“กิเลสมันอยู่ใกล้ รักษาใจตัวเองให้ดี.”
ฟัก เด็กหนุ่มที่มุ่งเข้าสู่ในร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่เล็ก จากนั้นก็ไปเกณฑ์ทหารทำหน้าที่อีกบทบาทของลูกผู้ชาย..
ใครต่อใครในหมู่บ้านต่างชื่นชมในตัวของฟักว่าเป็นคนดีมีความรับผิดชอบ ไปไหนใครก็รักและเอ็นดู...
จนกระทั่งวันที่เขากลับมาหมู่บ้านเพื่อตั้งใจจะมาช่วยแบ่งเบางานของพ่อ..
วันนั้น ฟักได้พบกับผู้หญิงลักษณะแปลกๆ ที่ชื่อสมทรง และหลังจากนั้นชีวิตของฟักก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป...
ไอ้ฟัก ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า (ในชื่อภาษาต่างประเทศว่า The Judgement) ผลงานเรื่องท้ายๆของ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ (ก่อนเป็น GTH)
สร้างจากเค้าโครงนวนิยายรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2525 เรื่อง คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติ
เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วก่อนหน้านี้ในปี 2532 นำแสดงโดย อรุณ ภาวิไล, อภิรดี ภวภูตานนท์
ก่อนหน้านั้นในปี 2527 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
นำแสดงโดย กษมา นิสสัยพันธ์, กุณกนิช คุ้มครอง และ ส. อาสนจินดา
เวอร์ชั่นนี้กำกับการแสดงโดยพันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ (ผลงานเด่นๆก็มะหมา 4 ขาครับ)
นำแสดงโดย ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ และ บงกช เบญจรงคกุล (คงมาลัย)
ซึ่งในส่วนของคุณตั๊ก บงกชนั้น มีงานแสดงมาก่อนหน้านี้และประสบความสำเร็จอย่างสูงกับเรื่องบางระจันและขุนแผน
ขณะที่คุณเต้ ปิติศักดิ์ ถือเป็นการเปิดตัวที่ทำให้เขาฉายแสงในทันทีกับงานชิ้นแรกในชีวิตในบทของไอ้ฟัก
ฟักเป็นจิตใจโอบอ้อมอารี เป็นคนดีของสังคมเห็นๆ ประกอบกับความซื่อแบบบ้านๆ
ซึ่งถ้าหากเอานักแสดงที่มีชื่อเสียงหรือผลงานเรื่องอื่นมาก่อนหน้านี้ ก็อาจทำให้แฟนหนังมีภาพจำเก่าๆติดมา
ดังนั้นคุณเต้จึงเหมาะสมกับบทนี้อย่างมากครับ บทส่งให้บวกกับความสามารถทางการแสดงที่ยอดเยี่ยม
ทำให้คุณเต้คว้ารางวัลยอดเยี่ยมในทุกเวทีประกวดหนังในประเทศไปครอง
ทั้งรางวัลพระสุรัสวดี.. สุพรรณหงส์.. ชมรมวิจารณ์บันเทิง และจากสื่อต่างๆมากมาย เขาเกิดมาเพื่อบทนี้จริงๆ
เราจะได้เห็นพัฒนาการของฟักตั้งแต่เริ่มต้นจากคนดีคนนึง แล้วก็ค่อยเปลี่ยนไป
ที่เปลี่ยนไปไม่ได้มาจากตัวของฟักเองนะครับ แต่มาจากปัจจัยรอบข้างทั้งสิ้น นั่นก็คือคนในสังคม
หมู่บ้านที่เจ้าตัวอยู่นี่ล่ะ ทุกคนไปตัดสินการกระทำของชายหนุ่มว่ามันต้องเป็นแบบนั้นแน่ๆ
แบบนี้เห็นๆ ฟักพยายามที่จะทำความเข้าใจกับใครต่อใคร แต่ทุกคนที่เคยดีกับเขาในอดีต กลับเพิกเฉย
เพราะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิด โดยไม่สนว่าแท้จริงแล้วเรื่องเหล่านั้นมันเป็นมายังไงกันแน่
จุดเริ่มทั้งหมดนั้นมาจากผู้หญิงแปลกหน้าที่ชื่อว่าสมทรง เธอเป็นใครมาจากไหนไม่มีใครรู้
ฟักก็รู้เพียงแค่จากที่พ่อของเขาบอกว่า เจอสมทรงที่สถานีรถไฟจึงชวนมาอยู่ด้วย
เพราะเห็นเป็นหญิงสาวเร่ร่อนหากปล่อยไว้อาจจะโดนทำอะไรไม่ดีแน่ๆ ..
สมทรงเป็นหญิงสติไม่สมประกอบ ชอบร้องเพลงลิเก แต่งหน้าแต่งตัวสวยๆ แต่ที่แน่ๆ เธอไม่มีพิษไม่มีภัยอะไรกับใคร
เรื่องนี้ตั๊ก ทุ่มเทแบบหมดหน้าตัก ผมมั่นใจเลยว่าในช่วงเวลานั้นในประเทศไทยไม่มีนักแสดงสาวคนไหนที่ฮอตเท่าเธออีกแล้วจริงๆ
สมทรงเพี้ยนได้ใจ ถึงจะไม่มีปูมหลังอะไรเลยก็ตาม แต่คนดูก็คอยเอาใจช่วยเธอเสมอ
และดูว่าวันนี้สมทรงจะป่วนอะไรให้ไอ้ฟักได้ปวดหัวอีก แต่ก็น่ารักดีครับ ยิ้มทีใจละลาย ไอ้ฟักก็หวั่นไหวอยู่เสมอยามเมื่ออยู่ใกล้
แต่เขาก็ยึดมั่นในความถูกต้อง แม้ว่าจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหน ฟักก็เอาชนะใจตนเองได้ทุกครั้ง สมแล้วที่บวชเรียนมา
แต่ถึงแม้ตนเองจะไม่ได้ทำอะไร แต่ชาวบ้านก็คิดแทนให้เสร็จไปเป็นที่เรียบร้อย
อารมณ์เหมือนสังคมในโลกโซเชียลปัจจุบันนี้ล่ะครับ เวลามีข่าวมีประเด็นอะไรที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม
ชาวเน็ตก็จะโหมกันเข้าไปสาดใส่ความคิดเห็นตนเองแบบไม่ยั้ง ทั้งๆที่เรายังไม่ได้ทราบเรื่องอะไร
หรือเบื้องลึกเบื้องหลังของเหตุดังกล่าว แต่เรากลับพิพากษาไปแล้วด้วยตัวเราเอง
ตามชื่อเรื่องของคุณชาติ กอบจิตติ นวนินายทีเขียนไว้เมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา แต่เรื่องราวไม่มีเก่า
ทุกอย่างสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมปัจจุบันชัดเจน มนุษย์เราทุกคนมักตกเป็นเหยื่อของความเชื่อ
ไม่ว่าเรื่องเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ตาม และเมื่อสังคมได้พิพากษาไปแล้ว คนเหล่านั้นก็จะถูกโดดเดี่ยวทันที
ความเห็นอกเห็นใจหมดไป กลายเป็นคนร้ายไปโดยปริยายทั้งที่ตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด
บางคนจิตใจเข้มแข็งคิดได้ว่าเราทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ต้องไปกลัวอะไร ความดีจะคอยคุ้มครองตัวเราได้อย่างแน่นอน
แต่กับอีกหลายต่อหลายคน เมื่อสังคมตัดสินไปแล้วว่าเราได้ทำผิดไป พูดยังไงก็ไม่มีใครฟัง..
เมื่อจิตใจมันอ่อนแอ ก็ไหลไปตามกระแสนั้นโดยดุษฎี โอเค.. ในเชื่อไม่เชื่อกันนักใช่มะ ทำดีไม่มีใครเห็น
ก็เลวมันให้สมใจอย่างที่ใครต่อใครตัดสินไปเลยล่ะกัน เป็นเช่นนั้นไป อันนี้มีอยู่จริง เรื่องช่างน่าเศร้า
ตัวละครเดียวที่เชื่อในสิ่งที่ไอ้ฟักพูดก็คือสัปเหร่อที่ชื่อว่าไข่ สัปเหร่อไข่เป็นคนไม่สนใจต่อสังคมในหมู่บ้าน
ปลีกตัวเองออกมาใช้ชีวิตคนเดียวแต่ไหนแต่ไร วันวันอยู่แต่กับศพตามหน้าที่ของตน
บางครั้งการที่แกอยู่กับคนตายที่ไม่เคยปริปากพูดอะไรออกมา สิ่งนี้คงเป็นความสบายใจและความสงบ
ที่ดีมากกว่าการที่ต้องไปเสวนากับใครต่อใครให้ระคายหูก็เป็นได้
ไอ้ฟักจึงเป็นตัวแทนของคนตัวเล็กๆในสังคมจอมปลอมที่เราทุกคนกำลังเผชิญชีวิตกันอยู่
ต้องอดทนในแต่ละวัน แม้ว่าจะยากลำบากแค่ไหน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรขอให้ใจเราเข้มแข็งไว้นะครับ
ทำดีไปเถอะถึงไม่มีใครเห็น แต่ใจเรารู้ดีอยู่แก่ใจว่าเราทำอะไรลงไป..
ผมชอบประโยคที่สมทรงพูดกับฟักตอนท้ายเรื่องมากๆเลย เธอพูดไว้ว่า...
“กลับบ้านเถอะฟัก อย่าไปยุ่งกับคนพวกนี้เลย พวกมันเป็นคนบ้า บ้ากันทุกคน..”
ใช่แล้ว สมทรง ใจของเธอทั้ง 2 คน..บริสุทธิ์ และใสสะอาดกว่าคนพวกนั้นนัก....
แด่ 1 ใน 5 หนังไทยที่ดีที่สุดสำหรับผมในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา....
(อีก 4 เรื่องคือโหมโรง.. มหาลัยเหมืองแร่.. เปนชู้กับผี.. หมานคร)
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== ไอ้ฟัก (2547) .. คำพิพากษา.... ==
“กิเลสมันอยู่ใกล้ รักษาใจตัวเองให้ดี.”
ฟัก เด็กหนุ่มที่มุ่งเข้าสู่ในร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่เล็ก จากนั้นก็ไปเกณฑ์ทหารทำหน้าที่อีกบทบาทของลูกผู้ชาย..
ใครต่อใครในหมู่บ้านต่างชื่นชมในตัวของฟักว่าเป็นคนดีมีความรับผิดชอบ ไปไหนใครก็รักและเอ็นดู...
จนกระทั่งวันที่เขากลับมาหมู่บ้านเพื่อตั้งใจจะมาช่วยแบ่งเบางานของพ่อ..
วันนั้น ฟักได้พบกับผู้หญิงลักษณะแปลกๆ ที่ชื่อสมทรง และหลังจากนั้นชีวิตของฟักก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป...
ไอ้ฟัก ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า (ในชื่อภาษาต่างประเทศว่า The Judgement) ผลงานเรื่องท้ายๆของ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ (ก่อนเป็น GTH)
สร้างจากเค้าโครงนวนิยายรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2525 เรื่อง คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติ
เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วก่อนหน้านี้ในปี 2532 นำแสดงโดย อรุณ ภาวิไล, อภิรดี ภวภูตานนท์
ก่อนหน้านั้นในปี 2527 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
นำแสดงโดย กษมา นิสสัยพันธ์, กุณกนิช คุ้มครอง และ ส. อาสนจินดา
เวอร์ชั่นนี้กำกับการแสดงโดยพันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ (ผลงานเด่นๆก็มะหมา 4 ขาครับ)
นำแสดงโดย ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ และ บงกช เบญจรงคกุล (คงมาลัย)
ซึ่งในส่วนของคุณตั๊ก บงกชนั้น มีงานแสดงมาก่อนหน้านี้และประสบความสำเร็จอย่างสูงกับเรื่องบางระจันและขุนแผน
ขณะที่คุณเต้ ปิติศักดิ์ ถือเป็นการเปิดตัวที่ทำให้เขาฉายแสงในทันทีกับงานชิ้นแรกในชีวิตในบทของไอ้ฟัก
ฟักเป็นจิตใจโอบอ้อมอารี เป็นคนดีของสังคมเห็นๆ ประกอบกับความซื่อแบบบ้านๆ
ซึ่งถ้าหากเอานักแสดงที่มีชื่อเสียงหรือผลงานเรื่องอื่นมาก่อนหน้านี้ ก็อาจทำให้แฟนหนังมีภาพจำเก่าๆติดมา
ดังนั้นคุณเต้จึงเหมาะสมกับบทนี้อย่างมากครับ บทส่งให้บวกกับความสามารถทางการแสดงที่ยอดเยี่ยม
ทำให้คุณเต้คว้ารางวัลยอดเยี่ยมในทุกเวทีประกวดหนังในประเทศไปครอง
ทั้งรางวัลพระสุรัสวดี.. สุพรรณหงส์.. ชมรมวิจารณ์บันเทิง และจากสื่อต่างๆมากมาย เขาเกิดมาเพื่อบทนี้จริงๆ
เราจะได้เห็นพัฒนาการของฟักตั้งแต่เริ่มต้นจากคนดีคนนึง แล้วก็ค่อยเปลี่ยนไป
ที่เปลี่ยนไปไม่ได้มาจากตัวของฟักเองนะครับ แต่มาจากปัจจัยรอบข้างทั้งสิ้น นั่นก็คือคนในสังคม
หมู่บ้านที่เจ้าตัวอยู่นี่ล่ะ ทุกคนไปตัดสินการกระทำของชายหนุ่มว่ามันต้องเป็นแบบนั้นแน่ๆ
แบบนี้เห็นๆ ฟักพยายามที่จะทำความเข้าใจกับใครต่อใคร แต่ทุกคนที่เคยดีกับเขาในอดีต กลับเพิกเฉย
เพราะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิด โดยไม่สนว่าแท้จริงแล้วเรื่องเหล่านั้นมันเป็นมายังไงกันแน่
จุดเริ่มทั้งหมดนั้นมาจากผู้หญิงแปลกหน้าที่ชื่อว่าสมทรง เธอเป็นใครมาจากไหนไม่มีใครรู้
ฟักก็รู้เพียงแค่จากที่พ่อของเขาบอกว่า เจอสมทรงที่สถานีรถไฟจึงชวนมาอยู่ด้วย
เพราะเห็นเป็นหญิงสาวเร่ร่อนหากปล่อยไว้อาจจะโดนทำอะไรไม่ดีแน่ๆ ..
สมทรงเป็นหญิงสติไม่สมประกอบ ชอบร้องเพลงลิเก แต่งหน้าแต่งตัวสวยๆ แต่ที่แน่ๆ เธอไม่มีพิษไม่มีภัยอะไรกับใคร
เรื่องนี้ตั๊ก ทุ่มเทแบบหมดหน้าตัก ผมมั่นใจเลยว่าในช่วงเวลานั้นในประเทศไทยไม่มีนักแสดงสาวคนไหนที่ฮอตเท่าเธออีกแล้วจริงๆ
สมทรงเพี้ยนได้ใจ ถึงจะไม่มีปูมหลังอะไรเลยก็ตาม แต่คนดูก็คอยเอาใจช่วยเธอเสมอ
และดูว่าวันนี้สมทรงจะป่วนอะไรให้ไอ้ฟักได้ปวดหัวอีก แต่ก็น่ารักดีครับ ยิ้มทีใจละลาย ไอ้ฟักก็หวั่นไหวอยู่เสมอยามเมื่ออยู่ใกล้
แต่เขาก็ยึดมั่นในความถูกต้อง แม้ว่าจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหน ฟักก็เอาชนะใจตนเองได้ทุกครั้ง สมแล้วที่บวชเรียนมา
แต่ถึงแม้ตนเองจะไม่ได้ทำอะไร แต่ชาวบ้านก็คิดแทนให้เสร็จไปเป็นที่เรียบร้อย
อารมณ์เหมือนสังคมในโลกโซเชียลปัจจุบันนี้ล่ะครับ เวลามีข่าวมีประเด็นอะไรที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม
ชาวเน็ตก็จะโหมกันเข้าไปสาดใส่ความคิดเห็นตนเองแบบไม่ยั้ง ทั้งๆที่เรายังไม่ได้ทราบเรื่องอะไร
หรือเบื้องลึกเบื้องหลังของเหตุดังกล่าว แต่เรากลับพิพากษาไปแล้วด้วยตัวเราเอง
ตามชื่อเรื่องของคุณชาติ กอบจิตติ นวนินายทีเขียนไว้เมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา แต่เรื่องราวไม่มีเก่า
ทุกอย่างสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมปัจจุบันชัดเจน มนุษย์เราทุกคนมักตกเป็นเหยื่อของความเชื่อ
ไม่ว่าเรื่องเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ตาม และเมื่อสังคมได้พิพากษาไปแล้ว คนเหล่านั้นก็จะถูกโดดเดี่ยวทันที
ความเห็นอกเห็นใจหมดไป กลายเป็นคนร้ายไปโดยปริยายทั้งที่ตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด
บางคนจิตใจเข้มแข็งคิดได้ว่าเราทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ต้องไปกลัวอะไร ความดีจะคอยคุ้มครองตัวเราได้อย่างแน่นอน
แต่กับอีกหลายต่อหลายคน เมื่อสังคมตัดสินไปแล้วว่าเราได้ทำผิดไป พูดยังไงก็ไม่มีใครฟัง..
เมื่อจิตใจมันอ่อนแอ ก็ไหลไปตามกระแสนั้นโดยดุษฎี โอเค.. ในเชื่อไม่เชื่อกันนักใช่มะ ทำดีไม่มีใครเห็น
ก็เลวมันให้สมใจอย่างที่ใครต่อใครตัดสินไปเลยล่ะกัน เป็นเช่นนั้นไป อันนี้มีอยู่จริง เรื่องช่างน่าเศร้า
ตัวละครเดียวที่เชื่อในสิ่งที่ไอ้ฟักพูดก็คือสัปเหร่อที่ชื่อว่าไข่ สัปเหร่อไข่เป็นคนไม่สนใจต่อสังคมในหมู่บ้าน
ปลีกตัวเองออกมาใช้ชีวิตคนเดียวแต่ไหนแต่ไร วันวันอยู่แต่กับศพตามหน้าที่ของตน
บางครั้งการที่แกอยู่กับคนตายที่ไม่เคยปริปากพูดอะไรออกมา สิ่งนี้คงเป็นความสบายใจและความสงบ
ที่ดีมากกว่าการที่ต้องไปเสวนากับใครต่อใครให้ระคายหูก็เป็นได้
ไอ้ฟักจึงเป็นตัวแทนของคนตัวเล็กๆในสังคมจอมปลอมที่เราทุกคนกำลังเผชิญชีวิตกันอยู่
ต้องอดทนในแต่ละวัน แม้ว่าจะยากลำบากแค่ไหน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรขอให้ใจเราเข้มแข็งไว้นะครับ
ทำดีไปเถอะถึงไม่มีใครเห็น แต่ใจเรารู้ดีอยู่แก่ใจว่าเราทำอะไรลงไป..
ผมชอบประโยคที่สมทรงพูดกับฟักตอนท้ายเรื่องมากๆเลย เธอพูดไว้ว่า...
“กลับบ้านเถอะฟัก อย่าไปยุ่งกับคนพวกนี้เลย พวกมันเป็นคนบ้า บ้ากันทุกคน..”
ใช่แล้ว สมทรง ใจของเธอทั้ง 2 คน..บริสุทธิ์ และใสสะอาดกว่าคนพวกนั้นนัก....
แด่ 1 ใน 5 หนังไทยที่ดีที่สุดสำหรับผมในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา....
(อีก 4 เรื่องคือโหมโรง.. มหาลัยเหมืองแร่.. เปนชู้กับผี.. หมานคร)
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===