เป็นคนชอบดูซีรีย์พีเรียดย้อนยุคทั้งของจีนและของเกาหลีค่ะ คราวที่แล้วได้นำเสนอ
ระดับขั้นและตำแหน่งนางในของเกาหลี คราวนี้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลตำแหน่งนางในและตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ต่างๆ ของจีนมาฝากและแชร์ให้เพื่อนๆ ได้รู้อย่างละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้น ส่วนมากซีรี่ย์จะนำเสนอสมัยราชวงศ์ชิง (แมนจู) จึงขอเลือกสมัยราชวงศ์นี้ค่ะ ถ้ามีอะไรผิดพลาดตรงไหนสามารถแนะนำหรือชี้แจงได้นะคะ (กระทู้ยาวหน่อยนะคะ ^_^)
ลำดับขั้นและตำแหน่งนางในสมัยราชวงศ์ชิงกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยจักรพรรดิคังซี ซึ่งสามารถแบ่งตำแหน่งในวังหลังได้ดังต่อไปนี้
จักรพรรดินี พระชายา และพระสนม
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
เรียกลำลองว่า ไท่หมู่ (太母) หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ เช่น เซี่ยวจวงไทฮองไทเฮา ปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ปู้มู่ปู้ไท่ ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 康熙秘史)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน ในรัชสมัยนั้นอาจจะมีไทเฮาได้ 2 พระองค์ คือตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น เรียกว่า หมู่โฮ่วหวงไท่โฮ่ว (母后皇太后) และตำแหน่งพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เรียกว่า เซิ่งหมู่หวงไท่โฮ่ว (聖母皇太后) โดยที่ไทเฮาที่เป็นอดีตจักรพรรดินีจะมีศักดิ์สูงกว่าไทเฮาที่เป็นพระมารดาของจักรพรรดิ เช่น เหรินเซี่ยนฮองไทเฮา สกุลปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ในสมัยจักรพรรดิคังซี ทรงเคยเป็นฮองเฮาในจักรพรรดิซุ่นจื้อ (จากเรื่อง 深宮諜影), ฉงชิ่งฮองไทเฮา สกุลหนิ่วฮู่ลู่ ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงเคยเป็นซีกุ้ยเฟยในจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 新還珠格格)

หวงไท่เฟย (皇太妃), หวงไท่ผิน (皇太嬪)
โดยจะมีคำว่า ไท่ (太) หรือ หวงข่าว (皇考) อยู่ในพระนาม ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นพระโอรสที่เกิดแต่พระชายาหรือพระสนมที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย พระชายาหรือพระสนมผู้นั้นไม่สามารถขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ แต่จะได้รับตำแหน่งเป็นหวงไท่เฟยแทน พระชายาหรือพระสนมที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วอาจจะแต่งตั้งพระมารดาเลี้ยงให้มีตำแหน่งไท่เฟยได้เช่นกัน และสามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นฮองไทเฮาในภายหลังได้ หรือเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยใหม่ องค์จักรพรรดิก็สามารถแต่งตั้งพระชายาหรือพระสนมในจักรพรรดิองค์ก่อนที่มีความเหมาะสมขึ้นเป็นไท่เฟยหรือไท่ผิน เพื่อให้เกียรติพระนางเหล่านั้นได้ด้วยเช่นกัน เช่น ฉุนยวี่ฉินไท่เฟย สกุลเฉิน ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 宮鎖珠簾)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ มักรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน เป็นหงส์ที่จะอยู่เคียงข้างมังกร ซึ่งก็คือองค์จักรพรรดิ มีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 10 คน สำหรับพระมารดาในจักรพรรดิที่เป็นพระชายาหรือพระสนม เมื่อสิ้นพระชนม์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ เช่น เซี่ยวตวนเหวินฮองเฮา ปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ เจ๋อเจ๋อ ในสมัยจักรพรรดิหวงไท่จี๋ (จากเรื่อง 孝庄秘史), จี้ฮองเฮา สกุลอูลาน่าลา ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (จากเรื่อง 新還珠格格)

รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง มีหลายคนเทียบยศแตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่มีอันไหนถูกหรือผิดจริง ดังนั้นในที่นี้จะเทียบตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ ทั้งหมดสามารถแบ่งได้ 3 ขั้นใหญ่ ได้แก่
1) พระภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นสูง มี 2 ตำแหน่ง คือ
หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
"พระอัครเทวีผู้สูงศักดิ์ในองค์จักรพรรดิ" พระมเหสีรองซึ่งมีอำนาจในการปกครองวังหลังรองจากฮองเฮา ตำแหน่งนี้จึงมีได้เพียง 1 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นหวงกุ้ยไท่เฟย (皇貴太妃) หวงกุ้ยเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 8 คน เช่น ต่งเอ้อหวงกุ้ยเฟย ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นเซี่ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา (จากเรื่อง 少年天子順治王朝), เสี้ยวอี้เหรินฮองเฮา สกุลถงเจีย เคยมีตำแหน่งเป็นหวงกุ้ยเฟย ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 紫禁惊雷)

กุ้ยเฟย (貴妃)
ตำแหน่งรองลงมาจากหวงกุ้ยเฟย "พระอัครเทวีผู้ล้ำค่า" สามารถแต่งตั้งได้ 2 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกุ้ยไท่เฟย (貴太妃) กุ้ยเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 8 คน เช่น ตเวินซู่หวงกุ้ยเฟย สกุลเหนียน เคยมีตำแหน่งเป็นกุ้ยเฟย ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 宮鎖心玉), อี้กุ้ยเฟย สกุลเย่เฮ่อน่าลา ในสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิง ภายหลังขึ้นเป็นซูสีไทเฮา พระมารดาของจักรพรรดิถงจื้อ (จากเรื่อง 蒼穹之昴)

2) พระภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นกลาง มี 2 ตำแหน่ง คือ
เฟย (妃)
ตำแหน่งพระราชชายาในองค์จักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้ 4 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นไท่เฟย (太妃) เฟยมีขันทีรับใช้ได้ 10 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 6 คน เช่น ติ้งเฟย สกุลว่านหลิวฮา ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 康熙微服私訪記), ยวี๋เฟย สกุลเคอหลี่เย่เท่อ ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นยวี๋กุ้ยเฟย, ลิ่งเฟย สกุลเว่ยเจีย ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ต่อมาขึ้นเป็นลิ่งกุ้ยเฟย และลิ่งอี้หวงกุ้ยเฟย ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นเซี่ยวอี๋ฉุนฮองเฮา (จากเรื่อง 新還珠格格), ฮุ่ยเฟย สกุลนาลา ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 紫禁惊雷)



ผิน (嬪)
ตำแหน่งพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้ 6 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นไท่ผิน (太嬪) ผินมีขันทีรับใช้ได้ 8 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 6 คน เช่น ซีผิน สกุลเฮ่อเส่อหลี่ ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 宮鎖心玉), เสียงเฟย สกุลหนิ่วฮู่ลู่ เคยมีตำแหน่งเป็นเสียงผิน ในสมัยจักรพรรดิเต้ากวาง (จากเรื่อง 大清后宮)

3) พระภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นต่ำ มี 3 ตำแหน่ง คือ
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ สามารถแต่งตั้งได้นับไม่ถ้วน กุ้ยเหรินมีขันทีรับใช้ได้ 4 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 4 คน เช่น อันกุ้ยเหริน ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 後宮甄嬛傳)
ฉางจ้าย (常在)
ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ฉางจ้าย หมายถึง คงอยู่ตลอดเวลา ให้ความหมายเทียบได้กับสนมอยู่งาน สามารถแต่งตั้งได้นับไม่ถ้วน ฉางจ้ายมีขันทีรับใช้ได้ 3 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 3 คน เช่น ชุนฉางจ้าย (ในเรื่องเป็นเซี่ยตงชุนฉางจ้าย) ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 後宮甄嬛傳)
ตาอิ้ง (答應)
ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ตาอิ้ง หมายถึง รับปาก,รับคำมั่น สามารถแต่งตั้งได้นับไม่ถ้วน ตาอิ้งมีขันทีรับใช้ได้ 1 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 2 คน เช่น อิงตาอิ้ง หลานอิง ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 後宮甄嬛傳)
กุ้ยเหริน ฉางจ้าย และตาอิ้ง หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผิน และมีคำว่าหวงข่าว (皇考) นำหน้าอยู่ในชื่อตำแหน่ง เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสนมของจักรพรรดิองค์ก่อน แต่ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นก็มีเป็นส่วนน้อย
นางกำนัลรับใช้ภายในวังหลัง
กงหนี่ว์ (宮女) หรือนางกำนัลรับใช้ภายในวังหลวง คอยทำหน้าที่รับใช้องค์จักรพรรดิ พระภรรยาต่างๆ และเชื้อพระวงศ์ รวมถึงทำงานจิปาถะต่างๆ ทั้งหมดภายในวัง โดยมีการแบ่งดังนี้คือ นางกำนัลรับใช้ที่เป็นชาวธงและเป็นธิดาขุนนางหรือมีชาติตระกูลสูง จะถูกเลือกให้ถวายการรับใช้ไทเฮา ฮองเฮา พระสนมตั้งแต่กุ้ยเหรินขึ้นไป และองค์หญิงต่างๆ เพราะนางกำนัลรับใช้ตรงส่วนนี้จะต้องมีสายเลือดและชาติกำเนิดที่เป็นชาวแมนจูแท้ และต้องมีการรักษากฎระเบียบเคร่งครัด ส่วนนางกำนัลรับใช้ชาวธงที่เหลือนอกจากนั้นก็จะได้เป็นนางกำนัลรับใช้ตามตำหนักหรือทำหน้าที่อื่นๆ

ระดับขั้นของนางกำนัลรับใช้ในราชวงศ์ชิงนั้นขึ้นอยู่กับเจ้านายที่ถวายการรับใช้อยู่ ยิ่งถวายการรับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งสูง ก็ยิ่งมีหน้ามีตาและอำนาจมากกว่านางกำนัลที่รับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งต่ำลงมา นอกจากนี้ยังมีการแบ่งนางกำนัลรับใช้ตามอาวุโส ได้แก่
+ กูกู (姑姑) เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกนางกำนัลรับใช้ผู้มีอาวุโส หมายถึงอยู่ทำงานรับใช้ในวังมานาน ใกล้จะเกษียณออกจากวัง ตามธรรมเนียมเมื่ออายุประมาณ 25 ปี ก็สามารถออกจากวังไปแต่งงานได้ ในราชวงศ์ชิงจะรับนางกำนัลรับใช้ใหม่ๆ ทุกปี ดังนั้นก่อนที่จะออกไป กูกูก็จะมีหน้าที่อบรมและฝึกฝนนางกำนัลใหม่ทั้งหลายให้เรียนรู้และเป็นงาน มีอำนาจเด็ดขาดในนางกำนัลที่ตนฝึกสอน สามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษได้ นางกำนัลเข้าใหม่ยังมีหน้าที่รับใช้กูกู ล้างหน้า หวีผม หรืออาบน้ำในแต่ละวันด้วย
+ มามา (嬤嬤) หรือเรียก "มามาหลี่" (媽媽里) หรือ "อามา" (阿媽) เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกนางกำนัลรับใช้อาวุโสที่เคยแต่งงานแล้ว ทางราชสำนักจะคัดเลือกแม่ม่ายที่ไม่มีลูก อายุประมาณ 40-50 ปี เข้ามาเป็นนางกำนัลรับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งสูงอย่างฮองไทเฮา ฮองเฮา พระชายา หรือเป็นแม่นมให้กับพระโอรสพระธิดาที่เกิดแต่องค์จักรพรรดิกับฮองเฮาและพระชายา นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมดูแลสั่งสอนเหล่านางกำนัลรับใช้ทั่วไปได้ รวมถึงสอนเรื่องการแต่งตัวแต่งหน้า อบรมมารยาทและพิธีการในวังหลวง
นางกำนัลรับใช้จะได้ออกจากวังเมื่ออายุ 25 ปี แต่ถ้าเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายก็อาจจะได้อยู่รับใช้ต่ออีก 10 ปี หรืออาจมีฐานะเป็นกวนหนี่ว์จื่อ (官女子) คือได้ถวายตัวกับองค์จักรพรรดิ และได้รับแต่งตั้งเป็นสนมตำแหน่งฉางจ้าย ตาอิ้ง ในภายหลังได้ มีกรณีพิเศษที่ทำให้สามารถออกจากวังได้คือ การติดตามไปรับใช้องค์หญิงที่แต่งงานออกไป หรือให้เชื้อพระวงศ์ชายขอพระราชทานนางกำนัลรับใช้ที่พึงใจจากองค์จักรพรรดิไปเป็นภรรยาได้
ระดับขั้นตำแหน่งนางในและตำแหน่งเชื้อพระวงศ์แบบละเอียดของราชวงศ์ชิงแห่งจีนค่ะ
ลำดับขั้นและตำแหน่งนางในสมัยราชวงศ์ชิงกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยจักรพรรดิคังซี ซึ่งสามารถแบ่งตำแหน่งในวังหลังได้ดังต่อไปนี้
จักรพรรดินี พระชายา และพระสนม
ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后)
เรียกลำลองว่า ไท่หมู่ (太母) หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ เช่น เซี่ยวจวงไทฮองไทเฮา ปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ปู้มู่ปู้ไท่ ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 康熙秘史)
หวงไท่โฮ่ว (皇太后)
หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน ในรัชสมัยนั้นอาจจะมีไทเฮาได้ 2 พระองค์ คือตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น เรียกว่า หมู่โฮ่วหวงไท่โฮ่ว (母后皇太后) และตำแหน่งพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เรียกว่า เซิ่งหมู่หวงไท่โฮ่ว (聖母皇太后) โดยที่ไทเฮาที่เป็นอดีตจักรพรรดินีจะมีศักดิ์สูงกว่าไทเฮาที่เป็นพระมารดาของจักรพรรดิ เช่น เหรินเซี่ยนฮองไทเฮา สกุลปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ ในสมัยจักรพรรดิคังซี ทรงเคยเป็นฮองเฮาในจักรพรรดิซุ่นจื้อ (จากเรื่อง 深宮諜影), ฉงชิ่งฮองไทเฮา สกุลหนิ่วฮู่ลู่ ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงเคยเป็นซีกุ้ยเฟยในจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 新還珠格格)
หวงไท่เฟย (皇太妃), หวงไท่ผิน (皇太嬪)
โดยจะมีคำว่า ไท่ (太) หรือ หวงข่าว (皇考) อยู่ในพระนาม ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นพระโอรสที่เกิดแต่พระชายาหรือพระสนมที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย พระชายาหรือพระสนมผู้นั้นไม่สามารถขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ แต่จะได้รับตำแหน่งเป็นหวงไท่เฟยแทน พระชายาหรือพระสนมที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วอาจจะแต่งตั้งพระมารดาเลี้ยงให้มีตำแหน่งไท่เฟยได้เช่นกัน และสามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นฮองไทเฮาในภายหลังได้ หรือเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยใหม่ องค์จักรพรรดิก็สามารถแต่งตั้งพระชายาหรือพระสนมในจักรพรรดิองค์ก่อนที่มีความเหมาะสมขึ้นเป็นไท่เฟยหรือไท่ผิน เพื่อให้เกียรติพระนางเหล่านั้นได้ด้วยเช่นกัน เช่น ฉุนยวี่ฉินไท่เฟย สกุลเฉิน ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 宮鎖珠簾)
หวงโฮ่ว (皇后)
ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ มักรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน เป็นหงส์ที่จะอยู่เคียงข้างมังกร ซึ่งก็คือองค์จักรพรรดิ มีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 10 คน สำหรับพระมารดาในจักรพรรดิที่เป็นพระชายาหรือพระสนม เมื่อสิ้นพระชนม์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ เช่น เซี่ยวตวนเหวินฮองเฮา ปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ เจ๋อเจ๋อ ในสมัยจักรพรรดิหวงไท่จี๋ (จากเรื่อง 孝庄秘史), จี้ฮองเฮา สกุลอูลาน่าลา ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (จากเรื่อง 新還珠格格)
รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง มีหลายคนเทียบยศแตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่มีอันไหนถูกหรือผิดจริง ดังนั้นในที่นี้จะเทียบตามความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ ทั้งหมดสามารถแบ่งได้ 3 ขั้นใหญ่ ได้แก่
1) พระภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นสูง มี 2 ตำแหน่ง คือ
หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
"พระอัครเทวีผู้สูงศักดิ์ในองค์จักรพรรดิ" พระมเหสีรองซึ่งมีอำนาจในการปกครองวังหลังรองจากฮองเฮา ตำแหน่งนี้จึงมีได้เพียง 1 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นหวงกุ้ยไท่เฟย (皇貴太妃) หวงกุ้ยเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 8 คน เช่น ต่งเอ้อหวงกุ้ยเฟย ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นเซี่ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา (จากเรื่อง 少年天子順治王朝), เสี้ยวอี้เหรินฮองเฮา สกุลถงเจีย เคยมีตำแหน่งเป็นหวงกุ้ยเฟย ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 紫禁惊雷)
กุ้ยเฟย (貴妃)
ตำแหน่งรองลงมาจากหวงกุ้ยเฟย "พระอัครเทวีผู้ล้ำค่า" สามารถแต่งตั้งได้ 2 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกุ้ยไท่เฟย (貴太妃) กุ้ยเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 8 คน เช่น ตเวินซู่หวงกุ้ยเฟย สกุลเหนียน เคยมีตำแหน่งเป็นกุ้ยเฟย ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 宮鎖心玉), อี้กุ้ยเฟย สกุลเย่เฮ่อน่าลา ในสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิง ภายหลังขึ้นเป็นซูสีไทเฮา พระมารดาของจักรพรรดิถงจื้อ (จากเรื่อง 蒼穹之昴)
2) พระภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นกลาง มี 2 ตำแหน่ง คือ
เฟย (妃)
ตำแหน่งพระราชชายาในองค์จักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้ 4 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นไท่เฟย (太妃) เฟยมีขันทีรับใช้ได้ 10 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 6 คน เช่น ติ้งเฟย สกุลว่านหลิวฮา ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 康熙微服私訪記), ยวี๋เฟย สกุลเคอหลี่เย่เท่อ ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นยวี๋กุ้ยเฟย, ลิ่งเฟย สกุลเว่ยเจีย ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ต่อมาขึ้นเป็นลิ่งกุ้ยเฟย และลิ่งอี้หวงกุ้ยเฟย ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้รับสถาปนาเป็นเซี่ยวอี๋ฉุนฮองเฮา (จากเรื่อง 新還珠格格), ฮุ่ยเฟย สกุลนาลา ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 紫禁惊雷)
ผิน (嬪)
ตำแหน่งพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิ สามารถแต่งตั้งได้ 6 คน หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับแต่งตั้งเป็นไท่ผิน (太嬪) ผินมีขันทีรับใช้ได้ 8 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 6 คน เช่น ซีผิน สกุลเฮ่อเส่อหลี่ ในสมัยจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 宮鎖心玉), เสียงเฟย สกุลหนิ่วฮู่ลู่ เคยมีตำแหน่งเป็นเสียงผิน ในสมัยจักรพรรดิเต้ากวาง (จากเรื่อง 大清后宮)
3) พระภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นต่ำ มี 3 ตำแหน่ง คือ
กุ้ยเหริน (貴人)
ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ สามารถแต่งตั้งได้นับไม่ถ้วน กุ้ยเหรินมีขันทีรับใช้ได้ 4 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 4 คน เช่น อันกุ้ยเหริน ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 後宮甄嬛傳)
ฉางจ้าย (常在)
ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ฉางจ้าย หมายถึง คงอยู่ตลอดเวลา ให้ความหมายเทียบได้กับสนมอยู่งาน สามารถแต่งตั้งได้นับไม่ถ้วน ฉางจ้ายมีขันทีรับใช้ได้ 3 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 3 คน เช่น ชุนฉางจ้าย (ในเรื่องเป็นเซี่ยตงชุนฉางจ้าย) ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 後宮甄嬛傳)
ตาอิ้ง (答應)
ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ตาอิ้ง หมายถึง รับปาก,รับคำมั่น สามารถแต่งตั้งได้นับไม่ถ้วน ตาอิ้งมีขันทีรับใช้ได้ 1 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 2 คน เช่น อิงตาอิ้ง หลานอิง ในสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (จากเรื่อง 後宮甄嬛傳)
กุ้ยเหริน ฉางจ้าย และตาอิ้ง หากมีความเหมาะสมในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผิน และมีคำว่าหวงข่าว (皇考) นำหน้าอยู่ในชื่อตำแหน่ง เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสนมของจักรพรรดิองค์ก่อน แต่ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นก็มีเป็นส่วนน้อย
นางกำนัลรับใช้ภายในวังหลัง
กงหนี่ว์ (宮女) หรือนางกำนัลรับใช้ภายในวังหลวง คอยทำหน้าที่รับใช้องค์จักรพรรดิ พระภรรยาต่างๆ และเชื้อพระวงศ์ รวมถึงทำงานจิปาถะต่างๆ ทั้งหมดภายในวัง โดยมีการแบ่งดังนี้คือ นางกำนัลรับใช้ที่เป็นชาวธงและเป็นธิดาขุนนางหรือมีชาติตระกูลสูง จะถูกเลือกให้ถวายการรับใช้ไทเฮา ฮองเฮา พระสนมตั้งแต่กุ้ยเหรินขึ้นไป และองค์หญิงต่างๆ เพราะนางกำนัลรับใช้ตรงส่วนนี้จะต้องมีสายเลือดและชาติกำเนิดที่เป็นชาวแมนจูแท้ และต้องมีการรักษากฎระเบียบเคร่งครัด ส่วนนางกำนัลรับใช้ชาวธงที่เหลือนอกจากนั้นก็จะได้เป็นนางกำนัลรับใช้ตามตำหนักหรือทำหน้าที่อื่นๆ
ระดับขั้นของนางกำนัลรับใช้ในราชวงศ์ชิงนั้นขึ้นอยู่กับเจ้านายที่ถวายการรับใช้อยู่ ยิ่งถวายการรับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งสูง ก็ยิ่งมีหน้ามีตาและอำนาจมากกว่านางกำนัลที่รับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งต่ำลงมา นอกจากนี้ยังมีการแบ่งนางกำนัลรับใช้ตามอาวุโส ได้แก่
+ กูกู (姑姑) เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกนางกำนัลรับใช้ผู้มีอาวุโส หมายถึงอยู่ทำงานรับใช้ในวังมานาน ใกล้จะเกษียณออกจากวัง ตามธรรมเนียมเมื่ออายุประมาณ 25 ปี ก็สามารถออกจากวังไปแต่งงานได้ ในราชวงศ์ชิงจะรับนางกำนัลรับใช้ใหม่ๆ ทุกปี ดังนั้นก่อนที่จะออกไป กูกูก็จะมีหน้าที่อบรมและฝึกฝนนางกำนัลใหม่ทั้งหลายให้เรียนรู้และเป็นงาน มีอำนาจเด็ดขาดในนางกำนัลที่ตนฝึกสอน สามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษได้ นางกำนัลเข้าใหม่ยังมีหน้าที่รับใช้กูกู ล้างหน้า หวีผม หรืออาบน้ำในแต่ละวันด้วย
+ มามา (嬤嬤) หรือเรียก "มามาหลี่" (媽媽里) หรือ "อามา" (阿媽) เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกนางกำนัลรับใช้อาวุโสที่เคยแต่งงานแล้ว ทางราชสำนักจะคัดเลือกแม่ม่ายที่ไม่มีลูก อายุประมาณ 40-50 ปี เข้ามาเป็นนางกำนัลรับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งสูงอย่างฮองไทเฮา ฮองเฮา พระชายา หรือเป็นแม่นมให้กับพระโอรสพระธิดาที่เกิดแต่องค์จักรพรรดิกับฮองเฮาและพระชายา นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมดูแลสั่งสอนเหล่านางกำนัลรับใช้ทั่วไปได้ รวมถึงสอนเรื่องการแต่งตัวแต่งหน้า อบรมมารยาทและพิธีการในวังหลวง
นางกำนัลรับใช้จะได้ออกจากวังเมื่ออายุ 25 ปี แต่ถ้าเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายก็อาจจะได้อยู่รับใช้ต่ออีก 10 ปี หรืออาจมีฐานะเป็นกวนหนี่ว์จื่อ (官女子) คือได้ถวายตัวกับองค์จักรพรรดิ และได้รับแต่งตั้งเป็นสนมตำแหน่งฉางจ้าย ตาอิ้ง ในภายหลังได้ มีกรณีพิเศษที่ทำให้สามารถออกจากวังได้คือ การติดตามไปรับใช้องค์หญิงที่แต่งงานออกไป หรือให้เชื้อพระวงศ์ชายขอพระราชทานนางกำนัลรับใช้ที่พึงใจจากองค์จักรพรรดิไปเป็นภรรยาได้