุชา" แท้ๆ ของ วิชิรญาณภิกษุ ก็หาได้ทำให้
"พระบารมี "ลดถอยลงไปไม่ เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ โดยที่ทรงมิได้มอบราชสมบัติให้แก่พระราชวงศ์พระองค์ใด
จึงเป็น "ภาระ" ให้ ขุนนาง-อำมาตย์ พิจารณา "ตกลง" ว่าจะ "ทูลเชิญ" พระราชวงศืพระองค์ใดขึ้นครอง
ราชสมบัติ เหล่าขุนาง - อำมาตย์ ที่มีตระกูล "บุนนาค" เป็น "หลัก" ก็จึงได้ "อเนกนิกรสโมสรสมมุติ"
ทูลเชิญพระวชิรญาณภิกษุลาผนวขขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์นี้ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชแล้ว
ทรง "สถาปนา" สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ที่วังหน้า ซึ่งมีทั้ง "กำลัง" "อำนาจ" และ "บารมี" และต่อมาด้วยพระอัจฉริยภาพทางรัฐประศาสโนบายอัน
แยบคายได้ "บวรราชาภิเษก" วังหน้า เป็นที่ พระบาทสมเด็จพระปวเรนทรมหาจุฬามณี พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดำรงพระอิศริยยศ(เทียบเท่า) พระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งด้วยพระปรีชาสามารถแลถึงพร้อมด้วย
"กำลัง" "อำนาจ" และ "บารมี" ย่อมเป็นที่ "ประกัน" ความมั่นคงแห่งราชบัลลังค์ในรัชกาลที่ ๔
(ทั้งสองพระองค์) ได้เป็นอย่างดี
เรื่องนี้ค่อนข้าง "ลึกซึ้ง" และ แสดงให้เห็นความ "แหลมคม" ทางการเมืองการปกครองในสมัยนั้น
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า "พระมหากษัตริย์" และ "ขุนนาง - อำมาตย์" ต้อง "ไปทางเดียวกัน" หาไม่แล้ว
"อาจ" เกิด "ผิดพลาดทางเทคนิค" ระส่ำระสายจนกระทั่งถึง "เปลี่ยนรัชกาล" ได้ ดังมีมาตั้งแต่
ครังสมัยกรุงศรีอยุธยา แม่ปัจจุบันนี้ บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่ผมว่า "หลัก" น่าจะนำมา
"ศึกษาเทียบเคียง" และเป็น "อุทาหรณ์" ให้เราได้ "เข้าใจ" เรื่อง "การเมือง" ได้ ไม่มาก ก็น้อย ละเด้อ
ครับ

ความคิดเห็นที่ 9
เพราะ พระจอม มีอิทธิพลทางทหาร ไม่เท่าพระปิ่น เนื่องจากผนวชนาน
พระปิ่นคุมทหารได้ มีทหารในสังกัดมาก พระจอม จึงตั้งพระปิ่น ให้มีศักดิ์เสมอตน เพื่อช่วยดูแลกองทัพ และ ลดแรงเสียดทานจากทหาร
หากพระจอม สวรรคตก่อนพระปิ่น พระปิ่นก็จะได้สืบบัลลังก์ต่อ แต่พระปิ่นสวรรคตก่อน
พอสิ้นร.4 ปัญหาจึงเกิด เพราะ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โอรสในพระปิ่น มีอิทธิพลมาก และมีแนวโน้มจะได้เป็นกษัตริย์
แต่ลูกพระจอม คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยังเด็กอยู่ และขุนนางสกุลบุนนาคที่ใหญ่คับกรุงสนับสนุนเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เพื่อเสริมอำนาจตนเอง
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่ได้ตำแหน่งวังหน้ามาเพราะการสนับสนุนของตระกูลบุนนาค ก็เกรงใจ จึงไม่อาจคัดค้าน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ฯ ได้สำเร็จราชการ
เมื่อพระจุลได้บริหารเอง ก็ปฏิรูปการปกครองต่างๆ ดึงอำนาจเข้าสู่วังหลวง
รวมถึงการคุกคามจากตะวันตก ทำให้เกิดการขัดแย้งกับวังหน้า ร่ำๆจะเป็นสงครามกลางเมือง
พระปิ่นคุมทหารได้ มีทหารในสังกัดมาก พระจอม จึงตั้งพระปิ่น ให้มีศักดิ์เสมอตน เพื่อช่วยดูแลกองทัพ และ ลดแรงเสียดทานจากทหาร
หากพระจอม สวรรคตก่อนพระปิ่น พระปิ่นก็จะได้สืบบัลลังก์ต่อ แต่พระปิ่นสวรรคตก่อน
พอสิ้นร.4 ปัญหาจึงเกิด เพราะ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โอรสในพระปิ่น มีอิทธิพลมาก และมีแนวโน้มจะได้เป็นกษัตริย์
แต่ลูกพระจอม คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยังเด็กอยู่ และขุนนางสกุลบุนนาคที่ใหญ่คับกรุงสนับสนุนเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เพื่อเสริมอำนาจตนเอง
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่ได้ตำแหน่งวังหน้ามาเพราะการสนับสนุนของตระกูลบุนนาค ก็เกรงใจ จึงไม่อาจคัดค้าน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ฯ ได้สำเร็จราชการ
เมื่อพระจุลได้บริหารเอง ก็ปฏิรูปการปกครองต่างๆ ดึงอำนาจเข้าสู่วังหลวง
รวมถึงการคุกคามจากตะวันตก ทำให้เกิดการขัดแย้งกับวังหน้า ร่ำๆจะเป็นสงครามกลางเมือง
ความคิดเห็นที่ 10
เป็นเรื่องการเมืองในสมัยนั้นครับ
ทั้งพระจอมเกล้า กับพระปิ่นเกล้าต่างก็มีพวกและมีอำนาจทั้งคู่
หากหักกันเองอาจจะเป็นภัยกับสยามซึ่งกำลังอยู่ในยุคเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมอยู่
ทางออกที่ดีที่สุดคือให้มีศักดิ์เป็นกษัตริย์ทั้งคู่ จะได้ไม่ชิงกันเอง เป็นการรอมชอม
สมัยนั้นมีการดึงคนต่างชาติมาคานอำนาจของแต่ละฝ่ายด้วย
พระปิ่นเกล้าดึงเอาอังกฤษมาเป็นพวก ส่วนพระจอมเกล้าดึงเอาฝรั่งเศสมาเป็นพวก
ข้อดีคือประเทศสงบสุข และเกิดการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว เพราะฝรั่งทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามโชว์เหนือเกทับอีกฝ่าย เลยขนเทคโนโลยีมาให้เราศึกษาเต็มไปหมด อีกทั้งพระปรีชาสามารถของทั้งสองพระองค์ที่เรียนรู้เทคโนโลยีของฝรั่งได้อย่างรวดเร็วยิ่ง สยามในยุคนั้นกลายเป็นประเทศที่รุ่งเรืองเอามากๆ
ทั้งพระจอมเกล้า กับพระปิ่นเกล้าต่างก็มีพวกและมีอำนาจทั้งคู่
หากหักกันเองอาจจะเป็นภัยกับสยามซึ่งกำลังอยู่ในยุคเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมอยู่
ทางออกที่ดีที่สุดคือให้มีศักดิ์เป็นกษัตริย์ทั้งคู่ จะได้ไม่ชิงกันเอง เป็นการรอมชอม
สมัยนั้นมีการดึงคนต่างชาติมาคานอำนาจของแต่ละฝ่ายด้วย
พระปิ่นเกล้าดึงเอาอังกฤษมาเป็นพวก ส่วนพระจอมเกล้าดึงเอาฝรั่งเศสมาเป็นพวก
ข้อดีคือประเทศสงบสุข และเกิดการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว เพราะฝรั่งทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามโชว์เหนือเกทับอีกฝ่าย เลยขนเทคโนโลยีมาให้เราศึกษาเต็มไปหมด อีกทั้งพระปรีชาสามารถของทั้งสองพระองค์ที่เรียนรู้เทคโนโลยีของฝรั่งได้อย่างรวดเร็วยิ่ง สยามในยุคนั้นกลายเป็นประเทศที่รุ่งเรืองเอามากๆ
แสดงความคิดเห็น
ทำไม ร. 4 ถึงมี 2 พระองค์ ( ไม่เข้าใจจริง ๆ )
1. ทำไม ไม่เป็น พระจอมเกล้า ร.4 พระปิ่น ร.5 แล้วเรียงลำดับกันมา
2. ในสมัยนั้น ก็ เรียก ร.4 ทั้ง 2 พระองค์ หรือ เริ่มเรียกในสมัยหลัง
3. ใช้หลักเกณฑ์อะไรครับ