เป็นที่รู้กันดีว่าหัวแร้งคุณภาพสูงที่หาซื้อได้ง่ายในเมืองไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ยี่ห้อ คือ Goot กับ Hakko เป็นยี่ห้อของญี่ปุ่นทั้งคู่ สำหรับช่างมืออาชีพแล้วต้องมีหัวแร้ง 2 ยี่ห้อนี้ใช้งานอย่างน้อย 1 ด้ามแม้จะจ่ายแพงแต่ก็คุ้มเพราะใช้ดีและทนทานมาก แต่สำหรับช่างมือสมัครเล่นที่ทำเป็นงานอดิเรกแล้วจะนิยมซื้อหัวแร้งจีนราคาถูกมาใช้ ปัญหาของหัวแร้งราคาถูกคือใช้งานไม่ดีไม่ทนทานเท่าของราคาแพง วิธีการแก้ปัญหาของผมคือซื้อปลายหัวแร้งของ Goot, Hakko มาใส่ หัวแร้งถูกแต่ใช้ปลายแพงก็ใช้งานดีเหมือนของแพงแต่ความทนทานจะเทียบกับของราคาแพงไม่ได้ สำหรับผมแล้วมันคุ้มค่ามากเพราะปลายหัวแร้ง 2 ยี่ห้อนี้ทนทานใช้งานได้หลายปีหัวแร้งพังไป 3 ด้ามก็ยังใช้ปลายเดิมซื้อครั้งเดียวใช้ยาวๆ ครับ

ภาพนี้แสดงขนาดความยาวของปลายหัวแร้ง ด้านบนเป็นยี่ห้อ Hakko ด้านล่างเป็นยี่ห้อ Sumo จะเห็นว่าความยาวไม่เท่ากันปลายของ Sumo นั้นจะยาว 65 มิลเท่ายี่ห้อ Goot ส่วนปลายของ Hakko จะยาว 60 มิล เหตุที่ผมไม่ซื้อปลายของ Goot มาใส่เพราะราคาแพงเกือบ 300 บาท ส่วนของ Hakko ราคา 300 บาทได้ทั้งปอกและปลาย จากที่เคยใช้มาปลายของ Goot แพงกว่าแต่ทนทานกว่า Hakko เทียบคุณภาพ 2 ยี่ห้อนี้คุณภาพจะเป็นไปตามราคาที่จ่ายครับ
ภาพนี้แสดงรูด้านในของปลายหัวแร้ง ของ Hakko มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.3 มิล ส่วนปลายของหัวแร้งจีนทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 - 7 มิล ด้วยเหตุที่รูในมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่แนบชิดกับไส้ความร้อนเซรามิคนำความร้อนไม่ดีเมื่อบัดกรีหลายจุดต่อเนื่องกันความร้อนที่ปลายหัวแร้งจะตกต้องหยุดรอให้สะสมความร้อนขึ้นมาใหม่แล้วค่อยบัดกรีได้ ความร้อนไม่คงที่ยังทำให้ชิ้นงานเละได้ดังนั้นในงานที่ต้องการความละเอียดเขาจึงใช้แต่หัวแร้งคุณภาพดี
ภาพนี้ผมได้แก้ปัญหาขนาดรูที่ไม่พอดีของปลายหัวแร้งจีนโดยใช้หลอดดูดน้ำสเตนเลสตัดแต่งให้พอดีแล้วสวมเข้าไปในปลายหัวแร้งจีน หลังดัดแปลงพบว่าใช้งานได้ดีพอๆ กับของยี่ห้อ Hakko แต่ความทนทานคงไม่ทนเท่า Hakko จากการใช้งานมา 3 เดือนปลายหัวแร้งที่ติดมากับหัวแร้ง Sumo บัดกรีดีมากพอๆ กับของญี่ปุ่น ถ้าทำรูในให้พอดีใช้งานได้โดยไม่ต้องดัดแปลงจะเป็นอะไรที่น่าซื้อมาใช้แต่เมื่อทำมาไม่พอดีก็ต้องข้ามไปดูยี่ห้ออื่น
ปลายหัวแร้งความยาวไม่เท่ากันจะใส่ด้วยกันตรงๆ ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนปอกดันปลายด้วย แต่ผมไม่ได้ซื้อปอกดันปลายของ Hakko มาด้วยเพราะราคาแพงเกินโลหะชิ้นเล็กๆ ซื้อหัวแร้งจีนได้ 1 ด้าม ในรูปนี้ผมใช้แจ็คไมค์โลหะทองเหลืองอย่างหนาอย่างเป็นแจ็คที่พังแล้วมาทำ โดยตัดแต่งให้พอดีแล้วสวมเข้าไปมันจะแน่นถอดออกไม่ได้ถ้าถอดไส้เซรามิคอาจจะแตกเสียหาย แหวนรองเล็กๆ ตรงกลางนั้นเมื่อก่อนไม่มีแต่พอใช้งานไปนานๆ แจ็คไมค์ที่ทำจากทองเหลืองเมื่อโดนความร้อนและแรงบีบจากน็อตจะหดตัวทำให้ปลายหลวมจึงต้องใช้ทองแดงมาทำเป็นแหวนรองอีกชั้นเพื่อให้แน่นเหมือนเดิม
ผมซื้อปอกหัวแร้งจีนมาด้วยเพื่อให้ครบจำนวนส่งฟรี ปอกหัวแร้งปลายหัวแร้งเป็นวัสดุสิ้นเปลืองอยู่แล้วมีไว้เป็นอะไหล่ก็ไม่เสียหาย เรื่องของขนาดและน้ำหนักปอกหัวแร้งจีนเมื่อเทียบกับ Hakko แล้วมีขนาดเท่ากัน หนักเท่ากัน โลหะเหมือนกัน แต่ความเรียบร้อยของชิ้นงานการปั๊มขึ้นรูป Hakko จะดีกว่าส่วนขอบของ Hakko ใช้มือลูบได้แต่ของจีนจะคมกลัวบาดมือไม่กล้าใช้มือลูบ
นอกจากคุณภาพของปลายหัวแร้งที่ยี่ห้อของจีนเทียบกับของญี่ปุ่นไม่ได้แล้ว ไส้หัวแร้งของจีนความทนทานก็เทียบกับของญี่ปุ่นไม่ได้ ของจีนใช้งานอยู่ดีๆ ชิ้นส่วนสีขาวที่อุดปลายหัวแร้งก็หลุดออกมามีผงสีขาวออกมาด้วย ถ้าผมปล่อยไว้ไม่ซ่อมไส้ความร้อนจะโดนอากาศโดยตรงจะทำให้อายุสั้นลงอย่างรวดเร็ว การทำงานของไส้ความร้อนนั้นจะเหมือนกับหลอดไส้ที่จะลวดนิโครมจะขาดเมื่อโดนอากาศ ผมซ่อมโดยใช้ปูนปลาสเตอร์อุดที่ปลายก่อนอุดควรใช้ส่วนที่เป็นผงไม่ผสมน้ำใส่เข้าไปให้เต็มเสียก่อน ผงปูนนี้นอกจากจะป้องกันไม่ให้อากาศเข้าแล้วยังช่วยนำความร้อนจากลวดมาที่แท่งเซรามิคด้วย เมื่อใส่ผงปูนจนเต็มแล้วก็เอาออกให้มีช่องว่างประมาณ 3 มิล จากนั้นผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำอุดส่วนปลาย
เมื่ออุดด้วยปูนปลาสเตอร์จะแห้งในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมงก็ใช้ได้แล้ว เหตุที่ผมใช้ปูนปลาสเตอร์มาอุดเพราะเคยเห็นคลิปฝรั่งทำเบ้าหลอมโลหะใช้ปูนปลาสเตอร์ทำแสดงว่าปูนชนิดนี้ทนความร้อนได้ดี หาซื้อง่าย ราคาถูกกิโลกรัมละ 10 กว่าบาทเท่านั้น จากนี้ไปก็รอให้เวลาพิสูจน์ว่าใช้ปูนปลาสเตอร์อุดไส้เซรามิคหัวแร้งเหมาะสมหรือไม่
ใส่ปลายหัวแร้ง Hakko ให้หัวแร้งจีน+วิธีซ่อมไส้ความร้อนแบบเซรามิค..ครับ
ภาพนี้แสดงขนาดความยาวของปลายหัวแร้ง ด้านบนเป็นยี่ห้อ Hakko ด้านล่างเป็นยี่ห้อ Sumo จะเห็นว่าความยาวไม่เท่ากันปลายของ Sumo นั้นจะยาว 65 มิลเท่ายี่ห้อ Goot ส่วนปลายของ Hakko จะยาว 60 มิล เหตุที่ผมไม่ซื้อปลายของ Goot มาใส่เพราะราคาแพงเกือบ 300 บาท ส่วนของ Hakko ราคา 300 บาทได้ทั้งปอกและปลาย จากที่เคยใช้มาปลายของ Goot แพงกว่าแต่ทนทานกว่า Hakko เทียบคุณภาพ 2 ยี่ห้อนี้คุณภาพจะเป็นไปตามราคาที่จ่ายครับ
ภาพนี้แสดงรูด้านในของปลายหัวแร้ง ของ Hakko มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.3 มิล ส่วนปลายของหัวแร้งจีนทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 - 7 มิล ด้วยเหตุที่รูในมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่แนบชิดกับไส้ความร้อนเซรามิคนำความร้อนไม่ดีเมื่อบัดกรีหลายจุดต่อเนื่องกันความร้อนที่ปลายหัวแร้งจะตกต้องหยุดรอให้สะสมความร้อนขึ้นมาใหม่แล้วค่อยบัดกรีได้ ความร้อนไม่คงที่ยังทำให้ชิ้นงานเละได้ดังนั้นในงานที่ต้องการความละเอียดเขาจึงใช้แต่หัวแร้งคุณภาพดี
ภาพนี้ผมได้แก้ปัญหาขนาดรูที่ไม่พอดีของปลายหัวแร้งจีนโดยใช้หลอดดูดน้ำสเตนเลสตัดแต่งให้พอดีแล้วสวมเข้าไปในปลายหัวแร้งจีน หลังดัดแปลงพบว่าใช้งานได้ดีพอๆ กับของยี่ห้อ Hakko แต่ความทนทานคงไม่ทนเท่า Hakko จากการใช้งานมา 3 เดือนปลายหัวแร้งที่ติดมากับหัวแร้ง Sumo บัดกรีดีมากพอๆ กับของญี่ปุ่น ถ้าทำรูในให้พอดีใช้งานได้โดยไม่ต้องดัดแปลงจะเป็นอะไรที่น่าซื้อมาใช้แต่เมื่อทำมาไม่พอดีก็ต้องข้ามไปดูยี่ห้ออื่น
ปลายหัวแร้งความยาวไม่เท่ากันจะใส่ด้วยกันตรงๆ ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนปอกดันปลายด้วย แต่ผมไม่ได้ซื้อปอกดันปลายของ Hakko มาด้วยเพราะราคาแพงเกินโลหะชิ้นเล็กๆ ซื้อหัวแร้งจีนได้ 1 ด้าม ในรูปนี้ผมใช้แจ็คไมค์โลหะทองเหลืองอย่างหนาอย่างเป็นแจ็คที่พังแล้วมาทำ โดยตัดแต่งให้พอดีแล้วสวมเข้าไปมันจะแน่นถอดออกไม่ได้ถ้าถอดไส้เซรามิคอาจจะแตกเสียหาย แหวนรองเล็กๆ ตรงกลางนั้นเมื่อก่อนไม่มีแต่พอใช้งานไปนานๆ แจ็คไมค์ที่ทำจากทองเหลืองเมื่อโดนความร้อนและแรงบีบจากน็อตจะหดตัวทำให้ปลายหลวมจึงต้องใช้ทองแดงมาทำเป็นแหวนรองอีกชั้นเพื่อให้แน่นเหมือนเดิม
ผมซื้อปอกหัวแร้งจีนมาด้วยเพื่อให้ครบจำนวนส่งฟรี ปอกหัวแร้งปลายหัวแร้งเป็นวัสดุสิ้นเปลืองอยู่แล้วมีไว้เป็นอะไหล่ก็ไม่เสียหาย เรื่องของขนาดและน้ำหนักปอกหัวแร้งจีนเมื่อเทียบกับ Hakko แล้วมีขนาดเท่ากัน หนักเท่ากัน โลหะเหมือนกัน แต่ความเรียบร้อยของชิ้นงานการปั๊มขึ้นรูป Hakko จะดีกว่าส่วนขอบของ Hakko ใช้มือลูบได้แต่ของจีนจะคมกลัวบาดมือไม่กล้าใช้มือลูบ
นอกจากคุณภาพของปลายหัวแร้งที่ยี่ห้อของจีนเทียบกับของญี่ปุ่นไม่ได้แล้ว ไส้หัวแร้งของจีนความทนทานก็เทียบกับของญี่ปุ่นไม่ได้ ของจีนใช้งานอยู่ดีๆ ชิ้นส่วนสีขาวที่อุดปลายหัวแร้งก็หลุดออกมามีผงสีขาวออกมาด้วย ถ้าผมปล่อยไว้ไม่ซ่อมไส้ความร้อนจะโดนอากาศโดยตรงจะทำให้อายุสั้นลงอย่างรวดเร็ว การทำงานของไส้ความร้อนนั้นจะเหมือนกับหลอดไส้ที่จะลวดนิโครมจะขาดเมื่อโดนอากาศ ผมซ่อมโดยใช้ปูนปลาสเตอร์อุดที่ปลายก่อนอุดควรใช้ส่วนที่เป็นผงไม่ผสมน้ำใส่เข้าไปให้เต็มเสียก่อน ผงปูนนี้นอกจากจะป้องกันไม่ให้อากาศเข้าแล้วยังช่วยนำความร้อนจากลวดมาที่แท่งเซรามิคด้วย เมื่อใส่ผงปูนจนเต็มแล้วก็เอาออกให้มีช่องว่างประมาณ 3 มิล จากนั้นผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำอุดส่วนปลาย
เมื่ออุดด้วยปูนปลาสเตอร์จะแห้งในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมงก็ใช้ได้แล้ว เหตุที่ผมใช้ปูนปลาสเตอร์มาอุดเพราะเคยเห็นคลิปฝรั่งทำเบ้าหลอมโลหะใช้ปูนปลาสเตอร์ทำแสดงว่าปูนชนิดนี้ทนความร้อนได้ดี หาซื้อง่าย ราคาถูกกิโลกรัมละ 10 กว่าบาทเท่านั้น จากนี้ไปก็รอให้เวลาพิสูจน์ว่าใช้ปูนปลาสเตอร์อุดไส้เซรามิคหัวแร้งเหมาะสมหรือไม่