......................ความสำเร็จในการได้ใบรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ดี (Good Manufacturing Practice ; GMP) ของชุมชนสหกรณ์สหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด ไม่เพียงการยกระดับมาตรการผลิตของสมาชิกในเครือข่ายกว่า 60 สหกรณ์เท่านั้น แต่ยังสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้าในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อันนำไปสู่ช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น
อุทัย ศรีเทพ ประธานชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด กล่าวถึงการได้มาซึ่งใบรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ดี ว่าหลังได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อขอให้ทำการรับรองคุณภาพยางแผ่นรมควันอัดก้อน จากนั้นสถาบันวิจัยยางจึงได้มอบหมายให้คณะทำงานชุดปฏิบัติการควบคุมคุณภาพยางอัดก้อนเข้าอบรมการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานและควบคุมคุณภาพกรรมวิธีการผลิต ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม-25 มีนาคม รวม 9 ชุด ชุดละ 2 คน โดยปฏิบัติงานควบคุมครั้งละ 7 วัน
"คณะกรรมการได้ตรวจประเมินโรงอัดก้อนยางเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พบว่าผ่านมาตรฐานจีเอ็มพี ด้วยคะแนนร้อยละ 80.5 กำหนดรหัสบนก้อนยาง RB21 นับเป็นแห่งสองของไทยที่ได้รับรองมาตรฐานจีเอ็มพี ต่อจากสหกรณ์กองทุนสวนยางจันดี จำกัด จ.นครศรีธรรมราช"
ปัจจุบันสหกรณ์มีเครือข่ายจำนวน 60 เครือข่าย สามารถส่งยางแผ่นรมควันเข้าอัดก้อนได้เฉลี่ยวันละ 20 ตันหรือเฉลี่ยเดือนละ 572 ตัน โดยมีต้นทุนการอัดก้อน กก.ละ 1.00 บาท ซึ่งมีมูลค่าเพิ่ม กก.ละ 3.50 บาท ดังนั้นหากกำลังการผลิตเฉลี่ยเดือนละ 572 ตัน จะมีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 2,002,000 บาท
อุทัยยอมรับว่าหลังชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด เข้าสู่มาตรฐานจีเอ็มพี ก็มั่นใจว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานให้ประเทศผู้ใช้ยางได้ เพราะนอกจากช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดให้สถาบันเกษตรกรแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้ายางพาราและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันพร้อมเสริมสร้างจุดขายให้สินค้ายางพาราของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกได้อีกด้วย
"ขณะนี้มีใบสั่งซื้อจากบริษัทผู้ส่งออกในประเทศในปริมาณ 100 ตันต่อเดือน และเมื่อเร็วๆ นี้มีลูกค้าจากรัสเซียได้มาดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน ก็คาดว่าน่าจะมีออเดอร์เข้ามาอีกในเร็วๆ นี้" ประธานชุมนุมสหกรณ์ตรังเผยข้อมูล
ด้าน ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตรกล่าวถึงสถานการณ์ยางแผ่นรมควันในประเทศไทยว่ามีปริมาณการผลิตและส่งออกเป็นอันดับ 2 ของผลผลิตยางธรรมชาติ จากปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควัน 747,284 ตัน ในปี 2554 สามารถทำรายได้เข้าประเทศถึง 115,400 ล้านบาทและยังเป็นสินค้าส่งออกมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งนับว่าเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของชาติเป็นอย่างยิ่ง
"สถาบันวิจัยยางได้เริ่มโครงการให้การรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ดีมาตั้งแต่ปี 2545 แต่จนถึงขณะนี้มีเพียง 2 โรงเท่านั้นที่ผลิตยางอัดก้อนได้มาตรฐานจีเอ็มพี คือสหกรณ์กองทุนสวนยางจันดี จำกัด จ. นครศรีธรรมราชและชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด จ.ตรัง"
ปรีดิ์เปรมเผยระหว่างเป็นประธานมอบใบรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานจีเอ็มพี แก่ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา และขณะนี้ยังมีโรงอัดก้อนยางอีก 4 แห่งที่รอการพิจารณาจากสถาบันวิจัยยางประกอบด้วย ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดกระบี่ จำกัด บริษัทศุภาคย์ จำกัด จ. ระยอง สหกรณ์กองทุนสวนยางบ่อทอง จำกัด จ.ชลบุรี และสหกรณ์ตราดยางพารา จำกัด จ.ตราด
นับเป็นอีกก้าวของชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด ในการเข้าสู่มาตรฐานจีเอ็มพี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบคุณภาพให้แก่ผู้ใช้ยางทั้งภายในและต่างประเทศ โดยกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ที่สนใจสามารถยื่นขอรับรองโรงอัดก้อนยางตามหลักจีเอ็มพี ได้ที่สถาบันวิจัยยางกรุงเทพฯ หรือศูนย์วิจัยยางสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ในวันและเวลาราชการ
ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20130419/156409/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B5.html#.UXA0fUorLa0
อีกก้าวโรงยาง"อัดก้อน"สหกรณ์ตรังยกระดับผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานจีเอ็มพี
อุทัย ศรีเทพ ประธานชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด กล่าวถึงการได้มาซึ่งใบรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ดี ว่าหลังได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อขอให้ทำการรับรองคุณภาพยางแผ่นรมควันอัดก้อน จากนั้นสถาบันวิจัยยางจึงได้มอบหมายให้คณะทำงานชุดปฏิบัติการควบคุมคุณภาพยางอัดก้อนเข้าอบรมการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานและควบคุมคุณภาพกรรมวิธีการผลิต ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม-25 มีนาคม รวม 9 ชุด ชุดละ 2 คน โดยปฏิบัติงานควบคุมครั้งละ 7 วัน
"คณะกรรมการได้ตรวจประเมินโรงอัดก้อนยางเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พบว่าผ่านมาตรฐานจีเอ็มพี ด้วยคะแนนร้อยละ 80.5 กำหนดรหัสบนก้อนยาง RB21 นับเป็นแห่งสองของไทยที่ได้รับรองมาตรฐานจีเอ็มพี ต่อจากสหกรณ์กองทุนสวนยางจันดี จำกัด จ.นครศรีธรรมราช"
ปัจจุบันสหกรณ์มีเครือข่ายจำนวน 60 เครือข่าย สามารถส่งยางแผ่นรมควันเข้าอัดก้อนได้เฉลี่ยวันละ 20 ตันหรือเฉลี่ยเดือนละ 572 ตัน โดยมีต้นทุนการอัดก้อน กก.ละ 1.00 บาท ซึ่งมีมูลค่าเพิ่ม กก.ละ 3.50 บาท ดังนั้นหากกำลังการผลิตเฉลี่ยเดือนละ 572 ตัน จะมีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 2,002,000 บาท
อุทัยยอมรับว่าหลังชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด เข้าสู่มาตรฐานจีเอ็มพี ก็มั่นใจว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานให้ประเทศผู้ใช้ยางได้ เพราะนอกจากช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดให้สถาบันเกษตรกรแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้ายางพาราและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันพร้อมเสริมสร้างจุดขายให้สินค้ายางพาราของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกได้อีกด้วย
"ขณะนี้มีใบสั่งซื้อจากบริษัทผู้ส่งออกในประเทศในปริมาณ 100 ตันต่อเดือน และเมื่อเร็วๆ นี้มีลูกค้าจากรัสเซียได้มาดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน ก็คาดว่าน่าจะมีออเดอร์เข้ามาอีกในเร็วๆ นี้" ประธานชุมนุมสหกรณ์ตรังเผยข้อมูล
ด้าน ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตรกล่าวถึงสถานการณ์ยางแผ่นรมควันในประเทศไทยว่ามีปริมาณการผลิตและส่งออกเป็นอันดับ 2 ของผลผลิตยางธรรมชาติ จากปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควัน 747,284 ตัน ในปี 2554 สามารถทำรายได้เข้าประเทศถึง 115,400 ล้านบาทและยังเป็นสินค้าส่งออกมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งนับว่าเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของชาติเป็นอย่างยิ่ง
"สถาบันวิจัยยางได้เริ่มโครงการให้การรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่ดีมาตั้งแต่ปี 2545 แต่จนถึงขณะนี้มีเพียง 2 โรงเท่านั้นที่ผลิตยางอัดก้อนได้มาตรฐานจีเอ็มพี คือสหกรณ์กองทุนสวนยางจันดี จำกัด จ. นครศรีธรรมราชและชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด จ.ตรัง"
ปรีดิ์เปรมเผยระหว่างเป็นประธานมอบใบรับรองคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนตามมาตรฐานจีเอ็มพี แก่ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา และขณะนี้ยังมีโรงอัดก้อนยางอีก 4 แห่งที่รอการพิจารณาจากสถาบันวิจัยยางประกอบด้วย ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดกระบี่ จำกัด บริษัทศุภาคย์ จำกัด จ. ระยอง สหกรณ์กองทุนสวนยางบ่อทอง จำกัด จ.ชลบุรี และสหกรณ์ตราดยางพารา จำกัด จ.ตราด
นับเป็นอีกก้าวของชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง จำกัด ในการเข้าสู่มาตรฐานจีเอ็มพี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบคุณภาพให้แก่ผู้ใช้ยางทั้งภายในและต่างประเทศ โดยกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ที่สนใจสามารถยื่นขอรับรองโรงอัดก้อนยางตามหลักจีเอ็มพี ได้ที่สถาบันวิจัยยางกรุงเทพฯ หรือศูนย์วิจัยยางสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ในวันและเวลาราชการ
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20130419/156409/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B5.html#.UXA0fUorLa0