ยุคปัจจุบันการทำอาหารในครัวเรือน รวมถึงพ่อค้า แม่ค้า ผู้ประกอบการที่ขายอาหาร ส่วนใหญ่นิยมใช้เตาแก๊สในการหุงต้ม เพื่อความรวดเร็วและทันเวลา ซึ่งก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas) หรือมีชื่อทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซ LPG ที่เป็นเชื้อเพลิง ชนิดหนึ่งได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ และบรรจุลงถังก๊าซที่เราเห็นอยู่ทั่วไป มีขนาด 4 กิโลกรัม 7 กิโลกรัมและขนาด 48 กิโลกรัม ซึ่งก๊าซ LPG ที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้ม มีลักษณะดังนี้ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นแต่ผู้ผลิตเติมสารซึ่งมีกลิ่นฉุนแทน เพื่อใช้เตือนภัยเมื่อเกิดก๊าซรั่ว ตัวก๊าซหุงต้ม (LPG) เองไม่เป็นพิษแต่ถ้าเกิด เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และถ้าสูดดมเข้าไปมากๆ ก๊าซจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในร่างกาย จะทำให้ มึนงง เวียนศีรษะ และอาจเสียชีวิตได้ และที่สำคัญในการใช้ควรจะเช็กถังก๊าซอยู่เสมอ ปกติเมื่อก๊าซหุงต้มหมดสามารถโทรสั่งหรือไปเปลี่ยนถังก๊าซเองที่ร้านตัวแทนจำหน่าย ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้สังเกตหรือทราบว่าถังก๊าซ มีวันหมดอายุ ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้ใบรับอนุญาตจาก สมอ. “ต้องแสดงคิวอาร์โค้ดคู่กับเครื่องหมาย มอก.บนตัวผลิตภัณฑ์” ทั้ง มอก. ทั่วไป และ มอก.บังคับ ซึ่งผู้บริโภคควรสังเกตถังก๊าซก่อนนำมาใช้ดังนี้
1. ถังก๊าซอยู่ในสภาพดี ไม่บุบ ไม่บวม ไม่เป็นสนิมผุกร่อน
2. มีข้อความ “อันตราย ห้ามกลิ้ง ห้ามกระแทก”
3. มีเครื่องหมายของผู้ผลิต
4. มีระบุข้อความ “ถังหมดอายุ พ.ศ.”
5. มีเครื่องหมาย มอก. ควบคู่คิวอาร์โค้ด
6. ตรวจสอบหลักฐานถังก๊าซวางอยู่ในแนวตรง ไม่เอียง
หากตรวจสอบถังก๊าซตามรายละเอียดข้างต้นแล้ว และก่อนที่ผู้บริโภคจะซื้อก๊าซหุงต้มจะต้องวางเงินประกันมอบให้ไว้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเป็นค่าประกันถังก๊าซ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบางรายไม่ได้มอบหลักฐานการรับเงินประกันให้ไว้ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับเงินประกันเมื่อนำถังก๊าซหุงต้มคืนหรือได้รับคืนไม่เต็มจำนวนที่จ่ายไป สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่เรียกเงินประกันถังก๊าซหุงต้มเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2542 หลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจ ออกให้แก่ผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อความที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน
2. วัน เดือน ปีที่รับเงินประกัน
3. จำนวนเงินประกัน และข้อความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับคืนเงินประกันเมื่อผู้บริโภคนำถังก๊าซหุงต้ม คืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 ที่เป็นเจ้าของถังก๊าซหุงต้ม หรือผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่ขายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว
ดังนั้น ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 4 หากถูกหลอกขายถังก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐานหรือได้รับความเสียหาย และไม่มีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจ สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน สคบ. 1166
หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
อันตราย ! หากใช้ถังก๊าซหมดอายุ
1. ถังก๊าซอยู่ในสภาพดี ไม่บุบ ไม่บวม ไม่เป็นสนิมผุกร่อน
2. มีข้อความ “อันตราย ห้ามกลิ้ง ห้ามกระแทก”
3. มีเครื่องหมายของผู้ผลิต
4. มีระบุข้อความ “ถังหมดอายุ พ.ศ.”
5. มีเครื่องหมาย มอก. ควบคู่คิวอาร์โค้ด
6. ตรวจสอบหลักฐานถังก๊าซวางอยู่ในแนวตรง ไม่เอียง
หากตรวจสอบถังก๊าซตามรายละเอียดข้างต้นแล้ว และก่อนที่ผู้บริโภคจะซื้อก๊าซหุงต้มจะต้องวางเงินประกันมอบให้ไว้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเป็นค่าประกันถังก๊าซ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบางรายไม่ได้มอบหลักฐานการรับเงินประกันให้ไว้ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับเงินประกันเมื่อนำถังก๊าซหุงต้มคืนหรือได้รับคืนไม่เต็มจำนวนที่จ่ายไป สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่เรียกเงินประกันถังก๊าซหุงต้มเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2542 หลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจ ออกให้แก่ผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อความที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน
2. วัน เดือน ปีที่รับเงินประกัน
3. จำนวนเงินประกัน และข้อความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับคืนเงินประกันเมื่อผู้บริโภคนำถังก๊าซหุงต้ม คืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 ที่เป็นเจ้าของถังก๊าซหุงต้ม หรือผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่ขายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว
ดังนั้น ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 4 หากถูกหลอกขายถังก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐานหรือได้รับความเสียหาย และไม่มีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจ สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน สคบ. 1166
หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)