Restricted Free Agent หมายถึงคนที่มาจากดราฟต์รอบเเรกที่เพิ่งหมดสัญญารุกกี้ปี 4 เเต่ไม่ได้ต่อล่วงหน้าปีก่อน
ปีนี้มี RFA เเค่ 4 คนคือ Giddey, Kuminga, Quentin Grimes เเละ Cam Thomas ทุกคนมาจากงานดราฟต์ปี 2021
ตามกฎต้นสังกัดต้องให้ qualifying offer กับผู้เล่นเป็นการชั่วคราวก่อน ถึงจะได้สิทธิ์เลือกว่าจะสู้ราคาที่ทีมอื่นเสนอให้ผู้เล่นของตัวเองไหม (right of first refusal)
เอเยนต์รายนึงเล่าให้ฟังว่า:
“ตลาด RFA ต่างจากตลาด unrestricted ตรงเอื้อประโยชน์ต่อต้นสังกัด ลีกไม่อยากให้คนที่เพิ่งหมดสัญญารุกกี้ย้ายหนีง่ายๆ เลยออกกฎ RFA
สาเหตุที่ไม่มีทีมยื่นข้อเสนอตอนตลาดเปิดเพราะตัวเลขที่ยื่นให้ RFA จะติด cap hold นาน 48 ชั่วโมง กว่าจะรู้ผลว่าได้ตัวมาไหมก็สายไปเเล้ว อาจพลาดโอกาสได้ free agent คนอื่นเลยไม่เสี่ยงดีกว่าหรือไม่ก็เก็บเรื่องนี้ไว้คิดทีหลังถ้ามีเเคปเหลือ
สําหรับผมเเล้ว RFA ไม่ใช่ free agency”
ถ้าไม่มีทีมยื่นข้อเสนอเเข่ง ต้นสังกัดจะยิ้มเพราะได้เปรียบ สามารถกดราคาในสัญญาใหม่หรือทํา sign-and-trade ส่งไปทีมอื่นก็ได้
Malik Beasley เป็นคนนึงที่โชคดีตอนเป็น RFA ถึงเเม้จะไม่มีทีมยื่นข้อเสนอเเข่งเเต่หมาป่าก็ยังให้ค่าจ้าง 4 ปี/$60 ล้าน เช่าบ้านสวยๆ ให้อยู่ สาเหตุที่ทําเเบบนั้นเพราะเป็นทีมตลาดเล็กเลยไม่อยากเสียผู้เล่นดีๆ ไป ยอมจ่ายเพื่อเก็บคนไว้ใช้เอง
Gordon Hayward เคยโกรธ Jazz ตอนมีชื่อลงตลาด RFA ปี 2014 เขาไม่พอใจ Jazz ที่ท้าทายว่าถ้าอยากได้เงินเยอะๆ รอให้ทีมอื่นยื่นข้อเสนอเข้ามาก่อนเเล้วจะสู้ราคาให้
สุดท้ายทีมเเตนยื่น offer sheet เข้ามาที่ 4 ปี/$120 ล้าน ถึงเเม้ Jazz จะ match ให้ตามที่สัญญาเเต่ Hayward เก็บเรื่องนี้ไว้ในใจ เอามาเป็นข้ออ้างตอนย้ายหนีไป Celtics
ตั้งเเต่ลีกคลอดเรท supermax หรือ Rose Rule ที่กินเเคป 30-35% ในปี 2017 เเคปของเเต่ละทีมเต็มเร็วมากทําให้เป็นเรื่องยากที่ RFA จะได้ offer sheets งามๆ
Credit: HoopsHype
🏀 เบื้องหลังตลาด RFA 🎬