เรื่องราวน่ารู้..ประวัติการแต่งกายของแต่ละประเทศ

เนื่องจากเป็นคนชอบดูซีรีย์ย้อนยุค เห็นว่าเสื้อผ้าของยุคก่อน สวยงามมาก เลยนั่งหาข้อมูลเรื่องการแต่งกายของแต่ละประเทศ เอามาแบ่งบันนั่งอ่าน นั่งชม กันเพลินๆค่ะ

ตอนที่ 1 ประเทศไทย      http://pantip.com/topic/30337314
ตอนที่ 2 ประเทศเกาหลี   http://pantip.com/topic/30338552
ตอนที่ 3 ประเทศจีน       http://pantip.com/topic/30339534
ตอนที่ 4 ประเทศอินเดีย  http://pantip.com/topic/30341287
ตอนที่ 5 ประเทศญี่ปุ่น    http://pantip.com/topic/30348083
ตอนที่ 6 ประเทศภูฏาน   http://pantip.com/topic/30354853
ตอนที่ 7 ประเทศอียิปต์   http://pantip.com/topic/30356780

ประเทศไทย ก่อนเลยค่ะ

สมัยน่านเจ้า(พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๑๙๔)



          เมื่อชนชาติไทยอพยพเคลื่อนที่ลงมาสู่แหลมอินโดจีนโดยลำดับ จนได้ตั้งอาณาจักรไทยน่านเจ้าขึ้นเป็นอาณาจักรไทยแห่งหนึ่งที่หนองแสตาลีฟู หญิงไทยคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีทางการแต่งกายของตนไว้ ไม่ใช้ฝุ่นผัดหน้าหรือเขียนคิ้ว ใช้น้ำกลั่นจากต้นหม่อนทาผม หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง

สมัยลพบุรี





ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
   ผม ผมแสกกลาง ตอนบนมุ่นเป็นมวย ปักด้วยปิ่นยอดแหลม

   เครื่องประดับ สวมกำไลต้นแขน ข้อมือทั้ง 2 มีปิ่น เข็มขัดมีลวดลาย สวมเทริดที่ ศีรษะมีกรองคอทำลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นหัวเป็ดคว่ำ



ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
   ผม เกล้าผมเหนือศีรษะ

   เครื่องประดับ คาดเข็มขัดหัวเข็มขัดผูกเป็นปมเงื่อนแบบสอดสร้อย ใส่ตุ้มหู กรองคอ เป็นเส้นเกลี้ยง ซ้อนกัน 2 ชั้น ตรงกลางทำเป็นลวดลายดอกไม้เม็ดกลม ๆ ซ้อนกัน สวมกำไลต้นแขน ข้อมือ และเท้า

   เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงสูง ขวาทับซ้ายแล้วทิ้งชายเป็นกาบใหญ่ คาดเข็มขัด นุ่งสั้น เหนือเข่าทิ้งชายพกออกมา ข้าหน้าเป็นแผ่นใหญ่ ไม่สวมรองเท้า


   เครื่องแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าให้ชายซ้อนกันตรงหน้า แล้วปล่อยชายออก 2 ข้าง เป็นปลี บางทีปล่อยชายยาวลงถึงสะโพกทั้งขวาและซ้าย เป็นชายไหว คาดเข็มขัด ปลายทำเป็น พู่คล้ายกรวยเชิงห้อยเรียงเป็นแถว ไม่สวมรองเท้า

สมัยเชียงแสน(พ.ศ ๑๖๖๑–๑๗๓๑)





           อาณาจักรน่านเจ้าสิ้นสุดลง ชนชาติไทยเคลื่อนสู่แหลมอินโดจีนรวบรวมกันเป็นอาณาจักรใหม่ เรียกลานนาไทย หรือเชียงแสน ราว พ.ศ. ๑๖๖๑–๑๗๓๑ เนื่องแต่เข้ามาอยู่ในเขตร้อน หญิงไทยจึงนุ่งซิ่นถุง แต่การทอผ้ามีลวดลายตกแต่งประดับประดา เช่น ซิ่นทอลายขวาง เกล้าผมสูง ปักปิ่นประดับผม

สมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๒๖)









           อาณาจักรสุโขทัยเริ่มราว พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นระยะเวลาใกล้กับที่ไทยอีกพวกหนึ่งเรียกตัวเองว่า ปงหรือปา ไปก่อตั้งอาณาจักรอาหม บัดนี้คือมณฑลอัสสัมในอินเดีย พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ทรงคิดตัวอักษรไทยขึ้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมพราหมณ์และขอมแพร่มาถึงสตรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไปเกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่งกรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับเครื่องอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ - ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบทำด้วยหนังสีดำสีแดง

สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ





           พระมเหสีเทวีแต่โบราณเสวยพระกระยาหารต่างเวลากับพระมหากษัตริย์ ย่อมโปรดให้ข้าหลวงตั้งเครื่องเสวยของพระองค์เองก่อนหรือภายหลัง เพื่อมีเวลาถวายปรนนิบัติพระราชสวามีได้เต็มที่ เครื่องทรงเป็นภูษาจีบห่มผ้าปัก มีเครื่องประกอบยศขัตติยนารี





ต้นสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓– ๒๑๓๑)

           พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศิลปะการดนตรีขับร้องและกลอนเพลงเฟื่องฟู ไทยเริ่มนุ่งโจงกระเบน แปลงจากทรงหยักรั้งอย่างขอม หญิงนุ่งจีบห่มสไบ มีผ้าห่มชั้นในอีกผืนหนึ่งห่มอย่างผ้าแถบสไบชั้นนอกใช้ผ้าเนื้อหนาก็ได้ ตามกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถระบุว่า “เมื่องานใส่เศียรเพชรมวย” คือเกล้าไว้ที่ท้ายทอย "เกล้าหนูนยิกเกี้ยวแซม" คือ ผมเกล้าสูงไว้บนกระหม่อม





สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑)

           ในสมัยอยุธยารัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ วรรณคดีไทยเฟื่องฟูมาก เช่น มีกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งได้ใช้ขับเห่เรือพระที่นั่งมาจนปัจจุบัน การแต่งกายสตรีตามภาพพจน์นิพนธ์กล่าวว่า

“คิดอนงค์องค์เอวอร           ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร”
และ “ผมเผ้าเจ้าดำขลับ       แสงยับยับกลิ่นหอมรวย
ประบ่าอ่าสละสลวย            คือมณีสีแสงนิล”

           แสดงว่าสตรีนิยมไว้ผมยาว เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้นิพนธ์บทละครเรื่อง ดาหลังและอิเหนา ขึ้น ตามเค้าเรื่องที่ข้าหลวงเชื้อชาติมลายูเล่าถวาย





           สิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ประเทศไทยต้องทำศึกสงคราม การแต่งกายของสตรีจึงเปลี่ยนแปลงไป
ผมที่เคยไว้ยาวประบ่าก็ต้องตัดสั้น เพื่อสะดวกในการปลอมเป็นชายอพยพหลบหนี ห่มผ้าคาดอกแบบตะเบงมานรวบชายผูกเงื่อนที่ต้นคอ แสดงถึงหญิงไทย แม้จะเป็นเพศอ่อนโยนสวยงาม แต่ก็อาจปรับตัวรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ งานบ้านปรกติก็ต้องทำ เช่น ฝัดข้าวไว้หุง แต่พอมีสัญญาณภัยก็วางกะด้ง คว้าดาบ
พร้อมที่จะสู้ได้ทันที

สมัยรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1-3 พ.ศ. 2325 – 2394 ระยะ 69 ปี



หญิง
ผม ไว้ผมปีกประบ่ากันไรผมวงหน้าโค้ง ส่วนบนกระหม่อมกันไรผมเป็นหย่อมวงกลม แบ่งผมออกดูคล้ายปีกนก จึงเรียกผมปีก แต่ไม่ยาวเท่าสมัยอยุธยา ปล่อยจอน ข้างหูยาวแล้ว ยกขึ้น ทัดไว้ที่หู เรียกว่า “จอนหู” ส่วนเด็ก ๆ นิยมไว้ผมจุก

การแต่งกาย นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยา ชาวบ้านนุ่งผ้าถุง หรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก และห่มสไบ เฉียงทับ

ชาย
ผม ยังคงไว้แบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ทรงมหาดไทย ชาวบ้านเรียกว่า “ทรงหลักแจว”

การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อเป็นแบบเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก แขนยาว กระดุม 5 เม็ด ชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ หรือพาดผ้า

รูปแบบการนุ่งผ้า ระหว่างชาววังและชาวบ้านไม่น่าจะมีอะไรแตกต่างกันมาก แต่จะมี รายละเอียดบางส่วนคือเนื้อผ้า พวกชาววัง ขุนนาง ชนชั้น สูง มักใช้ผ้าทอเนื้อละเอียด สอดเงิน สอดทอง หรือผ้าไหมอย่างดี ส่วนชาวบ้านนุ่งผ้าพื้นเมือง พวกผ้าพื้น หรือผ้าลายเนื้อเรียบ ๆ ตามหลักฐานรูปจิตรกรรมฝาผนัง พวกขุนนางมักสวมเสื้อคอกลม ผ่ากลาง มีกระดุม มีสาบเสื้อ หรือเป็นเสื้อคอเปิด มีกระดุม จะมีผ้าคาดทับ ส่วนกางเกงจะเป็นแบบขาสามส่วน ยาวเพียงครึ่งน่อง บางทีก็นุ่งโจงกระเบนทับในสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า

การแต่งกายของคนสามัญ
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ทำสวน ทำไร่ การแต่งกายของชายหญิงจึง เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตแบบเกษตรกร การแต่งกายจึงมีลักษณะทะมัดทะแมง คือ นุ่งผ้าชิ้น เดียว ด้วยวิธีนุ่งถกเขมร เป็นการนุ่งโจงกระเบน แต่ถกให้สั้น เหนือเข่า เพื่อสะดวกในการออกแรง ไม่สวมเสื้อ โพกผ้าที่ศีรษะ ไม่สวมรองเท้า หากอยู่บ้านไม่ทำงานก็นุ่งผ้าลอยชาย หรือนุ่งโสร่งมี ผ้าคาดพุง ในงานเทศกาลมักนุ่งผ้าโจงกระเบนเป็นผ้าแพรสีต่าง ๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชาย ยาวทั้งสองไว้ด้านหน้า หรือคล้องไหล่ทิ้งชายไว้ด้านหน้า หรือพาดตามไหล่ไว้

ทรงผม ติดเป็นผมปีกหรือผมตัดแบบผู้ชาย

สตรีชาวบ้านนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบ เวลาทำงานห่มตะเบงมาน อยู่บ้านห่มเหน็บหน้าแบบผ้าแถบ เวลาออกจากบ้านห่มสไบเฉียง ถ้าเป็นสตรีสาวตัดผมสั้น แบบดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายยาวงอนถึงบ่า ผู้ใหญ่ตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น

ลักษณะการแต่งกายของคนสามัญไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4


(เดี๊ยวกลับมาต่อนะคะ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่