มหัศจรรย์หุ้น10เด้ง..JAS 'พิชญ์' สร้าง'วีไอ'กำกับการแสดง
ตี๋บ๊วย4เม็ด ฮ่ะฮ่า!!ผมเป็นผู้บริหาร JAS ให้ไปเลย10เด้ง! วันนี้เมื่อปีที่แล้วราคา หุ้น JAS ยังอยู่แถว 0.40 บาท ก่อนจะทะยานขึ้นไป 3.92 บาท
จากผู้ถือหุ้นใหญ่ TT&T ที่วันนี้ "เจ๊ง" และถูก "แช่แข็ง" แบบไร้ราคา วันนี้จัสมินตัวแม่กลับมา "ผงาด" ในฐานะ "หุ้นเกรดเอ" ของวีไอ มาร์เก็ตแคปกว่า 27,000 ล้านบาท วอลุ่มการซื้อขายติด 1 ใน 5 ของตลาดหลักทรัพย์แทบทุกวัน ชีวิตพลิกผันตาลปัตรในเวลา "ชั่วข้ามปี" หุ้นชั้นเยี่ยมอย่าง PTTEP, BANPU, SCC, IRPC, KBANK, SCB ฯลฯ ยังมีวอลุ่มเทรดแต่ละวันสู้ไม่ได้
นั่นเพราะ "พ่อยก-แม่ยก" หุ้น JAS ไม่ใช่นักเก็งกำไรปลายแถว แต่เป็นระดับ "หัวกะทิ" กลุ่มแวลูอินเวสเตอร์ พอร์ตใหญ่ระดับ "ร้อยล้าน-พันล้าน" ยกขบวนกันเข้ามาลงทุนอย่างคับคั่ง
"จัดหนัก-จัดเต็ม" นำโดย นพ.บำรุง ศรีงาน, สันติ สิงหวังชา, นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี, นริศ จิระวงศ์ประภา, "เสี่ยปู่" สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล, จีรเดช จงวัฒนาศิลป์กุล, ประชา ดำรงค์สุทธิพงศ์ ภรรยาดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา (วราณี เสรีวิวัฒนา) ก็ร่วมวงด้วย ฯลฯ ปัจจุบันคาดว่านักลงทุนกลุ่มนี้มีกำไรแล้ว "หลายร้อยเปอร์เซ็นต์"
ตี๋หนุ่มวัย 38 ปี พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บุตรชายคนเดียวของอดีตรมว.ศึกษาธิการ ดร.อดิศัย โพธารามิก กับ รศ.ดร.พิชนี โพธารามิก อาจารย์ประจำคณะวิศวะจุฬาฯ กู้ชื่อ "จัสมิน" ที่เคยตกต่ำเคยถูกมองเป็น "หุ้นปั่น" ให้กลับมาผงาดในฐานะ "หุ้น (ของ) แวลู" โดยใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ 6 Mb 590 บาท เป็น "จุดเปลี่ยน" ครั้งสำคัญ
ตี๋บ๊วย 4 เม็ด ฮ่ะฮ่า!! ผมเป็นทรีบรอดแบนด์ให้ไปเลย 10 เด้ง! วันนี้ยังสงสัยว่าตระกูลโพธารามิก (พิชญ์ โพธารามิก ถือ 1,844.04 ล้านหุ้น สัดส่วน 24.92%) อาจถือหุ้นน้อยกว่าพวกแวลูอินเวสเตอร์รวมกันเสียอีก
ที่ผ่านๆ มา งานประชุมผู้ถือหุ้นจัสมิน จะมีผู้เข้าร่วมบางตาไม่ถึงครึ่งห้อง แต่ปีนี้มากันเป็น "ร้อย" โดยเฉพาะกลุ่ม "ไทยวีไอ" ที่นัดกันมา "หลายสิบชีวิต" รุมซักตี๋หนุ่มถึงแผนธุรกิจ (ทิศทางกำไร) ของบริษัทต่อจากนี้ หลังจากหุ้น JAS ล่วงหน้าอนาคตมาไกล ก่อนที่พวกเขาจะนำความเห็นไปคุยกันเพื่อหามติว่าจะ "ถือ" หรือ "ทิ้ง"
อย่างน้อยการ "ต่อยอดราคา" บน "ยอดดอย" ย่อมมีความหวาดระแวงระแวดระวังกันเอง เพราะต่างก็กำไรแล้ว "หลายเท่าตัว" จะมา "เสี่ยง" พยุงราคาหรือซื้อเพิ่มก็กระไร!!...ที่แน่ๆ ใครขายก่อนรวยก่อน ถือไว้นานเสี่ยงกำไรลดลง เพราะ JAS ไม่ใช่หุ้นที่จ่ายปันผลสูง
วิธีการของพิชญ์ ในการเชื้อเชิญ "แขก" เข้าบ้าน เริ่มจาก "โฟกัส" ตัวเองไปที่ธุรกิจ "อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์" ทุ่มยิงโฆษณาทีวี "ถี่ยิบ" จากนั้นก็ไล่ซื้อหุ้น JAS ยาวเป็นหางว่าวสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน จากนั้นก็เปิดบ้าน "รักแขก" คุยอนาคตของบริษัทที่กำลังดีวันดีคืน หลังจากนั้นก็ปล่อยหน้าที่ "ผสมเกสร" ให้แก่ "ผึ้ง" (วีไอ) ไปทำหน้าที่ต่อ
ค่าพี/อี เรโชหุ้น JAS ขึ้นไป 42 เท่า ราคาหุ้นในปัจจุบันได้ "บวกอนาคต" เข้าไปเรียบร้อยแล้ว การต่อยอดราคาบน "ยอดสูง" ของนักลงทุนรายใหม่อาจได้กำไรไม่คุ้ม "ความเสี่ยง"
“เรื่องแบบนี้คงถามผมไม่ได้ต้องไปถามพวกเขา (กลุ่มไทยวีไอ) แทน เรื่องราคาหุ้นมันพูดยาก บางคนก็ว่าถูกบางคนก็ว่าแพง แต่หลายคนน่าจะแฮปปี้เพราะตั้งแต่สามปีก่อนราคาหุ้นขึ้นมาสิบเท่าแล้ว” พิชญ์ กล่าว
ทายาทคนเดียวของดร.อดิศัย ยืนยันว่า แนวโน้มธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มีอนาคต “สดใส” รออยู่ ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประมาณ 4% ของประชากรหรือ 3 ล้านราย คาดว่าอีก 3 ปีน่าจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 10% หรือประมาณ 7 ล้านราย แต่ส่วนตัวมองว่าคนไทยจะใช้บรอดแบนด์ถึง 20 ล้านคนก็มีทางเป็นไปได้
เป้าหมายที่พิชญ์วางไว้จัสมินจะต้องเป็น “อันดับหนึ่ง” ในธุรกิจบรอดแบนด์ในแง่สัดส่วนการตลาด ปัจจุบันสามารถแซง “กลุ่มทรู” ขึ้นมาเป็นอันดับสองได้สำเร็จจากสามปีก่อนยังมีมาร์เก็ตแชร์ 20% ตอนนี้น่าจะมากกว่า 30% แล้ว อันดับหนึ่งยังคงเป็นทีโอทีคาดว่ามีแชร์ 39% ภายในปี 2556 จัสมินจะมีจำนวนลูกค้าแตะ 2 ล้านรายจากปัจจุบันมีอยู่ 794,000 ราย ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 866,000 ราย
ถ้าจะให้พูดถึงจุดแข็งของแบรนด์ 3BB น่าจะเป็นการติดตั้งโดยไม่จำเป็นต้องมีโทรศัพท์บ้านเพราะเชื่อมต่อจากเสาไฟฟ้าเข้าสู่บ้านได้เลย ขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่างทีโอทีนอกจากความเร็วยังต่ำแล้วยังเป็นโครงสร้างแบบเก่าซึ่งสายส่งอยู่ห่างจากจุดส่งสัญญาณ (Node) มาก ถ้าจะลงทุนเพิ่มต้องใช้เวลานานกว่า ส่วนอนาคตถ้ามี 3G เข้ามาคิดว่าไม่กระทบบริษัทเพราะนั่นเป็นเครือข่ายเคลื่อนที่ส่วนจัสมินเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในบ้านเป็นคนละกลุ่มกัน
พิชญ์ กล่าวว่า ภายใน 3 ปีจากนี้ (2554-2556) จะใช้เงินลงทุนปีละ 1,000 ล้านบาทขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ปัจจุบันมีจุดส่งสัญญาณ 13,000 จุด รองรับจำนวนผู้ใช้ได้ 1.2 ล้านราย อนาคตต้องลงทุนเพิ่มเพื่อเพิ่มสปีดให้บริการเร็ว ไฮไลต์สำคัญของจัสมินคือการรุก WiFi สิ้นปีนี้จะต้องมีทั้งหมด 50,000 จุดทั่วประเทศจากปัจจุบัน 15,000 จุด ภายในปี 2556 จะต้องถึง 1 ล้านจุด โดย 100,000 จุด ต้องกระจายอยู่ในต่างจังหวัด ปัจจัยสนับสนุนอีกเรื่องคือการเติบโตแบบพรวดพราดของสมาร์ทโฟน ปีที่ผ่านมาโทรศัพท์แบล็คเบอร์รีและไอโฟน เติบโตกว่า 100% แถมยังมีพวกแทบเล็ตจะออกมาใหม่อีกจะเป็นฐานรายได้สำคัญในอนาคต
ล่าสุดบริษัทได้ทำการตลาดร่วม (โคแบรนดิ้ง) กับเอไอเอสโดยแบ่งรายได้ให้เอไอเอส 30% จากค่าบริการเดือนละ 99 บาท ใช้ WiFi ได้ไม่จำกัด เดิมมีลูกค้า WiFi อยู่ 33,000 ราย พอร่วมกับเอไอเอสเดือนเดียวลูกค้าเพิ่มขึ้นทันที 64,000 ราย เป็น 97,000 ราย สิ้นปีนี้คาดว่าตัวเลขลูกค้าจะถึงหลัก 4-5 แสนราย ภายในสามปีนี้รายได้จากธุรกิจ WiFi จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ พิชญ์กล่าว
แผนงานที่สามคือการเป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของภูมิภาคอาเซียนผ่านสายสัญญาณของบริษัทรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากจีนตอนใต้ที่จะส่งผ่านไทยไปถึงสิงคโปร์ทำให้ต้นทุนของบริษัทในระยะยาวลดลง
แผนที่สี่คือธุรกิจบริการเสริมปัจจุบันให้บริการทีวี ชมภาพยนตร์ผ่านอินเทอร์เน็ต อนาคตมีแผนจะเปิดตัวระบบ "คลาวด์ คอมพิวติ้ง" หรือการจัดเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานที่คิดค่าบริการรายเดือนเพียง 49 บาทถูกกว่าของทีโอทีที่จ่ายเดือนละ 100 บาท เป็นการใช้สายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม
ขณะเดียวกันจะลดรายได้จากธุรกิจสัมปทานของ บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ แผนที่วางไว้เตรียมทำธุรกิจใหม่แทนที่จะรองานประมูลภาครัฐที่มาร์จินต่ำ อาจจะไปเน้นธุรกิจให้บริการด้านโทรคมนาคมแทน โดยสัญญาสัมปทานโครงข่ายสื่อสารใต้น้ำกับทีโอทีจะหมดลงในสิ้นปีนี้ ปกติธุรกิจนี้ทำรายได้ปีละ 2,000 ล้านบาท แต่คาดว่าจะกระทบรายได้ปีนี้เล็กน้อยเพราะรายได้จากบรอดแบนด์จะมาชดเชย
ประเด็นสำคัญคือไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนที่ถือหุ้น บมจ.ทีทีแอนด์ที อีกแล้วเพราะได้ลดการถือหุ้นจากสิ้นปี 2553 ถือ 6% เหลือเพียง 0.05% แล้ว ปีที่แล้วได้ตั้งสำรองขาดทุน 244 ล้านบาท แต่ส่วนตัวไม่หวังว่าจะได้เงินคืน
พิชญ์ สรุปเป้าหมายอนาคตรายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์จะเพิ่มจากตอนนี้ 50% เป็น 60-70% ในอนาคต และอัตรากำไรขั้นต้นในอนาคตน่าจะเพิ่มจากตอนนี้ที่ 15% ได้ เพราะต้นทุนต่ำลงและจำนวนลูกค้ามากขึ้น ถึงตอนนี้จัสมินไม่จำเป็นต้องลงทุนหนักอีกแล้ว รายได้ปีนี้ยังคงโตได้ 20% ตามแผนเดิมที่จะโต 20% ทุกปี ปีหน้า (2555) อาจสะดุดบ้างเพราะรายได้จากธุรกิจสัมปทานหายไปแต่จะมีรายได้จากบรอดแบนด์มาเสริม
“รายได้เราน่าจะโตได้ 20% ทุกปีขณะที่อัตรากำไรดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนราคาหุ้นผมคงพูดอะไรไม่ได้ต้องพิจารณาเอาเอง” พิชญ์ กล่าวปิดท้าย
ยังเป็นประเด็นที่สังคมก็คงเคลือบแคลง คงไม่มีนักลงทุนคนไหนคำนวณ "รายได้-กำไรสุทธิ" เพื่อตีมูลค่าหุ้นออกมาได้ ถ้าไม่รู้ "สตอรี่ล่วงหน้า" เป็นการ "หยั่งรู้" ก่อนที่ข้อเท็จจริงจะถูกเผยแพร่ไปสู่สาธารณชนอย่าง "เท่าเทียม" หรือไม่ !!!
Tags : พิชญ์ โพธารามิก • จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล
ปล.เสียดายผมไม่มีหุ้น 555 สัญญาทางธุรกิจในอดีตที่ไม่อาจแก้ไข แต่เขาทำได้ดีอย่างยอดเยี่ยม นับถือๆ
มหัศจรรย์หุ้น10เด้ง..JAS 'พิชญ์' สร้าง'วีไอ'กำกับการแสดง
ตี๋บ๊วย4เม็ด ฮ่ะฮ่า!!ผมเป็นผู้บริหาร JAS ให้ไปเลย10เด้ง! วันนี้เมื่อปีที่แล้วราคา หุ้น JAS ยังอยู่แถว 0.40 บาท ก่อนจะทะยานขึ้นไป 3.92 บาท
จากผู้ถือหุ้นใหญ่ TT&T ที่วันนี้ "เจ๊ง" และถูก "แช่แข็ง" แบบไร้ราคา วันนี้จัสมินตัวแม่กลับมา "ผงาด" ในฐานะ "หุ้นเกรดเอ" ของวีไอ มาร์เก็ตแคปกว่า 27,000 ล้านบาท วอลุ่มการซื้อขายติด 1 ใน 5 ของตลาดหลักทรัพย์แทบทุกวัน ชีวิตพลิกผันตาลปัตรในเวลา "ชั่วข้ามปี" หุ้นชั้นเยี่ยมอย่าง PTTEP, BANPU, SCC, IRPC, KBANK, SCB ฯลฯ ยังมีวอลุ่มเทรดแต่ละวันสู้ไม่ได้
นั่นเพราะ "พ่อยก-แม่ยก" หุ้น JAS ไม่ใช่นักเก็งกำไรปลายแถว แต่เป็นระดับ "หัวกะทิ" กลุ่มแวลูอินเวสเตอร์ พอร์ตใหญ่ระดับ "ร้อยล้าน-พันล้าน" ยกขบวนกันเข้ามาลงทุนอย่างคับคั่ง
"จัดหนัก-จัดเต็ม" นำโดย นพ.บำรุง ศรีงาน, สันติ สิงหวังชา, นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี, นริศ จิระวงศ์ประภา, "เสี่ยปู่" สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล, จีรเดช จงวัฒนาศิลป์กุล, ประชา ดำรงค์สุทธิพงศ์ ภรรยาดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา (วราณี เสรีวิวัฒนา) ก็ร่วมวงด้วย ฯลฯ ปัจจุบันคาดว่านักลงทุนกลุ่มนี้มีกำไรแล้ว "หลายร้อยเปอร์เซ็นต์"
ตี๋หนุ่มวัย 38 ปี พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บุตรชายคนเดียวของอดีตรมว.ศึกษาธิการ ดร.อดิศัย โพธารามิก กับ รศ.ดร.พิชนี โพธารามิก อาจารย์ประจำคณะวิศวะจุฬาฯ กู้ชื่อ "จัสมิน" ที่เคยตกต่ำเคยถูกมองเป็น "หุ้นปั่น" ให้กลับมาผงาดในฐานะ "หุ้น (ของ) แวลู" โดยใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ 6 Mb 590 บาท เป็น "จุดเปลี่ยน" ครั้งสำคัญ
ตี๋บ๊วย 4 เม็ด ฮ่ะฮ่า!! ผมเป็นทรีบรอดแบนด์ให้ไปเลย 10 เด้ง! วันนี้ยังสงสัยว่าตระกูลโพธารามิก (พิชญ์ โพธารามิก ถือ 1,844.04 ล้านหุ้น สัดส่วน 24.92%) อาจถือหุ้นน้อยกว่าพวกแวลูอินเวสเตอร์รวมกันเสียอีก
ที่ผ่านๆ มา งานประชุมผู้ถือหุ้นจัสมิน จะมีผู้เข้าร่วมบางตาไม่ถึงครึ่งห้อง แต่ปีนี้มากันเป็น "ร้อย" โดยเฉพาะกลุ่ม "ไทยวีไอ" ที่นัดกันมา "หลายสิบชีวิต" รุมซักตี๋หนุ่มถึงแผนธุรกิจ (ทิศทางกำไร) ของบริษัทต่อจากนี้ หลังจากหุ้น JAS ล่วงหน้าอนาคตมาไกล ก่อนที่พวกเขาจะนำความเห็นไปคุยกันเพื่อหามติว่าจะ "ถือ" หรือ "ทิ้ง"
อย่างน้อยการ "ต่อยอดราคา" บน "ยอดดอย" ย่อมมีความหวาดระแวงระแวดระวังกันเอง เพราะต่างก็กำไรแล้ว "หลายเท่าตัว" จะมา "เสี่ยง" พยุงราคาหรือซื้อเพิ่มก็กระไร!!...ที่แน่ๆ ใครขายก่อนรวยก่อน ถือไว้นานเสี่ยงกำไรลดลง เพราะ JAS ไม่ใช่หุ้นที่จ่ายปันผลสูง
วิธีการของพิชญ์ ในการเชื้อเชิญ "แขก" เข้าบ้าน เริ่มจาก "โฟกัส" ตัวเองไปที่ธุรกิจ "อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์" ทุ่มยิงโฆษณาทีวี "ถี่ยิบ" จากนั้นก็ไล่ซื้อหุ้น JAS ยาวเป็นหางว่าวสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน จากนั้นก็เปิดบ้าน "รักแขก" คุยอนาคตของบริษัทที่กำลังดีวันดีคืน หลังจากนั้นก็ปล่อยหน้าที่ "ผสมเกสร" ให้แก่ "ผึ้ง" (วีไอ) ไปทำหน้าที่ต่อ
ค่าพี/อี เรโชหุ้น JAS ขึ้นไป 42 เท่า ราคาหุ้นในปัจจุบันได้ "บวกอนาคต" เข้าไปเรียบร้อยแล้ว การต่อยอดราคาบน "ยอดสูง" ของนักลงทุนรายใหม่อาจได้กำไรไม่คุ้ม "ความเสี่ยง"
“เรื่องแบบนี้คงถามผมไม่ได้ต้องไปถามพวกเขา (กลุ่มไทยวีไอ) แทน เรื่องราคาหุ้นมันพูดยาก บางคนก็ว่าถูกบางคนก็ว่าแพง แต่หลายคนน่าจะแฮปปี้เพราะตั้งแต่สามปีก่อนราคาหุ้นขึ้นมาสิบเท่าแล้ว” พิชญ์ กล่าว
ทายาทคนเดียวของดร.อดิศัย ยืนยันว่า แนวโน้มธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มีอนาคต “สดใส” รออยู่ ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประมาณ 4% ของประชากรหรือ 3 ล้านราย คาดว่าอีก 3 ปีน่าจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 10% หรือประมาณ 7 ล้านราย แต่ส่วนตัวมองว่าคนไทยจะใช้บรอดแบนด์ถึง 20 ล้านคนก็มีทางเป็นไปได้
เป้าหมายที่พิชญ์วางไว้จัสมินจะต้องเป็น “อันดับหนึ่ง” ในธุรกิจบรอดแบนด์ในแง่สัดส่วนการตลาด ปัจจุบันสามารถแซง “กลุ่มทรู” ขึ้นมาเป็นอันดับสองได้สำเร็จจากสามปีก่อนยังมีมาร์เก็ตแชร์ 20% ตอนนี้น่าจะมากกว่า 30% แล้ว อันดับหนึ่งยังคงเป็นทีโอทีคาดว่ามีแชร์ 39% ภายในปี 2556 จัสมินจะมีจำนวนลูกค้าแตะ 2 ล้านรายจากปัจจุบันมีอยู่ 794,000 ราย ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 866,000 ราย
ถ้าจะให้พูดถึงจุดแข็งของแบรนด์ 3BB น่าจะเป็นการติดตั้งโดยไม่จำเป็นต้องมีโทรศัพท์บ้านเพราะเชื่อมต่อจากเสาไฟฟ้าเข้าสู่บ้านได้เลย ขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่างทีโอทีนอกจากความเร็วยังต่ำแล้วยังเป็นโครงสร้างแบบเก่าซึ่งสายส่งอยู่ห่างจากจุดส่งสัญญาณ (Node) มาก ถ้าจะลงทุนเพิ่มต้องใช้เวลานานกว่า ส่วนอนาคตถ้ามี 3G เข้ามาคิดว่าไม่กระทบบริษัทเพราะนั่นเป็นเครือข่ายเคลื่อนที่ส่วนจัสมินเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในบ้านเป็นคนละกลุ่มกัน
พิชญ์ กล่าวว่า ภายใน 3 ปีจากนี้ (2554-2556) จะใช้เงินลงทุนปีละ 1,000 ล้านบาทขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ปัจจุบันมีจุดส่งสัญญาณ 13,000 จุด รองรับจำนวนผู้ใช้ได้ 1.2 ล้านราย อนาคตต้องลงทุนเพิ่มเพื่อเพิ่มสปีดให้บริการเร็ว ไฮไลต์สำคัญของจัสมินคือการรุก WiFi สิ้นปีนี้จะต้องมีทั้งหมด 50,000 จุดทั่วประเทศจากปัจจุบัน 15,000 จุด ภายในปี 2556 จะต้องถึง 1 ล้านจุด โดย 100,000 จุด ต้องกระจายอยู่ในต่างจังหวัด ปัจจัยสนับสนุนอีกเรื่องคือการเติบโตแบบพรวดพราดของสมาร์ทโฟน ปีที่ผ่านมาโทรศัพท์แบล็คเบอร์รีและไอโฟน เติบโตกว่า 100% แถมยังมีพวกแทบเล็ตจะออกมาใหม่อีกจะเป็นฐานรายได้สำคัญในอนาคต
ล่าสุดบริษัทได้ทำการตลาดร่วม (โคแบรนดิ้ง) กับเอไอเอสโดยแบ่งรายได้ให้เอไอเอส 30% จากค่าบริการเดือนละ 99 บาท ใช้ WiFi ได้ไม่จำกัด เดิมมีลูกค้า WiFi อยู่ 33,000 ราย พอร่วมกับเอไอเอสเดือนเดียวลูกค้าเพิ่มขึ้นทันที 64,000 ราย เป็น 97,000 ราย สิ้นปีนี้คาดว่าตัวเลขลูกค้าจะถึงหลัก 4-5 แสนราย ภายในสามปีนี้รายได้จากธุรกิจ WiFi จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ พิชญ์กล่าว
แผนงานที่สามคือการเป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของภูมิภาคอาเซียนผ่านสายสัญญาณของบริษัทรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากจีนตอนใต้ที่จะส่งผ่านไทยไปถึงสิงคโปร์ทำให้ต้นทุนของบริษัทในระยะยาวลดลง
แผนที่สี่คือธุรกิจบริการเสริมปัจจุบันให้บริการทีวี ชมภาพยนตร์ผ่านอินเทอร์เน็ต อนาคตมีแผนจะเปิดตัวระบบ "คลาวด์ คอมพิวติ้ง" หรือการจัดเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานที่คิดค่าบริการรายเดือนเพียง 49 บาทถูกกว่าของทีโอทีที่จ่ายเดือนละ 100 บาท เป็นการใช้สายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม
ขณะเดียวกันจะลดรายได้จากธุรกิจสัมปทานของ บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ แผนที่วางไว้เตรียมทำธุรกิจใหม่แทนที่จะรองานประมูลภาครัฐที่มาร์จินต่ำ อาจจะไปเน้นธุรกิจให้บริการด้านโทรคมนาคมแทน โดยสัญญาสัมปทานโครงข่ายสื่อสารใต้น้ำกับทีโอทีจะหมดลงในสิ้นปีนี้ ปกติธุรกิจนี้ทำรายได้ปีละ 2,000 ล้านบาท แต่คาดว่าจะกระทบรายได้ปีนี้เล็กน้อยเพราะรายได้จากบรอดแบนด์จะมาชดเชย
ประเด็นสำคัญคือไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนที่ถือหุ้น บมจ.ทีทีแอนด์ที อีกแล้วเพราะได้ลดการถือหุ้นจากสิ้นปี 2553 ถือ 6% เหลือเพียง 0.05% แล้ว ปีที่แล้วได้ตั้งสำรองขาดทุน 244 ล้านบาท แต่ส่วนตัวไม่หวังว่าจะได้เงินคืน
พิชญ์ สรุปเป้าหมายอนาคตรายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์จะเพิ่มจากตอนนี้ 50% เป็น 60-70% ในอนาคต และอัตรากำไรขั้นต้นในอนาคตน่าจะเพิ่มจากตอนนี้ที่ 15% ได้ เพราะต้นทุนต่ำลงและจำนวนลูกค้ามากขึ้น ถึงตอนนี้จัสมินไม่จำเป็นต้องลงทุนหนักอีกแล้ว รายได้ปีนี้ยังคงโตได้ 20% ตามแผนเดิมที่จะโต 20% ทุกปี ปีหน้า (2555) อาจสะดุดบ้างเพราะรายได้จากธุรกิจสัมปทานหายไปแต่จะมีรายได้จากบรอดแบนด์มาเสริม
“รายได้เราน่าจะโตได้ 20% ทุกปีขณะที่อัตรากำไรดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนราคาหุ้นผมคงพูดอะไรไม่ได้ต้องพิจารณาเอาเอง” พิชญ์ กล่าวปิดท้าย
ยังเป็นประเด็นที่สังคมก็คงเคลือบแคลง คงไม่มีนักลงทุนคนไหนคำนวณ "รายได้-กำไรสุทธิ" เพื่อตีมูลค่าหุ้นออกมาได้ ถ้าไม่รู้ "สตอรี่ล่วงหน้า" เป็นการ "หยั่งรู้" ก่อนที่ข้อเท็จจริงจะถูกเผยแพร่ไปสู่สาธารณชนอย่าง "เท่าเทียม" หรือไม่ !!!
Tags : พิชญ์ โพธารามิก • จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล
ปล.เสียดายผมไม่มีหุ้น 555 สัญญาทางธุรกิจในอดีตที่ไม่อาจแก้ไข แต่เขาทำได้ดีอย่างยอดเยี่ยม นับถือๆ