ลืมตาเข้าฌานได้มั้ย

กระทู้คำถาม
ถ้าลืมตา เดินไปมา ทำกิจกรรมทั่วๆไป แต่คอยรู้ใจอยู่ ก็ยังทำกิจกรรมต่อเนื่องไป อยู่ๆเข้าฌานเองได้ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้มั้ย

ถ้าเกิดขึ้นได้ อยากถามต่อว่า สภาวะที่รู้สึกตอนที่นั่งสมาธิเข้าฌาน กับตอนที่ลืมตาแล้วเข้าฌานแตกต่างกันมั้ย

ตอนหลับตาไม่เห็นภาพ แต่ลืมตามันเห็นภาพภายนอกอยู่หนะ

อ่านหนังสือของหลองพ่อฤาษีลิงดำ ท่านเขียนเรื่องฌานเยอะ สนุก แต่ว่าบางเคสก็ไม่มี
เชื่อว่าหลายๆคนในนี้ถนัดทำฌาน ครูอาจารย์ท่านไม่ค่อยตอบเรื่องนี้ ท่านมักผ่านๆ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ตอนหลับตา ไม่รับรู้อะไรเลย ไม่รู้กระทั่งลักษณะอารมณ์ที่ตัวเองเสพอยู่ เหมือนคนนอนหลับ ตื่นมารู้ แล้ววูบ ไม่รู้นานแค่ไหน
ตื่นมาอีกทีงง โลกใบนี้ทำไมมันหนัก


นั่นคือเข้าฌานไปแล้ว ฌานนั้นยังเป็นมิจฉาสมาธิ คือประกอบด้วยโมหะ สมาธิมันมาก สติมันน้อย
ใหม่ๆ ก็เป็นอย่างนี้แหละ แต่ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆ เพิ่มสติ มันจะสมดุล
การที่หายไปนั้น ก็ไม่ใช่ฌานสี่ แต่เป็นภวังคจิต เป็นช่องว่างระหว่างฌาน ถ้ามันลึกมากก็เป็นการนอนหลับไปเลย
ถ้าไม่ลึกมาก เราเรียกบ้านๆ ว่า "หลับนก" หรือ "หลับใน"

ถ้าทำฌาน 4 ได้แม่นๆ จะเข้าใจความต่างนี้ คือ เมื่อคุณมาฝึกสติเพิ่มจากฐานอื่นๆ ในระหว่างวัน
แล้วเมื่อคุณเข้าสมาธิใหม่ คุณรักษาตัวรู้ไว้ได้ตลอด คือไม่ปล่อยให้รู้หาย พยายามรู้ให้ได้ตลอด
มันจะยากช่วงที่รู้หาย ถ้าปล่อยรู้ ก็จะวืด ดับ คือเข้าภวังค์เดิม (อยากจะเรียกว่าบังเกอร์ 55)
แต่ถ้าพยายามรักษารู้ไว้ รู้ว่าวืดเข้าไปปั๊บ ทำความรู้สึกตัว ระลึกรู้ เริ่มเข้าสมาธิใหม่  มันจะพบว่า วืดสั้นลง
ถึงที่สุด มันจะแค่วูบลง แล้วยกขึ้นเป็นฌาน..
มันจะรวมวูบลง แต่นแต๊นนนน.. สว่าง..  เป็นฌาน 4

ดังนั้นถ้าจะพูดว่าได้ฌาน  จะต้องรู้ชัด ถ้ายังไม่แน่ใจ ก็แสดงว่ามันยังไม่ใช่ ฌาน 4 ไม่ใช่ไม่รู้ตัวอย่างที่เข้าใจผิดกัน
ฌาน 4 รู้ชัดมากกกกกกกกกกกกก  แต่มันไม่รู้อย่างอื่น นอกจากจิต ความนิ่งความว่างความสงบ มันจะรู้แค่นี้แหละ  

สภาวะตรงนี้ละเอียดมากๆ แต่ทำได้จริงๆ สำคัญที่สติ ต้องแนบกับจิต ตอนแรกแนบกายก่อน เริ่มจากกายก่อน
จากนั้นไปอยู่กับจิต การบริกรรมจะช่วยได้มากในเรื่องนี้ เขาถึงให้กรรมฐาน 5 เวลาจะฝึกฌาน
แต่ถ้าไม่บริกรรม ให้ดูว่า "รู้ชัดตรงไหน" ก็ตรงนั้นแหละที่จิตเขาอยู่  เราก็วางจิตไว้ตรงที่รู้ชัด หรือวางสติคือตัวรู้ชัดๆ ไว้ตรงบริเวณนั้น
เดี๋ยวจิตเขาอยู่ตรงนั้นเอง นิ่งได้นานพอ กำลังพอ ก็จะเริ่มได้สมาธิ รวมเป็นฌาน



แต่สภาวะที่ลืมตานั้น มันเห็นโต๊ะ เห็นเตียง แต่ไม่มีน้ำหนัก ตาเห็น แต่ความรู้สึกไม่ใช่
โต๊ะไม่ใช่โต๊ะ เตียงไม่ใช่เตียง โลกนี้ว่างเปล่า ทุกอย่างเห็น แต่กลับไปรู้ว่าไม่มีอยู่จริง


ก็เพราะอำนาจของสมาธิ ของฌาน มันทำให้สัญญาดับชั่วคราว จึงรู้สึกอย่างที่บรรยายมา
คนที่ทำฌาน จะเกิดความรู้สึกแบบนี้ได้บ่อย จนเป็นเรื่องตลกกันในชีวิตประจำวัน

เป็นต้นว่า เราเดินข้ามสนาม เห็นคนที่จะต้องไปคุยด้วย ก็เดินไปเลย เวลาเดินมันเจริญสติ เข้าฌานไปแล้ว
จิตมันเพ่งไปที่คนที่จะไปหา มันเดินผ่านคนอื่น มองไม่เห็นคนอื่น ไปถึงคนนั้นก็พูดๆๆ
ตอนนี้สัญญาเริ่มมา เมื่อกี้เราเดินผ่านคน...  มีหลายคน...ด้วย  มีพระด้วย...เห็นเหลืองๆ พระแน่ๆ.. เรายืนค้ำหัวพระอยู่เนี่ย...  เย้ย...
(พระก็ขำ เราก็กราบขออภัยพระ แบบว่ามันมุ่งมั่นไปหน่อยฮ่ะ)

แต่ถ้าไม่เอาตลก ก็สภาวะพวกนี้แหละเขาเอามาใช้เจริญวิปัสสนากัน ที่ว่าเจริญวิปัสสนาบนฐานของสมถะน่ะ
ถ้าไม่มีสมถะ เราจะแยกกลไกขันธ์ 5 ไม่ได้ชัด  เวลาเราอยู่ในสมาธิ มันละสัญญา  ความมั่นหมาย โต๊ะก็ไม่ใช่โต๊ะ เป็นอะไรไม่รู้
เหมือนกัน ที่เขาอาบน้ำ หรือส่องกระจกดูแล้วตัวเราไม่ใช่เรา เป็นอะไรไม่รู้ เพราะขณะนั้นจิตเป็นสมาธิ
และแยกตัวออกจากสังขารขันธ์ ชั่วขณะ



จิตมันไปเสพ ความรู้สึกนั้น ใจมันไม่ได้อยู่ในกาย
ใจมันคืออะไรที่กว้างๆ ตอนนี้นะรู้สึกว่าแบกโลกได้ทั้งใบเลย แบกความทุกข์ของคนได้ทั้งโลก ไม่น่าเชื่อ
มันแปลกมากนะ มันรู้สึกอย่างนั้น อันนี้คือความรู้สึกที่แตกต่างจากตอนหลับตา

บางอย่างที่คล้ายฌานคืออารมณ์อันนึงที่มันเสพ จะเรียกว่าภพอีกภพก็ได้ เหมือนแบ่งชั้นบรรยากาศ  



ก็ใจมันแยกออกจากกายไง ใจมันหลุดจากกายที่แคบๆ มันมีกำลัง เรียกว่าปีติ
ปีติของจิต มันทำให้รู้สึกอย่างนั้นแหละ  มันจะทำให้เข้าใจอำนาจของใจ อำนาจของจิต ว่ามันยิ่งใหญ่อย่างนี้แหละ
มันเหนือกาย เหนือสังขาร เหนือโลก เหนือความทุกข์ได้
(แต่มันเป็นสภาวะชั่วคราวนะ)


ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ เกิดขึ้นในขณะที่คุณลืมตาอยู่ แต่ไม่เกิดตอนหลับตา
เพราะว่าตอนหลับตา มันไม่ได้ฌาน มันไปเข้าภวังค์ แล้วคิดว่าเป็นฌาน
แต่ในขณะที่คุณรู้สึกว่าเข้าฌาน ทั้งๆ ที่ลืมตาน่ะ มันเป็นขณะจิต ที่สภาวะธรรมมันพอดีกัน คือสติ สมาธิ มันพอดีกัน ปัญญามันก็เห็นสภาวะ

ก็ลองใช้วิธีลืมตาเข้าสมาธิก่อนก็ได้ เพราะสติดีกว่า แล้วพอเข้าไปในภาวะนั้น ก็ค่อยหลับตาแล้วดูสภาวะต่อไป

แต่ให้มีคำตอบสุดท้ายไว้ก่อนว่า  จุดที่เข้าไปได้นั้น เป็นสถานีหนึ่งที่สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ พัฒนาได้ แต่ไม่ใช่สภาวะที่ดีที่สุด
เราอาจฝึกเข้าไปตรงนั้นระหว่างวันได้  แต่อย่าไปยึดมันเท่านั้นล่ะ


คนที่ทำฌาน เหมือนเราเข้าห้องที่ปรับอุณหภูมิไว้ดี เรียกว่าเป็นสภาวะไร้น้ำหนัก
เมื่อออกจากห้อง จะต้องมีปัญหา เพราะว่าโลกนี้จริงๆ มันมีน้ำหนัก และร้อนมาก 55

ในห้องไร้น้ำหนัก จิตจะได้รับการบำรุงเป็นอย่างดี ด้วยอาหารสุดยอด คือสมาธิ ปีติ สุข
แต่เวลาออกจากห้องแล้ว ต้องหาอะไรให้เด็กอ้วนคนนี้ทำนะ.. ไม่งั้นก็เป็นอ้วนขี้เกียจ.. 555

แล้วก็ต้องคอยดูเหมือนกัน ว่าอ้วนแอบหนีเข้าบังเกอร์บ่อยเกินไปรึป่าว.. ต้องบอกอ้วนออกมาสู้โลกหน่อยนะ..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่