....ใช่แล้ว...คำพังเพยแต่โบราณท่านว่าไว้อย่างนั้น....
......ทำไมหญ้าแพรกถึงต้องแหลกราน ลองหลับตาแล้วนึกถึงสภาพของหญ้าแพรกภายใต้อุ้งตีนช้างดูละกัน.....
หญ้าแพรกนะ...ไม่ใช่หญ้าแฝก
เมื่อไม่นานมานี้มีท่านผู้หญิงไฮโซท่านหนึ่งเรียกหญ้าแฝก เป็นหญ้าแพรก เต็มปากเต็มคำต่อหน้าชาวพาราทั้งประเทศมาแล้ว
เมื่อนึกถึงคำพังเพยขึ้นมา ก็พาลเผลอใจได้กลิ่นอาย ของบรรยากาศเมื่อยามเด็กติดจมูกขึ้นมาทันที
แฮ่...กลิ่นอายนะครับไม่ใช่กลิ่นไอ...
ทำไมกลิ่นต้องอายด้วย อันนี้ไม่ทราบเหมือนกัน.....แต่ก็นั่นแหละนะ มันเป็นเรื่องของภาษา
ที่หยิบยืมกันไปมา จนปนเปกันไปหมด
กลิ่น = อา ยะ
อา - ยะ = กลิ่น
ไม่รู้จะใช้ยังไง ก็เลยใช้ กลิ่นอาย ซะเลย...(มั่วดีมั้ยภาษา)
แต่ก็เป็นสำนวนคำพูดที่ใช้กันอยู่ทั่วไป...
ฮ่า....! แค่กลิ่นอาย คำเดียว ก็เป็นเรื่องไปได้เนอะ...
จะเล่าถึงกลิ่นอายเมื่อวัยเด็ก ไหงกลายมาเป็นเรื่องภาษาไปได้
กลิ่นอายในวัยเด็กเมื่อครั้งอยู่บ้านสวนถนนพิชัย.......
ถนนที่ชาวสวนอ้อยไม่ค่อยได้เดินผ่าน....
ก็จะเดินผ่านได้อย่างไรในเมื่อมันเป็นเพียงถนนลูกรังแคบๆ สองข้างทางมองไม่เห็นบ้านเรือนผู้คน
มีแต่ต้นหมาก...(รากไม้ไม่มีอ่ะครับ) ผลไม้บังสายตา
จะมีก็แต่ร้านกาแฟเจ๊กลิ้ม ขายของจิปาถะ กับฟาร์มแพะอยู่ข้างทาง
วัยแห่งความสนุกสนานของเด็กๆลูกชาวสวนในยุคนั้น
ล้วนแต่มีความสุขอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
แทบเล็ต ไอแพด ไอโฟน คืออะไรไม่รู้จัก..
ของเล่นที่เพิ่มความสนุกสนาน ก็หาได้จากวัสดุใกล้ตัว
สามารถหยิบจับมาสร้างสรรเฮฮากันได้มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นมงกุฏดอกหญ้า ของเจ้าหญิง หรือใบขนุนแห้งโคนต้น ที่นำมากลัดด้วยไม้ทางมะพร้าว
เรียงรายกันจนเป็นมงกุฏพระราชา
แต่ที่สร้างความสนุกมากกว่าสิ่งอื่นใดคือการ....ตีไก่...
ตีไก่ที่ว่านี้ไม่ใช่ไปไล่จับไก่มาตีกัน....แต่เป็นหญ้าครับ....หญ้าที่มีหัวโตๆ ที่สมมติกันว่าเป็นหัวไก่นั่นแหละ
หญ้าชนิดนี้นี่แหละครับที่เรียกว่าหญ้าแพรก....(วันไหว้ครูต้องเด็ดมาคู่กับดอกมะเขือทุกปี)
อ่ะ...มีรูปมาให้เด็กๆดูครับ...(ใครที่ใหญ่แล้วก็ทำตัวเป็นเด็กหน่อยละกัน)

มันสนุกตั้งแต่แย่งกันหาหญ้าหัวโตๆนี่แหละครับ ต่างก็แยกย้ายกันเก็บให้มากเข้าไว้
เรียกว่าเริ่มรู้จักกับคำว่า... กัก... ตุน ก็อีตอนนี้แหละ...
แล้วก็เอาเจ้าหญ้าที่ว่านี้ มาผลัดกันฟาดคนละที ใครหัวหลุดก่อนถือว่าแพ้

หัวไก่ใช่ว่าโตแล้วจะชนะเสมอไปนะครับ บางครั้งเจ้าหัวเล็กนี่ทนทายาดเลยเชียวแหละ
ขึ้นอยู่กับว่าความสดความแห้งอันไหนจะมากกว่ากัน

ผลัดกันฟาดฟันเป็นที่สนุกสนาน จนหัวไก่หลุดกระจุยกระจาย จนกว่าจะเหนื่อยเลิกรากันไป

การเล่นของเด็กในบรรยากาศของธรรมชาติ ของเล่นจากธรรมชาติ
นับวันจะหมดไปจากสังคมไทย เด็กรุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้จัก และเรียนรู้ในเรื่องของธรรมชาติ
เพราะสิ่งแปลกใหม่ของเทคโนโลยี มันเข้ามาครอบงำชีวิตเด็กๆสมัยนี้อย่างมากมาย
ความฟุ้งเฟ้อ การดิ้นรน อยากได้ อยากมี ทำให้เด็กยุคนี้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง
เพราะหมกมุ่นอยู่กับเครื่องเล่น ที่ไม่ต้องอ้าปากพูดให้เมื่อย
สังคมของคนรุ่นใหม่ ดีจริงหรือ ?!
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับช้างนะครับ...เป็นเรื่องหญ้าแฝก...เอ๊ย...หญ้าแพรกล้วนๆ
หญ้าแพรกจะแหลกเพราะอุ้งตีนช้างหรือไม่...ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของหญ้าแพรกละกัน...
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ตครับ...!!
================เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราน================
......ทำไมหญ้าแพรกถึงต้องแหลกราน ลองหลับตาแล้วนึกถึงสภาพของหญ้าแพรกภายใต้อุ้งตีนช้างดูละกัน.....
หญ้าแพรกนะ...ไม่ใช่หญ้าแฝก
เมื่อไม่นานมานี้มีท่านผู้หญิงไฮโซท่านหนึ่งเรียกหญ้าแฝก เป็นหญ้าแพรก เต็มปากเต็มคำต่อหน้าชาวพาราทั้งประเทศมาแล้ว
เมื่อนึกถึงคำพังเพยขึ้นมา ก็พาลเผลอใจได้กลิ่นอาย ของบรรยากาศเมื่อยามเด็กติดจมูกขึ้นมาทันที
แฮ่...กลิ่นอายนะครับไม่ใช่กลิ่นไอ...
ทำไมกลิ่นต้องอายด้วย อันนี้ไม่ทราบเหมือนกัน.....แต่ก็นั่นแหละนะ มันเป็นเรื่องของภาษา
ที่หยิบยืมกันไปมา จนปนเปกันไปหมด
กลิ่น = อา ยะ
อา - ยะ = กลิ่น
ไม่รู้จะใช้ยังไง ก็เลยใช้ กลิ่นอาย ซะเลย...(มั่วดีมั้ยภาษา)
แต่ก็เป็นสำนวนคำพูดที่ใช้กันอยู่ทั่วไป...
ฮ่า....! แค่กลิ่นอาย คำเดียว ก็เป็นเรื่องไปได้เนอะ...
จะเล่าถึงกลิ่นอายเมื่อวัยเด็ก ไหงกลายมาเป็นเรื่องภาษาไปได้
กลิ่นอายในวัยเด็กเมื่อครั้งอยู่บ้านสวนถนนพิชัย.......
ถนนที่ชาวสวนอ้อยไม่ค่อยได้เดินผ่าน....
ก็จะเดินผ่านได้อย่างไรในเมื่อมันเป็นเพียงถนนลูกรังแคบๆ สองข้างทางมองไม่เห็นบ้านเรือนผู้คน
มีแต่ต้นหมาก...(รากไม้ไม่มีอ่ะครับ) ผลไม้บังสายตา
จะมีก็แต่ร้านกาแฟเจ๊กลิ้ม ขายของจิปาถะ กับฟาร์มแพะอยู่ข้างทาง
วัยแห่งความสนุกสนานของเด็กๆลูกชาวสวนในยุคนั้น
ล้วนแต่มีความสุขอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
แทบเล็ต ไอแพด ไอโฟน คืออะไรไม่รู้จัก..
ของเล่นที่เพิ่มความสนุกสนาน ก็หาได้จากวัสดุใกล้ตัว
สามารถหยิบจับมาสร้างสรรเฮฮากันได้มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นมงกุฏดอกหญ้า ของเจ้าหญิง หรือใบขนุนแห้งโคนต้น ที่นำมากลัดด้วยไม้ทางมะพร้าว
เรียงรายกันจนเป็นมงกุฏพระราชา
แต่ที่สร้างความสนุกมากกว่าสิ่งอื่นใดคือการ....ตีไก่...
ตีไก่ที่ว่านี้ไม่ใช่ไปไล่จับไก่มาตีกัน....แต่เป็นหญ้าครับ....หญ้าที่มีหัวโตๆ ที่สมมติกันว่าเป็นหัวไก่นั่นแหละ
หญ้าชนิดนี้นี่แหละครับที่เรียกว่าหญ้าแพรก....(วันไหว้ครูต้องเด็ดมาคู่กับดอกมะเขือทุกปี)
อ่ะ...มีรูปมาให้เด็กๆดูครับ...(ใครที่ใหญ่แล้วก็ทำตัวเป็นเด็กหน่อยละกัน)
มันสนุกตั้งแต่แย่งกันหาหญ้าหัวโตๆนี่แหละครับ ต่างก็แยกย้ายกันเก็บให้มากเข้าไว้
เรียกว่าเริ่มรู้จักกับคำว่า... กัก... ตุน ก็อีตอนนี้แหละ...
แล้วก็เอาเจ้าหญ้าที่ว่านี้ มาผลัดกันฟาดคนละที ใครหัวหลุดก่อนถือว่าแพ้
หัวไก่ใช่ว่าโตแล้วจะชนะเสมอไปนะครับ บางครั้งเจ้าหัวเล็กนี่ทนทายาดเลยเชียวแหละ
ขึ้นอยู่กับว่าความสดความแห้งอันไหนจะมากกว่ากัน
ผลัดกันฟาดฟันเป็นที่สนุกสนาน จนหัวไก่หลุดกระจุยกระจาย จนกว่าจะเหนื่อยเลิกรากันไป
การเล่นของเด็กในบรรยากาศของธรรมชาติ ของเล่นจากธรรมชาติ
นับวันจะหมดไปจากสังคมไทย เด็กรุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้จัก และเรียนรู้ในเรื่องของธรรมชาติ
เพราะสิ่งแปลกใหม่ของเทคโนโลยี มันเข้ามาครอบงำชีวิตเด็กๆสมัยนี้อย่างมากมาย
ความฟุ้งเฟ้อ การดิ้นรน อยากได้ อยากมี ทำให้เด็กยุคนี้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง
เพราะหมกมุ่นอยู่กับเครื่องเล่น ที่ไม่ต้องอ้าปากพูดให้เมื่อย
สังคมของคนรุ่นใหม่ ดีจริงหรือ ?!
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับช้างนะครับ...เป็นเรื่องหญ้าแฝก...เอ๊ย...หญ้าแพรกล้วนๆ
หญ้าแพรกจะแหลกเพราะอุ้งตีนช้างหรือไม่...ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของหญ้าแพรกละกัน...
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ตครับ...!!