JJNY : เชื่อมั่น 14 จว.ใต้ มิ.ย.ดิ่ง│กมธ.ลงพื้นที่พิพิธภัณฑ์│จับตา ! "ศาลรธน." เสียงแตก│เตือนมรสุมถล่ม ทั่วไทยฝนตกหนัก

ดัชนีเชื่อมั่น 14 จว.ใต้ มิ.ย.ดิ่ง หนี้ครัวเรือนพุ่ง กำลังซื้อหด แนะเปลี่ยนรองนายกฯคุมศก.-รมว.คลัง
.
.
ดัชนีเชื่อมั่น 14 จว.ใต้ มิ.ย.ดิ่ง หนี้ครัวเรือนพุ่ง กำลังซื้อหด แนะเปลี่ยนรองนายกฯคุมศก.-รมว.คลัง
.
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ 420 ตัวอย่างด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือน มิ.ย. ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน พ.ค.
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่าปัจจัยลบที่สำคัญ การส่งออกของไทยลดลง เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทย อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป อยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ความต้องการสินค้าไทยลดลง การแข่งขันจากประเทศคู่แข่ง อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ซึ่งมีต้นทุนด้านแรงงานต่ำกว่าไทย ประเทศคู่แข่งขันยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐด้านการส่งออกเป็นอย่างมาก ซึ่งต่างจากภาครัฐของไทยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกค่อนข้างน้อย และดำเนินงานแบบเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในประเทศลดลง อาทิ จีน กลุ่มประเทศยุโรป และประเทศในอาเซียน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ นักท่องเที่ยวมองว่าการท่องเที่ยวในประเทศไทยไม่ค่อยปลอดภัย จากเหตุการณ์ลักพาตัวนักท่องเที่ยวจีน มีธุรกิจและกลุ่มบุคคลที่ทำผิดกฎหมายจำนวนมากที่ฉ้อโกงและหลอกลวงนักท่องเที่ยว อาทิ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แท็กซี่เรียกเก็บค่าโดยสารเกินจริง ร้านขายของปลอมในราคาของแท้ และตำรวจนอกรีตที่ข่มขู่เพื่อเรียกรับเงินจากนักท่องเที่ยว
.
นโยบายภาครัฐด้านการท่องเที่ยวไทยไม่ตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเลือกท่องเที่ยวประเทศที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จะเลือกท่องเที่ยวในประเทศที่มีความคุ้มค่า
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่าจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้รายได้ของประชาชนไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ก่อให้เกิดหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูงกว่า 90% ต่อ GDP ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนในประเทศลดลงอย่างมาก ผู้บริหารประเทศขาดวิสัยทัศน์และขาดการดำเนินงานเชิงรุก ทำให้การบริหารงานผิดพลาด ล่าช้า และไม่มีความชัดเจน อาทิ นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท บ้านเพื่อคนไทย การปรับค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนปริญญาตรี เป็นต้น
.
การทุจริตและคอร์รัปชันของนักการเมืองและระบบราชการในประเทศไทยที่มากขึ้น การทุจริตเชิงนโยบาย โดยการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนักการเมือง กลุ่มทุน และกลุ่มผลประโยชน์ของนักการเมือง การฮั้วประมูล และกินหัวคิวของโครงการภาครัฐ โดยเกิดขึ้นในโครงการก่อสร้าง การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการและองค์กรอิสระที่สูงเกินจริง การฟอกเงินของนักการเมืองและข้าราชการบางคนที่ใช้บริษัทของเครือญาติบังหน้า การฝังรากลึกของธุรกิจสีดำและสีเทาในประเทศไทย อาทิ การพนันออนไลน์ บ่อนการพนัน ธุรกิจค้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ยาเสพติด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทัวร์ศูนย์เหรียญ โดยกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มทุนต่างชาติ กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองบางคน
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในสิ่งที่คาดหวังและต้องการ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายเดือน ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 67 และมีสัญญาณชะลอตัวการลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง เห็นได้ชัดเจนว่า สภาพเศรษฐกิจเริ่มตกต่ำเป็นอย่างมาก หลังจากวันสงกรานต์ วันที่ 21 เม.ย.68 และตกต่ำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
.
นายกรัฐมนตรีควรหารองนายกรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และมีความเหมาะสมที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย มีภาวะผู้นำ กล้าตัดสินใจ มีจริยธรรมและมีความโปร่งใสเป็นที่ประจักษ์ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มทุน และกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่าการบริหารงานของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ขาดความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมองว่า เป็นรัฐบาลที่ล้มเหลวทางด้านเศรษฐกิจ เพราะไม่สามารถดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจตามที่หาเสียงได้ ขาดความเชื่อมั่น และมีความกังวลเรื่องความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณ ต้องการทราบว่าจากการที่รัฐบาลปรับการใช้งบประมาณ 1.57 แสนล้านบาท จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เปลี่ยนเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลได้นำงบประมาณไปใช้ในโครงการอะไรบ้าง และประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไร ให้รัฐบาลชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบด้วย
.
ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่าประชาชนมองว่า ประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤตแทบทุกด้าน เนื่องจากผู้บริหารของประเทศและนักการเมือง ล้วนมองแต่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง มากกว่าผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ประชาชนจึงวอนขอผู้ที่เกี่ยวข้องให้ใช้อำนาจทางกฎหมายในการจัดการกับบุคคลเหล่านี้ และนำผู้ที่กระทำความผิดมารับโทษตามกฎหมาย รวมถึงไม่สามารถกลับมามีอำนาจในการบริหารประเทศได้อีก
.
ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ควรแก้ปัญหาแบบสันติวิธี โดยใช้การเจรจาแบบทวิภาคี ซึ่งเป็นการเจรจาโดยใช้กลไกคณะกรรมาธิการร่วมชายแดน (JBC) ในการหาข้อยุติที่เป็นธรรม เพื่อไม่ให้ประชาชนบริเวณชายแดนได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลไทยควรสื่อสารไปยังผู้นำของประเทศกัมพูชา ว่าหากไม่ยอมเจรจาเพื่อหาข้อยุติ รัฐบาลไทยจะมีมาตรการตอบโต้ เริ่มจาก มาตรการทางการทูต ด้านเศรษฐกิจ และมาตรการด้านความมั่นคง”ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าว
.

.
กมธ.พัฒนาเมือง ลงพื้นที่ พิพิธภัณฑ์เจมส์ บอนด์ หลังปชช.ร้อง ใช้งบ 40 ล้าน เปิดได้แค่วันเดียว
.
กมธ.พัฒนาเมือง ลงพื้นที่ พิพิธภัณฑ์เจมส์ บอนด์ หลังปชช.ร้อง ใช้งบ 40 ล้าน เปิดได้แค่วันเดียว
.
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน นางสาวภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.พรรคประชาชน และ กรรมาธิการคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้โพสต์เฟซบุ๊ก กรณี พิพิธภัณฑ์เจมส์ บอนด์ 007 จังหวัดพังงา ที่เปิดใช้ได้เพียงวันเดียว โดยว่า
.
“สร้างทุกอย่างแต่ไม่เคยสร้างสรรค์การพิพิธภัณฑ์เจมส์ บอนด์ 007 จังหวัดพังงา ใช้งบฯสร้าง 40 ล้าน เปิดใช้ได้แค่วันเดียว
.
กรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ลงพื้นที่พิพิธภัณฑ์เจมส์ บอนด์ 007 จังหวัดพังงา หลังประชาชนร้องเรียนการใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ใช้ประโยชน์
.
แนวคิดการสร้างพิพิธภัณฑ์หลังนี้เกิดจากเมื่อปี 2517 หนังเรื่องเจมส์ บอนด์ 007 ตอน “เดอะ แมน วิธ เดอะ โกลเด้น กัน” เคยถ่ายทำในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2517 ที่เขาตาปู และเกาะเขาพิงกัน จ.พังงา
.
โครงการนี้ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ทุ่มงบประมาณกว่า 40ล้านบาท พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ และก่อสร้างเสร็จในปี 2557 และเปิดให้บริการเพียง 1 วันเท่านั้น จากนั้นก็ปิดยาว ไม่เคยได้เปิดใช้ตามวัตถุประสงค์ตั้งต้น นั่นคือ “เศรษฐกิจท่องเที่ยว”
.
จากการเข้าไปดู ดิฉันสงสัยว่ามันจะกระตุ้นได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดเป็นของที่สร้างขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำจริงเลย เท่ากับว่าคนที่มาดู เขาได้ดูปืนเหมือนที่เจมส์ บอนด์ใช้ในหนัง ก็เท่านั้น
.
แนวคิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบนี้ ถ้าให้พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ คิดตื้นมาก ฉาบฉวยกระแสของหนังจนไม่จับต้องอะไรไม่ได้เลย แถมต้องจ่ายงบประมาณแผ่นดินอีก 40 ล้าน เพื่อจำลองตัวละครและฉากจากหนัง ทำเพื่ออะไร นี่คือคำถามของประชาชนที่ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาให้กรรมาธิการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชนตรวจสอบ
.
นอกจากประชาชนไม่เคยมีส่วนร่วมในการออกแบบการท่องเที่ยวให้จังหวัดของตนเอง ยังต้องมาเสียงบประมาณแผ่นดินแทนที่จะถูกนำไปพัฒนาเศรษฐกิจได้ตรงจุด
.
จากการพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของกรมธนารักษ์ และเมื่อสร้างเสร็จต้องการโอนให้เป็นทรัพย์สินของเทศบาลหรือ อบจ. แต่ทาง อปท. ไม่ต้องการทรัพย์สินดังกล่าว เนื่องจากการโอนที่ดินที่เป็นของกรมธนารักษ์ต้องทำสัญญาเช่า โดยกรมธนารักษ์คิดว่าเช่ากับ อปท. ปีละแสนบาท แม้จะมีการลดค่าเช่าลง แต่ท้องถิ่นก็ไม่ต้องการพิพิธภัณฑ์นี้ เพราะท้องถิ่นไม่ได้ขอให้มีการสร้าง และนอกจากไม่สามารถสร้างรายได้ได้ ยังเป็นภาระอีกด้วย
.
เท่าที่พูดคุยกับหน่วยราชการที่ร่วมลงพื้นที่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นจังหวัด // กรมท่องเที่ยวและกีฬา // เทศบาลกระโสม // กรมธนารักษ์ ดิฉันสรุป
.
• การใช้งบประมาณภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ
• คิดมาไม่จบ สร้างเสร็จแล้วไม่รู้จะเอาไงต่อ ขาดการบริหารต่อเนื่อง สร้างแล้วทิ้ง งบประมาณใช้ไปกับการก่อสร้างอาคาร แต่มิได้รวมงบระยะยาวสำหรับการบริหาร การตลาด การจ้างงาน หรือการบำรุงรักษา ซึ่งเป็น “ต้นทุนที่มองไม่เห็น” แต่จำเป็นมาก
• สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของนโยบายรัฐไทย ที่เข้าใจว่าการ (ก่อ) สร้างคือการพัฒนา
• ขาดการมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น โครงการถูกวางแผนจากส่วนกลาง (กรมการท่องเที่ยว) โดยไม่ได้วางกลไกที่ชัดเจนให้ชุมชนหรือเทศบาลมีบทบาทจริงในการบริหาร ผลคือเมื่อส่งมอบแล้ว ไม่มีความพร้อมด้านคน – งบ – โมเดลธุรกิจ
• ขาดแผนการตลาดและความเชื่อมโยงเชิงท่องเที่ยว ไม่มีการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวให้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์คืออะไร ไม่มีการผูกเส้นทางทัวร์ หรือแม้แต่บูรณาการร่วมกับสถานศึกษาให้เข้าชม ทำกิจกรรมร่วมกับพิพิธภัณฑ์
• ความไม่ยืดหยุ่นของระบบราชการ: ทำให้เทศบาลไม่สามารถหาภาคเอกชนมาร่วมดำเนินงานได้ง่าย เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมาย – สัญญาเช่า และกลไกการจัดซื้อจัดจ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่