รายงานพิเศษ
หมายเหตุ - นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ชี้แจงยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 2020
อธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องใช้เงินลงทุนพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งครบวงจร
ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจ
กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
พ.ศ. .. ที่ครม.เป็นผู้เสนอ จำนวน 2 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ 28 มี.ค.
ขณะนี้เราใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักของประเทศที่ทั้งแพงสุดและเกิดมลภาวะมากที่สุด
ขนส่งทางรางจะถูกลงมาเกือบครึ่ง ขณะที่ทางน้ำมีราคาถูกสุด
หากปล่อยไปอย่างนี้ อนาคตเราจะแข่งกับเพื่อนบ้านและชาติอื่นลำบาก เราจะยิ่งถอยหลัง
และสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
ส่วนทางอากาศเขาเข้มแข็งดูแลตัวเองได้ หวังว่าในอนาคตรถไฟจะเป็นเช่นนั้น แต่ตอนแรก
เราต้องดูแลเขาก่อน หากเอาจุดอ่อนตรงนี้มาเป็นโอกาสได้ เราจะพลิกประเทศ
ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี เราลงทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยลงทุกปี ตัวเลขทั่วโลกงบ
ลงทุนในงบฯ รายจ่ายประจำปีอย่างน้อยต้อง 25% แต่ของไทยระยะ 4-5 ปีหลังมานี้ เหลือ
เพียง 12-15%
โจทย์ที่เราต้องทำคือ การปรับรูปแบบขนส่ง ไม่ให้มีคอขวด รถติด ต้องยกระดับคุณภาพชีวิต
ประชาชน งบฯ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ เป็นกระดูก สันหลังประเทศ ส่วนงบฯ
ปกติจะเป็นเส้นเลือดฝอย
เมื่อรวม 2 งบฯ นี้ประเทศเราจะสมบูรณ์แบบ
สำหรับโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
ขนส่งของประเทศ มี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง สินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า
วงเงิน 354,560.73 ล้านบาท
ได้แก่ แผนงานพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เป็นโครงข่ายการ
ขนส่งหลักของประเทศ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 11 สาย ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
ทางรถไฟ
โครงการติดตั้งและปรับปรุงเครื่องกั้นถนนที่เป็นจุดตัดทางรถไฟ ปรับปรุงอาณัติสัญญาณไฟสี
ติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี สร้าง
สะพานข้ามทาง รถไฟ 83 แห่ง
แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง อาทิ
โครงการก่อสร้างท่าเรือชุมพร สร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 สร้างสถานีขนส่งทางลำน้ำ
เพื่อการประหยัดพลังงานที่ จ.อ่างทอง สร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล
และแผนงานพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงกับ
ฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ
2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไป
สู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376.74 ล้านบาท
ได้แก่ แผนงานพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน อาทิ โครงการพัฒนาระบบ
โครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร พัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ พัฒนา
โครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง
แผนงานพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค วงเงิน 994,430.90 ล้านบาท อาทิ โครงการรถไฟ
ความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท, กรุงเทพฯ-หนองคาย
วงเงิน 170.450 ล้านบาท, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327.9 ล้านบาท
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง โครงการสร้าง
รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, สายบ้านไผ่-นครพนม
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา, สายบางใหญ่
-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด และ
3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบ ขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801.52 ล้านบาท
ได้แก่
แผนงานพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง อาทิ รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก
สาย สีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง, รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต แอร์พอร์ตลิงก์ ช่วงดอนเมือง
-พญาไท
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-บางแค รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม แบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู และ
หมอชิต-คูคต รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
และแผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลัก อาทิ เร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร
เวลาที่เหลืออีกกว่า 2 ปี มันง่ายมากที่จะไม่ทำอะไร แต่เรามีแผนรายละเอียดชัดเจนอยู่ในเอกสาร
แนบท้าย ปีไหนทำอะไร งบประมาณเท่าไหร่
ที่กังวลเรื่องความโปร่งใส เราก็กังวลไม่แพ้กัน หากเกิดคำถามเรื่องความไม่โปร่งใสแล้วก็ไปไม่ได้
แต่ครม.มีมติออกมาปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เปิดเผยราคากลางการจัดซื้อจัดจ้าง การแสดงบัญชี
รายรับรายจ่ายของบริษัทนิติบุคคลที่จะเข้าเสนองานต่อรัฐ และระบบอีอ๊อกชั่น
ซึ่งระบบเหล่านี้จะช่วยตรวจสอบได้
ส่วนกรณีข้อซักถามของฝ่ายค้านนั้น ผมขอชี้แจง 3 ประเด็น คือ
1.กรณีการให้เอกชนมาร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้น เรามีหลักการคือคำนึงถึงผลตอบแทน
ทางเศรษฐกิจที่จะลดต้นทุนการขนส่งและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยปกติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รัฐควรลงทุนเอง แต่อาจมีบางส่วนที่รัฐลงทุนโครงสร้าง
พื้นฐานแล้วให้เอกชนมาลงทุนต่อเนื่อง
ทั้งนี้หากในโครงการนี้ ส่วนใดที่เปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้ จะตัดการใช้เงินกู้ในส่วนนั้นออกไป
2.ประเด็นการลงนามความเข้าใจกับต่างประเทศที่จะมาลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้น ขอชี้แจงว่าการ
ลงนามเอ็มโอยูไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะยังมีข้อขัดแย้งของสองฝ่ายอีกมาก
เช่น ประเทศที่ต้องการลงทุนแล้วอยากใช้เทคโนโลยีของเขา ใช้ผู้รับเหมาของเขา ให้สัญญา 50 ปี
ต้องให้สิทธิ์การใช้ที่ดิน ฯลฯ เงื่อนไขเหล่านี้ไม่ใช่ทำกันง่ายๆ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
เพราะการมาลงทุนไม่มีใครไม่ต้องการผลประโยชน์ ถ้าลงทุนแล้วต้องเสียเปรียบหรือไม่เกิดประโยชน์
กับประชาชนเราคงทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่จะมีข้อยุติในอนาคต และ
3.การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีรถไฟความเร็วสูงจะมีการเชื่อมโยง
ถึง จ.หนองคาย และมีการเชื่อมถึงปาดังเบซาร์แน่นอน เพียงแต่จะทำต่อเมื่อมีความเหมาะสมโดย
ต้องดูความพร้อม
กรณีการเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องใช้เวลาอีกนาน
เพราะเส้นทางที่จะเชื่อมกับประเทศจีนมีระยะทางไกล ยังไม่มีข้อยุติว่าจะดำเนินการอย่างไร
ทางใต้มีการคุยถึงโครงการระหว่างกัวลาลัมเปอร์ถึงสิงคโปร์ แต่ยังไม่มีความชัดเจนการเชื่อมจาก
กัวลาลัมเปอร์มาประเทศไทย
การเชื่อมโยงในเบื้องต้น เราเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่มีอยู่ก่อน อย่างปาดังเบซาร์มีทางรถไฟมาแล้ว
เราเชื่อมแน่ ส่วนสปป.ลาวจะมีการเชื่อมต่อไปถึงเมืองเวียงจันทน์ เราเชื่อมแน่ ขอย้ำว่าเราจะเชื่อม
เมื่อทุกคนพร้อม
ส่วนการทำโครงการไปถึง จ.เชียงใหม่ ก่อนเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า
การเชื่อมกับ จ.เชียงใหม่ จะได้ประโยชน์กว่า เพราะมี ผู้ที่ต้องเดินทางมากกว่า จ.หนองคาย
วันละหมื่นคน
ส่วนท่าเรือทวายเราคุยตลอด เพราะการ เชื่อมทางรถไฟกับท่าเรือทวายมีอยู่ในโครงการพัฒนาทวาย
โดยการเชื่อมต่อจะทำทันทีในเวลาที่ เหมาะสม
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNak13TURNMU5nPT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB6TUE9PQ==
เก็บตกมาให้อ่านกันซ้ำอีกที แบบ บทสรุป ...เข้าใจง่าย เพราะยังเห็นกระทู้เรื่อง
ทำไมไม่ไปหนองคาย ไม่ไปปาร์ดังเบซาร์ ...ยังโพสต์กันอยู่...
เหมือนกับ ไม่เข้าใจที่เจ้าของโครงการอธิบาย ..... พ.ร.บ.ผ่านวาระแรกไปแล้ว
คราวนี้ปชช.อยากฝาก ฝ่ายค้าน อย่าค้านเลย รอให้โครงการเดินหน้า และ
ก็ขอให้ฝ่ายค้าน เดินหน้าตรวจสอบ การทำงานด้วย ทุจริตอย่างไร เอามาแฉกัน
อย่าให้เหมือน โรงพัก สนามฟุตซอล ...เป็นใช้ได้
"ชัชชาติ"แจงโครงการกู้2ล้านล. .......ข่าวสดออนไลน์
หมายเหตุ - นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ชี้แจงยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 2020
อธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องใช้เงินลงทุนพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งครบวงจร
ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจ
กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
พ.ศ. .. ที่ครม.เป็นผู้เสนอ จำนวน 2 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ 28 มี.ค.
ขณะนี้เราใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักของประเทศที่ทั้งแพงสุดและเกิดมลภาวะมากที่สุด
ขนส่งทางรางจะถูกลงมาเกือบครึ่ง ขณะที่ทางน้ำมีราคาถูกสุด
หากปล่อยไปอย่างนี้ อนาคตเราจะแข่งกับเพื่อนบ้านและชาติอื่นลำบาก เราจะยิ่งถอยหลัง
และสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
ส่วนทางอากาศเขาเข้มแข็งดูแลตัวเองได้ หวังว่าในอนาคตรถไฟจะเป็นเช่นนั้น แต่ตอนแรก
เราต้องดูแลเขาก่อน หากเอาจุดอ่อนตรงนี้มาเป็นโอกาสได้ เราจะพลิกประเทศ
ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี เราลงทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยลงทุกปี ตัวเลขทั่วโลกงบ
ลงทุนในงบฯ รายจ่ายประจำปีอย่างน้อยต้อง 25% แต่ของไทยระยะ 4-5 ปีหลังมานี้ เหลือ
เพียง 12-15%
โจทย์ที่เราต้องทำคือ การปรับรูปแบบขนส่ง ไม่ให้มีคอขวด รถติด ต้องยกระดับคุณภาพชีวิต
ประชาชน งบฯ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ เป็นกระดูก สันหลังประเทศ ส่วนงบฯ
ปกติจะเป็นเส้นเลือดฝอย
เมื่อรวม 2 งบฯ นี้ประเทศเราจะสมบูรณ์แบบ
สำหรับโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
ขนส่งของประเทศ มี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง สินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า
วงเงิน 354,560.73 ล้านบาท
ได้แก่ แผนงานพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เป็นโครงข่ายการ
ขนส่งหลักของประเทศ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 11 สาย ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
ทางรถไฟ
โครงการติดตั้งและปรับปรุงเครื่องกั้นถนนที่เป็นจุดตัดทางรถไฟ ปรับปรุงอาณัติสัญญาณไฟสี
ติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี สร้าง
สะพานข้ามทาง รถไฟ 83 แห่ง
แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง อาทิ
โครงการก่อสร้างท่าเรือชุมพร สร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 สร้างสถานีขนส่งทางลำน้ำ
เพื่อการประหยัดพลังงานที่ จ.อ่างทอง สร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล
และแผนงานพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงกับ
ฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ
2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไป
สู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376.74 ล้านบาท
ได้แก่ แผนงานพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน อาทิ โครงการพัฒนาระบบ
โครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร พัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ พัฒนา
โครงข่ายทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง
แผนงานพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค วงเงิน 994,430.90 ล้านบาท อาทิ โครงการรถไฟ
ความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท, กรุงเทพฯ-หนองคาย
วงเงิน 170.450 ล้านบาท, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327.9 ล้านบาท
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง โครงการสร้าง
รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, สายบ้านไผ่-นครพนม
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา, สายบางใหญ่
-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด และ
3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบ ขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801.52 ล้านบาท
ได้แก่
แผนงานพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง อาทิ รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก
สาย สีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง, รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต แอร์พอร์ตลิงก์ ช่วงดอนเมือง
-พญาไท
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-บางแค รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม แบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู และ
หมอชิต-คูคต รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
และแผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลัก อาทิ เร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร
เวลาที่เหลืออีกกว่า 2 ปี มันง่ายมากที่จะไม่ทำอะไร แต่เรามีแผนรายละเอียดชัดเจนอยู่ในเอกสาร
แนบท้าย ปีไหนทำอะไร งบประมาณเท่าไหร่
ที่กังวลเรื่องความโปร่งใส เราก็กังวลไม่แพ้กัน หากเกิดคำถามเรื่องความไม่โปร่งใสแล้วก็ไปไม่ได้
แต่ครม.มีมติออกมาปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เปิดเผยราคากลางการจัดซื้อจัดจ้าง การแสดงบัญชี
รายรับรายจ่ายของบริษัทนิติบุคคลที่จะเข้าเสนองานต่อรัฐ และระบบอีอ๊อกชั่น
ซึ่งระบบเหล่านี้จะช่วยตรวจสอบได้
ส่วนกรณีข้อซักถามของฝ่ายค้านนั้น ผมขอชี้แจง 3 ประเด็น คือ
1.กรณีการให้เอกชนมาร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้น เรามีหลักการคือคำนึงถึงผลตอบแทน
ทางเศรษฐกิจที่จะลดต้นทุนการขนส่งและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยปกติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รัฐควรลงทุนเอง แต่อาจมีบางส่วนที่รัฐลงทุนโครงสร้าง
พื้นฐานแล้วให้เอกชนมาลงทุนต่อเนื่อง
ทั้งนี้หากในโครงการนี้ ส่วนใดที่เปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้ จะตัดการใช้เงินกู้ในส่วนนั้นออกไป
2.ประเด็นการลงนามความเข้าใจกับต่างประเทศที่จะมาลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้น ขอชี้แจงว่าการ
ลงนามเอ็มโอยูไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะยังมีข้อขัดแย้งของสองฝ่ายอีกมาก
เช่น ประเทศที่ต้องการลงทุนแล้วอยากใช้เทคโนโลยีของเขา ใช้ผู้รับเหมาของเขา ให้สัญญา 50 ปี
ต้องให้สิทธิ์การใช้ที่ดิน ฯลฯ เงื่อนไขเหล่านี้ไม่ใช่ทำกันง่ายๆ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
เพราะการมาลงทุนไม่มีใครไม่ต้องการผลประโยชน์ ถ้าลงทุนแล้วต้องเสียเปรียบหรือไม่เกิดประโยชน์
กับประชาชนเราคงทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่จะมีข้อยุติในอนาคต และ
3.การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีรถไฟความเร็วสูงจะมีการเชื่อมโยง
ถึง จ.หนองคาย และมีการเชื่อมถึงปาดังเบซาร์แน่นอน เพียงแต่จะทำต่อเมื่อมีความเหมาะสมโดย
ต้องดูความพร้อม
กรณีการเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต้องใช้เวลาอีกนาน
เพราะเส้นทางที่จะเชื่อมกับประเทศจีนมีระยะทางไกล ยังไม่มีข้อยุติว่าจะดำเนินการอย่างไร
ทางใต้มีการคุยถึงโครงการระหว่างกัวลาลัมเปอร์ถึงสิงคโปร์ แต่ยังไม่มีความชัดเจนการเชื่อมจาก
กัวลาลัมเปอร์มาประเทศไทย
การเชื่อมโยงในเบื้องต้น เราเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่มีอยู่ก่อน อย่างปาดังเบซาร์มีทางรถไฟมาแล้ว
เราเชื่อมแน่ ส่วนสปป.ลาวจะมีการเชื่อมต่อไปถึงเมืองเวียงจันทน์ เราเชื่อมแน่ ขอย้ำว่าเราจะเชื่อม
เมื่อทุกคนพร้อม
ส่วนการทำโครงการไปถึง จ.เชียงใหม่ ก่อนเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า
การเชื่อมกับ จ.เชียงใหม่ จะได้ประโยชน์กว่า เพราะมี ผู้ที่ต้องเดินทางมากกว่า จ.หนองคาย
วันละหมื่นคน
ส่วนท่าเรือทวายเราคุยตลอด เพราะการ เชื่อมทางรถไฟกับท่าเรือทวายมีอยู่ในโครงการพัฒนาทวาย
โดยการเชื่อมต่อจะทำทันทีในเวลาที่ เหมาะสม
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNak13TURNMU5nPT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB6TUE9PQ==
เก็บตกมาให้อ่านกันซ้ำอีกที แบบ บทสรุป ...เข้าใจง่าย เพราะยังเห็นกระทู้เรื่อง
ทำไมไม่ไปหนองคาย ไม่ไปปาร์ดังเบซาร์ ...ยังโพสต์กันอยู่...
เหมือนกับ ไม่เข้าใจที่เจ้าของโครงการอธิบาย ..... พ.ร.บ.ผ่านวาระแรกไปแล้ว
คราวนี้ปชช.อยากฝาก ฝ่ายค้าน อย่าค้านเลย รอให้โครงการเดินหน้า และ
ก็ขอให้ฝ่ายค้าน เดินหน้าตรวจสอบ การทำงานด้วย ทุจริตอย่างไร เอามาแฉกัน
อย่าให้เหมือน โรงพัก สนามฟุตซอล ...เป็นใช้ได้